20 สิงหาคม 2553

ชายแดนไทย-เขมร

-       
-      28 ก.ค. 53  สถานการณ์ชายแดนไทย-เขมรน่าเป็นห่วง นายกฯได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมและต่างประเทศ เตรียมหาทางออกหากคณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้ขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเพราะจะทำให้ไทยต้องเสียเปรียบและถึงขั้นต้องเสียอธิปไตย, กลุ่มผู้รักชาติกาญจน์ ยื่นหนังสือนายกฯ ค้านเขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก, ปชช.สุรินทร์รักชาติบุกศาลากลาง ค้านขึ้นทะเบียนมรดกโลกพระวิหาร, เครือข่ายประชาชนผู้รักชาติ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างรวมพลังต่อต้านเสียเขมรฮุบเขาพระวิหารต้านยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาท-พื้นที่โดยรอบ จี้นายกฯ อภิสิทธิ์ยกเลิก MOU ไทย-เขมร ก่อนทำแผ่นดินไทยเสียดินแดน, รองโฆษกประจำสำนักนายกฯให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าร่วมประชุม ครม.ซัดเจ้าอาณานิคมที่ต้องการไถ่บาปว่า ที่ประชุมมีมติคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของเขมรที่เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกที่ประชุมกันอยู่ที่ประเทศบราซิลโดยถ้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกมีการโหวตและมีแนวโน้มว่าจะรับแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามที่เขมรเสนอ ครม.มีมติให้นายสุวิทย์ คุณกิตติรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เดินทางไปร่วมประชุมแสดงท่าทีคัดค้านและให้ออกจากห้องประชุมทันที หลังจากนั้นให้นายสุวิทย์แถลงท่าทีที่ชัดเจนของประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังได้สั่งให้นายกษิตทำหนังสืออย่างเป็นทางการในนามกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแสดงท่าทีดังกล่าวไปยังการประชุมยูเนสโกที่บราซิลรวมถึงสำนักงานที่ฝรั่งเศสว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับกับแผนพัฒนาพื้นที่เขาพระวิหารของเขมร ด้วยเหตุว่าหากยูเนสโกให้การยอมรับแผนดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงและความตระหนกกับคนในประเทศอย่างมาก, ในเวลาท้องถิ่นนายสุวิทย์ได้เจรจานอกรอบกับนายซก  อาน รองนายกรัฐมนตรีเขมรเกี่ยวกับแผนบริหารการจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารโดยมีเอกอัครราชทูตบราซิลประจำยูเนสโกเป็นผู้ดำเนินการให้มีการเจรจา     บรรยากาศเป็นไปอย่างตึงเครียดใช้เวลาประมาณ  30 นาทีโดยซก อานแจ้งกับคณะฝ่ายไทยว่ายอมให้ทางการประเทศไทยมามากแล้ว และชี้แจงว่าแผนบริหารดังกล่าวไม่ได้นำเขตแดนด้านทิศตะวันตกของปราสาทพระวิหารมาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริหารจัดการ คณะผู้แทนไทยแย้งว่า ทางทิศตะวันออก (ด้านบันไดหัก) ยังไม่ได้มีการกันพื้นที่และยังมีกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนอยู่ ดังนั้นประชาชนไทยคงรับไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยเนื้อหาในเอกสารรายงานสภาพการอนุรักษ์ซึ่งทางไทยรับไม่ได้ใน 2 ข้อ แต่ทางเขมรยืนยันว่าไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เพราะเขมรมีโครงการต่างๆ ในพื้นที่และมีระยะดำเนินการ 2 ปีซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการเจรจาทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ นายอดุล  วิเชียรเจริญที่ปรึกษาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทยและอดีตคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ เผยว่าขณะนี้สถานการณ์ของประเทศไทยเสียเปรียบในเวทีมรดกโลกและท่าทีของประเทศที่คัดค้านคณะกรรมการมรดกโลกด้วยการลาออกจากภาคีของคณะกรรมการมรดกโลกถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องและต้องทำเพราะที่ผ่านมาคณะกรรมการมรดกโลกชุดนี้มีลักษณะเกื้อกูลและเอาใจช่วยเขมรมาโดยตลอดไม่เคยเข้าข้างประเทศไทย
    การผลักดันให้สร้าง สะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูลหรือ “Land Bridge (แลนด์บริดจ์)อย่างเร่งรีบของรัฐบาลในเวลานี้มีเรื่องให้ต้องจับตาใกล้ชิดอยู่ไม่น้อย แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลถือเป็นเพียงโครงสร้างพื้นฐานหลัก ทั้งโครวงการประกอบไปด้วย ท่าเรือน้ำลึกรองรับผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามันแล้วเชื่อมกันด้วยถนน เส้นทางรถไฟ ท่อน้ำมันและท่อก๊าซตาม โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือที่เรียกกันว่า โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด (Southern Seaboard : SSB)” อย่างเต็มระบบ   หลายปีมานี้เราจะเห็นกลุ่มทุนน้ำมันในระดับโลก ประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือประเทศผู้ใช้น้ำมันรวมถึงชาติมหาอำนาจต่างๆ ทั่วโลกต่างก็กดดันให้ไทยต้องเร่งเดินหน้าเมกะโปรเจกต์นี้มาตลอด  ขณะเดียวกันทั้งกลุ่มทุนและประเทศเหล่านั้นต่างก็วิ่งเต้นต่อสายเข้ากับนักการเมืองและกลุ่มทุนไทยเพื่อขอมีอิทธิพลหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดความเป็นไปโดยเฉพาะการมอบความช่วยเหลือในรูปทุนเพื่อศึกษาโครงการหรือขอมีส่วนลงขันในการลงทุนโครงการนี้ด้วย  ทั้งจีน ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ ส่วนกลุ่มทุนยักษ์ข้ามชาติก็เช่นกลุ่มนายอัลฟาเอด เป็นเจ้าของห้างแฮร์ร็อด และกลุ่มดูไบ เวิล์ด เป็นต้นซึ่งรายหลังนี้ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรก็ได้รับเงินนับร้อยล้านเพื่อศึกษาแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลบรรหารห้าสั้นได้หว่านเงินจำนนวนมหาศาลลงไปสร้างแลนด์บริดจ์ใต้ตอนกลางมาแล้วคือถนนมอเตอร์เวย์หรือถนนแลนด์บริดจ์เชื่อมระหว่างนครศรีธรรมราช-กระบี่  แต่ในเวลานี้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเปลี่ยนใจขยับพื้นที่โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดลงมาอยู่ในภาคใต้ตอนล่างแล้วเร่งที่จะสร้างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลแต่กระนั้นแผนแม่บทเซาเทิร์นซีบอร์ดฉบับใหม่เหตุที่ต้องมีทั้งโรงกลั่นน้ำมันหรือรวมถึงโรงแยกก๊าซด้วยและตามด้วยอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่ซึ่งใช้วัตถุดิบต่อเนื่องจากน้ำมันและก๊าซนั้นยังไม่ปรากฏต่อสาธารณะ ถ้าการเกิดขึ้นของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดต้องการรองรับการขนถ่ายน้ำมันข้ามซีกโลกลุล่วงไปต่อไปราคาน้ำมันในไทยคงจะไม่แพงแสนแพงอีกแล้ว โดยไม่ต้องไปอ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นของสิงคโปร์เพราะเราจะกลายเป็นแหล่งกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ของโลกซึ่งอาจจะได้เป็นตลาดอ้างอิงราคาน้ำมันให้แก่ประเทศอื่นๆเสียด้วยซ้ำ จากนี้ไปรัฐบาลอาจขอใช้เวลาไม่เกิน 1 ปีนับจากนี้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจประชาชนก่อนที่จะเดินหน้าการก่อสร้างเต็มสูบ,  ที่กระทรวงการต่างประเทศ นางจิตริยา ปิ่นทอง รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกมาพบที่กระทรวงการต่างประเทศเพื่อยื่นหนังสือของนายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศเกี่ยวกับท่าทีไทยโดยอ้างถึงร่างข้อตัดสินใจที่ 34 COM 7B 66 ซึ่งรับรองแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร (Management Plan) และแผนผังกำหนดเขตกันชน (Zoning Plan) ที่เสนอโดยเขมร นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าจากการเลื่อนประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อต้องการให้ทางไทยกับเขมรคุยกันก่อนเข้าใจว่ามีการพบปะกันแล้วแต่ยังไม่มีข้อยุติอะไร  วาระการประชุมจึงต้องเลื่อนออกไปส่วนกรณีที่ฮอร์ นัมฮงออกมาขู่หากคนไทยบุกรุกพื้นที่จะใช้อาวุธปืนยิงใส่นั้น นั้นคงไม่ต่างจากที่เราแสดงท่าทีเหมือนกัน นี่คือเหตุผลที่ตนได้บอกกับทางยูเนสโกกับมรดกโลกมาตลอดว่าสถานการณ์มันไม่ควรตึงเครียดก็มาทำให้ตึงเตรียดด้วยการไปทำเรื่องแผนจัดการดังกล่าว หากเกิดการปะทะชายแดนไทย-เขมรที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นทุกฝ่ายพร้อมทำหน้าที่ของตัวเอง  ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย บอกว่า ได้กำชับให้นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษให้ดูแลประชาชนแนวชายแดนอย่างเต็มที่แล้วแต่ขณะนี้ยังไม่มีอะไรที่น่ากังวล  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่ากองทัพมีแผนรองรับสถานการณ์ทุกอย่าง กองทัพเราทำทุกขั้นตอนและทำมาโดยตลอดไม่ใช่เพิ่งมาทำ เรามีการประสานงานกันอย่างดี  พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก เผยว่าไทยไม่มีนโยบายการรบกันอยู่แล้วซึ่งเราเป็นประเทศเพื่อนบ้าน คงต้องมีการพูดคุยกันและในส่วนของกองทัพยังสามารถคุยกันได้อยู่  พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวระหว่างเดินทางให้นโยบายกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนไทย-เขมรตลอดแนวพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรว่าการวางกำลังตามแนวชายแดนฝั่งเขมรนั้นยังไม่ได้มีการเคลื่อนไหวกำลังอะไรมาก  หากการเจรจาไม่เป็นผลทางกองทัพภาคที่ 2 มีความพร้อมทุกด้านเพื่อรักษาอธิปไตยของเราแต่ทั้งนี้อยู่ที่การสั่งการของรัฐบาลอีกครั้ง พ.อ.ธวัชชัย แจ้งประจักษ์ ผู้บังคับหน่วยกรมทหารพราน 23 ยังคงตรึงกำลังอยู่บริเวณหน้าด่านอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ตามปกติ แต่ยังไม่เสริมกำลังเพิ่มเติมแต่อย่างใด ขณะที่ชาวบ้าน ร้านค้าตลาดที่หมู่บ้านภูมิซรอล ยังคงดำเนินชีวิตตามปกติ มีการเปิดร้านจำหน่ายสินค้า หลังมีทหารจากกองกำลังสุรนารีเดินทางเข้ามาประชุมชี้แจงสถานการณ์ และให้เตรียมพร้อมตามแผนการอพยพที่เคยซักซ้อมไว้  ขณะเดียวกัน เจ้ากรมยุทธการทหารจากกองบัญชาการกองทัพไทย ได้เดินทางมาตรวจดูแลความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนบริเวณผามออีแดง, สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าฮอร์ นัมฮงออกมาโจมตีว่าเป็นความพยายามของ "คนตกยุค" ที่จ้องแต่จะรื้อฟื้นขุดคุ้ยเรื่องราวในอดีตมาเป็นประเด็นไม่จบไม่สิ้น ท่าทีเช่นนี้ของนายฮอร์ ปรากฏหลังจากที่ "กลุ่มคนเสื้อเหลือง" ของไทยจำนวนนับพันคนรวมตัวกันประท้วงที่ด้านหน้าสำนักงานส่วนภูมิภาคขององค์การยูเนสโกในกรุงเทพมหานครเพื่อยื่นหนังสือขอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 34 ที่ประเทศบราซิลเลื่อนการพิจารณาแผนการบริหารจัดการปราสาทพระวิหารในฐานะแหล่งมรดกโลกของเขมรออกไปก่อนจนกว่าข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างไทยและเขมรในพื้นที่โดยรอบโบราณสถานดังกล่าวจะได้ข้อยุติ  โดยฮอร์ยืนยันว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในฐานะแหล่งมรดกโลกได้เสร็จสิ้นไปแล้วไม่ว่าคนไทยและประเทศไทยจะทำอย่างไรก็ไม่มีทางจะเปลี่ยนแปลงความจริงข้อนี้ได้   นอกจากนี้รัฐบาลเขมรไม่ได้หนักใจกับการพยายามคัดค้านการเสนอแผนของเขมรในที่ประชุมที่บราซิลเลยเนื่องจากรัฐบาลทราบมานานแล้วว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จะมีท่าทีลักษณะนี้   ขณะที่ทางด้านทหารเขมรนั้น พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการกองทัพบกเขมรในจังหวัดพระวิหารระบุว่า ได้แจ้งกับนักการทูตของนานาชาติในกรุงพนมเปญไปแล้วเกี่ยวกับพฤติกรรมของทางการไทยที่พยายามใช้พระสงฆ์และชาวบ้านเป็นเครื่องมือในการรุกล้ำพรมแดนของเขมรบริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา, ขณะที่พรรคการเมืองใหม่ออกแถลงการณ์เรื่องการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกยกเลิกเอ็มโอยูที่ยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ระบุว่าไม่ว่าผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะจบลงอย่างไรก็ตามบัดนี้ยิ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ากรณีนี้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงยิ่งที่จะเสียดินแดนรอบปราสาทพระวิหารอย่างน้อย 4.6 ตารางกิโลเมตร และมีโอกาสที่จะสูญเสียดินแดนเพิ่มเติมอีกจำนวนมหาศาล...ด้วยเหตุผลข้างต้น พรรคการเมืองใหม่ขอเรียกร้องรัฐบาล-กองทัพประชาชนคนไทยทุกภาคส่วนได้ผนึกพลังร่วมกันในการปกป้องรักษาเอกราช ดินแดนของประเทศไทย ด้วยความเข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียว
    ชาวสตูลต้าน“SSB” เหตุเจาะไข่แดงหมู่เกาะเภตรา, เครือข่ายประชาชนผู้รักชาติ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างรวมพลังต่อต้านเสียเขมรฮุบเขาพระวิหารต้านยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาท-พื้นที่โดยรอบ จี้รัฐบาลยกเลิก MOU ไทย-เขมร ก่อนทำแผ่นดินไทยเสียดินแดน, ฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศเขมร กล่าวในการแถลงข่าวที่สนามบินนานาชาติเมื่อวานนี้ว่า ปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว ไม่ว่าประเทศไทยจะดำเนินการอย่างไรก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และไม่สนใจกับข้ออ้างที่ล้าสมัยของพันธมิตรฯ "ไม่ใช่แต่กลุ่มเสื้อเหลืองเท่านั้นที่คัดค้าน รัฐบาลไทยเองก็คัดค้านแผนดังกล่าวด้วย  แต่การขึ้นทะเบียนปราสาทเสร็จเรียบร้อยไปตั้งแต่ปี 2551.."   -  สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นักการทูตต่างชาติมากกว่า 20 คนจากสถานทูตในกรุงพนมเปญ ได้เข้าสำรวจพื้นที่ปราสาทพระวิหารเพื่อสังเกตการณ์บริเวณชายแดนไทย-เขมร ขณะเดียวกันรองผู้บัญชาการทหารเขมรที่ดูแลพื้นที่กล่าวกับนักการทูตว่า จะไม่ยอมให้ไทยรุกล้ำอธิปไตย โดยระบุว่าเขมรไม่ต้อนรับ และหากเข้ามาจะต้อนรับด้วยอาวุธปืน แสวงหาความจริง แผ่นดินเขาพระวิหาร 1 แสวงหาความจริง แผ่นดินเขาพระวิหาร 2 เพลงเขาพระวิหาร  บันทึกอัปยศพระวิหาร 1 บันทึกอัปยศพระวิหาร 2,  เครือข่ายคนรักบ้านเกิด ต.โดนอาว อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่าที่ตนเข้าร่วมเครือข่ายในครั้งนี้เนื่องจากชาวบ้านบริเวณเขาพระวิหารประสบปัญหาไม่มีเขตแดนทำกิน เนื่องจากที่ดินกว่า 100ไร่ของชาวบ้านถูกทหารเขมรเข้าควบคุมดูแล ทั้งที่ที่ดินเป็นของฝ่ายไทย แต่ประชาชนที่มีสิทธิ์ทำกินกลับเป็นชาวเขมรซึ่งเคยมีตัวแทนของคนไทยเข้าไปปลูกยางพาราบริเวณนั้นแต่ถูกทหารเขมรควบคุมตัวและถูกขับไล่ออกมาโดยอ้างว่าสิทธิการทำกินเป็นของชาวเขมรเท่านั้น หากคนไทยเข้าไปถือว่าเป็นการบุกรุกเขตแดนของเขมร  หากมติกรรมการมรดกโลกออกมาแล้วอนุมัติให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก หนทางเดียวที่จะทำให้ชาวไทยมีสิทธิเข้าไปทำมาหากินในที่ดินดังกล่าวก็คือการย้ายสัญชาติจากคนไทยไปเป็นคนเขมรซึ่งจะมีสิทธิทำกินในหมู่บ้านภูมิซรอล, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นมุมมองซึ่งอาจจะแตกต่างกัน แต่เจตนาคงไม่ต่างกันต้องรักษาอธิปไตย และรักษาสิทธิ์ของเรา แต่สิ่งที่อยากจะยืนยันคือการดำเนินการในกรอบมรดกโลกก็เป็นสิทธิที่จะต้องดำเนินการในการรักษาสิ่งที่ดีที่สุดในทุกขึ้นตอนทำความเข้าใจ คัดค้านการเดินหน้าการบริหารแผนกรอบพื้นที่ ที่จะเข้าสู่การประชุมซึ่งเป็นจุดยืนของประเทศไทยที่มีมติคณะรัฐมนตรีรองรับว่าไม่ควรพิจารณาเรื่องนี้ จนกว่าจะมีการจัดทำหลักเขตแดน ส่วนปัญหาที่เป็นข้อพิพาทของทั้ง 2 ฝ่าย ทางกลุ่มที่เคลื่อนไหวต้องการให้ยกเลิกเอ็มโอยูแต่รัฐบาลยังเห็นว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นการยอมรับพื้นที่ที่ทางเขมรจะอ้างแผนที่ที่ยังเป็นพื้นที่มีปัญหาไม่อาจถือตามแผนที่เขมรได้ และยืนยันถือตามสนธิสัญญาและการยอมรับของเขมรในเอ็มโอยูยังรวมไปถึงการที่จะไม่ต้องเข้ามาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพของพื้นที่ได้ซึ่งเป็นฐานที่สามารถที่จะให้มีการประท้วงเหมือนกับที่ได้ทำมานับ 10 ครั้ง และก็เป็นการรักษาสิทธิของประเทศไทย, ชาวภูมิซรอลในหมู่บ้านชายแดนเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษหนุนรัฐบาลไทยบอยคอตการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่บราซิล เพื่อค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวของเขมร ขณะผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ สั่ง ตร.จับตาเข้มแนวชายแดนไทย-เขมรเตรียมพร้อมสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายทหาร ที่บริเวณด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษทหารไทยได้มีการตั้งด่านตรวจเข้มถึง 2 ด่านไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องขึ้นไปที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-เขมร อย่างเด็ดขาดเนื่องจากเกรงว่าอาจไม่ปลอดภัย แต่ทั้งทหารไทยและทหารเขมรยังไม่มีความเคลื่อนไหวด้านการเสริมกำลัง, นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์แจ้งข่าว เขมรจับนักข่าวไทยไป 3 วัน ทำไมไม่มีข่าวในสื่อกระแสหลัก ทั้งนี้ทางสภานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง 13 สยามไทได้ประกาศข่าวคนหายตั้ง 3 วันโดยนายอธิวัฒน์ บุญชาติได้หายตัวไปตั้งแต่วันศุกร์ไม่สามารถติดต่อได้   ล่าสุดปรากฎว่าตัวนักข่าวกลับมาแล้ว และแจ้งว่าทหารเขมรจับตัวไป ขณะเข้าใกล้ชายแดนเขมร   นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์กล่าวว่านายอธิวัฒน์ บุญชาติที่ได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ก่อนถึงชายแดนไทยเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในการนำมาเปิดเผยในรายการของช่อง 13 สยามไทปรากฏว่าทหารเขมรที่เข้ามายึดดินแดนไทยได้จับตัวนายอธิวัฒน์ บุญชาติ ไป ครั้นทางสถานีได้ประกาศก็เป็นข่าวที่รับฟังได้ในเขมร ล่าสุดเขมรจึงได้ปล่อยตัวนายอธิวัฒน์ บุญชาติ เมื่อเวลา 5 นาฬิกาวันนี้ ายไชยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้คนไทยไม่สามารถเดินทางไปในดินแดนของประเทศไทยได้ทุกหนทุกแห่งเหมือนแต่ก่อนดังที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้อีกต่อไปแล้วเพราะทหารเขมรได้เข้ามาบุกรุกยึดดินแดนไทยเป็นจำนวนมากตลอดแนวชายแดน การที่นายอธิวัฒน์ บุญชาติถูกจับครั้งนี้คือข้อเท็จจริงที่สำคัญที่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ปกปักรักษาอธิปไตยและดินแดนของประเทศจึงเป็นเรื่องที่คนไทยต้องรับรู้โดยทั่วกัน, ขณะที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโกมีการแถลงท่าทีล่าสุดออกมาเช่นกัน  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธ เรียกร้องให้มีการร่วมหารือเรื่องการคุ้มครองปราสาทพระวิหารและเน้นย้ำถึงบทบาทของอนุสัญญามรดกโลกปี พ.ศ. 2515 ในฐานะสื่อกลางเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ "การคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของพวกเราหมายความถึงการสร้างสันติภาพ ความเคารพ และความสามัคคีซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของภารกิจขององค์การยูเนสโกนี่คือความรับผิดชอบหลักที่มีความเข้าใจตรงกัน คือการให้มรดกโลกเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพการร่วมหารือและความปรองดองซึ่งกันและกัน" นางโบโกวากล่าว,  ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา อ.เทพมนตรี ลิมปพยอมนักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ และ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยร่วมพูดคุยในรายการม.ล.กล่าวว่าวันนี้รัฐบาลมีท่าที่เปลี่ยนไปมีการจะวอล์กเอ้าท์ แต่จะดูเฉพาะท่าทีวันนี้ไม่ได้ มันสำคัญอยู่ที่รูปแบบของการค้านเป้าหมายของการค้านเราต้องตั้งเป้าฟันลงไปเลยว่าคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไม่ต้องเล่นลิ้นว่ามันขึ้นไปแล้ว  มันขึ้นจริงแต่ยังไม่สมบูรณ์ ยังส่งเอกสารไม่ครบเพื่อเอาตรงนี้ไปโปะการขึ้นทะเบียนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ถ้าจะคัดด้านต้องทำภายในวันที่ 9 ก.ค. ค้านไม่ให้เปลืองตัวด้วย   อ.เทพมนตรีกล่าวว่าตกใจมากที่นายกฯ กับปณิธานพูดว่าจะไปท้วงในวาระเขมรมันไม่ได้อยู่แล้ว มันต้องประกาศลาออกเลยไม่ต้องไปยุ่งกับเนื้อหาสาระเพราะสู้ไม่ได้อยู่แล้วอย่างสหรัฐก็ยังเคยลาออกที่ปารีสมีคนเล่ามาว่าก่อนประชุม 2 วันนายสุวิทย์พบกับมาดาม ผู้อำนวยการยูเนสโกที่ปารีสมาดามบอกว่าดินแดนเป็นเรื่อง 2 ประเทศเราไม่สน  อ.ปานเทพกล่าวว่าครม.เพิ่งจะออกมาคัดค้านวันนี้
เป็นการเตรียมการที่ประมาท ไม่เป็นระบบถึงขนาดเรียกว่าคิดจะคัดค้านแต่ไม่มีวาระของตัวเองที่สำคัญหัวข้อที่จะไปคัดค้านไร้ทิศทางอย่างมากดูงงงวยไปหมดเพียงแต่ต้องการปกปิดความผิดพลาดของคนบางกลุ่มเพียงเท่านั้นเอง โทษยูเนสโกอย่างเดียวไม่ได้แต่ไทยก็บกพร่องหลือเกิน พันธมิตรบอกมา 8 เดือนที่แล้ว ให้ยกเลิกข้อตกลงไทย-เขมรทุกฉบับให้ชัดเจนอย่างเป็นทางการก็ไม่มีใครทำ ให้ผลักดันเขมรออกก็ไม่ทำ นายปานเทพกล่าวว่าถามว่าวันนี้เรามีทางออกหรือไม่ ตนคิดว่ามีต้องลดศักดิ์ศรีลดอัตตา เลิก MOU43 เสียแล้วใช้กำลังผลักดันประมาณ ปี2548 เราเคยบอกว่าจะใช้กำลังผลักดัน สรุปชุมชนอพยพหมด  เพราะก็รู้ว่าต้านแสนยานุภาพเราไม่ได้ เชื่อว่าทหารร้อนรน เจ็บช้ำน้ำใจอยากปกป้องอธิปไตยแต่ถูกปิดกั้นด้วยเจบีซี ตอนนี้จะใช้แค่การเจรจาไม่มีโอกาสทวงพื้นที่4.6 ตร.กม.กลับมาได้เลยไม่ต้องมาอ้างว่ากลัวเขมรเอาเรื่องขึ้นศาลโลกอีกครั้งแล้วจะเสียพื้นที่ไป เราไม่จำเป็นต้องขึ้นศาลโลกเรามีอธิปไตย ชั่วโมงนี้ใครพลาดใครผิด มันก็ผ่านไปแล้วถือเป็นบทเรียนราคาแพง มองไปข้างหน้าไม่ให้กลับมาซ้ำแบบเดิมอีก ท่าทีนายกฯ วันนี้ที่ครม.มีมติคัดค้านแม้ว่าจะช้าไปมากหรือท่าทีจะให้ถอนตัวก็ตาม  เมื่อถึงเวลาเราจะเห็นว่าไทยปฏิบัติจริงแค่ไหนจะคอยดูการลุกล้ำหลังสันปันน้ำว่ารัฐบาลจริงใจแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดมากแค่ไหน,  ตั้งแต่เมื่อวานที่กลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชนติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร ชาวอโศก ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนตัดสินใจจัดชุมนุมที่หน้าสำนักงานยูเนสโกเพื่อประท้วง ประณามและกดดันการกระทำของคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกที่ได้มีมติซึ่งละเมิดอธิปไตยของไทย เป็นการทำลายสันติภาพในภูมิภาคแห่งนี้ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้เป็นมรดกโลกของเขมรภาคประชาชนมองว่าการใช้กำลังทหารเพื่อปกป้องการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยนั้นถือเป็นหน้าที่ของทหารและรัฐบาลซึ่งต้องลงมือทำโดยทันทีและเชื่อว่าการรบกันตามชายแดนเพื่อรักษาอธิปไตยนั้นจำกัดขอบเขตได้   เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะถูกสอบถามว่ารัฐบาลควรต้องมีความชัดเจนเรื่อง MOU 2543 เสียตั้งแต่วันนี้ (โดยมติของรัฐสภา) ว่าจะไม่รับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ซึ่งขัดแย้งกับสันปันน้ำหรือหลักภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติมิใช่เปิดโอกาสให้เป็นอันตรายต่อไปหากตกอยู่ในอำนาจการตัดสินใจรัฐบาลที่เลวร้ายในอนาคต นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกลับมีความคิดเห็นว่าหากทำให้ชัดเจนเช่นนั้นฝ่ายเขมรก็คงไม่ยินยอมอยู่ดี    ถึงตรงนี้ทำให้เกิดความชัดเจนแล้วว่านายกรัฐมนตรียังมีวิธีคิดและยุทธวิธีแตกต่างจากภาคประชาชนอย่างชัดเจน
