30 กรกฎาคม 2552

ธรรมาภิบาลของปตท.


ปตท.สามารถถือหุ้นในกิจการด้านพลังงานในสัดส่วนที่สูงเช่น ด้านกิจการน้ำมัน ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในโรงกลั่นน้ำมัน 5 แห่งจากที่มีโรงกลั่นขนาดใหญ่ในประเทศทั้งหมด 6 แห่งและยังอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการกับบริษัทธุรกิจน้ำมันอื่นๆ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาน้ำมัน ความร่ำรวยระดับติดกลุ่มบริษัทรวยที่สุดในโลกของปตท.ก่อให้เกิดคำถามว่ามาจากการโก่งราคาน้ำมันขูดเลือดขูดเนื้อประชาชนคนไทยใช่หรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ว่ามีการผูกขาดธุรกิจน้ำมัน-ก๊าซฯและควบคุมไม่ให้การเคลื่อนไหวของราคาและการแข่งขันเป็นไปตามกลไกตลาดเสรีโดยหว่านผลประโยชน์ให้ข้าราชการระดับสูงของรัฐเพื่อครอบงำตลาดเอาเปรียบผู้บริโภคเป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ตรวจสอบทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาลของวุฒิสภาได้สรุปผลการตรวจสอบการกำหนดราคาซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูปว่าสรุปผลตรวจสอบว่าเกิดขึ้นจริงพบความไม่โปร่งใสมีลักษณะผูกขาดโดยผู้ค้ารายใหญ่ควบคุมไม่ให้การเคลื่อนไหวของราคาและการแข่งขันเป็นไปตามกลไกตลาดเสรี โดยปตท.ที่ผูกขาดธุรกิจน้ำมัน ก๊าซฯ มีสิทธิควบคุมนโยบายผ่านคณะกรรมการบริษัทซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงของรัฐเพื่อครอบงำตลาดได้ อีกทั้งราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มไม่ปรับขึ้น-ลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอย่างผิดปกติ

ในสภาวะที่ทุกคนเดือดร้อนจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นหลายคนเริ่มหันมาคิดว่าบริษัทน้ำมันที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยเหตุใดจึงสามารถทำกำไรได้อย่างมากมายมหาศาลเกือบแสนล้านบาทและมีเงินใช้ทำการตลาดและการโฆษณามากมาย ขณะที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ กลับทำได้เพียงยอมจำนน เรื่องพลังงานเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างมากและเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการปรับขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซฯ เมื่อราคาน้ำมันหรือก๊าซฯในตลาดโลกปรับขึ้นดูเหมือนผู้ค้าน้ำมันก็จะขึ้นราคาทันทีแต่เมื่อราคาน้ำมันลงราคาน้ำมันในประเทศกลับถูกตรึงไว้ให้คงที่หรือไม่ได้ลดลงให้สอดคล้องตามราคาตลาดโลก

ผลการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการสรุปว่าการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยโดยอิงราคานำเข้าจากตลาดสิงคโปร์และบวกเพิ่มค่าใช้จ่ายต่างๆในการขนส่งน้ำมันสำเร็จรูป ค่าสูญเสียระหว่างขนส่ง ค่าปรับปรุงคุณภาพจากมาตรฐานสิงคโปร์มาเป็นมาตรฐานไทยและค่าประกันภัยจากสิงคโปร์มาไทยซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเพราะโรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ในประเทศไทยทำให้ผู้บริโภคชาวไทยต้องซื้อพลังงานด้วยราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นเพราะต้องซื้อในราคานำเข้าไม่ใช่ราคาผลิตได้ในประเทศ ที่สำคัญธุรกิจผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของไทยเป็นธุรกิจกึ่งผูกขาดทำให้ราคาสินค้าพลังงานไม่ได้เคลื่อนไหวโดยกลไกตลาดเสรี หากแต่เป็นไปตามการกำหนดโดยผู้ค้ารายใหญ่ภายในประเทศเองด้วยเหตุนี้ราคาค้าปลีกน้ำมันของไทยจะปรับราคาลงช้ากว่าราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่ในยามที่ราคาตลาดโลกปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกของไทยจะปรับราคาขึ้นเร็วกว่าการปรับราคาลง และราคาน้ำมันที่ขายกันตามปั๊มต่างๆ จึงไม่ใช่ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับผู้บริโภคหรือผู้ใช้น้ำมัน การผลิตพลังงานของไทยไม่ได้พึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบบางส่วนเป็นวัตถุดิบในประเทศซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตที่แท้จริงถูกกว่าราคา ณ ระดับของการนำเข้าทั้งหมด

ในทางกลับกันโรงกลั่นไทยส่งออกน้ำมันในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ขายให้คนไทยเพราะโรงกลั่นต้องส่งออกตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ลบด้วยค่าโสหุ้ยในการขนส่ง ค่าสูญเสียในการขนส่ง ค่าประกันภัย และค่าปรับปรุงคุณภาพเนื่องจากเป็นราคาที่เป็นไปตามกลไกตลาดโลกที่แท้จริงทำให้คนไทยต้องจ่ายค่าน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าคนสิงคโปร์โดยใช้กลไกตลาดเทียม ดังนั้นรัฐบาลจึงควรต้องมีการทบทวนเรื่องนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์

แหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบในประเทศเป็นแหล่งขนาดเล็กหรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน,ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมากและแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งเริ่มมีกำลังการผลิตต่ำลง แหล่งก๊าซในประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 2,500 MMFFCD หรือ 417,000 บาร์เรลต่อวันและจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3,000 MMSFCD (500,000 bdoe) ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ปัจจุบันแหล่งอาทิตย์และ JDA ยังไม่ได้มีการดำเนินการผลิตเต็มที่ จากการคำนวณปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทยและปริมาณสำรองที่มีพบว่าหากไม่มีการค้นพบแหล่งใหม่ๆ และภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบันจะมีก๊าซใช้เพียงพออีก 24 ปีทีเดียว อย่างไรก็ตามแม้หลายแหล่งจะกำลังการผลิตต่ำลงแต่ก็มีการพบแหล่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด ในส่วนของการเก็บภาษีภาครัฐพบว่าในยุคนี้มีระเบียบสัมปทานปิโตรเลียมที่ออกตั้งแต่ปี 2550 ที่เอื้อกับบริษัทเอกชนอย่างมากโดยเฉพาะธุรกิจในเครือปตท.ทั้งในส่วนของภาษีให้มีการเก็บอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได 5-15% และลดหย่อนภาษีได้ รวมทั้งมีการแก้ระเบียบพื้นที่สัมปทาน (ตร.กม.ต่อแปลงสำรวจ) โดยแต่เดิมอนุญาตให้เอกชนมีพื้นที่สัมปทานไม่เกิน 4,000 ตร.กม.โดยจำนวนแปลงสูงสุดไม่เกิน 5 แปลงสำรวจ ปัจจุบันมีการให้พื้นที่สัมปทานไม่เกิน 4,000 ตร.กม.ต่อแปลงสำรวจโดยไม่จำกัดจำนวนแปลงสำรวจด้วย

ก่อนที่ปตท.ได้แปรรูปในตลาดหลักทรัพย์ปตท.ได้เดินหน้าก่อสร้างโรงงานแยกก๊าซไว้ถึง 4 โรงโดยคำนึงประชาชนเป็นหลักในยามที่ขาดแคลนแต่เมื่อปตท.แปรรูปไปแล้วได้สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นเพียง 1 โรง เพราะปตท.สามารถคำนวณความต้องการใช้ในประเทศล่วงหน้าได้อยู่แล้วและในอนาคตปตท.ก็เชื่อว่าจะมีการขาดแคลนเกิดขึ้นแต่ก็ยังไม่สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้น เพียงแค่ปตท.เกรงว่าจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้บริษัทและต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นหลักซึ่งไม่ใช่ประชาชนเจ้าของประเทศนั่นหมายความว่าปตท.กำลังเอาประชาชนส่วนใหญ่ของเป็นตัวประกันสนองความต้องผู้ถือหุ้นเพียงไม่กี่คน

ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขนาดใหญ่ที่ดำเนินการผลิตแล้วรวมกันกว่า 50 แหล่ง (ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปัจจุบันไทยสามารถผลิตพลังงานรวมกันได้ถึง 721,500 บาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 115 ล้านลิตรต่อวันปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้ในการกลั่นน้ำมันมากกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ของความต้องการใช้ในประเทศทำให้มีการส่งออกอย่างต่อเนื่องและในปี 51 มูลค่าการส่งออกพลังงานของไทยมีมูลค่า 9,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงกว่าการส่งออกข้าวที่มีมูลค่าเพียง 6,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551 พลังงานน้ำมัน-ก๊าซฯที่มีประชาชนเป็นเจ้าของเป็นสินค้าส่งออกมูลค่าสูงลำดับที่ 4 ของไทย รายได้จากการส่งออกพลังงานของไทยมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าการส่งออกน้ำมันของประเทศเอกวาดอร์ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่มโอเปก ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศอยู่ที่ 35,219 ล้านลิตรต่อปี วันนี้บมจ.ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโรงกลั่นน้ำมัน 5 แห่งจากโรงกลั่นขนาดใหญ่ 6 แห่งในประเทศไทยที่มีกำลังการผลิตรวมกันกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ปตท.มีสิทธิควบคุมนโยบายผ่านคณะกรรมการบริษัทเพื่อครอบงำตลาดได้

ประสาท มีแต้มนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งติดตามเรื่องพลังงานมาอย่างต่อเนื่องได้ให้ข้อมูลต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยยกราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเปรียบเทียบการขึ้น-ลง ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ค่าการกลั่นและค่าการตลาดมีการปรับขึ้น-ลงตามการกำหนดของผู้ค้ารายใหญ่อย่างไรรวมไปถึงภาษีและกองทุนที่จัดเก็บในแต่ละช่วงของรัฐบาลเป็นอย่างไร เงินที่เราจ่ายไปแต่ละลิตรแต่ละบาทนั้นเข้ากระเป๋าของรัฐในรูปภาษีและพ่อค้าน้ำมันฝ่ายละเท่าใด ประสาทได้เลือกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วซึ่งเป็นประเภทน้ำมันที่คนใช้มากที่สุดวันละประมาณ 5060 ล้านลิตร โดยเลือกเอาช่วงเวลา 8 ต.ค. 13 พ.ย. 51 (รวม 26 วัน บางวันไม่มีข้อมูล) และช่วง 12 พ.ค. 15 มิ.ย. 52 (รวม 24 วัน) มาศึกษาโดยใช้ราคาน้ำมันดิบของตลาด WTI (West Texas Intermediate ซึ่งเป็นราคาที่ท่าเรือ) พบว่าแต่ละช่วงค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 68.76 และ 64.50 เหรียญต่อบาร์เรล ตามลำดับ เมื่อเปลี่ยนเป็นเงินไทยแล้วพบว่าราคาน้ำมันดิบของสองช่วงเวลาเฉลี่ยลิตรละ 15.02 และ 14.06 บาทตามลำดับ พบความผิดปกติอยู่ที่ราคาค่าการตลาดและค่าภาษีและกองทุน โดยค่าการตลาดซึ่งกำหนดโดยผู้ค้าน้ำมันในช่วงแรก (8 ต.ค. 13 พ.ย. 51 ) สูงกว่าในช่วงหลัง (12 พ.ค. 15 มิ.ย. 52) ถึง 2 เท่าตัว หรือสูงกว่าถึงลิตรละ 1.68 บาทและคนไทยใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 1,500 ล้านลิตรดังนั้นค่าการตลาดที่เกินมานี้ประมาณ 2,500 ล้านบาทเฉพาะในเดือนดังกล่าวหรือเป็นการสมคบกันระหว่างพ่อค้าพลังงานกับนักการเมืองที่กำกับดูแลกิจการพลังงานและมีข้อสังเกตว่ากระทรวงพลังงานไม่ยอมบอกข้อมูลค่าการกลั่นมูลค่าลิตรละ 2.43 บาทในช่วงเวลา 12 พ.ค. 15 มิ.ย. 52 นี้เท่ากับ 11.12 เหรียญต่อบาร์เรลในขณะที่มูลค่าการกลั่นในกลุ่มยุโรปอยู่ที่ 8.93 และ 6.18 เหรียญต่อบาร์เรลเท่านั้น

