เพื่อบรรลุถึงการปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้วยการเผยแพร่ให้ความรู้ที่แท้จริงแก่ส่วนรวม
13 มกราคม 2553
การพิมพ์สลากกินแบ่งเพิ่มขึ้นจึงไม่ได้ช่วย...
ความคิดในการขายสลากด้วยเครื่องออนไลน์เริ่มมีขึ้นประมาณปี 2535 ในรัฐบาลที่มาจากรสช.โดยรัฐมนตรีคนหนึ่งก่อนพ้นตำแหน่งและส่งผ่านความคิดมายังรัฐมนตรีคนหนึ่งของพรรคความหวังใหม่ที่กำกับดูแลสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 แต่รัฐบาลขณะนั้นยังไม่เห็นด้วยเพราะยังไม่มีการศึกษาให้รอบคอบทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบในเชิงสังคม จนรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 พ้นจากหน้าที่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2538 เรื่องเครื่องขายสลากแบบออนไลน์ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอีกในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชาและได้ทำสัญญาผูกพันระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัทจาโก้ฯ ในปลายปี 2539 ก่อนรัฐบาลบรรหารจะพ้นจากหน้าที่เพียงไม่ถึงสัปดาห์ โดยมีประภัทร โพธสุธนลงนามก่อนพ้อนจากตำแหน่งเพียงไม่กี่ชั่วโมง
สัญญาเครื่องขายสลากแบบออนไลน์ได้เดินหน้าต่อมาในรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธในปลายปี 2539 ต่อช่วงต้นปี 2540 จาตุรนต์ ฉายแสงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังผู้กำกับดูแลสำนักงานสลากกินแบ่งให้ชะลอการดำเนินการตามสัญญาขายสลากด้วยเครื่องออนไลน์ แต่ในช่วงประมาณสิงหาคมถึงกันยายนนายอำนวย วีรวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นให้เดินหน้าเรื่องหวยออนไลน์ตามสัญญาที่ผูกพัน ความคิดและขอบเขตในการเปิดขายสลากออนไลน์แต่เดิมคือให้กันสลากกินแบ่งและสลากการกุศลที่มีขณะนั้นออกมา 5 ล้านฉบับ จำหน่ายด้วยเครื่องออนไลน์ 5,000 เครื่องส่วนที่เหลืออีก 39 ล้านฉบับคงเป็นสลากแผ่นพิมพ์ขายเหมือนเดิมและสลากแผ่นที่พิมพ์ขายกับสลากที่ขายด้วยเครื่องจะอยู่ในเงื่อนไขที่เหมือนกันทุกประการ
ปลายปี 2540 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย 2 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้พิมพ์สลากออกมาทั้งสิ้น 44 ล้านฉบับ เป็นสลากกินแบ่งรัฐบาลประมาณ 30 ล้านฉบับ และเป็นสลากการกุศลประมาณ 14 ล้านฉบับ รายได้จากการออกสลากจะต้องเป็นรายได้คงที่ทุกงวดประกอบด้วย เงินได้จากการขายสลากต้องคงที่ค่าใช้จ่ายเพื่อเงินรางวัลทั้งหมดรวมร้อยละ 60 ของราคาสลากทั้งหมดต้องคงที่