-      29 ก.ค. 53  ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกได้เลื่อนการพิจารณารับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทตามข้อเสนอเขมรออกไปเป็นเวลาประมาณ 10.00 น.ซึ่งตรงกับ เวลา 22.00 น. (เวลาในประเทศไทย) ถ้าเป็นมวยก็ต้องบอกว่า เขมรทำแต้มทิ้งห่างไทยมาตลอดในการล็อบบี้ 21 ชาติกรรมการมรดกโลก แต่มาพลาดท่าถูกหมัดน็อกของไทยโป้งเดียวจอด จุดชี้ขาดจริงๆ ที่ทำให้สถานการณ์พลิกกลับเป็น "หลักฐาน" ที่คณะนายทหาร "3 ทหารเสือ" ซึ่งร่วมทีมไปได้แก่พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพน้อยที่ 2 และพล.ต.นพดล โชติศิริ รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาทางด้านแผนที่ การปักปันเขตแดน เป็นผู้กำ "ภาพเด็ด" ที่มัดเขมรจนดิ้นไม่หลุด หลักฐานชิ้นสำคัญมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1.แผนที่จากกรมแผนที่ทหารซึ่งแสดงให้คณะกรรมการมรดกโลกและชาติสมาชิกเห็นอย่างชัดเจนว่า แผนการบริหารจัดการพื้นที่ของเขมร ล่วงล้ำอธิปไตยของไทยอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
-       2.หลักฐานภาพถ่ายการจัดวางกำลังและอาวุธหนักของทหารเขมร ใกล้บริเวณปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นมรดกโลก แผนผังที่เขมรยื่นเข้ามานั้น โมเมทำฝ่ายเดียวแถมเอาพื้นที่ของไทยผนวกเข้าไปด้วย จริงๆ แล้วไทยไม่ได้ตั้งใจจะใช้หลักฐานชิ้นสำคัญนี้หากไม่จำเป็น เพราะผลกระทบค่อนข้างรุนแรงการรับรองแผนพัฒนาพื้นที่ของเขมรที่สุ่มเสี่ยงต่อการรุกล้ำอธิปไตยของไทย และอาจนำมาสู่สงคราม ทำให้กรรมการมรดกโลกยอมรับว่า พื้นที่ดังกล่าวยังมีความขัดแย้งกันอยู่ จึงไม่ต้องการให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกเป็นต้นเหตุให้ความขัดแย้งรุนแรงจนนำไปสู่ "สงคราม" มากกว่า "สันติภาพ" อันเป็นหลักการสำคัญของยูเนสโก กรรมการมรดกโลกจึงไม่ต้องการรับเผือกร้อน และตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นปี 2554 โดยไม่ลังเล  "แม้ปีนี้คณะกรรมการมรดกโลกจะเลื่อนการรับรองแผนดังกล่าว แต่เป็นการเลื่อนเพื่อแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์เท่านั้น ในอนาคตแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทย่อมจะต้องผ่านการพิจารณาของกรรมการมรดกโลกแน่นอน" เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงต่างประเทศให้ทัศนะ แต่สำหรับไทยเองก็ยังไม่อาจประกาศได้ว่า นี่เป็นชัยชนะที่เด็ดขาด เป็นเพียงแค่การ "พักยก" เท่านั้น, ทหารเขมรเหิมบุก เผาเถียงนาราษฎรไทย 3 หลังใกล้ชายแดนไทย-เขมร ท้ายหมู่บ้านโศกขามป้อม ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พร้อมประกาศห้ามเข้าไปในพื้นที่อีก แต่ชาวบ้านไม่หวาดกลัวยังคงประกอบอาชีพใช้ชีวิตตามปกติ ลั่นไม่อพยพย้ายหนีเด็ดขาด, นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุจุดยืนไทยต้องการให้เลื่อนการพิจารณาแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารไปปีหน้า ต้องการให้ปักปันเขตแดนให้ชัดเจนก่อนพัฒนาเขาพระวิหาร ระบุหากคณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติแผนของเขมร ไทยจะถอนตัวจากสมาชิกยูเนสโก,  ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันไปด้วยก็คืองานนี้เป็นการสุมหัวกันของบรรดามหาอำนาจที่จ้องสูบผลประโยชน์ในแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย และเมื่อมาเจอกับความโลภและนักการเมืองขายชาติก็ถือว่าเป็นความโชคร้ายของคนไทย ที่น่าเศร้าก็คือยังมีอีกหลายคน และสื่อจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยใส่ใจ มิหนำซ้ำยังทำท่าเบะปากเมื่อเห็นการลุกขึ้นมาต่อสู้หวงแหนแผ่นดินเกิด หาว่าเป็นพวกคลั่งชาติหรือเป็นกิจกรรมของพวกเสื้อเหลืองที่ก่อความวุ่นวายไม่รู้จักจบไปเสียอีก, งานด้านการต่างประเทศของไทยถูกสบประมาทว่าอ่อนหัดมานานนับตั้งแต่แพ้ในศาลโลกปราสาทพระวิหารตกไปเป็นของเขมรเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันความอ่อนหัดนั้นยังปรากฏอยู่ให้เห็นเป็นระยะการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของเขมรนั้น งานด้านการต่างประเทศของไทยเดินตามหลังเขมรหนึ่งก้าวเสมอมามีหลายปัจจัยที่ทำให้เป็นเช่นนั้น ช่วงรัฐบาลทักษิณดูเหมือนเรายอมเดินตามเขมรหนึ่งก้าวเพื่อผลประโยชน์อื่นที่ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ชาติ   มาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราก็ยังเดินตามหนึ่งก้าว    นอกจากความใส่ใจที่น้อยเกินไปแล้วเรายังสู้อิทธิพลของเขมรในเวทีโลกซึ่งมีอดีตเจ้าอาณานิคมหนุนหลังไม่ได้  ในครั้งนี้นอกจากวอล์กเอาต์การประชุมที่บราซิลแล้วรัฐบาลไทยอาจต้องจับคู่กับกรรมการยูเนสโกเพื่อคุยกันให้รู้ดำรู้แดงว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่นั้นจะสร้างความขัดแย้งระหว่างไทยกับเขมรให้บานปลายมากยิ่งขึ้นกำลังทำลายเศรษฐกิจ สันติภาพ ทำลายความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี, นักวิชาการชี้ MOU 43 มีประโยชน์อยู่บ้าง สามารถนำมาใช้ได้ในตอนนี้เพื่อให้เห็นว่ามีการระบุว่าพื้นที่ตรงปราสาทพระวิหารมีการพิพาทมาตั้งแต่ปี 2543 แล้วแต่ระยะยาวต้องยกเลิกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกรวมถึง MOU44 ก็มีปัญหาเหมือนกันรัฐบาลควรพิจารณาใหม่ทันทีเพราะต้องพิจารณาในเองที่สภาที่ปรึกษาฯเคยเสนอรัฐบาลว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนหรือเปล่า เพราะอยู่ๆที่ของไทยที่เคยอ้างสิทธิ์กลายเป็นต้องไปแบ่งปันร่วมกับเขมรและไม่ได้ผ่านรัฐสภาฯตามรํฐธรรมนูญปี 40 ด้วยแต่หากใช้ต่อไปต้องเสนอกรอบเจรจาใหม่ให้รัฐสภาอนุมัติ, ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีเขมร ได้สั่งให้กองทัพเขมรตรึงกำลังแนวเขตแดนไทย-เขมร และเตรียมพร้อมเพื่อตอบโต้กรณีที่ถูกรุกรานจากทหารไทย เขากล่าวภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทยส่งทหารเข้าตรึงกำลังบริเวณชายแดนไทย-เขมร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเขาพระวิหาร อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายกำลังจับตาผลการประชุมคณะกรรมการ, ช่องจอม สุรินทร์ยังไม่ตึงเครียด พ่อค้าแม่ค้าชาวไทย-เขมรค้าขายและเดินทางผ่านแดนเข้าไปเล่นกาสิโนตามปกติ ขณะกองทัพเขมรมีคำสั่งให้ทหารเขมรเตรียมกำลังพลและอาวุธหนักพร้อมรับมือกับสถานการณ์ทหารไทยเปิดฉากโจมตีอย่างเต็มที่ ตลอดแนวชายแดน ตั้งแต่ ศรีสะเกษ-สุรินทร์ , กรณีพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารจำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตรอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กกระจ้อยร่อยไปแล้วก็เป็นได้หากเขมรสามารถผลักดันจนจดทะเบียนเป็นมรดกโลกได้สำเร็จซึ่งการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่บราซิลซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมาโดยทางฝ่ายโน้นพยายามยึดข้อตกลงที่เคยทำเอาไว้กับฝ่ายไทยตั้งแต่ปี 2543 แล้วตีขลุมเอาว่าไทยได้ให้การยอมรับมาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตามแผนที่ฝรั่งเศสเสียด้วย หากเป็นเช่นนั้นจริงอย่าว่าแต่พื้นที่รอบพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรเนื้อที่กว่า 3 พันไร่เลยปราสาทขอมที่อยู่ริมแดนไทยทั้งหมดไล่ลงมาตั้งแต่อุบลฯ ศรีสะเกษ สุรินทร์เรื่อยมาจนถึงทะเลอ่าวไทย ต่อไปเกาะกูดก็จะหายไปด้วย ที่สำคัญงานนี้มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ด้านพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องและ 7 ประเทศที่ร่วมเป็นกรรมการในมรดกโลกดังกล่าวก็เป็นมหาอำนาจที่จ้องเข้าไปทำธุรกิจในแถบนั้นตาเป็นมันเสียด้วย   ถึงได้บอกว่าเรื่องมรดกโลก-พลังงานในอ่าวไทย-การขายชาติ มันเป็นเรื่องเดียวกันและที่สำคัญผู้มีอำนาจทั้งในรัฐบาลแลกองทัพในยุคปัจจุบันมีแต่ประเภทรักชาตินอกจากมีท่าทีเฉยเมยแล้วบางคนยังน่าสงสัยว่าสมคบกันขายแผ่นดินแม่เพียงเพื่อแลกกับผลประโยชน์เศษเงินเล็กๆน้อยๆที่ได้รับมาเท่านั้นและที่น่าเจ็บใจก็คือเรื่องใหญ่แบบนี้แต่ทำไมสื่อไม่ค่อยสนใจ ไม่ให้ความสำคัญหรืออาจจะด้วยเหตุผลตื้นๆว่าเมื่อเครือผู้จัดการและพันธมิตรฯจับเรื่องนี้มาเล่นแล้วสื่ออื่นไม่ต้องไปสนใจเพราะกูหมั่นใส้มันหรือปล่อยให้พล.ต.จำลอง ศรีเมืองออกโรงไปอย่างโดดเดี่ยวก็แล้วกัน  สิ่งที่ได้ยินจากฝ่ายรัฐบาลคือเราจะตามแก้ปัญหากันภายหลังเหมือนกับทุกเรื่อง แทนที่จะป้องกันเอาไว้ล่วงหน้าเพราะมาตรการที่รับมือที่ได้ฟังจากปากของเลขาสมช.ก็คือเราเตรียมการเอาไว้แล้วโดยให้ไปหามาตรการแต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแม้ไม่ได้พูดตรงๆแบบนี้แต่ความหมายก็คงไม่ต่างกันมากนัก , ไทยถูกรังแกมานานแล้ว ถูกเอาเปรียบมานานแล้วถูกครอบงำด้วยเงินตรามานานแล้วหรือเป็นยุคล่าอาณานิคมยุคที่ 3 ในขณะที่นักวิชาการในภาคส่วนต่างๆได้ร่วมกันประสานเสียงประท้วงยูเนสโก้รวมทั้งนายอารักษ์ สังหิตกุล อดีตอธิบดีกรมศิลปากรได้ออกมาชี้ว่าหากคกก.มรดกโลกรับรองแผนเขมรเพราะไม่ใช่แค่มรดกโลกแต่หมายถึงการเสียดินแดนไทย เสี่ยงก่อสงคราม    ตามที่รัฐบาลได้ชี้แจงว่า MOU 2543 มีส่วนดี เพราะเป็นการยืนยันว่ามีพื้นที่ข้อพิพาทระหว่างไทย-เขมรอยู่ ย่อมแสดงว่า เขมรก็ต้องยอมรับเป็นพื้นที่ของประเทศไทยซึ่งคำอธิบายดังกล่าว ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผลนัก  ไม่เช่นนั้นเขมรคงไม่กล้าดำเนินการบริหารจัดการที่รุกล้ำเข้ามาในดินแดนทั้งจากทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของประเทศไทย   ดังที่รู้กันดีว่าเป็นพื้นที่ของไทย  และนี่คือผลงานอันอัปยศของนักการเมือง และข้าราชการไทยที่ไม่เอาไหนคิดแต่ปกปิดความผิดพลาดของตัวเองในอดีตหรือไม่ก็ใช้วิธีตามแก้ไขหลังจากเหตุการณ์หรือความสูญเสียได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นการณ์ครั้งนี้เราจะต้องเข้มแข็งกันทั้งชาติ    จะต้องมีผู้ยอมเสียสละผลประโยชน์การค้าขายในเขมรเพื่อรักษาพื้นที่อันเล็กน้อยแต่มีคุณค่าของความเป็นรัฐชาติไว้ให้ได้ด้วยเลือดและชีวิต ทั่วโลกเกือบทุกประเทศก็มีปัญหาชายแดนทั้งสิ้น และร้ายแรงกว่าไทย - เขมรมากนัก สรุปได้ว่าเขตแดนความยาว 250,000 กิโลเมตรระหว่าง 194 ประเทศที่มีเขตแดนติดกันมีปัญหากันทั้งทางบก ทางทะเล ในห้วงอวกาศ หากต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าไปใน www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2070.html เราจะรู้ว่าทั้งโลกมีปัญหาเหมือนเรา ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้ต้องจริงใจ เข้าใจและยอมรับความจริงอย่าเอาแต่คำตัดสินในอดีตที่ยึดหลักฐานตามชาติหนึ่งชาติใดที่เอาเปรียบหรือพรรคประชาธิปัตย์จะยอมเสี่ยงว่าเป็นพรรคที่แพ้สงครามการเมืองกับเขมรแลกกับอธิปไตยของชาตินั้นชาวไทยทั้งปวงย่อมไม่เห็นด้วยแน่นอน ถ้าจำเป็นต้องทำสงครามเพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยและดินแดนก็เป็นเรื่องที่ต้องทำเพราะไม่มีทางที่จะยอมเสียดินแดนโดยอ้างเหตุผลอื่นๆ รองรับได้    ประเทศไทย รัฐบาลไทย กองทัพไทยและประชาชนไทยต้องพร้อมทำสงครามที่เป็นธรรมเพื่อรักษาเอกราชอธิปไตยของประเทศชาติไว้ด้วยการขับไล่ผู้รุกรานออกไป, ในช่วงค่ำมีประชาชนชาวไทยนับพันคน ไปชุมนุมหน้ายูเนสโก ถ.