กว่าจะทราบผลการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 34 เวลาก็ล่วงไปราวเที่ยงคืนของวันนี้และจะได้ทราบผลกันว่ากัมพูชาสามารถผลักดันปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ โดยเฉพาะการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาท เพราะถ้าทำได้สำเร็จนั่นก็หมายความว่าจะส่งผลกระทบต่อดินแดนส่วนอื่นๆของไทยอีกนับล้านไร่ตามมาในอนาคตจากแนวโน้มและองค์ประกอบรอบด้านแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะต้องสูญเสียพื้นที่พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารจำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตรเนื้อที่ประมาณ 3 พันไร่ให้แก่กัมพูชา และในอนาคตก็จะสูญเสียพื้นที่ตามแนวชายแดนด้านตะวันออกต่อเนื่องลงมาตั้งแต่บนบกจนถึงทะเลอ่าวไทย ไล่ลงมาตั้งแต่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สระแก้ว จันทบุรี และตราด ซึ่งสาเหตุการสูญเสียดังกล่าวส่วนสำคัญมาจากเหตุผลเดียวก็คือ การ “ปกปิด” ความผิดพลาดในอดีต หรือกลัวเสียหน้าของพวกนักการเมืองเท่านั้นเอง
บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา (เอ็มโอยู) เมื่อปี 2543 ที่เสมือนไปยอมรับอัตราส่วนแผ่นที่ 1 ต่อ 2 แสน ของฝรั่งเศสที่ไทยเคยคัดค้านมาตั้งแต่ยุคที่ยังเป็นราชอาณาจักรสยาม + แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ว่าด้วยการยกประสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบขึ้นบัญชีไว้ในมรดกโลกของกัมพูชาในสมัยรัฐบาลของสมัคร สุนทรราช ทั้งศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้เคยวินิจฉัยออกมาแล้วว่า เป็นสนธิสัญญาที่อาจเปลี่ยนแปลงอาณาเขตต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน สรุปก็คือแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ที่ผ่านมารัฐบาลภายใต้การนำของ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไป ไม่ยอมใช้โอกาสนี้ไปยกเลิกเอ็มโอยูที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 43 ที่นำไปสู่การอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ของไทยจากฝ่ายกัมพูชา โดยอ้างแผนที่ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนของฝรั่งเศส มาตลอด และไทยก็ไม่ได้คัดค้านอย่างเป็นทางการ กรณีของการลงนามในเอ็มโอยูเมื่อปี 2543 มาจนถึงแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2551 และต่อเนื่องมาจนถึงการที่ทางการกัมพูชาได้ใช้ประโยชน์จนนำไปสู่การขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกและใช้พื้นที่โดยรอบปราสาทเป็นพื้นที่บริหารจัดการเพื่อให้การขึ้นทะเบียนมีความสมบูรณ์แบบ ซึ่งผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ก็ถือว่ายังมีผลจนถึงทุกวันนี้ เพราะในเว็บไซต์ขององค์การยูเนสโกก็ได้ระบุถึงมติของคณะกรรมการมรดกโลกเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งผลของมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกดังกล่าวก็เป็นผลมาจากท่าทีที่ไม่ชัดเจนของฝ่ายไทยมาตลอดนั่นเอง
