12 ต.ค. 52 ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหารเดินทางมายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล ยกเลิกเพิกถอนมติรัฐสภาเมื่อวันที่
28 ต.ค.51 เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก เพิกถอน การพิจารณาบันทึกการประชุม JBC
3 ฉบับที่บรรจุร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-เขมร ฉบับ 6 เม.ย. 52 ที่กรุงพนมเปญซึ่งมีเจตนารมณ์ยืนยันการใช้แผนแม่บท
พ.ศ. 2546 พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลให้ข้อมูลกับยูเนสโก และคณะกรรมการมรดกโลก เรื่องการชี้มูลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ปปช.)และขอให้รัฐบาล รัฐสภาหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง ไม่ว่าคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมร(ฝ่ายไทย)
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม เลิกกีดกันประชาชนและให้ข้อมูลกับประชาชนที่ทันต่อเหตุการณ์ มติที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม
2551 นั้นถือเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 เนื่องจากมีผลต่อการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจนนอกจากนี้มติดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจำนวนมากแต่ประชาชนไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลเลย
ตัวแทนภาคีเครือข่ายยังประณามรัฐบาลที่ปล่อยให้สมชายกระโปรงอดีตนายกฯ
และนพดล ปัสสาวะอดีตรมว.ต่างประเทศไปให้ข้อมูลผิดๆ ต่อชาวบ้านภูมิซรอลอ.กันทราลักษ์
จ.ศรีสะเกษ แทนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีหรือนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศจะเดินทางไปให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
นายคำนูณ สิทธิสมานระบุว่าไทยควรจะมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาโดยนำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือกันเพื่อแก้ปัญหารวมถึงยกระดับคณะกรรมการชายแดนขึ้นมาเป็นปัญหาระดับชาติให้พ้นมือกระทรวงการต่างประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพกรมสนธิสัญญา
ยกระดับงานพระวิหารเป็นโต๊ะเจรจาขึ้นมาเพราะเรื่องนี้ตนเชื่อว่าจะเป็นปัญหาใหญ่มากในอนาคตซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็เชื่อว่าเขมรจะต้องนำประเด็นเขตแดนพระวิหารเข้าสู่การเจรจาระดับพหุพาคีของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติซึ่งอาจจนำกลับขึ้นไปสู่ศาลโลกอีกครั้งจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไข ด้านนายปราโมทย์ นาครทรรพนักวิชาการกล่าวว่าตนคิดว่ายังมีทางแก้ไข โดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเรื่องนี้รัฐสภาจะทำตามลำพังไม่ได้ต้องให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
ขณะเดียวกันตนก็มีความเป็นห่วงข้อเสนอของ ส.ว.คำนูณโดยเกรงว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็จะไหม้เพราะไม่ทราบว่ารัฐบาลจะทำตามที่เสนอหรือไม่เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความเขลาของผู้นำและกลไกรัฐรวมถึงผู้นำทางทหาร
ฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนนักธุรกิจการค้าที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนซึ่งเป็นการทำลายอธิปไตยของไทย
13 ต.ค. 52 เขมรรีบร่อนบันทึกทางการทูตถึงกระทรวงการต่างประเทศของไทยรุกให้ไทยนำกรณีพิพาทพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารเข้าเจรจาในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานในเดือน
ต.ค. นี้หลังจากที่นายกษิต ภิรมย์รมว.ต่างประเทศของไทยให้สัมภาษณ์ว่าจะเสนอที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในครั้งนี้จัดตั้งกลไกแก้ไขปัญหาพิพาทระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน, กองทัพเขมรได้เผยเขี้ยวเล็บสำคัญรวมทั้งขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานกับจรวดหมู่