สุขุมวิท40 เพื่อรอฟังผลประชุมหลังตัวแทนไทยยื่นค้านเขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้แก่ กลุ่มภาคีเครือข่ายผู้ติดตามประสาทเขาพระวิหารและกลุ่มคนไทยรักชาติ นำโดยนายชัยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายการุณ ใสงาม นายสมบูรณ์ ทองบุราณ บรรยากาศคึกคักมีธงชาติพร้อมชูป้ายประท้วงและมีการขึ้นเวทีปราศรัยตลอดเวลา ลุ้นผลที่บราซิล  ด้านม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสำนักไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะผู้ประสานเครือข่ายภาคีการต่อต้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกให้สัมภาษณ์ว่า โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ของประเทศไทยคือการประกาศลาออกจากการการเป็นประเทศสมาชิกขององค์การยูเนสโก้ทันที   เพราะแม้ว่ายูเนสโก้จะเป็นองค์กรระหว่างประเทศขนาดใหญ่ได้รับความเชื่อถือมากแต่กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารนี้ ยูเนสโก้ทราบดีว่าไทยและเขมรมีความขัดแย้งกันอยู่ คือรู้อยู่เต็มอกว่ามีปัญหากันแต่ก็ยังดึงดันที่จะผลักดันให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้ได้ แม้จะทำยังไม่สมบูรณ์ ก็พยายามทำให้สมบูรณ์ ยอมทำแม้กระทั่งทำสิ่งที่ผิดกับหลักการณ์ขององค์กรของตัวเอง ม.ล.วัลย์วิภายอมรับว่า การเป็นประเทศสมาชิกยูเนสโก้อาจจะทำให้ไทยได้รับเงินทุนสนับสนุนในการดูแลโบราณสถานหรือได้ประโยชน์ในเรื่องของเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวแต่ก็ถือว่าไม่คุ้มหากเปรียบเทียบกับสถานการณ์อันล่อแหลมที่ไทยกำลังเสี่ยงที่จะเสียเปรียบในกรณีของปราสาทพระวิหาร ส่วนนายศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์กล่าวเรียกร้องให้ไทยถอนตัวจากการเป็นภาคีสมาชิกขององค์การยูเนสโกเนื่องจากยูเนสโกดำเนินการด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์เจ้ากรมยุทธฯ-มทภ.2 รุดตรวจสถานการณ์ชายแดนเขาวิหาร-ย้ำไม่ยอมเขมรรุกล้ำอธิปไตย, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีทราบว่าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศบราซิลได้เลื่อนการพิจารณากรณีปราสาทพระวิหารออกไปก่อนเพราะอยากให้ประเทศไทยและเขมรได้พูดคุยกันก่อนเข้าใจว่ามีการพบปะกันแล้วแต่ยังไม่ข้อยุติ เลยต้องเลื่อนวาระไปก่อน ทางที่ดีที่สุดคือให้ทุกคนกลับมาสู่กระบวนการเดิมตามที่กำหนดไว้ในบันทึกว่าด้วยความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่จัดทำเมื่อปี 2543 เพราะขนาดรายงานที่เขมรส่งให้กับคณะกรรมการมรดกโลกก็ยังยอมรับว่าแผนที่ใช้ไม่ได้เพราะมีเอ็มโอยูและคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม (เจบีซี) อยู่จึงเป็นตัวพิสูจน์ว่าไม่ควรเดินหน้าจัดทำมรดกโลกรวมถึงแผนบริหารจัดการต่างๆและช่วยยืนยันสิ่งที่ผมพูดมาตลอดว่าเอ็มโอยูมีประโยชน์ทำให้เขมรอ้างแผนที่ไม่ได้ ที่เขาส่งรายงาน ตอนนี้เขาเลยทำได้แค่ส่งแผนผังไปก่อน เพราะติดข้อตกลงขอเจบีซีอยู่แล้วเขาก็พยายามจะบอกว่าแผนผังที่ส่งไปไม่กระทบเขตแดน ซึ่งเราบอกว่าเรายอมรับไม่ได้ เมื่อถามว่าการพูดคุยนอกรอบระหว่างสุวิทย์กับตัวแทนฝ่ายเขมรยังไม่ได้ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่ายังไม่คืบหน้า แต่เราได้แสดงออกชัดเจนว่าการจะเดินหน้าบริหารแผนอะไรจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของทั้งสองประเทศ, คุณโสมสุดา ลียะวณิชรองปลัดกระทรวงวัฒธรรมและคณะกรรมการมรดกโลกหนึ่งเดียวของไทยต่อสายรายงานความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกให้นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติรมว.วัฒนธรรมรับทราบ ท่านนิพิฏฐ์พอสิ้นเสียงจากปลายสายรายงานก็ได้แต่บอกให้ชาวไทย ภาวนาให้มีการเลื่อนวาระปราสาทเขาพระวิหารออกไปเป็นวาระสุดท้ายเพื่อไม่ให้พิจารณาได้ทันเวลา และต้องตกไปหวังให้ไทยไม่ต้องสูญเสียดินแดนก่อนที่สุดท้ายจะตัดสินใจถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกหรือไม่, ในที่ประชุมก่อนเข้าวาระการประชุม คณะกรรมการมรดกโลก องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติที่บราซิลมีการล็อบบี้กันให้วุ่นแยกห้องไทย-เขมรส่อยืดเยื้อ กระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่าไทยไม่ยอมรับและคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของทางการเขมรต่อที่ประชุมยูเนสโกที่ประเทศบราซิลและสำนักงานใหญ่ยูเนสโกที่ฝรั่งเศสแล้วหากผลที่ประชุมในค่ำวันนี้ยูเนสโกยังยืนกรานรับพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของเขมร ไทยก็ยืนยันในท่าทีที่จะทบทวนการเป็นภาคีของยูเนสโกซึ่งนักวิชาการต่างห็เห็นด้วย, ด้านกองทัพเขมรสั่งทหาร-รถถังพร้อมรบพร้อมเร่งปรับปรุงพื้นที่ผุดถนนอาคารร้านค้าบนพื้นที่ 4.6 ตร.กม., นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีสวนเขมรรุกไทยโดนยิงเหมือนกัน ลั่นปมพระวิหารจบถ้ายอมให้เป็นมรดกโลกร่วมกันเมื่อถามว่าการพูดคุยนอกรอบระหว่างนายสุวิทย์กับตัวแทนฝ่ายเขมรยังไม่ได้ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่นายอภิสิทธิ์กล่าวว่ายังไม่คืบหน้า แต่เราได้แสดงออกชัดเจนว่าการจะเดินหน้าบริหารแผนอะไรจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของทั้งสองประเทศ
-      30 ก.ค. 53  หลังจากที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ให้เลื่อนวาระการประชุมการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่เขาพระวิหารที่ฝ่ายรัฐบาลเขมรเสนอมาออกไปเป็นการประชุมในปีหน้า ปรากฏว่าบรรยากาศที่บริเวณบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย  อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษได้เป็นไปอย่างสดชื่นคึกคักเป็นอย่างมากทุกคนต่างมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากว่าจะไม่ต้องหวาดผวากับภัยสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกต่อไป ทหารไทยทุกนายก็ไม่ได้ไว้วางใจสถานการณ์มีการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่และตรึงกำลังตลอดแนวเช่นเดิม  ขณะที่ฝ่ายทหารเขมรก็มีการเตรียมพร้อมเช่นกัน อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่มีการเสริมกำลังทหารเพิ่มเติมแต่อย่างใด, ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร ได้นำคณะภาคีเครือข่ายฯเดินทางไปยังบริเวณหน้าที่ทำการองค์กรยูเนสโกประจำประเทศไทย ถ.สุขุมวิท โดยไปสมทบกับนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำเครือข่ายภาคประชาชนที่นำประชาชนผู้ไม่เห็นด้วยกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกที่ไปรอติดตามการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของยูเนสโกไทยอยู่แล้วจำนวนหนึ่งเพื่อออกแถลงการณ์หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงบราซิเลีย ระบุเป็นเพียงทางออกหลังตกลงกันไม่ได้ของไทย-เขมร-ยูเนสโก   ยันรัฐบาลต้องยกเลิก MOU 43 และเจบีซี รวมถึงต้องผลักดันกองกำลังต่างชาติบริเวณชายแดนไทยฝั่งติดเขมรออกไปให้หมด  เราอยากเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก MOU 43 กรณีแผนที่ในอัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 และเรียกร้องให้ยกเลิกการทำงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมรหรือ JBC ประการที่ 3 คือเราเรียกร้องให้มีการผลักดันทหารและกลุ่มติดอาวุธต่างชาติที่อยู่ในแนวชายแดนระหว่างไทยและเขมรออกไปให้หมด ส่วนข้อที่ 4 ที่เราเรียกร้องคือเราขอให้มีการแต่งตั้งนายทหารที่เห็นแก่การปกป้องผลประโยชน์ของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเองเข้ามาบัญชาการดูแลในบริเวณชายแดนไทย-เขมรด้วย ม.ล.วัลย์วิภากล่าว, ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย-เขมรปี 2543 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัยโดยมีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้ยอมรับแผนแม่บทและข้อกำหนดหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันทางบกในมาตราส่วน 1 : 200,000 ว่า MOU ดังกล่าวได้ผ่านมาหลายรัฐบาลแล้วซึ่งหาก MOU นี้ไม่ดีจริงก็สามารถที่ยกเลิกได้  อย่างไรก็ตามตนเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมทุกคนจะต้องพุ่งเป้ามาที่ตนเองและถ้าหากตนเองผิดจริงก็พร้อมที่จะถูกดำเนินคดี, สุวิทย์ คุณกิตติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมบราซิลในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกและเอกอัครราชทูตบราซิลประจำองค์การยูเนสโกเป็นการพบปะหารือฝ่ายเดียว เนื่องจากเมื่อที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา การหารือทวิภาคีระหว่างไทยและซก อานรองนายกรัฐมนตรีเขมรไม่ประสบผลสำเร็จ และไม่สามารถเขียนร่างข้อตกลง (draft decision) เพื่อแถลงต่อที่ประชุมได้เนื่องจากประเทศทั้งสองมีพรมแดนติดกันและมีปัญหาการบริหารจัดการในพื้นที่ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ (dispute area) 4.6 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้คณะผู้แทนไทยยังได้หารือกับ นางอีรินนา บัคโควาผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกเพื่อแจ้งประท้วงเรื่องแผนบริหารการจัดการปราสาทพระวิหารอย่างเป็นทางการทั้งนี้นายสุวิทย์และรมว.วธ.บราซิล ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการหารือ จึงได้ข้อสรุปร่างข้อตกลง (draft decision) ในเบื้องต้นแต่เมื่อนำร่างข้อตกลงดังกล่าวไปหารือกับเขมรเพื่อให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกัน ปรากฏว่าเขมรไม่สามารถรับข้อเสนอได้ ทำให้วาระการประชุมจากเย็นวันที่ 28 กรกฎาคม เลื่อนมาเป็นเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม จากนั้นก็ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดโดยให้ประชุมวาระอื่นๆ ทดแทนไปก่อน สุดท้ายไม่สามารถเจรจาผ่านตัวกลางสำเร็จบราซิลในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 จึงเป็นตัวกลางเจรจาใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมงจนตกลงร่วมกันได้ว่าให้เลื่อนการพิจารณาแผนการบริหารจัดการของเขมรจากการประชุมครั้งที่ 34 ไปเป็นครั้งที่ 35 ในปี พ.ศ.2554 ที่บาห์เรน ปัญหาหลักของไทยคือแผนการบริหารจัดการของปราสาทพระวิหาร (buffer zone) มีบางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในเขตที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ (dispute area) 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งไทยก็อ้างสิทธิในพื้นที่นี้ตามชายขอบของสันปันน้ำ (water shade) ว่า เป็นเขตอธิปไตยของไทยรวมทั้งร่างข้อตกลงจำนวน 7 หน้าที่เขมรแจกในที่ประชุมก่อนการพิจารณาวาระดังกล่าวซึ่งเอกสารดังกล่าว ระบุว่ามีการทำกิจกรรมบางอย่างในเขตอธิปไตยของไทยซึ่งฝ่ายไทยไม่สามารถยอมรับได้ นอกจากนี้แผนการบริหารจัดการฉบับเต็ม ความยาวจำนวน 130 หน้าซึ่งทางเขมรอ้างว่าได้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของศูนย์มรดกโลกแล้วแต่ฝ่ายไทยก็ยังไม่เห็นแผนดังกล่าวถูกเผยแพร่  บรรยากาศในที่ประชุมว่าการหารือที่ประชุมไม่ได้มีการลงคะแนนเสียงแต่เป็นการประกาศของประธาน, ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุตเลขานุการ รมว.