ค่าบริหารและจัดจำหน่ายของสำนักงานสลากรวมทั้งตัวแทนจำหน่ายจำนวนร้อยละ 12 ของราคาสลากทั้งหมดต้องคงที่และรายได้นำส่งรัฐร้อยละ 28 ของราคาสลากทั้งหมดต้องคงที่โดยคำนวณจ่ายเงินรางวัลตามสัดส่วนสลากทั้งหมดที่ขายได้ ต่อมามีการเปลี่ยนวิธีด้วยการต้องขายสลากโดยมีตัวแทนจำหน่ายรับสลากไปทั้งหมดเป็นโควตา ในขณะนั้นโควตาสลากจำเป็นต้องจ่ายผ่านองค์กรต่างๆ เช่นองค์การทหารผ่านศึก สมาคมสังคมสงเคราะห์ฯ องค์กรคนพิการและด้อยโอกาส กลุ่มสมาชิกผู้ค้าสลากกินแบ่ง ฯลฯ โดยให้องค์กรเหล่านี้หรือตัวแทนเข้ารับสลากจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแทนผู้ค้ารายย่อย ผู้ค้ารายย่อยที่มีโควตาเพียงงวดละ 4-5 เล่มอย่างมาก โค้วตาที่มีจำนวนชื่ออยู่หลายหมื่นคน สลากฯ มีอายุแค่ 15 วัน ทำให้เวลาการจ่ายล็อตเตอรี่มีเพียงแค่ 2 วันจึงมีเวลาเท่านี้เพื่อทำการจ่ายล็อตเตอรี่ให้กับคนหลายหมื่นรายดังนั้นจึงเป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะทำได้ ตอนนั้นมี 5 บริษัทโดยบุคคล 2 คน ได้มีสัญญารับสลากฯ 50,000 เล่มจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและการที่จะเอาไปรวมเล่ม ไม่ใช่แค่ 50,000 เล่มนี้เท่านั้น ต่อมาเริ่มมีกลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพลในวงการสลากกินแบ่งเข้ารับซื้อโควตาสลากจากองค์กรและสมาชิกรายย่อยเกือบทั้งหมดนำไปบริหารจัดการจำหน่ายเสียเอง และผู้ค้ารายย่อยจำนวนมากยอมขายโควตาของตนทั้งหมดให้ตัวแทนเพื่อรับเงินก้อนตอบแทนไปครั้งเดียวแล้วหันกลับมาซื้อสลากราคาแพงจากตัวแทนไปจำหน่ายอีกครั้งหนึ่ง สลากราคา 40 บาทจะเป็นกำไรเพียงฉบับละประมาณ 3.50 บาทแต่มีการซื้อขายโควตากันถึงฉบับละ 6 บาททำให้ต้นทุนสลากของตัวแทนผู้รวบรวมสลากตกฉบับละ 42-43 บาท เลขเน่าที่ขายยากอีกจำนวนหนึ่ง เขาอ้างว่าเลขเน่าเช่นเลข 6 ตัวที่มีหมายเลขเดียวกันซ้ำๆ อยู่บนใบเดียวกันหรือเลขที่ซ้ำกับหมายเลขที่ออกไปแล้วเมื่องวดก่อนเป็นสลากเน่าไปทั้งเล่มขายยาก ตัวเงินพวกนี้ก็เป็นต้นทุนหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องแบกรับ และราคาที่ตัวแทนต้องขายออกแก่ผู้ขายรายย่อยในราคาสูงถึง 45-46 บาทหรือคู่ละเกิน 90 บาท แค่ทุนมันก็เกินราคาหน้าสลากแล้ว ในขณะที่เลขสวยที่ถูกรวมชุดเหมือน 10 หรือ 20 หรือ 30 คู่ มีการขายกันตามความนิยมถึงคู่ละเกิน 100 บาทซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาของการขายสลากเกินราคา
ในสมัยรัฐบาลชวน 2 นั้นกระทรวงการคลังจึงไม่ยอมให้เพิ่มจำนวนสลากอย่างเด็ดขาด "รายได้ขนาดใหญ่ตกอยู่กับยี่ปั๊วระดับแรกซึ่งเป็นผู้จัดระบบทั้งหมดระบบนี้มีมาหลายสิบปีแล้วและยี่ปั๊วชุดนี้มีผู้นำที่เก่งมาเป็นผู้ประสานประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมืองในพรรคใหญ่พรรคหนึ่งและเป็นท่อน้ำเลี้ยงที่สำคัญสำหรับพรรคการเมืองนั้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว" มีเสียงอีแอบแทรกมาเบาๆในเรื่องนี้เมื่อไม่กี่วันนี่เอง ปชป.