GRAD ที่ผลิตในอดีตสหภาพโซเวียตกับรถถังที่ยังมีสภาพดีจากจีนเป็นการสำทับคำขู่ของผู้นำเขมรที่เคยเตือนจะยิงใช้เครื่องบินไทยที่บินล้ำน่านฟ้าพิธีในสวนสนามของกองพลน้อยที่
70
16 ต.ค. 52 เขมรจะยุติการผลักดันปัญหาพิพาทายแดนด้านเขาพระวิหารเข้าเป็นวาระในการประชุมสุดยอดกลุ่มอาเซียนกับหุ้นส่วน 6 ประเทศซึ่งจะจัดขึ้นที่หัวหินสัปดาห์หน้านี้ โฆษกของเขมรกล่าวว่าการตัดสินใจนี้มีขึ้นหลังจากนายกษิต ภิรมย์รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้ส่งหนังสือถึงรมว.ต่างประเทศเขมรอธิบายถึงความเข้าใจผิดของบรรดาสื่อ
เขมรจะถอนข้อเสนอดังกล่าวออกไป และ ไทยได้ยืนยันมาตลอดที่จะไม่นำปัญหาชายแดน
ที่ถือเป็นปัญหาทวิภาคีให้ขยายออกไปเป็นปัญหาของหลายฝ่าย ในอดีตเขมรได้พยายามแม้กระทั่งนำเอากรณีขัดแย้งระหว่างสองประเทศเข้าสู่ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(UN Security Council) ปีที่แล้วระหว่างที่เวียดนามทำหน้าที่ประธาน
UNSC แต่ไม่สำเร็จท่ามกลางการคัดค้านของไทยและในที่สุดได้ยอมถอนวาระออก
20 ต.ค. 52 คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนวุฒิสภาร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินการของรัฐและภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหารจัดเสวนาเรื่อง
"คณะกรรมการมรดกโลก : ชนวนความขัดแย้งระหว่างไทย-เขมร" อยากให้เข้าใจว่าสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียประโยชน์คือแผนที่ในภาคผนวก
1 ( เอเนกซ์ 1 ) ที่ต่อท้ายคำฟ้องของเขมรต่อศาลโลกซึ่งเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสฝ่ายเดียวและมีนายทหารเขมรเข้าร่วมด้วยโดยไม่มีคนไทยร่วมเดินสำรวจ ซึ่งรัฐบาลตั้งแต่ปี
2505 ก็ยายามรักษาดินแดนไว้โดยไม่ยอมรับแผนที่ดังกล่าว แต่ทั้งนี้เกิดจุดเปลี่ยนในปี พ.ศ.
2543 ในยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย ที่ได้ปลุกผีไปลงนามเอ็มโอยู
และไปเขียนยอมรับแผนที่ดังกล่าวอีกครั้งจนทำให้เกิดปัญหา
ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะต้องตอบคำถามเรื่องนี้ต่อสังคมด้วย นอกจากนี้ยังมีการปลุกผีไม่คัดค้านแผนที่ภาคผนวกของเขมรจนส่งผลให้คณะกรรมการมรดกโลกมีมติอัปยศให้เขมรมีสิทธิ์ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอีกครั้งในสมัยนพดล ปัสสาวะเป็นรมว.ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามปนะชาชนก็ได้เห็นแนวโน้มในอนาคตที่ดีขึ้นเพราะขณะนี้มีหลายฝ่ายเริ่มเคลื่อนไหว
จึงส่งผลให้รัฐบาลไทยเริ่มตระหนักซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลคงจะซื้อเวลาต่อไปและยื้อไม่ให้เขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน นายเทพมนตรี ลิมปพยอมนักวิชาการประวัติศาสตร์กล่าวตอบโต้ฮุนเซนนายกรัฐมนตรีเขมรที่ประกาศจะไม่ยอมรับและจะฉีกแผนที่การปักปันเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารที่ประเทศไทยเตรียมจะเสนอต่อเขมรซึ่งตนเห็นว่าฮุนเซนจะทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะแผนที่ของไทยผ่านการลงพระปรมาภิธัย แต่ฮุนเซนเป็นเพียงแค่ไพร่ที่โชคดีได้ขึ้นมาเป็นเจ้าเท่านั้นซึ่งเมื่อกล่าวจบนายเทพมนตรีได้ฉีกแผนที่แสดงอัตราส่วน
1:200,000
บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร
พร้อมประกาศว่าถ้าคนไทยคนไหนนำแผนที่นี้มาใช้ถือเป็นคนที่ทรยศต่อชาติ ในระหว่างการเสวนาได้มีการล่ารายชื่อประชาชน
โดยการนำของ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย 9 สถาบันไทยคดีศึกษา
ม.ธรรมศาสตร์เพื่อทำหนังสือร้องเรียนไปยังเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การยูเนสโก ประธานคณะกรรมการมรดกโลก และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบองค์กร
และบุคคลโดยในหนังสือดังกล่าวระบุว่าการขึ้นทะเบียนที่ผ่านมาได้สร้างปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างประเทศไทยและเขมรทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศทุกข์ทรมานจากข้อขัดแย้ง มีทหารเสียชีวิตถึง 6 นาย คณะกรรมการมรดกโลก ฉ้อฉลและไม่ยึดหลักธรรมาภิบาลอาจกล่าวได้ว่าไม่มีประโยชน์ต่อวิถีของประชาชน ฟรังซัวส์