ต่างประเทศ ยันให้ความสำคัญเอ็มโอยู 43 ในเรื่องปักปันเขตแดนชี้คณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนพิจารณาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารทำไทยได้เปรียบย้ำภายใน 1 ปีนี้ทุกฝ่ายต้องทำงานอย่างใกล้ชิด เตรียมนำข้อพิพาทเข้าถกในคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนระหว่างไทย-เขมร, นายคำนูณ สิทธิสมานส.ว.สรรหาชี้มรดกโลกเลื่อนพิจารณาพระวิหารไป 1 ปีแค่ซื้อเวลา รอดูรัฐทำยังไงต่อ เชื่อเจรจาเขมรไม่มีทางได้ผล แนะเลิกเอ็มโอยู 43 ชี้เป็นมรดกแห่งความขัดแย้งไม่สิ้นสุด  ยันผลักดันชาวเขมรพ้นเขตทับซ้อนแค่รักษาอธิปไตย ระวังฮุนเซนแค้นให้ที่พักพิงหนุนคนเสื้อแดงป่วนชาติเพิ่มเติมซ้ำจากที่เขมรจะสร้างวิกฤตชายแดน หวั่นได้รัฐบาลสมัยหน้าอาจทำเหมือนสมัยนพเหล่  จึงเตือนสติรัฐทำอะไรไปต้องรับผิดชอบในอนาคต, เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ ยันให้ความสำคัญเอ็มโอยู 43 ในเรื่องปักปันเขตแดน ชี้คณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนพิจารณาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารทำไทยได้เปรียบ ย้ำภายใน 1 ปีนี้ทุกฝ่ายต้องทำงานอย่างใกล้ชิด เตรียมนำข้อพิพาทเข้าถกในคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนระหว่างไทย-เขมร อยากให้ประเทศไทยและเขมรได้พูดคุยและตกลงปัญหากันให้ชัดเจน เมื่อชัดเจนแล้วใครจะดำเนินการอะไรอย่างไร ตนเชื่อว่านานาชาติจะไม่เข้ามาแทรกแซง, ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหารได้นำคณะภาคีเครือข่ายฯไปสมทบผนึกกำลังกับนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์แกนนำเครือข่ายภาคประชาชนที่นำประชาชนผู้ไม่เห็นด้วยนำทีมภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหารบุกยูเนสโกไทยออกแถลงการณ์หลังมติเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารเป็นปีหน้าระบุเป็นเพียงทางออกหลังตกลงกันไม่ได้ของไทย-เขมร-ยูเนสโก ยันรัฐบาลต้องยกเลิก MOU 43 และเจบีซีรวมถึงต้องผลักดันกองกำลังต่างชาติบริเวณชายแดนไทยฝั่งติดเขมรออกไปให้หมด
-      31 ก.ค. 53  เขมรโวกก.มรดกโลกยอมรับแผนจัดการพระวิหาร อ้างคำกล่าวให้สัมภาษณ์ตรงจากประเทศบราซิลของ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า ไทยได้เซ็นยอมรับในวันที่ 30 ก.ค.พร้อมกับรัฐมนตรีของเขมรและบราซิลเพื่อสนับสนุนแผนการจัดการพื้นที่เขาพระวิหารที่เสนอต่อที่ประชุมยูเนสโก นอกจากนี้ยังกล่าวอ้างด้วยว่ารัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของบราซิลในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกยังกล่าวชื่นชมแผนการจัดการที่ดีของเขมร รวมถึงผลสำเร็จที่เขมรได้ทำหลังจากปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วเมื่อปี 2008 และสิ่งที่ไทยไม่ยอมรับในช่วงแรกขณะนี้ก็ได้ยอมรับมันแล้ว คณะกรรมการมรดกโลกยังรับทราบด้วยความพึงพอใจ ในความคืบหน้าของแผนการจัดการและสนับสนุนบุคคลากรจากรัฐบาลเขมรอีกทั้ง คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่มีการเลื่อนวาระการพิจารณาอย่างเป็นทางการตามที่ไทยกล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่เพียงตัดสินใจที่จะทำการพิจาณาแผนการจัดการเขาพระวิหารต่อไป สกอานยังกล่าวปรักปรำไทยว่าการประชุมที่ผ่านมาเขมรพยายามอธิบายให้คณะกรรมการและประเทศสมาชิกฟังว่าไทยใช้แผนที่ลับและที่สร้างขึ้นฝ่ายเดียว ในการคัดค้านแถมยังไม่ยอมรับแผนผังของเขมรอีกด้วย  เขมรได้บรรลุเป้าหมายในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก หลังจากมีการเห็นชอบในแผนการจัดการพื้นที่เขาพระวิหาร ยูเนสโกได้ทำการยอมรับอย่างเป็นทางการในเอกสารการวางแผนจัดการของเขมรซึ่งเขมรจึงไม่จำเป็นต้องมีการเจรจามากไปกว่านี้และไม่จำเป็นต้องรอการลงมติจากที่ประชุม และผลของการประชุมคือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของเขมรสมกับการรอคอย, นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศกล่าวถึงกรณีที่ซก อานรองนายกรัฐมนตรีเขมรประกาศว่าได้รับชัยชนะมันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เพราะการเจรจากันต้องมากันคนละครึ่งทาง เขาจะพูดอะไรตนก็ไม่แคร์และไม่ฟังซึ่งตนก็ได้ชมประธานคณะกรรมการมรดกโลกจากบราซิลไปแล้ว ดังนั้นเราต้องให้เกียรติบราซิลด้วยตนไม่มีปัญหาอะไรกับใครทั้งสิ้นและไม่ทราบว่าทำไมเขาถึงประกาศออกมาแบบนี้, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่นายซก อานออกมาระบุแบบนี้ว่าให้กลับไปอ่านมติเอา”, 'มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์' นักวิชาการไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ติดตามและเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาตลอดได้เปิดใจในการต่อสู้ที่ผ่านมาว่าสุวิทย์ คุณกิตติบอกอาจารย์ที่อาจารย์บอกว่าจะเอาคนออกมาชุมนุมคัดค้านแค่ร้อยคนเนี่ย  เอาออกมาสักหมื่นคนสิ (ร้อยคนไม่พอ เอาออกมาหมื่นหนึ่งได้ไหม)ตอนแรกเราก็ไม่ได้คิดอะไรแล้วดิฉันก็ส่งข้อความไปบอกคุณสุวิทย์ว่า..คอยดูนะวันที่ไปยูเนสโกคนจะออกมาเป็นหมื่นแล้วจงใช้ประโยชน์จากภาคประชาชนเพื่อปกป้องประเทศชาติ ที่เข้าหารือกับท่านนายกฯเพราะพล.ต.จำลองโทร.มาแจ้งว่าให้ดิฉันเป็นหนึ่งในตัวแทนเข้าไปคุยกับนายกฯ  เราก็คิดว่าคงเป็นนิมิตหมายอันดีแต่พอเข้าไปคุยกันแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยเข้าไปแล้วมันเหมือนกับว่าเขาอยากจะบอกว่าฉันชอบอะไรไม่ชอบอะไร วันนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันซึ่งก็มีทั้งประเด็นที่นายกฯเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยซึ่งหน่อมแน้มมาก ในที่สุดเราก็ถามไป 2 ประเด็น คือ 1.ประเด็น MOU43 มันหมายถึงอะไร และเราจะยกเลิกได้อย่างไร 2.ประเด็นเรื่องศาลโลก ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้เรากับนายกฯเห็นไม่ตรงกันประเด็นแรกเราขอให้ยกเลิก MOU43 เพื่อเป็นการแก้ปัญหาทั้งหมดเพราะไม่เช่นนั้นถ้ายังมีการอ้าง MOU ตัวนี้เขมรก็ล้ำแดนเราได้ นายกฯก็ไม่เห็นด้วยบอกว่า MOU43 มีข้อดี ข้อดีประการที่ 1 มันเป็นการยืนยันว่าเขมรยอมรับว่าตรงนั้นเป็นพื้นที่พิพาทระหว่างไทย-เขมรโดยหลักการแล้ว MOU43 มันยึดแผนที่ที่ใช้อัตราส่วนพื้นที่ 1 ต่อ 200,000 ซึ่งเขมรเขาก็ใช้อัตราส่วน 1 ต่่อ 200,000 แล้วอย่างนั้นตรงไหนเป็นพื้นที่พิพาทข้อดีประการที่ 2 นายกฯบอกว่า ข้อ 5 ใน MOU43 ระบุว่าทั้ง 2 ประเทศไม่สามารถทำอะไรก็ตามที่ถือว่าเป็นการทำลายหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอาณาบริเวณตรงนี้ได้แต่ในความเป็นจริงแล้วพื้นที่ตรงนี้เขมรได้เข้ามาสร้างวัด ทำถนน สร้างตลาด สร้างชุมชนและเอาคนของเขาเข้ามาอยู่นานแล้ว ร่วมสิบปีแล้ว ขณะที่ไทยประท้วงไปเขาก็ไม่ถอนคนและสิ่งก่อสร้างออกจากพื้นที่       ประเด็นที่สองเรื่องศาลโลกท่านนายกฯเห็นว่าถ้าเราคัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้วทางเขมรเอาเรื่องขึ้นศาลโลกแล้วขยายผลไทยจะเสียเปรียบซึ่งเราก็เถียงว่าไม่เห็นจำเป็นจะต้องขึ้นศาลโลกเลยเพราะประเทศไทยเรามีอธิปไตย  ทำไมจะยกเลิก MOU43 ไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญของไทยระบุว่าเรื่องใดที่เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศรัฐบาลต้องนำเข้าหารือต่อที่ประชุมสภา แต่การทำ MOU43 ระหว่างไทย-เขมรรัฐบาลขณะนั้นไม่ได้นำเข้าสภา   เรารู้สึกเหมือนถูกรุมนะเพราะฝ่ายรัฐบาลมีทั้งคุณกษิต (นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ) คุณชวนนท์ (นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุด เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ) คุณศิริโชค (นายศิริโชค โสภา เลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี) เขาก็คอยค้านความเห็นเราแต่คุณกษิตแกไม่ค่อยพูดหรอก คิดว่าแกอาจเข้าข้างเราด้วยซ้ำแต่บางทีมีความจำเป็นต้องบอกว่านโยบายรัฐบาลเป็นอย่างนี้..อย่างนี้... แต่ถ้าไม่พูดเรื่องนโยบายรัฐบาลดิฉันว่าคุณกษิตต้องเห็นด้วยกับเรา ส่วนท่านนายกฯพูดไปก็ทุบโต๊ะไปตลอดเวลาเลย คุณอภิสิทธิ์เปลี่ยนไปจากเมื่อครั้งเป็นฝ่ายค้าน   เปลี่ยนไปมากตอนเป็นฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ก็ส่งคนมาขอข้อมูลเรื่องเขาพระวิหารเราก็นั่งคุยกันอะไรกัน พอคุณอภิสิทธิ์อภิปรายเสร็จก็โทร.มาหาดิฉันบอกว่า..ขอบคุณครับ  หลังจากนั้นมีอะไรคุณอภิสิทธิ์ก็จะส่งข้อความมาตลอดกระทั่งเป็นนายกฯก็ยังประสานกันตลอด กฎหมายบางฉบับเราไม่อยากให้เอาเข้าสภาเราก็ส่งข้อความไปบอกนายกฯก็โทร.กลับมาถามว่า...มีอะไรครับคือนายกฯก็เหมือนกับเพื่อนนักวิชาการที่พูดกันรู้เรื่อง จนกระทั่งมีการพูดเรื่องเสียดินแดนท่าทีของคุณอภิสิทธิ์ก็เปลี่ยนไป ตอนเป็นฝ่ายค้านเขาบอกว่าต้องยกเลิกแถลงร่วมระหว่างไทย-เขมรในการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลนี้ก็ยังไม่ได้มีการยกเลิกเลย  ดูเหมือนว่ารัฐบาลไม่ฉลาด ไม่รู้เรื่องหรือว่ามีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงหรือเปล่าถึงได้ทำแบบนี้     คือทุกอย่างรัฐบาลยอมจำนนหมดไงคะพอเราอธิบายอะไรไปรัฐบาลก็จะบอกว่าต่างประเทศไม่เข้าใจหรอก มันต้องอธิบายบรรยายกันยาว     ก็แล้วทำไมคุณต้องมาทำวันนี้ล่ะ เป็นรัฐบาลมาตั้งเป็นปีๆทำไมไม่พยายามอธิบาย  ถ้าเราเชื่อว่านายกฯไม่โกง พรรคไม่โกงก็ต้องไปยอมรับว่า กระทรวงต่างประเทศไม่รู้เรื่องอะไรเลยแต่จะเป็นไปได้ไหมจริงอยู่คุณอภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองที่ซื่อสัตย์แต่ไม่ใช่ว่ารัฐบาลนี้มีคุณอภิสิทธิ์คนเดียวยังมีนักการเมืองอีกตั้งเยอะแยะเขาเล่นกันคนละหน้า  ดิฉันก็แปลกใจว่าทำไมสุรเกียรติ์ถึงมาเปิดตัวในช่วงนี้บ่อยครั้ง มาให้สัมภาษณ์นักข่าวบางสำนักว่า MOU43 มีประโยชน์ เพราะอะไร? เพราะ MOU44 มันรับรอง MOU43 ในเมื่อสุรเกียรติ์ทำ MOU44 ในสมัยรัฐบาลทักษิณแล้วจะมาบอกว่า MOU43 ที่ทำในสมัยรัฐบาลชวนไม่ดีได้อย่างไร นอกจากนั้น นพดล ปัสสาวะรมว.ต่างประเทศสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรราชซึ่งเป็นผู้ลงนามร่วมกับเขมรในการสนับสนุนให้เขมรขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกยังเคยเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และเป็นที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายในสมัยรัฐบาลชวน วศิน ธีรเวชญาณ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฏหมายในสมัยรัฐบาลชวนเขาก็ทำวิทยานิพนธ์เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและปัจจุบันคุณวศินก็เป็นประธานเจบีซี (ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมร) ฝ่ายไทย ในสมัยนพดล ปัสสาวะเป็นรมว.