ถูกใส่ใข่ว่ามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนสลากรายใหญ่แต่หารู้ไม่ว่ากาลครั้งหนึ่งได้เคยมีการขนเงินร้อยยี่สิบล้านบาทไปยังพรรคการเมืองหนึ่ง แต่สุดท้ายมีอุปสรรคในการส่งมอบจึงต้องขนย้ายอย่างทุลักทุเลไปตึกใหญ่แห่งหนึ่งที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการโทรคมนาคมที่เราคุ้นชินกันดี เหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงด้วยการไปซื้อเครื่องเพชรชุดใหญ่ราคาหลายสิบล้านบาทที่ร้านเพชรในโรงแรมเพนนินฯ โดยที่ผู้ซื้อจ่ายเงินแล้วให้เอาของไปให้สตรีที่สุภาพหรือไม่ก็มิทราบได้ สตรีผู้นั้นก็เอาเครื่องเพชรมาคืนที่ร้านแล้วทำทีเป็นว่าเอาเครื่องเพชรมาขาย เงินนั้นได้มีคนเห็นและยังมีการเก็บบันทึกเสียงไว้ว่าไปที่ห้องรัฐมนตรีคลังในสมัยนั้นเพื่อส่งผ่านไปยังสตรีกร้านโลก ต้านลมที่รัฐมนตรีนั้นเรียกแม่ที่ได้ไปรอรับอยู่ในห้องติดกัน เจ้าของโค้วตาเก่าพยายามวิ่งเต้นชะลอให้มีการเลื่อนโค้วตาโดยมีข่าวว่าได้วิ่งเต้นถึงขนาดวิ่งโร่ไปหาผู้นำประเทศตอนนั้น ถึงร้านทำผมและมีการขนเงินมหาศาลย้ายไปมา สุดท้ายเจ้าของโค้วตาเก่า 5 บริษัทเดิมถูกยกเลิกทั้งหมดเพื่อนำโค้วตาไปยกให้กับคนใหม่ที่จ่ายเงินค่าตอบแทนสูงกว่าอีกหลายเท่าตัวเป็น 300 ล้าน สตรีทั้งสองเป็นพี่สะใภ้กับน้องสามีของผู้ยิ่งใหญ่ยิ่งใหญ่ แต่ทั้งคู่ไม่ค่อยถูกกัน หากพี่สะใภ้ได้เครื่องเพชร แล้วน้องสามีไม่ได้ก็จะเกิดการไม่ยอมกัน
รัฐบาลต่อมาในปี 2544-2548 มีการเพิ่มสลากขึ้นมาอีก 10 ล้านฉบับเป็นสลากจำนวน 54 ล้านฉบับ ไม่รวมการขายหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัวที่มีปัญหาคาราคาซังมาจนถึงวันนี้ สลากที่พิมพ์เพิ่ม 10 ล้านฉบับมีผู้ได้ประโยชน์จากการขายโควตาที่เพิ่มขึ้นฉบับละ 6 บาทจะเป็นเงินถึงงวดละ 60 ล้านบาท หรือเดือนละ 120 ล้านบาท หรือปีละ 1,440 ล้านบาท การพิมพ์สลากกินแบ่งเพิ่มขึ้นจึงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการขายสลากเกินราคาแต่จำนวนสลากที่เพิ่มขึ้นจะเป็นโควตาใหม่ที่ก่อให้เกิดการทุจริตขายโควตากันอย่างมหาศาล การเพิ่มสลากออนไลน์ไม่สามารถทำให้การขายหวยใต้ดินหมดสิ้นไปได้ หวยใต้ดินที่อาจลดลงบ้าง และในช่วงที่มีหวยบนดินนั้น หวยใต้ดินไม่ได้หมดไปแต่การณ์กลับเป็นว่ามีเด็กและเยาวชนที่มีการศึกษาอย่างชัดเจนว่าเข้ามาเล่นหวยเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
เครื่องขายสลากออนไลน์ในยุครัฐบาลไทยรักไทยเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมแทนที่จะเป็นเครื่องที่ขายสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 5 ล้านฉบับด้วยเครื่องจำนวน 5,000 เครื่องกลับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการขายหวย 2 ตัว 3 ตัวด้วยเครื่อง มีการจัดรูปแบบรับแทงเต็งหรือแทงโต๊ดทั้งเลขบนและเลขล่างได้ด้วยจะยิ่งเป็นการขยายการพนันจากหวยใต้ดินเพียงอย่างเดียวมาเป็นการพนันทั้งบนดินและใต้ดิน