ริวิเยร์ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโกกระทำการแทรกแซกกระบวนการความตกลงระหว่าไทยกับเขมรโดยจัดทำแถลงการณ์ร่วมฉบับวันที่
22 พ.ย. 51 และฉบับลงนามโดยคณะรัฐมนตรี 18 มิ.ย. 51 รวมทั้งกระทำการเร่งรัดให้ไทยและเขมรเร่งทำตามมติคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งอยู่นอกเหนือระเบียบขององค์การยูเนสโกจงใจกระทำการอันเป็นอธรรม
เบียดเบียนอธิปไตยของไทย
20 ต.ค. 52 ชวลิต ยงใจยุทธอดีตนายกรัฐมนตรีและสมาชิกพรรคเพื่อไทยตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงการเดินทางไปพบฮุน เซนนายกรัฐมนตรีเขมรในวันที่ 21 ตุลาคมว่าเป็นการเจอกันในฐานะเพื่อนแล้วสมเด็จฯฮุน
เซน ก็เป็นเพื่อน(ชั่ว ...นิรันดร)ที่ดีของทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรี
22 ต.ค. 52 ฮุนเซนอหังการเขย่าความสัมพันธ์ไทยประกาศสร้างบ้านหรูให้นักโทษหนีคดีที่ชื่อทักษิณซุกหัว ลั่นเขมรมีอธิปไตยเป็นเอกราชอย่ามายุ่ง อ้างเมียถึงกับร้องไห้เพราะสงสารเพื่อนถูกกลั่นแกล้ง พรรคเพื่อไทยปัดทักษิณตั้งฐานทัพป่วนชาติที่เขมร ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยทันทีว่าทางไทยและเขมรได้มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันอยู่ หากฮุนเซนจะให้ทักษิณอาศัยอยู่ด้วยอาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้และตนเชื่อว่าฮุนเซนคงมีความอาวุโสทางการเมืองพอที่จะไม่ทำเช่นนั้น, ตัวแทนกลุ่ม 40 ส.ว.ร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหารเดินเทางเข้ายื่นหนังสือร้องสหประชาชาติเรียกร้องให้ตั้งกรรมการสอบสวนองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลักดันการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของเขมรโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟรองซัวส์ ริวิเยร์, นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงหลังประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ย้ำความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาค
พร้อมระบุว่าการที่ฮุนเซนประกาศให้ความช่วยเหลืออดีตนายกรัฐมนตรีถือเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, กลุ่ม40 ส.ว.เรียกร้องคนไทยรุมประณามฮุนเซนแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมไทยกล่าวหาว่าทักษิณ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากประเทศไทยจนไม่มีแผ่นดินอยู่และประกาศสร้างบ้านพักพร้อมให้ทักษิณเข้ามาพำนักในประเทศ นี่เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่สมเด็จฮุนเซนมีท่าทีไม่เหมาะกับการเป็นผู้นำประเทศเพื่อนบ้านที่มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน
โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ประกาศยิงคนไทยที่ล้ำเขตแดนและจะฉีกแผนที่ที่แสดงว่าพื้นที่
4.6 ตารางกิโลเมตรอยู่ในอาณาเขตประเทศไทย ดังนั้นขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีในฐานะตัวแทนของคนไทยให้ตอบโต้คำกล่าวเท็จของสมเด็จฮุนเซ็นอย่างเป็นทางการเพื่อแสดงถึงศักดิ์ศรีของประเทศเอกราชที่มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมมายาวนานไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของใครและไม่เคยยอมสงบต่อการกระทำอันมีลักษณะลบหลู่และตระบัดสัตย์ของประเทศเพื่อนบ้านและในฐานะที่ในปีนี้ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนด้วย
หากไม่ดำเนินการก็ไม่ควรที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกต่อไปและไม่ควรนิ่งเฉยหรือไปแก้ต่างให้ การกระทำของชวลิต ยงใจยุทธที่เคยเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรีและแกนนำพรรคเพื่อไทยที่ไปพูดคุยและนำคำพูดบิดเบือนของฮุนเซ็นมาเผยแพร่เหมือนเป็นการโหมฟืนเข้ากองไฟ