ขั้นมูลค่าการค้าน้ำมันมีราคาน้ำมันดิบที่ยังไม่รวมค่าขนส่งนำมากลั่นในประเทศทำให้มีราคาหน้าโรงกลั่น ในอดีต ก่อน 9 ธ.ค. 51 กระทรวงพลังงานจะรายงานค่าการกลั่นเฉลี่ย แต่หลังจากนั้นกลับไม่มีการรายงานโดยไม่ทราบเหตุผล ค่าการกลั่นเป็นผลต่างของราคาน้ำมันดิบ(ในตลาดโลก)กับราคารวมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่กลั่นมาได้ เช่น ถ้าราคาน้ำมับดิบบาร์เรลละ 60 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อกลั่นเสร็จแล้วขายได้ 67 เหรียญสหรัฐฯ ค่าการกลั่นจะเท่ากับ 7 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อกลั่นแล้วก่อให้เกิดภาษีที่มีหลายประเภททั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่มนอกเหนือจากค่ากองทุนน้ำมันและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ราคาหน้าปั๊มจะถูกบวกค่าการตลาดแต่ราคาหน้าปั๊มในต่างจังหวัดที่สูงกว่าในกรุงเทพฯเพราะบวกค่าขนส่งเพิ่มเข้าไป

ในที่สุดปัญหาจากราคาน้ำมันแพงไม่ใช่เพราะตลาดโลกหรือเพราะตลาดสิงคโปร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพราะประเสริฐได้เฉลยออกมาด้วยตัวเองว่าเพราะปตท.ต้องกำไรและปตท.อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ที่ว่าสังคมไทยอยากให้ปตท.เป็นยังไงและวันนี้ปตท.ก็อยู่ในตลาดฯ (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ก็อยู่ที่สังคมไทยว่าอยากให้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯหรือเปล่า ผมเป็นผู้บริหารเป็นพนักงาน ปตท.ผมก็อยากทำอะไรให้ดีที่สุดแก่ทุกฝ่ายและสอดคล้องกับแนวทางที่ทั่วโลกทำกันถ้าเผื่อว่าเราซึ่งเป็นประเทศ Net Import Country มาบิดเบือนโครงสร้างราคาและเราต้องนำเข้าประชาชนก็ไม่รู้จักประหยัดเราก็ต้องไปเอาก๊าซหุงต้มเข้ามาแล้วเราต้องอุดหนุนสุดท้ายจะเอาเงินมาจากไหนปตท.ก็อุดหนุนไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ถ้าเอาปตท.เป็นหน่วยอุดหนุนปตท.ก็ต้องไปเป็น Non Profit Organization ก็อย่าให้ปตท.เป็นบริษัทอยู่ในมหาชน ก็เอาปตท.ออกจากตลาดฯปตท.ก็จะเป็นเหมือนรัฐวิสาหกิจที่จะไม่สามารถสนองนโยบายรัฐได้เหมือนในบางรัฐวิสาหกิจ

วิทยา หวังจิตรารักษ์ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มาตอกย้ำอีกครั้งในวันที่ 12 มีนาคม 2552 ว่า การทำธุรกิจทุกเรื่องต้องหวังกำไร ปตท.ในฐานะองค์กรของรัฐได้ทำหน้าที่ทุกด้านควบคู่กันทั้งการป้องกันผลกระทบประชาชนและการสร้างรายได้ให้รัฐ แต่หากจะให้ขาดทุนตลอดคงไม่ถูกต้อง โดยปรัชญา ภิญญาวัธน์ประธานเจ้าหน้าบริหารอุตสาหกรรมปิโตรเลียมขั้นปลายและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจน้ำมันเสริมให้ฟังดูดีขึ้นอีกว่าในปีที่แล้ว 2551 ปตท.ขาดทุนจากการสตอกน้ำมันเพื่อความมั่นคงตามหลักเกณฑ์ของภาครัฐมีมูลค่าสูงถึง 5 ,000 ล้านบาทที่กำหนดให้ผู้ค้าต้องสำรองร้อยละ 5 หรือประมาณ 18 วันซึ่งในต่างประเทศการสำรองจะเป็นหน้าที่ของภาครัฐโดย ปตท.ไม่ได้เรียกร้องให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าเป็นต้นทุนที่ภาคเอกชนแบกรับซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้นำมารวมอยู่ในการประกาศค่าการตลาดของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) แต่อย่างใดโดยหากนำมารวมค่าการตลาดจะต่ำกว่าที่เห็น

การตรวจสอบธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาลของวุฒิสภาที่มีนางรสนา โตสิตระกูลเป็นประธานพบ 3 เรื่องสำคัญที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันในเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานรัฐกับบทบาทกรรมการบริษัทเอกชนด้านพลังงาน การปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติหรือที่เรียกกันว่าค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติของปตท.ที่มีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2552 และธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบริหารจัดการและกำกับดูแลพลังงานไทย

ข้าราชการระดับสูงจากหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการพลังงานและได้เข้าไปเป็นประธานหรือเป็นกรรมการในบริษัทรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานที่มีรัฐถือหุ้นใหญ่ในฐานะตัวแทนภาครัฐเพื่อกำกับดูแลด้านนโยบายและการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามแนวนโยบายไม่ได้กำกับให้บริษัทธุรกิจพลังงานเหล่านั้นดำเนินการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรมหรือไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องประโยชน์ของประชาชน คุ้มครองผู้บริโภคเลย ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังเปิดช่องกฎหมายให้ข้าราชการผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลธุรกิจพลังงานสามารถเป็นกรรมการในบริษัทเอกชนได้อีกด้วยซึ่งขัดกับกฎหมายมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา "การที่เจ้าหน้าที่รัฐละเลยการกำกับดูแลที่ต้องไม่ให้บริษัทธุรกิจพลังงานสามารถผูกขาดจึงทำให้ปตท.สามารถดำเนินกิจการก๊าซธรรมชาติแบบผูกขาดโดยไม่มีคู่แข่งทั้งธุรกิจการจัดหา การให้บริการท่อส่งก๊าซ การแยกก๊าซ การจัดจำหน่าย ปตท.จึงสามารถกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติได้อย่างเบ็ดเสร็จซึ่งขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแต่ไม่ปรากฏว่าข้าราชการที่เข้าไปเป็นกรรมการในฐานะตัวแทนของรัฐซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จะมีการคัดค้านหรือกำกับดูแลให้บริษัทต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ"

ข้าราชการซึ่งเข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการในปตท. กรรมการผู้บริหารระดับสูง และพนักงานต่างก็รักษาประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญแต่ข้อห้ามกรรมการไม่ให้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการที่เกี่ยวข้องดูจะไม่เข้มงวดมากนัก การเข้ามาเป็นคณะกรรมการปตท.ของข้าราชการนั้นทำให้ข้าราชการเหล่านี้ต่างได้รับผลตอบแทนทั้งจากปตท.และบริษัทในเครือเป็นจำนวนมากเช่นเมื่อปี 2551 พบว่า เงินเบี้ยประชุม 10.47 ล้านบาท และเงินโบนัส รวม 25.85 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 36.32 ล้านบาทเทียบกับปี 2550 ที่ผ่านมาลดลงประมาณ 8 ล้านบาท เดิมทีนั้นข้าราชการมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศ แต่ภายหลังจากการแปรรูปปตท.ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองและข้าราชการโดยเป็นวงจรอุบาทว์ที่นักการเมืองจะแต่งตั้งข้าราชการเป็นตัวแทนไปนั่งเป็นบอร์ดในบริษัทพลังงานโดยทำให้นักการเมืองและข้าราชการด้านหนึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ในขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการในบริษัทพลังงานที่คอยรับผลประโยชน์จากการกำหนดนโยบายดังกล่าว

ข้อยกเว้นที่ว่ากรรมการของรัฐวิสาหกิจสามารถที่จะเป็นประธานกรรมการ กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่รัฐวิสาหกิจมีหุ้นอยู่ด้วยได้หากรัฐวิสาหกิจนั้นได้มอบหมายให้ไปดำรงตำแหน่ง ทำให้ข้าราชการระดับสูงที่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจอย่างปตท. หรือ กฟผ.และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านพลังงานยังได้เข้าไปเป็นกรรมการและรับผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทเอกชนหลายรายก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับเอกชนและปัญหาธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรง ด้วยนโยบายดังกล่าวทำให้ข้าราชการระดับสูงมีรายได้เกิดขึ้นจากการเป็นกรรมการบริษัทหลายแห่งสูงลิ่วเช่นกรณีของนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทในเครือปตท.หลายบริษัท โดยได้รับผลตอบแทนโดยรวมเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา รวมประมาณ 22 ล้านบาทซึ่งยังไม่นับรวมผลประโยชน์การถือหุ้นอีก

คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาลของวุฒิสภาเคยเชิญผู้เกี่ยวข้องจากหลายหน่วยงานมาให้ข้อมูลการปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติหรือค่าผ่านท่อก๊าซฯของปตท. กระบวนการขึ้นค่าบริการส่งก๊าซฯซึ่งที่สุดแล้วกลายมาเป็นภาระทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ประชาชนต้องจ่ายแทนที่หน่วยงานของรัฐจะทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองผู้บริโภคเป็นด้านหลัก โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรวบรัดจัดทำกรอบในการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติและอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติใหม่ผ่านคู่มือการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติและอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้พิจารณาและให้ความเห็นชอบทั้งๆที่คณะรัฐมนตรี รัฐสภา หรือประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ โดยให้มีผลบังคับใช้ในเวลา 2 เดือนเศษเท่านั้น

หลังจากนั้นปตท.ขอปรับอัตราค่าบริการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติจึงได้อนุมัติให้ปตท.ปรับอัตราค่าบริการโดยไม่สนใจเสียงท้วงติงจากองค์กรผู้บริโภคแต่อย่างใดทำให้ปตท.มีผลกำไรเพิ่มขึ้นในปี 2552 เป็นจำนวน 2,000 ล้านบาท จากการได้รับอนุมัติให้ขึ้นราคาค่าผ่านท่อ ในท้ายที่สุดค่าบริการที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนี้จะถูกผลักภาระมายังประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งๆที่ราคาก๊าซในตลาดโลกได้มีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ปตท.ได้-ประเทศชาติและประชาชนเสียต้องรับภาระค่าครองชีพ ต้นทุนสินค้าก็เพิ่มสูงขึ้น ภาระของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชนก็เพิ่มขึ้นด้วย

แม้กกพ.จะมีมติไม่ขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรโดยอัตโนมัติ (Ft) ในช่วงเดือนพ.ค. - ส.ค.2552 โดยให้กฟผ.เป็นผู้รับภาระทำให้รายได้ของกฟผ.ลดน้อยลงและส่งผลให้รายได้ที่กฟผ.นำส่งรัฐลดลงตามไปด้วย ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าทุกประเภทเพิ่มสูงขึ้น ด้านหนึ่งรัฐต้องการลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคของประชาชนผ่านมาตรการอุดหนุนแต่อีกด้านกลับอนุมัติให้เพิ่มค่าบริการส่งก๊าซซึ่งทำให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น