ภายหลังจากที่รัฐบาลได้มีการอนุมัติให้สำนักงานสลากกินแบ่งเพิ่มสลากกินแบ่งอีกจำนวน 12 ล้านฉบับ โดยเพิ่ม 3 ครั้ง ครั้งละ 4 ล้านฉบับในเดือนธันวาคม 2552 กับเดือนมกราคมและมีนาคม 2553 วันนี้มีนายหน้าวิ่งขายโควตาสลากกินแบ่งทั่วบ้านทั่วเมืองในราคาฉบับละ 6 บาทโดยอ้างที่มาพาดพิงถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองบางท่านอย่างอาจเอื้อมและนักการเมืองหลายๆคนทั้งที่เท็จบ้างและจริงบ้าง ตอนนี้มีผู้คำนวณคร่าวๆ ว่า หากขายโควตา 12 ล้านฉบับได้เต็มจำนวนจะได้เงินถึงประมาณ 1,700 ล้านบาท และมีการเปิดขายหวย 2 ตัว 3 ตัวเพิ่มขึ้น ยอดเงินจากการขายหวย 2 ตัว 3 ตัวเพิ่มขึ้นจนสูงกว่ายอดเงินจากการขายสลากหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลทั้งระบบคือรวมกันแล้วมียอดสูงถึงกว่า 70,000 ล้านบาทต่อปี จนวันนี้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาการขายสลากกินแบ่งเกินราคามาโดยตลอดด้วยการพิมพ์จำนวนสลากกินแบ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนล่าสุดทราบว่ามียอดพิมพ์ทั้งสลากปกติและสลากการกุศลรวม 59 ล้านฉบับ ในงวดวันที่ 16 มกราคม 2553 นี้ ปัญหาการขายสลากกินแบ่งเกินราคาก็ยังไม่จบ
ไม่เคยมีใครเชื่อว่ายอดขายหวยใต้ดินจะลดลงคุ้มกับยอดขายหวยบนดินที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะลามระบาดไปยังหมู่เยาวชนและคนที่ไม่เคยเล่นหวย หวยบนดินออกจำหน่ายผ่านคนเดินโพยเพิ่มเติมขึ้นมาจากสลากกินแบ่งรัฐบาลอีกต่างหากโดยมีลักษณะกินรวบไม่ใช่กินแบ่งจึงเป็นการพนันที่มีสำนักงานกองสลากเป็นเจ้ามือรับแทงหวยเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวในลักษณะเดียวกับเจ้ามือหวยใต้ดินพูดง่ายๆ ว่า เป็นการออกสลากจำหน่ายเฉพาะหวยเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวแยกต่างหากจากสลากกินแบ่งรัฐบาลเล่นได้เสียกันเฉพาะเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวโดยตรง เงินรางวัลทั้งสิ้นรวมกันเพียงร้อยละ 60 ของยอดขายเท่านั้น ร้อยละ 28 เป็นเงินรายได้ที่จะนำส่งรัฐหรือหน่วยงานเพื่อการกุศลตามเป้าหมายอีกร้อยละ 12 เป็นต้นทุนการผลิต การบริหารและการจัดจำหน่าย คนจนเล่นหวยคนรวยเล่นหุ้น การออกสลากเป็นซ้ำเติมคนจน หากินบนความหวังของคนจน หากยอดการขายสลากและขายหวยสูงขึ้นเป็นปีละ 100,000 ล้านบาทเท่ากับผู้ซื้อสลากและซื้อหวยทั้งระบบต้องสูญเสียถึงปีละ 40,000 ล้านบาท หรือ 400,000 ล้านบาทในเวลาเพียง 10 ปีไม่รวมส่วนที่ต้องสูญเสียจากการขายสลากเกินราคาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเงินคนจนทั้งสิ้น ไอ้ที่ว่ารัฐน่าจะได้เพียงปีละประมาณ 28,000 ล้านบาทเท่านั้นถ้ารัฐหลวมตัวเปิดให้บริการจริงๆ