และอาจพิจารณาได้ว่าเสมือนเป็นการชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้านทั้งๆที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นมหาโยธิน เพียงเพื่อปูทางขึ้นสู่บัลลังก์นายกอีกครั้ง ในเฮือกสุดท้ายของทักษิณใกล้เข้ามารอมร่อด้วยกรณีคดียึดทรัพย์
76,000 ล้านใกล้จะตัดสินไม่ค่อยประหลาดใจที่ทักษิณและ
ฮุนเซนจะเลือกจังหวะนี้ประกาศคำรักกันดูดดื่ม
ในการต่อสู้ช่วงชิงดินแดนรอบๆ
เขาพระวิหารระหว่างสองชาติเป็นประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวดของคนไทยมาในอดีตตั้งแต่ศาลโลกยกพื้นที่ให้เขมร รัฐบาลแต่ละยุค ฝ่ายทหารและความมั่นคงก็เพิกเฉยมาโดยตลอด
จนกระทั่งคุณสนธิ ลิ้มทองกุลในครั้งที่จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรยุคแรกๆ ที่สวนลุมพินีปี 48 มองเห็นวาระซ่อนเร้นของรัฐบาลทักษิณที่คิดแต่ผลประโยชน์ส่วนตนแอบเจรจาลับๆ
กับเขมรที่จะนำไปสู่การเสียอธิปไตยให้เขมรรอบใหม่อีกจึงเปิดประเด็นให้สังคมทราบ ครั้นพอคุณสนธิเปิดประเด็นหลายฝ่ายก็หันมาสนใจในเรื่องนี้ยกเว้นฝ่ายที่คุมอำนาจรัฐ
ฝ่ายความมั่นคงที่มีท่าทีเฉยเมยเหมือนไม่รับรู้ว่านี่เป็นเรื่องใหญ่ของบ้านของเมือง คนในรัฐบาลทักษิณ นักการเมือง ฝ่ายความมั่นคง
นักวิชาการบางคนขณะนั้นถึงกับหัวเราะเยาะท้องคัดท้องแข็งและพูดจาเหน็บแหนมและบิดเบือนกล่าวหาว่าคุณสนธิและมวลชนผู้รับฟังรายการ
บ้า และคลั่งชาติ ถึงนาทีนี้
นักการเมือง เศษๆและเหล่ากเฬวรากทางการเมืองจะฉลาดขึ้นบ้างมหรือไม่เพราะพวกนี้หิวเงินมากกว่าหิวอาหาร
แต่จะมีคนไทยบางกลุ่มบางจำพวกสงสัยบ้างหรือไม่ว่าตลอดเวลากว่า
5 ปีทำไมพี่น้องร่วมชาติส่วนหนึ่งถึงยอมเจ็บปวดถูกตราหน้าว่าเป็นพวกคลั่งชาติ
23 ต.ค. 52 เจ้าหน้าที่ในพระวิหารได้จ้างคนงานสร้างบันไดสูง
300 เมตร เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารได้ง่ายยิ่งขึ้นจากฝั่งเขมรหลังจากไม่สามารถจะขึ้นจากฝั่งไทยได้ในขณะนี้โดยเชื่อว่าสะพานดังกล่าวจะสร้างความพึงพอในให้แก่นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ชอบการผจญภัย, รัฐมนตรีข่าวสารเขมรเมื่อวันพฤหัสบดีปฏิเสธรายงานข่าวนายกรัฐมนตรีฮุนเซน เสนอสร้างบ้านให้ทักษิณที่พนมเปญชี้เป็นการกล่าวอ้างที่ผิดพลาดของสื่อมวลชน
ยันส่งกลับประเทศทันทีตามข้อผูกพันส่งผู้ร้ายข้ามแดน, รัฐบาลเขมรได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งในวันศุกร์นี้ระบุว่าจะไม่ส่งตัวนักโทษชายทักษิณ
ชินวัตรให้แก่รัฐบาลไทยในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน โดยอ้างว่าสัญญากับไทยมีข้อยกเว้นกรณีที่
“ผู้ร้าย” ดังกล่าวตกเป็น “เหยื่อ” ทางการเมือง
หรือ ผู้ร้องขอมีจุดประสงค์จะนำไปลงโทษทางการเมือง
สมเด็จพระนโรดมสีหนุเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
ได้เสด็จฯ ไปตามทางลาดชันของหน้าผ้า ก่อนจะทรงปีนบันไดลิงขึ้นไปยังปราสาท
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กล่าวถึงกรณีคำแถลงที่ออกในนามโฆษกรัฐบาลเขมรปฏิเสธให้ความเห็นในขณะนี้ โดยขอเวลาตรวจสอบอย่างละเอียดก่อน,
สุเทพ เทือกว่าเรื่องนี้ฮุนเซนได้บอกกับตนแล้ว เพียงแต่ว่าตนไม่ได้นำมาขยายความให้เป็นประเด็นทางการเมือง,
ฮุนเซนและคณะได้เดินทางถึงไทยตอบคำถามสื่อฯว่าตอบได้หลายอย่างแต่เห็นว่าเป็นเหตุผลทางด้านมนุษยชน
“คนไทยเป็นล้านๆ เสื้อแดงก็เป็นผู้ที่สนับสนุนทักษิณ
แล้วทำไมข้าพเจ้าซึ่งเป็นเพียงเพื่อนซึ่งอยู่ห่างไกลจะไม่สามารถสนับสนุนทักษิณได้” , นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ได้แถลงผลการประชุมสุดยอดอาเซียนนายอภิสิทธิ์
กล่าวว่า “ตนกังวลว่านายกฯฮุนเซนอาจได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง...และคิดว่า
นายกฯฮุนเซน จะต้องคิดให้ดีว่า จะยืนยันการตัดสินใจที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และผลประโยชน์ร่วมกันของคนทั้ง
2 ชาติ เพื่ออะไร คือ ผมก็เห็นว่าท่านเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความอาวุโสอย่าไปเป็นเหยื่อและเป็นเบี้ยให้ใครเลย”