คู่มือฯที่สนพ.จัดทำขึ้นและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้ความเห็นชอบยังขัดกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดด้วยการให้สิทธิแก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยซึ่งได้แปรสภาพเป็นบมจ. ปตท.ไปแล้วเป็นผู้ทำหน้าที่ในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่ได้มาก่อนการแปรรูปและขยายอายุการใช้งานใหม่ได้อีกในกรณีที่ท่อก๊าซหมดอายุการใช้งานลงจึงเป็นเหมือนการที่เจ้าหน้าที่รัฐได้ใช้อำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการยกสาธารณสมบัติของแผ่นดินคือท่อก๊าซธรรมชาติให้กับบมจ.ปตท.โดยคิดมูลค่าเพียงเล็กน้อยอีกทั้งยังเปิดโอกาสให้บมจ. ปตท.นำทรัพย์สมบัติของแผ่นดินไปขยายอายุการใช้งานและตีราคาใหม่ตามที่ต้องการ บมจ.ปตท.ยังสามารถนำมูลค่าจากการตีราคาท่อเก่าให้เพิ่มขึ้นนี้มาเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ใช้เรียกเก็บจากประชาชนเพิ่มขึ้น

บริษัทมหาชนระดับโลกซึ่งกวาดรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นจนแทบจะหาตู้โชว์ใส่ไม่หมดมีประเมินมูลค่าของท่อก๊าซไว้ต่ำตามหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหลักทรัพย์ แต่มาประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจไว้สองครั้งหลังจากนั้นกลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 105,000 ล้านบาท และ 120,000 ล้านบาทตามลำดับ ประชาชนซึ่งเดิมมีฐานะเป็นเจ้าของท่อก๊าซจ่ายค่าก่อสร้างและจะต้องจ่ายค่าใช้ท่อก๊าซอีกด้วยในปัจจุบัน

การบริหารจัดการขุมทรัพย์พลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯซึ่งมีอยู่มหาศาลซึ่งเป็นผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนทุกคนไม่ได้วางอยู่บนหลักธรรมาภิบาลคือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อำนาจการตัดสินใจด้านพลังงานของประเทศไทยทั้งการอนุมัติสัมปทานปิโตรเลียม การสำรวจปิโตรเลียม ไปจนถึงการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวางกลับเป็นสิทธิ์ขาดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโดยคำแนะนำของคณะกรรมการปิโตรเลียมหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในบางกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

รัฐบาลต้องทำให้เกิดธรรมาภิบาลในปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่

รัฐบาลต้องสร้างกลไกให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิในการมีส่วนร่วมที่จะกำหนดนโยบายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาตินี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากร โดยประชาชนต้องมีสิทธิที่จะได้รับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง รัฐและข้าราชการต่างก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบสูงสุดต้องมีการวางกรอบนโยบายกำกับดูแลกิจการพลังงานให้ชัดเจนและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดตัดตอนในธุรกิจพลังงานและเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชนและสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง ควรทบทวนแผนแม่บทปิโตรเคมีใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความจริงในปัจจุบัน ทบทวนนโยบายให้ข้าราชการไปเป็นกรรมการบริษัทใหม่เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายแห่งรัฐ ไม่ให้สังคมโดยรวมได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจพลังงาน ต้องยกเลิกสิทธิพิเศษต่าง ๆของบมจ.ปตท.ไม่ให้มีโอกาสเอาเปรียบบริษัทเอกชนอื่น ๆ ทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคาค่าก๊าซฯและค่าบริการส่งก๊าซฯใหม่ ติดตามตรวจสอบการคืนท่อก๊าซฯจากงบมจ.ปตท. ไม่ควรปล่อยให้เกิดการผูกขาด ยกเลิกการปรับขึ้นอัตราค่าบริการส่งก๊าซฯ โดยเร็วและทบทวนนโยบายการกำหนดค่าบริการค่าส่งก๊าซฯ ใหม่ ทบทวนราคาน้ำมันใหม่ ทบทวนนโยบายด้านสัมปทานปิโตรเลียมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชนทั้งสำหรับสัมปทานใหม่และการต่ออายุสัมปทานเนื่องจากส่วนแบ่งรายได้ที่รัฐบาลไทยได้รับในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดเสรีที่แท้จริง ส่งเสริมธุรกิจการกลั่นน้ำมันให้มีการแข่งขันสมบูรณ์ ไม่ควรให้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้เป็นของรัฐบาลร้อยละ 100 ได้ดำเนินธุรกิจในลักษณะผูกขาด ส่งเสริมการใช้กลไกตลาดที่อิงอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศ ป้องกันการค้ากำไรเกินควรและเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทบทวนการกำหนดราคาก๊าซแอลพีจีเพราะต้นทุนจริงในการผลิตไม่ขึ้นกับราคาตลาดโลกโดยมีปตท.ผูกขาดการใช้ท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยำให้เป็นการผูกขาดธุรกิจโรงแยกก๊าซ ไม่ให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ราคาที่ต่ำกว่าราคาแอลพีจีในตลาดโลก แยกการกำหนดราคาก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในภาคธุรกิจออกจากราคาก๊าซสำหรับภาคประชาชน ในหลายประเทศทั่วโลกจึงกำหนดให้การตัดสินใจด้านพลังงานของชาติเป็นอำนาจโดยตรงของประชาชนผ่านการลงประชามติหรือผ่านรัฐสภาหรือตัวแทนประชาชน