ต่างประเทศก็บอกว่าจะคัดค้านเขมร  เขมรขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวไม่ได้ไทยต้องขึ้นทะเบียนร่วมด้วยแต่พอเอาเข้าจริงกลับไปสนับสนุนเขมรโดยเอาอุทยานแห่งชาติของไทยเข้าไปร่วมขึ้นทะเบียนด้วยซึ่งส่งผลให้จากเดิมที่เราจะสูญเสียดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,000 ไร่ แต่ตามโมเดลใหม่นี้ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านไร่ ดังนั้นเมื่อนายกฯอภิสิทธิ์บอกว่าเราคัดค้านและไม่ต้องการให้เสียดินแดนก็ต้องถามต่อว่าแล้วขั้นต่อไปคืออะไร ที่ผ่านมามีข้อเสนอว่าเราน่าจะเอาพื้นที่ป่าเขาลำเนาไพร่ที่อยู่ในอีก 3 จังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมพัฒนาด้วยซึ่งคนที่ไม่รู้อาจจะมองว่าดีเขาจะมาช่วยพัฒนาพื้นที่ให้ แต่จริงๆแล้วถ้าขึ้นร่วมแบบนี้พื้นที่ซึ่งเป็นของคนไทยและคนไทยอาศัยทำมาหากินได้รับผลกระทบแน่เพราะคนที่เคยอยู่อาศัยหรือทำมาหากินในบริเวณนี้ต้องย้ายออกทันที  ถ้าเป็นเช่นนั้นรัฐบาลได้เตรียมมาตรการไว้รองรับหรือให้การช่วยเหลือประชาชนที่เคยอาศัยทำกินในพื้นที่แถบนี้ซึ่งต้องย้ายออกหลังขึ้นทะเบียนแล้วหรือยัง   ที่ผ่านมามีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยได้รับผลกระทบจากการรุกไล่ยึดพื้นที่ของฝ่ายเขมรแล้วจนกระทั่งชาวบ้านกลุ่มหนึ่งบอกว่าไม่ไหวแล้ว ชาวบ้านก็กลับเข้าไปใหม่เพราะไม่มีที่ทำกินซึ่งที่บางแห่งก็มีเจ้าของ จากเดิมเขามีที่ร้อยกว่าไร่ถูกเขมรบุกรุกจนเหลือไร่เดียวจนเกิดเป็นเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ขึ้นมา  ไทยจะควรขอถอนตัวจากการเป็นภาคีสมาชิกยูเนสโกซึ่งยูเนสโกเป็นองค์กรที่ไม่ได้มีอำนาจจะไปบังคับประเทศใดได้และการถอนตัวไม่ได้ทำให้เราได้รับผลกระทบอะไรที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดเจนว่าคณะกรรมการในยูเนสโกมีผลประโยชน์แอบแฝงตลอด แม้แต่แผนการอนุรักษ์ที่บอกว่ามันมีมาตรฐานอย่างนั้นอย่างนี้ยูเนสโกก็เป็นคนกำหนดเองทั้งหมดแล้วก็เอาประเทศต่างๆ เข้ามาร่วมพัฒนาซึ่งประเทศเหล่านี้ต่างก็มีธุรกิจแอบแฝงกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้มันคือรูปแบบของอาณานิคมสมัยใหม่ซึ่งนานาประเทศต้องลุกขึ้นมาต่อต้าน, ภายหลังคณะกรรมการมรดกโลกมีมติเลื่อนการพิจารณาแผนการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารออกไปเป็นปีหน้าโดยยอมรับว่า เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับทางเขมรซึ่งเห็นได้จากการที่ปลัดกระทรวงกลาโหมเขมร ยกเลิกกำหนดการพบปะทหารไทยที่ชายแดนด้านปอยเปตทันทีที่ทราบมติของคณะกรรมการมรดกโลก โดยให้เหตุผลว่ากำลังอยู่ในบรรยากาศที่ไม่ค่อยดี, นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งกับการวางเดิมพันหมดหน้าตัก แสดงจุดยืนตรงกันข้ามกับภาคประชาชนในกรณีเอ็มโอยู 2543 ที่บังเอิญลงนามกันในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุคอดีตนายกฯชวน หลีกภัยทั้ง ๆ ที่ ตรรกะตัว S” ของท่านเบาโหวงไปทันทีเมื่อเจอเอกสารประทับตรา ลับมากของกระทรวงการต่างประเทศตีพิมพ์เมื่อปี 2547 ที่ถูกนำมาเปิด  ก็เรื่องจริงไม่มีอะไรมากไปกว่าการที่ไทยใช้แผนที่ฝรั่งเศสอัตราส่วน 1 : 200,000 ระวางอื่น ๆ ในการเจรจาเรื่องเขตแดนกับลาวหลังเกิดศึกที่บ้านร่มเกล้าเมื่อปี 2531 เป็นต้นมาในการเจรจาครั้งนั้นไทยมีท่าทีเหมือนเขมรคือยึดถือแผนที่ฝรั่งเศส อันทำให้ไทยได้เปรียบ ขณะที่ลาวมีท่าทีเหมือนไทยคือยึดถือสันปันน้ำ  เมื่อเขมรรู้จึงเรียกร้องให้ไทยเขียนเรื่องแผนที่ไว้ในเอ็มโอยูที่จะเกิดขึ้นโดยอ้างว่าในเมื่อไทยยึดแผนที่ในการเจรจากับลาวแล้วจะมาปฏิเสธแผนที่ชุดเดียวกันในการเจรจากับเขาได้อย่างไร    ทีแรกกระทรวงการต่างประเทศไทยจะไม่ยอมเพราะตั้งแต่ปี 2505 เป็นต้นมาไทยมีหลักการชัดเจนว่าไม่ยอมรับแผนที่ระวางดงรักที่ทำให้ไทยเสียปราสาทพระวิหารบนศาลโลก  เขมรขู่ว่าถ้าไม่เขียนเรื่องแผนที่ไว้ในเอ็มโอยูจะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกอีกครั้ง    กระทรวงการต่างประเทศไทยซึ่งมีความเชื่อว่าคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 บรรยายให้ไทยเสียเปรียบเรื่องแผนที่ทั้ง 11 ระวางโดยเฉพาะระวางดงรัก ถ้ากลับขึ้นศาลโลกอีกครั้งไทยจะไม่โชคดีเหมือนเดิม จึงวิตกต่อคำขู่ของเขมรและในที่สุดก็ตัดสินใจยอมฝ่ายเขมรในการเขียนเรื่องแผนที่ไว้ในเอ็มโอยู 2543 ข้อ 1 (ค)   แต่จู่ ๆ จะไปเขียนเลยไม่ได้เพราะรัฐบาลไทยไม่เคยยอมรับมาก่อนจึงมีการเสนอให้อดีตนายกฯชวน หลีกภัยอนุมติโดยระบุไว้ชัดเจนในหนังสือที่เสนอขึ้นไปเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2543 ก่อนวันลงนาม 2 วันว่าจะใช้แผนที่ฝรั่งเศสอัตราส่วน 1 : 200,000  ไทยเราจึง กลับหลักการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ด้วยการหันมายอมรับแผนที่ระวางดงรักมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 วันลงนามเอ็มโอยู 2543  ปรากฏว่าเขมรหว่านล้อมให้ไทยยอมแหกกฎข้อ 3 สำเร็จและเขมรเองก็แหกกฎข้อ 5 อย่างโจ๋งครึ่มมาโดยตลอดโดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ไทยบางส่วน     การเจรจาไม่มีทางจะสำเร็จแน่เพราะสองประเทศต่างต้องคำนึงถึง งานมวลชนภายในประเทศเป็นหลัก ไทยก็ต้องยึดสันปันน้ำขณะที่เขมรต้องการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารแม้จะไม่ทั้งหมดแต่ก็ต้องพอสมควรเพื่อให้ทางขึ้นลงปราสาทพระวิหารมันไม่อุบาทว์
ทหารเขมรเข้าเวรประจำประตูทางขึ้นปราสาทตาเมือนธม จากฝั่งเขมร (31 ก.ค.)
จนเกินไปนัก      ขณะที่สภาพพื้นที่ของจริงตรงนั้นมันขัดหลักสันปันน้ำตามอนุสัญญาค.ศ. 1904 อย่างโจ่งแจ้ง    แต่เอ็มโอยู 2543 ก็ให้ยึดหลักพิจารณาทุกอย่าง ทั้งอนุสัญญา 1904 (ข้อ ก) สนธิสัญญา 1907 (ข้อ ข) และแผนที่ (ข้อ ค) ถ้าไทยจะสู้ว่าสัญญาสำคัญเหนือแผนที่เขมรก็จะต้องแสดงหลักฐานการเจรจาเขตแดนไทย-ลาวมาบอกว่าไทยเราเองนั่นแหละที่ยืนยันคอเป็นเอ็นว่าแผนที่เหนือสัญญาเพราะแผนที่เกิดทีหลัง มีผลลบล้างข้อใด ๆ ของสัญญาที่อาจจะขัดแย้งกันแถมยังรับรองอำนาจของนายพันโทแบร์นารด์ชาวฝรั่งเศสผู้ทำแผนที่เสียอีกว่ามีอำนาจแก้ไขอะไรก็ได้เพราะเป็นผู้ชำนาญในพื้นที่  ระหว่างที่มีเอ็มโอยู 2543 เราก็สมรู้ร่วมคิดกับเขาในการยอมทำผิดข้อ 3 มา

เจรจาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารก่อน และเมื่อเขาทำผิดข้อ 5 ทั้งสร้างชุมชน สร้างวัด ขนคนเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ เราก็กระมิดกระเมี้ยนประท้วงด้วยหนังสือไปครั้งแล้วครั้งเล่าเท่านั้นไม่คิดจะขยับพลเข้าไปขอคืนพื้นที่แต่ประการใด มิหนำซ้ำในช่วงปี 2551 ยังกลับหลักการครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งสนับสนุนให้เขาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวเสียอีก หลังจาก 2 ปีก่อนหน้านั้นเราเดินสายคัดค้านจนได้ผลในระดับหนึ่ง   ถ้าภาคประชาชนไม่ตื่นตัว ป่านนี้เราเสียดินแดนในทางปฏิบัติสมบูรณ์แบบไปในลักษณะเงียบ ๆ แล้ว, ภายหลังคณะกรรมการมรดกโลกมีมติเลื่อนการพิจารณาแผนการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารออกไปเรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับทางเขมรซึ่งเห็นได้จากการที่ปลัดกระทรวงกลาโหมเขมร ยกเลิกกำหนดการพบปะทหารไทยที่ชายแดนด้านปอยเปตทันที, นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศแสดงความยินดีกับคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่สามารถล็อบบี้จนคณะกรรมการมรดกโลกยอมเลื่อนการพิจารณาการบริหารพื้นที่ปราสาทพระวิหารออกไปเป็นปีหน้า ขอบคุณรัฐบาลประเทศบราซิลที่พยายามช่วยไกล่เกลี่ย   ถ้าเขมรมีความออมชอม มีการเปิดโต๊ะเจรจารอบใหม่ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นอยากให้มีความอะลุ้มอล่วยกันเพื่อจะดำเนินการเอาชุมชนและสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเขตแดนตลอด 700 กิโลเมตร ที่มี 6-7 จุดที่รุกล้ำกันไปมาโดยจะยึดหลักตามเอ็มโอยูปี 43 ที่เคยทำกันมาก่อนก็จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้, ที่บริเวณข้างศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ซึ่งเป็นสถานที่กลุ่มทวงคืนแผ่นดินไทยในเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ตั้งเวทีปราศรัยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเขตแดนไทย - เขมรเพื่อต่อต้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของเขมรแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยเริ่มปราศรัยตั้งแต่เวลา 18.00 น. ปรากฏว่าได้เกิดเสียงดังคล้ายระเบิดขึ้นทำให้ผู้ที่ฟังการปราศรัยตกใจแตกตื่น หลังสิ้นเสียงระเบิดพบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คนพ.ต.อ.ชัชวาลย์ แก้วจันดีผกก.สภ.กันทรลักษ์ได้นำกำลังมาตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ   พล.ต.ท.เดชาวัต รามสมภพ ผบช.ภ. 3 กล่าวว่าเดินทางมาในครั้งนี้เพื่อมาตรวจดูสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหารเพื่อจะได้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการที่กลุ่มมวลชนของนายวีระ สมความคิดประธานเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่นจะเดินทางมาชุมนุมในวันที่ 7 ส.ค.นี้, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีสั่ง กต.-กระทรวงทรัพย์ฯศึกษาเอกสารเขมรที่ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกสัปดาห์หน้าเตรียมโต้แย้งในที่ประชุมครั้งต่อไป หากส่งผลกระทบ ไม่สนซกอานประกาศชัยชนะ ยันมติสุดท้ายคือเลื่อนไปปีหน้าแต่เมินยกเลิกเอ็มโอยู 43 อ้างต้องใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของเอ็มโอยูนั้นก็เป็นเรื่องที่นายกษิต ภิรมย์รมว.ต่างประเทศจะไปปรึกษากับทางกลาโหมถึงแนวทางการดำเนินการกับชุมชนที่อยู่ในพื้นที่, เขมรสั่งตรึงกำลังพลพร้อมอาวุธหนักรับมือทหารไทยเต็มที่และหันปากกระบอกปืนใหญ่จ่อด่านช่องจอม, ทหารเขมรสร้างบังเกอร์ประชิดตาเมือนธมชายแดนไทยด้าน จ.สุรินทร์ ขณะทหารไทยตรึงกำลังเฝ้าระวังเข้ม, นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่าผู้ว่าราชการจ.บุรีรัมย์ได้สั่งการให้อำเภอที่มีพื้นที่ติดแนวชายแดนไทย-เขมรทั้ง 3 อำเภอ คือ อ.บ้านกรวด อ. ละหานทราย และ อ.โนนดินแดงดูแลด้านความปลอดภัยในพื้นที่อย่างเข้มงวดอย่างใกล้ชิด, นายชวน หลีกภัยประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงข้อพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-เขมรว่าเรื่องนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้อธิบายไว้ดีแล้วโดยส่วนตัวคิดว่าไม่สมควรพูดให้เกิดความสับสนให้คนที่มีหน้าที่อธิบายได้ดีที่สุดโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศเพราะทั้งหมดมาจากกระทรวงการต่างประเทศซึ่งในสมัยนั้นมีนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรผู้ว่าฯ กทม. เป็นคนที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุด ส่วนจะมีการยกเลิกเอ็มโอยูปี 2543 ได้หรือไม่นั้น นายชวนกล่าวว่า ตนไม่ใช่รัฐบาลอย่าให้พูดอะไรมาก แค่อธิบายให้เข้าใจตรงกันทั้งนี้ยืนยันว่าในสมัยที่ตนเป็นนายกฯไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหายเพราะไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจ ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์ของบ้านเมืองเพื่อให้ 2 ประเทศหาข้อยุติร่วมกันได้, นายสนธิ ลิ้มทองกุลแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจี้รัฐบาลต้องยกเลิก MOU เด็ดขาดพร้อมต้องขอโทษประชาชน แม้หลายคนจะดีใจและโล่งอกแต่ไม่ได้แปลว่าปัญหานี้จะจบ แต่เป็นการเลื่อนไปเท่านั้น   นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหาชี้เลื่อนพระวิหารแค่ซื้อเวลาระวังเขมรแค้นหนุนไพร่แดงกบถมาป่วนบ้านป่วนเมือง นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่าเป็นการต่อลมหายใจ เป็นการยืดเวลาของคณะกรรมการมรดกโลกแต่ยังไม่สามารถหักล้างการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบได้เพราะยังปักปันเขตแดนไม่แล้วเสร็จตามเอ็มโอยู 2543  ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร นักวิชาการส่วนใหญ่ลั่นต้องยกเลิก MOU43-JBC ทหารเชื่อเขมรโต้แน่คาดถึงขั้นเกณฑ์คนประท้วงสถานทูตไทย สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและหัวหน้าคณะฯนัดแถลงความชัดเจน 2 ส.