05 พฤษภาคม 2554

พระวิหารกับศาลโลก 2554 -- ไทยต้องคัดค้านอำนาจศาลระหว่างประเทศซึ่งไทยมิได้มีปฎิญญาประกาศรับอำนาจมาเป็นเวลากว่าห้าทศวรรษแล้ว


พระวิหารกับศาลโลก 2554 โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล

เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาลโลกหรือภาษาทางการเรียกว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้แถลงข่าวอย่างไม่เป็นทางการจากกรุงเฮกว่า ราชอาณาจักรกัมพูชาได้ยื่นคำร้องขอให้มีการตีความคำพิพากษาของศาลฯ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ในคดีประสาทพระวิหาร (ระหว่างกัมพูชากับไทย) การยื่นคำร้องดังกล่าวเป็นการ เปิดคดีใหม่พร้อมกันนั้น กัมพูชาก็ได้ขอให้ศาลฯ สั่งคุ้มครองชั่วคราวและเปิดการพิจารณาคดีใหม่
ขั้นตอนและกระบวนการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
การเตรียมต่อสู้คดีต้องเริ่มโดยศึกษาคำร้องของกัมพูชาที่มีถึงศาลฯ เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นขั้นตอนที่หนึ่ง
๑. เมื่อได้รับคำร้อง เจ้าหน้าที่ศาลฯ จึงแถลงข่าวให้ทราบอย่างไม่เป็นทางการ (press releases)
๒. กระบวนการต่อไปเป็นภาคคำคู่ความเป็นลายลักษณ์อักษร (written proceedings) แบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอนดังนี้
๒.๑ ศาลฯ จะมีคำสั่งให้กัมพูชายื่นคำฟ้อง (Memorial) โดยมีรายละเอียดในประเด็นที่ขอให้ศาลฯ ตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ภายในเวลาที่ศาลจะเป็นผู้กำหนด
๒.๒ ในคำสั่งเดียวกันนั้น ศาลฯ จะขอให้อีกฝ่ายซึ่งในกรณีนี้ ได้แก่ ไทยตอบโต้โดยส่งเอกสารแก้คำฟ้อง (Counter Memorial)
๒.๓ ขั้นตอนต่อไปคือศาลฯ ให้โอกาสกัมพูชาตอบโต้คำแก้คำฟ้องของไทย (Reply)
๒.๔ ไทยมีโอกาสยื่นคำตอบโต้เขมรอีกครั้งซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย (Rejoinder)
๓. เมื่อผ่านขั้นตอนภาคลายลักษณ์อักษรแล้ว จึงจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีด้วยวาจา (Oral proceedings) ซึ่งมี ๔ ขั้นตอนตามลำดับและรูปแบบเดียวกับภาคคำคู่ความเป็นลายลักษณ์อักษรในข้อ ๒.
ท่าทีของไทยและการเตรียมการต่อสู้คดี
สิ่งแรกที่ไทยควรปฏิบัติคือศึกษาคำร้องของกัมพูชาอย่างละเอียด และเตรียมต่อสู้ในชั้นแรกโดยยืนยันว่าศาลฯ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือตีความคำพิพากษาของศาลฯ ในคดีปราสาทพระวิหาร ตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไทยต้องไม่ละเลยการคัดค้านอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งไทยมิได้มีปฎิญญาประกาศรับอำนาจพิจารณามาเป็นเวลากว่าห้าศตวรรษ ไทยต้องยืนยันสถานภาพของตน ครั้งนี้ กัมพูชาต้องการรื้อฟื้นและขยายขอบเขตคำพิพากษาเดิมที่ไทยไม่เคยยอมรับ ไทยได้คัดค้านอำนาจศาลฯ มาโดยตลอด และได้ตั้งข้อสงวนไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕  ฉะนั้น หากมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ไทยก็อาจใช้เป็นเวทีขอให้ศาลฯ ยกเลิกคำพิพากษาเดิมเป็น Annulment Proceedings ในเมื่อกัมพูชาเป็นฝ่ายร้องขอเปิดคดีใหม่ ไทยควรใช้โอกาสนั้นขอให้ศาลฯ ยกเลิกหรือแก้ไขคำพิพากษาโดยยืนยันใหม่ว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตแดนราชอาณาจักรไทยภายใต้อธิปไตยของไทยแต่ผู้เดียว