29 กรกฎาคม 2552

ทองคำดำ

GOLD หรือทองคำเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักแต่สำหรับ BLACK GOLD หลายคนคงไม่เข้าใจหรือน้อยคนเท่านั้นที่จะรู้ความหมายของมันว่าคืออะไร น้ำมันที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าทั้งในด้านเงินเฟ้อและการบริโภคในชีวิตประจำวัน ทั้งทองคำและน้ำมันนับเป็นสินค้าในกลุ่มเดียวกันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่นักลงทุนมักลำดับความสำคัญของสินค้าทั้งสองชนิดนี้อยู่ในอันดับต้นๆ ในปี 2551 ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้เคยทำสถิติปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 140 ดอลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและผันผวนสูงขึ้น ลดลงไปๆมาๆ ในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกและการบริโภคที่ลดน้อยลงเป็นเงาตามตัวคาดกันว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2552 นี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคน้ำมันกลับมาอีกครั้งถึงอาจจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลน อีกสาเหตุปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือคนบริโภคน้ำมันจนเสพติดไปแล้วถึงอย่างไรก็ต้องใช้อยู่ดีถึงแม้ของจะขาดปัจจัยแบบนี้เองจะส่งผลให้เป็นตัวกำหนดราคาและมูลค่าของน้ำมัน นักลงทุนทั่วโลกเพิ่มน้ำหนักการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงและลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นทั่วโลกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบที่นิวยอร์กเริ่มมีสัญญาณการเก็งกำไรจากนักลงทุน

ก่อนหน้านี้จนถึงปี 2534 เรายังไม่มีโรงกลั่นน้ำมันของตนเองมีแต่ของต่างชาติ เราจึงต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากนอกประเทศมาโดยตลอดและสิงคโปร์ก็คือโบรกเกอร์ของเราซึ่งก็เป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตลอดจนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่ ต่อมาในสมัยรัฐบาลอานันท์เรามีโรงกลั่นของตัวเองแล้วและกลั่นได้เอง รัฐบาลได้มีนโยบายให้ราคาน้ำมันขายปลีกไม่ขึ้นกับรัฐบาลอีกต่อไปแต่ให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันกำหนดราคากันเองตามภาวะตลาดโดยรัฐบาลเชื่อว่าการกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นที่เป็นธรรม และการมี ปตท.เป็นส่วนหนึ่งของปั๊มรัฐบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวถ่วงดุลผู้ค้าปลีกน้ำมันต่างชาติได้ โดยใช้ราคาอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์มาจนทุกวันนี้ ปตท.จึงเป็นหน่วยงานที่เคยเป็นความหวังของคนไทยด้านพลังงาน ปตท.เป็นองค์กรที่เกิดมาจากความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการนำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศมากระจายสู่มือประชาชนแบบเป็นธรรมและให้ประชาชนไทยได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ อย่างคุ้มค่าและมีราคาไม่แพง ก่อนการแปรรูปปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท.เป็นกลไกในการตรึงราคาน้ำมันในประเทศเมื่อราคาน้ำมันของตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมาโดยตลาดโดยปตท.จะนำกำไรส่วนเกินจากธุรกิจฝั่งก๊าซธรรมชาติมาชดเชยราคาน้ำมันให้ผู้บริโภคเนื่องจากราคาน้ำมันจะสูงขึ้นจริงตามราคาตลาดโลกเพราะประเทศไทยต้องซื้อน้ำมันจากต่างประเทศในขณะที่ก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพยากรด้านเชื้อเพลิงที่สามารถจัดหาได้ภายในประเทศแต่ต้องอิงตามราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติก็จะสูงขึ้นด้วย ฉะนั้นเมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นปตท.ก็สามารถนำกำไรจากก๊าซธรรมชาติมาเกลี่ยภาระรายจ่ายที่เกิดจากราคาน้ำมันให้สังคมและผู้บริโภคได้ตลอดมา

ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะแรก (25232532) นักลงทุนประสบสำเร็จอันงดงามทำให้เกิดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 2 (25322547) ตามมาอย่างรวดเร็ว การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 เกิดขึ้นต่อมารัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้ผูกขาดพลังงานของชาติได้ถูกนักการเมือง นักธุรกิจที่ฉาบด้วยภาพลักษณ์ธรรมาภิบาล นักวิชาการ แทคโนแครต(ผู้สนับสนุนการปกครองโดยผู้ชำนาญวิชาการ)จากหอคอยงาช้างและกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ได้วางแผนแผนลงทุนปิโตรเคมีผนวกแผนพัฒนาพลังงาน นักธุรกิจระดับชาติ(ชั่ว)อย่างทักษิณจึงย่อมรู้ดีว่าธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ทำรายได้ให้มหาศาลหาใช่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือซึ่งอยู่ในช่วงขาลงไม่ได้รุ่งเรืองเหมือนในอดีตหรือแม้แต่การซื้อธุรกิจสโมสรทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ก็เพื่อสร้างโปรไฟล์ให้ดูดี ไม่ใช่ธุรกิจที่ทำรายได้งดงามเหมือนกับธุรกิจพลังงาน ในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลทักษิณ 2 เขาจึงยกแม่น้ำทั้งห้ารองรับปฏิบัติการไล่รื้อโครงสร้างระบบราชการครั้งใหญ่ ก่อเกิดกระทรวง ทบวง กรมขึ้นมาใหม่ แต่ละกระทรวงตั้งใหม่มีเบื้องหลังแอบแฝงอยู่อย่างสำคัญ หนึ่งในนั้นก็คือกระทรวงพลังงาน การจัดทำแผนพลังงานและปิโตรเคมีแบบบูรณาการข้างต้นจะมีประโยชน์อะไรกับทักษิณและพวก หากผู้ลงทุนหลักและผูกขาดในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี น้ำมัน และก๊าซฯ คือปตท.ยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ ดังนั้นการเร่งแปรรูปปตท.เพื่อเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดช่องให้นอมินีผู้นำและพวกพ้องเข้าถือหุ้นจึงเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องทำให้สำเร็จควบคู่กันไปกับการเร่งทำคลอดแผนลงทุนปิโตรเคมีเฟส 3 มูลค่า 4 แสนล้าน