ค.แผนการบริหารจัดการฉบับเต็ม ความยาวจำนวน 130 หน้า ซึ่งทางเขมรอ้างว่าได้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของศูนย์มรดกโลกแล้วแต่ฝ่ายไทยก็ยังไม่เห็นแผนดังกล่าวถูกเผยแพร่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีขอขอบคุณประชาชนชาวไทยทุกคนที่แสดงออกถึงความรักและความหวงแหนอธิปไตยของประเทศ  ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เดินทางไปโอ่ใน 1 ปีนี้เราสามารถที่จะเอาเอกสารที่ทางเขมรยื่นเข้ามามาศึกษาโดยละเอียดเพื่อที่จะมีความเห็นครบถ้วนรอบด้านต่อคณะกรรมการมรดกโลก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปดำเนินการ เราต้องการเห็นการเคารพเจตนารมณ์ของ MOU ส่วน กระทรวงการต่างประเทศจะต้องเข้าไปดูแล รวมทั้งในเรื่องการผลักดันชุมชนต่างๆนั้น ตาม MOU ปี 2543 การกระทำการใดๆที่ไปเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไม่สามารถทำได้ ที่ผ่านมาก็มีหนังสือประท้วงไปตลอดซึ่งก็สั่งกระทรวงการต่างประเทศไปว่าต้องประสานงานในพื้นที่ในเข้มงวดมากขึ้น, รอเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมทนายความชาวแคนาดา ที่ปรึกษาด้านกฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเผยแพร่บทความชิ้นล่าสุดผ่านทางเว็บไซต์ส่วนตัวโหนกระแสอัดโจมตีรัฐบาลไทยอันธพาล ขู่เข็ญคุกคามประชาคมโลก เขาอ้างว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กำลังร่วมมือกับกลุ่มคนเสื้อเหลืองต่อสู้เรื่องปราสาทพระวิหาร ทั้งๆ ที่โบราณสถานเก่าแก่แห่งนี้เป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรมของเขมรและยังมีที่ตั้งอยู่ในเขตแดนของเขมรชัดเจน พร้อมแสดงความข้องใจถึงท่าทีของรัฐบาลไทยที่พยายามขัดขวางการดำเนินการใดๆ ของฝ่ายเขมรในการบริหารจัดการปราสาทพระวิหารโดย"ไม่แยแส"ต่อคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธประธานที่ปรึกษาพรคเพื่อไทยด่าชาติตัวเองถอยหลังแข่งเขมร, นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่าตนไม่หวังว่าคนอย่างนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมที่รับจ้างพ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้าใจความหวงแหนอธิปไตยของคนไทยแต่หวังว่าจะให้คำตอบต่อบทบาทของรัฐบาลสมัยพ.ต.ท.ทักษิณกรณีเขาพระวิหารได้เพราะปัญหาดังกล่าวเริ่มเกิดขึ้นมาจากตรงนั้น, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าปชป. กล่าวเปิดงานการสัมมนาพรรคว่ากลุ่มที่โจมตีพรรคปชป.มากที่สุด คือกลุ่มพันธมิตร แล้วก็อ้างว่าสมัยเป็นฝ่ายค้านกับรัฐบาล เราพูดไม่เหมือนกันซึ่งไม่จริง มาโจมตีว่าไม่ยอมยกเลิกบันทึกเพื่อความเข้าใจหรือเอ็มโอยูปี 2543 ทั้งที่ คนที่ยกเอ็มโอยูปี 2543 คนแรกคือนพดล ปัสสาวะอดีตรมว.ต่างประเทศที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อกลบเกลื่อนความผิดพร้อมจากการลงนามในแถลงการณ์ร่วม จนเปิดประตูให้เขมรเข้ามา ขอยืนยันว่าเอ็มโอยูปี 2543 ไม่เคยบอกว่า ไทยยอมรับแผนที่ของเขมรเลยแต่ยึดหลักสันปันน้ำมาตลอด สิ่งที่เอ็มโอยูปี 2543 เขียนไว้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นยังมีปัญหา, สุรเกียรติ์ เสถียรไทยอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศติงรัฐบาลใช้ยาแรง เพื่ออธิปไตยเราต้องสู้ ยอมกันไม่ได้คือเราบอกว่าจะวอล์คเอาต์ จะถอนตัวจากกรรมการมรดกโลก พูดเหมือนจะนำสู่การปะทะกันด้วยซ้ำ ใช้ยาแรงเพราะไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนใน 1 ปีที่ผ่านมา ขาดทำงานต่อเนื่อง  กระทรวงการต่างประเทศต้องมีหน้าที่เจรจาเพื่อสันติภาพ ไม่ใช่เจรจาเพื่อรบกัน ต้องมีหน้าที่เจรจาในการประสานประโยชน์
-      1 ส.ค. 53   นักวิชาการนายเทพมนตรี ลิมปพยอมจวกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีคิดขึ้นทะเบียนร่วมไทย-เขมร ท่านใช้เหตุผล ตรรกะแบบไหน ฝ่ายเขมรก็ต้องถอนความเป็นเจ้าของฝ่ายเดียวออกจากบัญชีรายชื่อแล้วใส่ชื่อประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าของรวมถึงเขมรต้องกลับไปแก้แผนพัฒนาใหม่หมด เจ้าสีหนุเองต้องยกเลิกการประกาศกฤษฎีกาอันเดิม ตามแผนที่ 1 : 200000 ที่กินอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารทั้งหมด เขมรไม่มีทางยอมได้ ประกอบกับตามที่ท่านนายกฯ ดื้อดึงที่จะคง MOU 43 ต่อไป นั่นก็หมายถึงฝ่ายเขมรสามารถหยิบเอาแผนที่มาตราส่วน 1 : 200000 ที่ว่านั้นมาใช้ได้แล้ว  แล้วเรื่องอะไรเขาจะยอมอ่อนข้อกับเรา ท่านนายกฯถูกข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศปิดบังข้อมูลเรื่องแผนที่ทั้ง 11 ระวาง เพราะในการไปตกลงเขตแดนกับลาวนั้นข้อความระบุชัดมากว่า แผนที่ใน 11 ระวางให้ใช้ระวางที่ดงรัก หรือ เอเน็กวัน ในการเจรจาได้ด้วย (ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลโลก และศาลรัฐธรรมนูญของไทย) และที่สำคัญดินแดนทั้งหมดล้วนเป็นของไทยรวมถึงสถานที่ตั้งตัวปราสาทพระวิหารด้วย (เพราะศาลตัดสินให้เราคืนเฉพาะอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารให้เขมรเท่านั้น) การขึ้นทะเบียนร่วมเหมือนยกดินแดนไทยให้เขมรทั้งหมด ท่านไม่สนใจ ท่านจะเลือกปรองดองกับเขมรซึ่งเป็นประเทศที่เอาเปรียบเราอยู่ตลอดเวลาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์  การที่กษัตริย์สีหนุ ข้าราชการ ทหารและประชาชนเขมรคงใช้เฉพาะเส้นทางช่องบันไดหัก ขึ้นลงตัวปราสาทก็เพราะเขมรเขารู้ข้อจำกัดการใช้พื้นที่บริเวณนี้ดีและเขายอมรับในสิ่งที่ฝ่ายไทยให้เขาอย่างจำกัด  การที่ท่านนายกฯงง สัมภาษณ์อะไรก็เป็นตุเป็นตะ ไม่มีเหตุผลอันสมควรมาประกอบ  ไปๆมาๆ ย่อมจะทำให้บ้านเมืองอยู่ในภาวะล่อแหลมปูดขรก.บัวแก้วปิดบังข้อมูล   เมื่อมีเวลาอีก 1 ปีจะทำให้ไทยมีความพร้อมในการนำเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการมรดกโลก ขณะเดียวกันยอมรับว่าอาจจะต้องเดินสายพบคณะกรรมการมรดกโลกอย่างต่อเนื่อง, พรรคการเมืองใหม่ ย้ำ 6 ข้อรัฐบาลต้องเลิก mou 43 mou 2543 เป็นการเปิดช่องทางครั้งสำคัญให้แผนที่มาตราส่วน 1/200,000 เข้ามามีบทบาทในอนาคต เป็นประเด็นที่มีผลต่ออาณาเขตของประเทศไทยแต่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาอันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ   พรรคการเมืองใหม่ และภาคประชาชนจึงมุ่งเน้นตรงนี้ มิได้เป็นเพราะ mou ฉบับนี้จัดทำขึ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์แต่ประการใด การคัดค้านตั้งอยู่บนประโยชน์ชาติและความหวงแหนในอธิปไตยชี้  ทั้งนายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์มีสิทธิ์ที่จะอธิบายว่า mou 2543 เป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ควรที่จะตำหนิฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่าชวนทะเลาะ ขณะเดียวกันควรจะได้เปิดเวทีให้ภาคส่วนต่างๆที่มีความเห็นต่างได้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นด้วย, พรรคเพื่อไทยเรียกร้องปัญหาเขาพระวิหารต้องเป็นวาระแห่งชาติ, นางซู วิลเลียมส์โฆษกยูเนสโกกล่าวว่าข้อขัดแย้งระหว่างไทยและเขมรในเรื่องประสาทพระวิหารเป็นประเด็นทวิภาคีโดยแท้และคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีอำนาจที่จะจัดการกับปัญหานี้  กรณีที่มีการะบุว่าคณะกรรมการมรดกโลกได้รับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่ของเขมรแล้วนั้นเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะคณะกรรมการไม่ได้รับหรือให้ความเห็นชอบแผนการใดๆ สิ่งเดียวที่พูดได้คือมีการยื่นแผนดังกล่าวแล้ว  และแม้เขมรจะถูกบอกให้ยื่นแผนดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมก่อนที่การหารือจะเริ่มขึ้น 6 เดือนแต่ในความเป็นจริงเขมรเพิ่งจะเสนอแผนให้ที่ประชุมได้เห็นเพียง 24 ชั่วโมงก่อนการพิจารณาจะเริ่มขึ้นเท่านั้น
-      2 ส.ค.53   นพดล ปัสสาวะอดีตรมว.ต่างประเทศโอดถูกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะใส่ร้าย ชมรัฐบาลทำดี เลื่อนถกพระวิหาร แต่อย่าเหลิง นพดล ปัสสาวะไร้สำนึก!! อดีตนักเรียนทุนหลวงที่หันไปรับใช้ทรราชคนนี้ขอนั่งภูดูนายอภิสิทธิ์แก้ปมพระวิหาร โบ้ยเมื่อปี 2541 นายอภิสิทธิ์ และ ครม.ชุดชวน 1 ไปประกาศเขตอุทยานเขาพระวิหารและแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตอุทยานเขาพระวิหาร โดยแนบท้ายแผนที่พื้นที่เขาพระวิหารไปด้วยโดยใช้แผนที่แบบแอล 7017 ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงได้ทำแผนที่ยกประสาทพระวิหารและดินแดนใต้ปราสาทให้กับเขมรไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2541  ส่วนการพูดว่าการลงนามในแถลงการณ์ร่วมเมื่อปี 2551 แล้วทำให้ไทยเสียเปรียบนั้นเป็นการพูดแบบชุ่ยๆ และไม่รับผิดชอบเพราะตนทำแถลงการณ์ร่วมไปเพื่อปกป้องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรโดยเจรจาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกและให้ขึ้นทะเบียนได้เฉพาะตัวปราสาท เพราะเมื่อปี 2550 เขมรได้เอาพื้นที่ทับซ้อนผนวกกับตัวปราสาทพระวิหารเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก แต่รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ขอเลื่อนการพิจารณามาเป็นปี 2551 ซึ่งตนก็ต้องรับผิดชอบและเจรจาสำเร็จ สามารถตัดพื้นที่ทับซ้อนออกไปได้, ข้อพิพาทกรณีเขมรเดินเกมผลักดันแผนพัฒนาปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศที่กำลังลุกลามบานปลายกระทบกระทั่งกันตามแนวชายแดนและสุ่มเสี่ยงจะเกิดสงครามใหญ่ ย่อมเป็นที่สงสัยว่าทักษิณจะหันมาเปิดศึกด้านนี้ร่วมกับเขมร ขณะเดียวกันก็น่าสงสัยว่าทุนต่างชาติที่เกื้อหนุนฝูงไพร่กบถเสื้อแดงมาจากเขมร     แน่นอนว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นไปในทางเดียวกับข่าวที่มีต่อเนื่อง ประเทศเพื่อนบ้านของเรารู้เห็นเป็นใจกับแผนร้ายของนักโทษหนีคดี ทั้งเปิดประเทศต้อนรับ ตั้งเป็นที่ปรึกษา ประกาศช่วยลูกน้องทักษิณ รวมทั้งแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลและประกาศตัวเป็นศัตรูกับประเทศไทย  ทั้งหมดเป็นไปตามแผนที่ประเมินกันไว้ล่วงหน้า ใช้ทุกรูปแบบ ใช้ทุกวิธีการเพื่อโค่นล้มทุกอำนาจ ทุกองค์กร ทุกสถาบันที่ขัดขวางการกลับสู่ประเทศ ลบล้างคดีความและคืนสู่อำนาจควบคู่ไปกับแนวรบด้านมวลชนใช้โลกล้อมประเทศ และแผนดึงเพื่อนบ้านมาร่วมถล่มประเทศไทย ถามว่าถ้าข้อสงสัยเรื่องฮุนเซ็นสมคบคิดทักษิณ ป่วนประเทศ ล้มรัฐบาลไทย นั้นเป็นจริง ทางเขมรจะได้อะไรก็ต้องบอกว่า เส้นเขตแดนดังกล่าวเชื่อมผลประโยชน์ของรัฐชาตินั้น ๆ ขึ้นไปบนท้องฟ้าสูงขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศจุดพิกัดดาวเทียมและลงลึกไปในท้องทะเล รัฐบาลทักษิณและเครือข่ายจึงใช้จุดอ่อน ที่รัฐบาลชวนไปเซ็นเอ็มโอยูไว้มาเป็นต้นเหตุที่ทำให้พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารดินแดนของประเทศไทยแต่เพียงฝ่ายเดียวต้องมากลายเป็นดินแดนทับซ้อน ปล่อยให้เขมรฮุนเซนขนกำลังทหาร  เข้ามายึดยอดภูบางแห่ง ตั้งหมู่บ้านและวัดเขมรในผืนดินไทย ให้ร้ายป้ายสีไทย ว่ารุกรานดินแดนเขมรรัฐบาลเครือข่ายทักษิณไม่เคยตอบโต้ทางการข่าว ไม่เคยผลักดันให้ทหารและชุมชนเขมรพ้นจากผืนดินไทยเลย