แต่วิธีการที่แนบเนียนกว่าการต่อสู้ในสาระสำคัญคือการคัดค้านอำนาจศาลฯ ทั้งนี้ เพราะไทยมิได้เคยรับอำนาจมาช้านานแล้ว นอกจากนั้น กัมพูชายังยอมรับว่าคำร้องเป็นการริเริ่มคดีใหม่ ศาลฯ ยิ่งหมดอำนาจพิจารณาพิพากษา ฉะนั้น ในมุมมองนี้ ไทยจึงไม่ควรไปสู้คดีขั้นเนื้อหาอย่างรีบด่วน เพราะจะเป็นการยอมรับอำนาจศาลฯ โดยมิได้รับความยินยอมเห็นชอบจากรัฐสภา และโดยปราศจากประชามติ
อนึ่ง ไทยชอบที่จะยื่นคำคัดค้านอำนาจศาลฯ (Preliminary Objection to the Jurisdiction) อย่างชัดเจนและรีบด่วน
ขณะนี้กระบวนการพิจารณาของศาลฯ เพิ่งจะเริ่ม ศาลฯ อาจหารือเป็นการภายในกับคู่กรณีว่าจะกำหนดให้มีการยื่นคำคู่ความ (Written Proceedings) เป็นลายลักษณ์อักษรมากน้อยเพียงใด โดยที่กัมพูชาเพิ่งยื่นคำร้องเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ และศาลฯ ได้ออกแถลงข่าวอย่างไม่เป็นทางการในวันเดียวกัน กระบวนการขั้นต่อไปคือ ศาลฯ ต้องมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำร้องขอของกัมพูชา และในคำสั่งเดียวกันนั้น ศาลฯ ต้องกำหนดระยะเวลาให้กัมพูชายื่นคำฟ้องในรายละเอียดเกี่ยวกับคำร้องให้ตีความคำพิพากษาดังกล่าวเพื่อให้คู่กรณีคือไทยมีโอกาสตอบโต้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน
จากนั้น ศาลฯ อาจสั่งให้คู่กรณียื่นคำแก้ต่างตอบโต้กันได้อีกหนึ่งรอบ และให้ฝ่ายโจทก์คือกัมพูชาตอบคำแก้ฟ้องของไทยภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ และให้ฝ่ายไทยยื่นคำตอบแก้คำตอบของกัมพูชาภายในกำหนดเวลาที่เท่าเทียมกัน เมื่อจบกระบวนการข้างต้น ศาลฯ จึงจะนัดให้คู่กรณีฟังพิจารณาคดีด้วยวาจา
ฉะนั้น ในระยะนี้ ฝ่ายไทยจำเป็นต้องเตรียมการต่อสู้คดีในด้านอำนาจศาลฯ เป็นประเด็นแรก หากศาลฯ พิจารณาไม่รับฟ้องตั้งแต่ต้น เพราะขาดอายุความหรือขาดอำนาจพิจารณา ถือว่าสิ้นสุดคดีความเพียงนั้น หากศาลฯ พิจารณาแล้วลงข้อยุติว่ามีอำนาจพิจารณา และดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ไทยก็มีสิทธิ์เพิกเฉย ไม่ยอมขึ้นศาลฯ ดังเช่นหลายประเทศได้ปฏิบัติมาแล้ว
ในชั้นนี้ การเตรียมการต่อสู้จึงต้องเริ่มตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ต้องกระทำการอย่างรอบคอบ แยบยลและแนบเนียน อย่าประมาทหรือเปิดเผยวิธีการต่อสู้ที่เป็นความลับให้คนชาติของคู่กรณีรู้ระแคะระคาย ไทยพึงสำเหนียกไว้เสมอว่า คดีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสโดยผ่านกัมพูชาซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิ์
ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล
วันฉัตรมงคล (๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔)



04 พฤษภาคม 2554

พอเถ้อะ นัก การ เมือง

แค่พ่อค้าแม่ขายทำกับเราก็ช้ำแล้ว

 10  กว่าปีมานี้ คนๆนี้ทำอะไรไว้กับบ้านกันเมืองเพราะฉะนั้น


เกือบแปดสิบปีประชาธิปไตยไทย มีอะไรอะไรมากกว่านักการเมืองชั่ว นักการเมืองเลว และนักการเมืองที่เลวน้อยกว่า


ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะไม่เลือกนักการเมืองชั่ว นักการเมืองเลว และนักการเมืองที่เลวน้อยกว่า
เราต้องการนักการเมืองที่ดี