จากคำยืนยันของนายกฯ ที่ระบุว่า ประเทศไทยไม่เสียดินแดนเลย ถ้าหากประเทศไทยไปร่วมพัฒนาที่ดินแบบการขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดน ต่อประเด็นนี้ทางเครือข่ายภาคประชาชนฯ ได้ตอบกลับไปว่า เรื่องนี้ไม่เกินความคาดหมายว่าตัวแทนรัฐบาลใช้วิธีการแบบนี้ ซึ่งภาคประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และอาจทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวก็จะคัดค้านอย่างหนัก เพราะแนวทางพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-กัมพูชา ไม่เป็นธรรมกับชาวบ้านที่เคยทำมาหากินและอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดนของจังหวัด อาทิ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ซึ่งมีการรวมตัวเป็นเครือข่ายเรียกร้อง
"มีกรณีชาวบ้านแถบนั้นรายหนึ่ง เพียงแค่รัฐบาลประกาศเขตป่า ตามแนวคิดการขึ้นทะเบียนร่วม จากคนที่มีที่ดิน 100 ไร่เหลือเพียง 1 ไร่ภายในพริบตา จึงได้เรียนข้อมูลนี้ให้นายกฯ ทราบและเตือนสติรัฐบาลให้รู้ไว้ว่า ประเด็นนี้จะสร้างปัญหาต่อชาวบ้านอย่างมาก หากเลือกแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ไขปัญหา เพราะในความเป็นจริงมันไม่ใช่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว เพราะเขตแดนเป็นเรื่องประโยชน์และความเป็นธรรมของประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่มาก สำหรับภาคประชาชน ประเด็นนี้ต้องระวัง เพราะมันอาจทำให้เกิดการลุกฮือของภาคประชาชน เพราะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่นั้นอพยพออกจากพื้นที่
พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารจำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตรอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กกระจ้อยร่อยไปแล้วก็เป็นได้ หากเขมรสามารถผลักดันจนจดทะเบียนเป็นมรดกโลกได้สำเร็จ ซึ่งการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่บราซิลซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยทางฝ่ายโน้นพยายามยึดข้อตกลงที่เคยทำเอาไว้กับฝ่ายไทยตั้งแต่ปี 2543 แล้วตีขลุมเอาว่าไทยได้ให้การยอมรับมาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตามแผนที่ฝรั่งเศสเสียด้วย หากเป็นเช่นนั้นจริงอย่าว่าแต่พื้นที่รอบพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรเนื้อที่กว่า 3 พันไร่เลย ปราสาทขอมที่อยู่ริมแดนไทยทั้งหมดไล่ลงมาตั้งแต่อุบลฯ ศรีสะเกษ สุรินทร์เรื่อยมาจนถึงทะเลอ่าวไทย ต่อไปเกาะกูดก็จะหายไปด้วย ที่สำคัญงานนี้มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ด้านพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง และ 7 ประเทศที่ร่วมเป็นกรรมการในมรดกโลกดังกล่าวก็เป็นมหาอำนาจที่จ้องเข้าไปทำธุรกิจในแถบนั้นตาเป็นมันเสียด้วย
มีการประเมินกันว่ามีเรื่องผลประโยชน์ทางด้าน “พลังงาน” เข้ามาเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับประเทศมหาอำนาจที่อยู่เบื้องหลังองค์กรยูเนสโกก็ตาม เพราะต้องไม่ลืมว่าในพื้นที่อ่าวไทยที่กำลังมีปัญหาพิพาทระหว่างสองประเทศอยู่นั้นอุดมไปด้วยแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน และหากใช้แผนที่ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตาม “ระวาง” ของฝรั่งเศสแล้ว อย่าว่าแต่พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรเลย เพราะพื้นที่ตามแนวชายแดนตั้งแต่บนบกไปจนถึงทะเล ทั้งปราสาทขอมเกือบทั้งหมด และเกาะกูด ก็มีแนวโน้มจะต้องสูญเสียไป รวมแล้วไม่ต่ำว่าหนึ่งล้านไร่ แต่ที่น่าเจ็บใจก็คือ นี่คือผลงานอันอัปยศของนักการเมือง และข้าราชการไทยที่ไม่เอาไหน คิดแต่ปกปิดความผิด
พลาดของตัวเองในอดีต หรือไม่ก็ใช้วิธีตามแก้ไขหลังจากเหตุการณ์หรือความสูญเสียได้เกิดขึ้นแล้ว
อ่านเต็มๆเลยที่นี่ กดเลย