บริษัท ปตท. จำกัดมหาชนแปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ

แล้วปตท.ก็แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัดมหาชนในปลายปี 2544 อนาคตด้านพลังงานของคนไทยทั้งชาติจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของปตท.เป็นหลัก กระทรวงพลังงานได้รวบเอามาจัดการเองแผนลงทุนปิโตรเคมีระยะที่ 3 นี้โดยหน่วยงานเดิมที่เคยรับผิดชอบได้ยุติบทบาทลงโดยมีมีอดีตผู้บริหารจากปตท.เข้ามาเป็นรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงมีเป้าหมายในการขยายการผลิตปิโตรเคมีในเขตมาบตาพุด ให้เกิดเป็นคลัสเตอร์ที่เข้มแข็งและพัฒนาอุตสาหกรรมบางส่วนที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช การเลือกใช้วัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีด้วยก๊าซธรรมชาติซึ่งมีปตท.ผูกขาดธุรกิจนี้อยู่เป็นโอกาสสร้างรายได้และสร้างกำไรอันงดงามให้กับปตท.ที่บริษัททั่วๆไปต้องมุ่งสร้างผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นเป็นหลักไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็นเครือข่ายนักการเมืองทั้งนั้น

แต่เมื่อปี 2544 เมื่อปตท.ถูกรัฐบาลทักษิณนำออกไปขายมีราคาหุ้นเพียง 35 บาทบรรดาญาติและพรรคพวกนักการเมืองได้รับแบ่งสรรถ้วนหน้าสูงสุดถึงครอบครัวละ 5 ล้านหุ้นขณะที่ประชาชนทั่วไปแทบหมดโอกาสจองหุ้นที่ขายเกลี้ยงในเวลาเพียง 1 นาที 17 วินาที กระทรวงการคลังถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งปัจจุบันถืออยู่ร้อยละ 51.69 ทำให้ปตท.มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามคำนิยามของกฎหมายหลายฉบับ การขายหุ้นทั้งหมด 25 % ของปตท.เมื่อปี 2544 จำนวน 800 ล้านหุ้น ซึ่งควรจะทำเงินได้ประมาณ 28,000 ล้านบาท แต่การขายครั้งนั้นกลับขาดทุนเพราะการแก้ไขบัญชีย้อนหลังของปตท.ทำให้ทรัพย์สินหายไปประมาณ 36,000 ล้านบาท ทำให้มีการขาดทุนเบื้องต้น 8,000 ล้านบาท

- มีการใช้เงินจำนวน 800 ล้านบาท เพื่อจ้างบริษัทขายหุ้น

- ปตท.ขายหุ้นให้พนักงานในราคาพาร์ 10 จำนวน 48 ล้านหุ้น

- ปตท.จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นหลังการขายเพียง 3 เดือน ในจำนวน 2 บาทต่อหุ้น รวมทั้งหมด 1,600 ล้านบาทแล้วหุ้นปตท.อีกร้อยละ 23.31 หายไปไหนหลังจากที่ถูกแปรรูปไปไม่กี่ปี


ความเสียหายจากการขายปตท.ขายแล้วขาดทุน ขายทำไม ในการตีมูลค่าทรัพย์สินทำให้การขายหุ้นในราคาต่ำมากได้สร้างความเสียหายต่อประเทศไม่น้อยกว่า 190,000 ล้านบาท ทุนและกำไรสะสมของปตท.จำนวน 50,121 ล้านบาทถูกลดเหลือเพียง 14,441 ล้านบาทเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินของปตท.เมื่อเป็นรัฐวิสาหกิจหายไปถึง 36,000 ล้านบาทสินทรัพย์ที่หายไปมีมูลค่ามากกว่าเงินที่ได้จากการขายหุ้น เงินที่ได้จากการขายหุ้นปตท.ต้องจ่ายให้บริษัทผู้ขายหุ้น 800 ล้านบาท ปตท.ประกาศจ่ายเงินปันผลก่อนขายหุ้นว่าภายใน 3 เดือนจะปันผลหุ้นละ 2 บาท แม้จะยังไม่ได้คำนวณผลประกอบการเป็นเงิน 1,600 ล้านบาท ปตท.ขายหุ้นให้พนักงานและผู้บริหารในราคาพาร์ 10 บาท จำนวน 48 ล้านหุ้นถือเป็นกติกาขององค์กรแต่นี่คือการนำสมบัติชายมาแบ่งปันกันนั่นเอง การประเมินมูลค่าบริษัทในเครือปตท. ซึ่งรัฐวิสาหกิจ ปตท.เคยลงทุนบริษัทในเครือจำนวน 63,672 ล้านบาทกลับถูกตีมูลค่าติดลบ 5,190 ล้านบาทเท่ากับยกบริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจ ปตท.ให้ฟรีแล้วยังแถมเงินให้อีก 5,190 ล้านบาทเป็นการขายรัฐวิสาหกิจปตท.แบบขาดทุน

ผลศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มของปิโตรเคมีและมูลค่าการลงทุนของโครงการทั้งหมดชี้ว่าการนำก๊าซอีเทนและโพรเพนมาผลิตปิโตรเคมีตามแผนแม่บทนี้จะเพิ่มมูลค่าเฉลี่ยให้กับก๊าซธรรมชาติได้ประมาณ 4.61 เท่าในสายเอทีลีน และ 4.88 เท่าในสายโพรพิลีน บนพื้นฐานของการคาดการณ์ราคาที่ใช้ในการศึกษาที่ราคาก๊าซธรรมชาติ 159 เหรียญสหรัฐต่อตัน มูลค่าเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ในสายเอทีลีน 733 เหรียญสหรัฐต่อตัน มูลค่าเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ในสายโพรพิลีน 776 เหรีญสหรัฐต่อตัน เมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 อย่างสมบูรณ์แบบตามแผน พ.ศ. 2547 2561 หากหักต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าแล้วจะมีรายได้สุทธิประมาณ 180,000 ล้านบาทต่อปีหรือคิดเป็นกำไรราว 70,000 ล้านบาทต่อปีประมาณ 22% ซึ่งเป็นตัวเลขผลตอบแทนที่นับได้ว่าสูงมากๆ