นายกฯ อภิสิทธิ์ไม่สนับสนุนหวยออนไลน์มาแต่ไหนแต่ไร หนังสือ"ร้อยฝันวันฟ้าใหม่" เรื่อง "คนไทยไม่ต้องพึ่งหวย"ที่เขาเขียนไว้สมัยเป็นฝ่ายค้านก็บอกไว้ชัดมาตั้ง 2-3 ปีแล้ว การที่นายกฯออกมาให้ความเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับการให้ประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านเครื่องที่ขายโดยอัตโนมัติทั้งๆที่คณะกรรมการกองสลากฯได้มีมติให้ออกหวย 2 ตัว 3 ตัวขายผ่านเครื่องดังกล่าวโดยกำหนดวันขายครั้งแรกแล้วในต้นเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้แล้วจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่อยู่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด รัฐบาลไม่ต้องการให้อบายมุขและการพนันในรูปแบบอื่นๆขยายตัวได้ง่าย การเล่นหวยไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับใครก็ตาม การไม่มีหวยให้เล่น หรือลดช่องทางในการเล่นหวยก็น่าจะทำให้ชีวิตคนของเราดีขึ้น ผู้ที่เดือดร้อนจากการยกเลิกหวยบนดินจริงๆ จึงเป็นกลุ่มผู้ขายมากกว่า สำนักงานสลากกินแบ่งควรออกรางวัลที่1 และรางวัลเลขท้ายหลายๆชุดจะทำให้การเล่นหวยใต้ดินลำบากขึ้นเพราะมีตัวเลขหลายชุดการกำหนดตัวเลขที่จะใช้รับรางวัลก็จะยากขึ้น ความนิยมซื้อหวยใต้ดินก็จะลดลงไป แต่จะดียิ่งขึ้นหากเลิกการให้บริการเรื่องนี้ไปเสียเลย หรือถ้ายังไม่ได้ในตอนนี้ก็ลดจำนวนงวด เช่น จำกัดให้ออกหวยเพียงเดือนละ ๑ งวด แล้วสร้างแรงจูงใจให้คนหันไปเสี่ยงโชคในลักษณะของการออมทรัพย์มากขึ้น เช่น สลากออมสินโดยที่สลากออมสินต่างจากสลากกินแบ่งรัฐบาลเพราะสลากออมสินซื้อครั้งเดียวสามารถลุ้นรางวัลได้กว่า 60 งวดไม่เหมือนหวยที่ซื้อแล้วไม่ถูกก็หมดค่า ดำเนินมาตรการปราบปราม บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับหวยใต้ดินอย่างเด็ดขาดและจริงจัง เพิ่มเติมมาตรการเสริมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานปราบปราม เช่น ยึดทรัพย์ ให้รางวัลนำจับ ฯลฯ
จากการศึกษาของนายเกียรติ สิทธีอมรประธานผู้แทนการค้าไทยในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแนวทางข้อกฎหมายและการเจรจาหาทางออกเพื่อยกเลิกการออกสลากออนไลน์ ตามนโยบายยุติหวยออนไลน์ตามสัญญาหากจะยกเลิกจะต้องบอกล่วงหน้าใน 1 ปีแต่สัญญาระบุว่า การคำนวณเงินชดเชยจะคำนวณจากวันที่เริ่มจำหน่ายจริงใน 1 ปีดังนั้นจะต้องไม่สับสนระหว่างการบอกยกเลิกใน 1 ปีกับวิธีการคำนวณเงินชดเชย ถือเป็น 2 ประโยคที่ต่อกันขึ้นกับการตีความโดยจะหารือกับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายอีกครั้ง เชื่อขนมกินได้เลยว่าผู้ประกอบการรู้ว่ามีความเสี่ยงจึงระบุในสัญญาไว้และเชื่อว่าถ้ารัฐบาลปฏิบัติตามสัญญาให้ความเป็นธรรมภาคเอกชนน่าจะอยู่ในสถานะที่รับได้ ถ้าคิดว่าไม่มีความเป็นธรรมก็มีสิทธิ์จะเรียกร้องเงินชดเชยเพิ่มเติมผ่านกระบวนการอื่นๆ แต่ก็นั่นเองรัฐบาลไม่ควรจะไปนำมาจากเงินภาษีของประชาชนในการใช้จ่ายเป็นค่าเสียหายและค่าดำเนินการทั้งหมดนี้ แต่ควรใช้จากเงินรายได้ค่าประกอบการของสำนักงานกองสลากฯ เอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น