ภายหลังการแปรรูปปตท.มีกำไรสุทธิประมาณ 100,000 ล้านบาท ไม่ผิดหากปตท.จะกำไรและมีเป้าหมายอย่างที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ซีอีโอของปตท.ตั้งเป้าหมายให้ ปตท.เป็นบริษัทข้ามชาติภายในปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปีและตั้งแต่ปี 2555 รายได้เพิ่มอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์จนในปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับความเป็นบริษัทชั้นนำติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ปตท.อยู่ในอันดับ 207 บิ๊กปตท.รวยล้นเมื่อบริษัทร่ำรวยย่อมทำให้ผู้บริหารที่มาทำงานที่นี่ร่ำรวยไปตามกันรายงานประจำปีของ ปตท.ระบุชัดเจนถึงผลตอบแทนทั้งโบนัส เงินเดือนที่บอร์ดปตท.ได้รับและผู้บริหารที่ร่ำรวยจากหุ้น เฉพาะบอร์ดกว่า 10 คนได้เบี้ยประชุมโบนัสเฉพาะที่ทำงานให้ปตท.เท่านั้นรวมกันถึง 42 ล้านบาทโดยมี โอฬาร ไชยประวัติซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตรและประธานกรรมการตรวจสอบบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด และ สุชาติ ธาดาธำรงเวชอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงอดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของทักษิณ ได้รับสูงสุดคนละกว่า 3 ล้านบาท

สำหรับผู้บริหารระดับสูงของปตท.ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้เงินเดือนโบนัสรวมประมาณ 74 ล้านบาทซึ่งผู้บริหารที่มีหุ้นมากสุดคือจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ณ 31 ธันวาคม 2550 มีหุ้นเหลืออยู่ 175,830 หุ้นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,408,760 บาทเฉพาะประเสริฐที่วันนี้เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีหุ้นแล้วแต่หากย้อนหลังไปเมื่อปี 2548 เขาได้หุ้น ESOP เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 จำนวน 243,000 หุ้น (บันทึกราคาที่ 0.00 บาท) และ 1 ปีให้หลังได้โอนออก 60,700 หุ้น และ 29 กันยายน 2549 ได้อีก119,000 หุ้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้ขายออกครั้งละ 5,000 หุ้นบ้าง 60,000 หุ้นบ้าง ในราคาเฉลี่ย 330-370 บาท จนล่าสุดเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ ESOP อีก 87,000 หุ้นนี่คือความร่ำรวยของปตท.ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่รายได้มากมายมาจากความลำบากของประชาชนคนไทยเพราะการผูกขาดและการคิดราคาน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม ปัจจัยบวกที่ดันราคาหุ้นปตท.พุ่งกระฉูดทะยานขึ้นไปไม่หยุดยั้งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 400 กว่าบาทต่อหุ้น จากราคา 35 บาท/หุ้น กำไรส่วนต่างถูกผ่องถ่ายไปยังผู้ถือหุ้นอิ่มเอมกันถ้วนหน้า บรรดาญาติและพรรคพวกนักการเมืองผู้มีอำนาจได้รับการจัดสรรหุ้นสูงสุดถึงครอบครัวละ 5,106,000 หุ้นอันเป็นการจัดสรรหุ้นที่ไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรงโดยเฉพาะตระกูลจุฬางกูล และ มหากิจศิริ

"เดิมทีปั๊มมีอยู่ทั่วประเทศกว่า 3 หมื่นแห่ง ขณะนี้เจ๊งไปเกือบหมดแล้วเพราะเดิมทีเขาขายน้ำมัน 7 บาท เขาได้กำไร 2.30 บาท แต่ตอนหลังเข้ายึดครองการตลาดก็จะเห็นเพียงแต่ปั๊มใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งปั๊มบางจาก ปั๊มเจ็ท และปั๊ม ปตท.เท่านั้น ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ .. ผมแทบน้ำตาไหล เพราะผมทำงานอยู่ที่แท่นขุดเจาะน้ำมันเพราะน้ำมันดิบที่ขึ้นมาเขาเอาใส่เรือวิ่งไปทางสิงคโปร์ และออกไปทางจีน ญี่ปุ่น และอเมริกา ซึ่งไม่เข้าระบบกลไกภาษีของเรา เพราะมีเท่าไหร่เขารับซื้อไม่อั้นตรงนี้มูลค่าความเสียหายมากมายมหาศาล นอกจากนี้แม้แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเขาก็เอาไปไว้ที่อาคารชินวัตรชั้น 26 ที่สำคัญหลังจากที่แปรรูป ปตท.ไปแล้วรัฐบาลซึ่งถือหุ้นใหญ่ 52 เปอร์เซ็นต์แต่กลับได้เปอร์เซ็นต์น้อยมากเพียง 3 หมื่นล้านบาทและภาษีน้ำมันรวมผลิตภัณฑ์ทุกอย่างได้แค่ 7.7 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งๆ ที่ ปตท.บอกว่าภาษีน้ำมันประมาณ 13 บาท ส่งให้หลวงหมด ซึ่ง 1 ปี ตกอยู่ที่ประมาณ 6-7 แสนล้านบาท เงินหายไป 5-6 แสนล้านบาทต่อปี รวมทั้งสิ้นเมื่อ ปตท.แปรรูปเงินหายไป 3.5 ล้านล้านบาทแล้วใครจะรับผิดชอบ .. " พ.ต.รัฐเศรษฐ แจ้งจำรัสกล่าว

mms://tv.manager.co.th/videoclip/11News1/Footage/Ratased_280608.wmv