จากกรณีตัวอย่างปมความขัดแย้งในการเดินเกมผลักดันปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกสะท้อนผลประโยชน์แลกเปลี่ยนทักษิณ-ฮุนเซ็นเด่นชัดมีการพูดถึงข้อตกลงลับ ในการยื่นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนระหว่างกันเกี่ยวกับการยกดินแดนแลกเปลี่ยน นอกจากฝั่งแผ่นดินที่ไทยสุ่มเสี่ยงต้องสูญเสียในกรณีปัญหาเส้นเขตแดนหากขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกสำเร็จลุล่วง ดินแดนทางทะเลอ่าวไทย พื้นที่ระหว่างชายฝั่งของสองประเทศที่ว่ากันว่ามีขุมทรัพย์พลังงาน ทั้งก๊าซ น้ำมัน ปริมาณมหาศาล อยู่ใต้ผืนน้ำแห่งนี้ ขุมทรัพย์ที่อาจเป็นเงื่อนไขงามๆในการขอรับการสนับสนุนจากเขมรในการเคลื่อนไหวปั่นป่วนในไทยเฉลี่ยแบ่งปันไปตามความพอใจของทั้งสอง  ทักษิณมีส่วนในเรื่องนี้ด้วยแน่ยิ่งมีทนายฝรั่งลูกจ้างของทักษิณเดินเกมช่วยประเทศเขมรร่วมถล่มไทยอย่างเปิดเผยควบคู่ไปอีกแนวทาง, อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกล่าวถึงกรณีปราสาทพระวิหาร ว่าขณะนี้มีเรื่องของคนท้องถิ่นและกระแสคนข้างนอกด้วยที่ร่วมกันกดดันรัฐ มันเป็นเรื่องถูกต้องแล้วเพราะเห็นว่ารัฐอ่อนมาตลอด ไม่ใช่รัฐบาลนี้เท่านั้น  ความฉ้อฉลของรัฐทำให้ไม่เข้าใจแม้กระทั่งกระทรวงการต่างประเทศใช้แผนที่ผิดได้อย่างไร รัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจ เราทำงานจนปรับสถานะจากเบี้ยล่างมาเป็นเบี้ยบนขนาดนี้แล้ว ยังไม่เลิกเอ็มโอยูได้อย่างไร   รัฐบาลไม่เคยตรวจสอบความไม่มั่นคงในสังคมข้างล่างเขาเลยถกกันอยู่แต่ข้างบน แล้วคนรอบๆ เขาพระวิหารจะเดือดร้อนอย่างไรและคนแนวตะเข็บชายแดนจะเดือดร้อนอย่างไร เวลานี้เกิดความหวาดกลัวแล้วว่าถ้าพลาดเขมรจะรุกเข้ามาแล้วเขมรก็รุกอยู่แล้วและรัฐคำนึงถึงหรือเปล่า ถ้ายังโง่ใช้เอ็มโอยูอยู่ละก็จะทำให้ประเทศเสียหายอีกแน่นอน,
-      นายกษิต ภิรมย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้สู้รบแก้ปัญหาไม่ได้ แนะเจรจา ยันกรอบเอ็มโอยู 2543 เพื่อเจรจาพิสูจน์หาเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง ใช้อนุสัญญากรุงเวียนนาตีความจนมีข้อสรุปทั้ง 2 ฝ่าย หากเสร็จต้องเข้าสภาฯ คู่ทำประชาพิจารณ์ เตรียมสำรวจหลักแดน ย้ำเป็นเครื่องมือเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ หวังเขมรบรรจุคำเรียกปราสาทพระวิหารควบด้วย จ่อทบทวนเอ็มโอยูทางทะเล ลั่นไม่ใช่ตัวปัญหาทำสัมพันธ์สะดุด, โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ตอกพรรคเพื่อไทยตัวการหนุนเขมรขึ้นทะเบียนพระวิหารจนเสี่ยงเสียดินแดนแล้วยังมากล่าวหารัฐบาลเล่นเกมการเมืองบนกระแสชาตินิยมในปัญหาปราสาทพระวิหาร  อยากถามกลับไปยังพรรคเพื่อไทยด้วยว่า วันนี้มาเรียกร้องให้รักษาอธิปไตย แต่ในขณะที่มีการขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2551 นั้นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันนี้ในรัฐบาลขณะนั้นที่สนับสนุน ในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของเขมรแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่คัดค้านการขอขึ้นทะเบียนของเขมร    แต่เมื่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างไปทำให้ยูเนสโกเข้าใจถึงความเข้าใจผิดที่คิดว่าคนไทยในขณะนั้นสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลในขณะนั้น ในเอ็มโอยู 2543 ไม่ได้ระบุถึงแผนที่ใดเป็นพิเศษแต่ระบุว่าเป็นบรรดาแผนที่ที่มีอยู่หลายระวางซึ่งการระบุแผนที่ 1 ต่อ 200,000 นั้นเกิดขึ้นในทีโออาร์ปี 2546 ที่ลงนามโดยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐบาลที่ต่อจากรัฐบาลของนายชวน หลักภัยอดีตนายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการระบุถึงระวาง 1 ต่อ 200,000 แม้ว่าถ้อยความในทีโออาร์ 2546 จะเหมือนกับเอ็มโอยู 2543 ทุกประการก็ตาม     ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าสาเหตุที่มีการระบุระวางแผนที่เจาะจงในรายละเอียดนั้นมีที่มาและเหตุผลเป็นอย่างไรอยากให้รัฐบาลทักษิณออกมาชี้แจงด้วย, ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทองชวนย้อนกลับมามองปัญหาในบ้านเราขณะนี้ คนไทยทั้งประเทศไม่ว่าชื่นชอบหรือจะชิงชังรัฐบาลชุดนี้หรือจะเอนเอียงไปทางสีไหนหรือจะมีสถานะใดล้วนแต่มีความรู้สึกร่วมกันอย่างหนึ่งวิตกกังวลห่วงใยว่าประเทศไทยจะสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนบริเวณรอบๆ ปราสาทพระวิหารว่าจะไปตกอยู่ใต้อำนาจบริหารจัดการตามแผนการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแม้ว่าที่สุดแล้วยูเนสโกจะมีมติเลื่อนการพิจารณาแผนออกไป  เราชาวไทยน่าจะช่วยกันคิดว่า ในระยะเวลา 1 ปีจากนี้ไปนอกจากไทยเราจะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่มิให้เสียรู้เขมร หรือเสียดินแดนแล้วเราจะสามารถใช้วิกฤติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นโอกาสในการดำเนินการไปสู่ความปรองดอง ความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ ความตระหนักถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของแผ่นดินสูงสุดได้หรือไม่ อย่างไร คนไทยมีความรู้สึกร่วมกันอยู่เป็นพื้นฐานต้องร่วมแรงร่วมใจกันรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยเหนือแผ่นดินของชาติโดยยึดถือ ชาตินิยม หรือ นิยมผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ไม่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลข้อเท้จจริงและความถูกต้อง ไม่ลุ่มหลงจนไม่ลืมหูลืมตา  เมื่อทุกฝ่ายพยายามจะแก้ปัญหานี้เป็นหลักสำคัญโดยเอาผลประโยชน์ส่วนตัวทั้งหลายวางทิ้งไว้ก่อน เชื่อว่าคนในชาติทุกคนก็จะมีจุดหมายร่วมกัน มีสำนึกร่วมกัน และร่วมแรงร่วมใจกันในสถานการณ์คับขันเช่นนี้  จะทำอย่างไรให้คนไทยที่คิดต่างกันเกิดความรู้สึกถึงปัญหาร่วมกันและมีกิจกรรมที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ดีขึ้นมาร่วมกันได้, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างขึ้นเพื่อรำลึกสงครามระหว่างไทย-ฝรั่งเศสในกรณีพิพาทอินโดจีน 6 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ซึ่งมาสู่การได้ดินแดนที่เสียไปเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 กลับมาแบ่งพื้นที่ปกครองเป็น 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบองรวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 24,039 ตารางกิโลเมตร แต่ครั้นสงครามโลกจบลง (2488) ไทยก็ต้องคืนดินแดน 4 จังหวัดนั้นคืนให้
ฝรั่งเศสและต่อมาเมื่อเขมรได้เอกราชก็ได้ครอบครองดินแดนส่วนนั้นต่อไป,เขมรเริ่มเกณฑ์ทหารเร็วๆ นี้ อ้างไม่เกี่ยวกับชายแดนไทย, เมื่อซกอานรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯอ้างต่อสื่อมวลชนว่ามันเป็นสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยยอมรับมาก่อน ตอนนี้เขายอมรับแล้ว  พลันก็มีรายงานข่าวระบุว่าสุวิทย์ ได้เซ็นรับร่างเอกสารในวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมาในระหว่างการประชุม, รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กล่าวว่าไทยจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานใหม่รองรับความต้องการในอนาคต ชี้พื้นที่ทับซ้อนเขมร-อ่าวไทย 2.6 หมื่นตารางกม.ถือเป็นพื้นที่มีศักยภาพสูง, ผู้บัญชาการฝ่ายเขมรและผู้บัญชาการของฝ่ายไทยในพื้นที่ได้พบหารือกันเป็นเวลา                         2 ชั่วโมงที่บริเวณวัดแก้วสิกขาคีรีสาวรักษ์ขณะที่ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระดับรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
-     
-      3 ส.ค. 53  โดยพฤตินัยในวันนี้ราชอาณาจักรไทยได้ถูกกองกำลังและชุมชนชาวเขมรรุกล้ำเข้ามาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและจุดที่เข้ามาแล้วก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลยังไม่ได้มีการผลักดันให้ออกจากดินแดนไทยนอกจากการ ทำหนังสือประท้วงกว่า 10 ครั้งก็ไม่สามารถที่จะทวงคืนดินแดนที่ถูกยึดครองกลับคืนมาได้  สันติวิธีภายใต้ MOU 2543 ในวันนี้เป็นสันติวิธีจอมปลอม ดินแดนไทยซึ่งไม่เคยมีชาวเขมรมาอาศัยอยู่ได้กลายเป็นพื้นที่ พิพาทหรือ ทับซ้อนระหว่างไทย-เขมร ชาวเขมรซึ่งได้เริ่มตั้งรกรากขยายตัวมากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้นานกว่านี้มันเป็นการเพิ่มระดับความเสี่ยงที่จะเป็นการรบที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ   ข้าราชการกรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศนั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้พูดเอาไว้ ยังตั้งหน้าตั้งตาที่จะยึดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนไม่มีพื้นที่ทับซ้อนและไม่ได้ยึดหลักสันปันน้ำ  จากท่าทีของนายกรัฐมนตรีที่ย้ำแนวทางในการเจรจาและการใช้กลไกของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมในการแก้ไขปัญหามีแนวโน้มที่จะมีความเข้มข้นขึ้น กองทัพพร้อมจะปฏิบัติการผลักดันฝ่ายเขมรเข้ามาก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่พิพาทออกไป กว่าจะพ้นระยะการขอร้อง ประท้วง การแสดงแสนยานุภาพ การขู่คำรามและสุดท้ายถึงจะใช้กำลังเข้าปฏิบัติการจริง  แนวรบไทย-เขมรระอุ หลังแย่งชิงพื้นที่ถ้าคุยกันไม่จบปัญหาก็จะคาราคาซังและการเป็นการปะทะกันยืดเยื้อที่แน่นอนว่าต้องมีการสูญเสียเกิดขึ้น  ยูเอ็นรอจังหวะในการเข้าแก้ไขปัญหาไกล่เกลี่ย หากรัฐบาลเปลี่ยนโจทย์ก็เปลี่ยน, เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติเดินหน้าจี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเลิก MOU43 ชี้ทำไทยเสียดินแดน-เสี่ยงเกิดสงคราม เหน็บไทยเด็กดีทำตามกติกาขณะที่เขมรให้คนรุกพื้นที่ไทยแล้วหลายจังหวัด นายวีระ สมความคิดแฉสุวิทย์ คุณกิตติเซ็นรับตั้งกก.ICC ทำเขมรลำพองประกาศชัยชนะเหนือไทย เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสุวิทย์ คุณกิตติละเมิดมติครม.-ผิดมาตรา 190 หรือไม่ และรอฟังคำตอบ MOU 43 เลิก-ไม่เลิก 7 ส.ค.นี้, เขมรโต้ไทย!! อ้าง คกก.มรดกโลกรับแผนบริหารจัดการแล้ว เรื่องแผนบริหารจัดการของเขมรไม่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการมรดกโลกเห็นชอบหรือว่าไม่เห็นชอบ บทบาทของคณะกรรมการเพียงแค่ทบทวนรายละเอียดเท่านั้นโดยรัฐบาลเขมรมีอำนาจอย่างเต็มที่ที่จะเดินหน้าตามแผน, นายซูซาน วิลเลียมส์ หัวหน้าฝ่าย Media ยูเนสโก กรุงเทพฯ ระบุไทยเซ็นรับขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการประสานงานคุ้มครองปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืนพร้อมรับทราบถึงการที่ศูนย์มรดกโลกได้รับเอกสารที่เขมรยื่นโดยจะนำไปพิจารณาในการประชุมปีหน้า นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงเอกสารที่สุวิทย์ได้ลงนามเป็นเพียงการลงนามรับทราบบันทึก 5 ข้อว่าได้มีการยื่นเอกสารไปยังสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการและการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติ (ไอซีซี) เขมรทำได้อยู่แล้ว แต่ที่เราค้านคือแผนที่และแผนผังซึ่งการลงนามอันนี้ไม่มีผลผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น, อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ชี้สุวิทย์เซ็นยอมรับ 5 ข้อในข้อ 2 อันตรายสุดเพราะเท่ากับเป็นการยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกตั้งแต่ครั้งที่ 31 32 และ 33 ซึ่งเราได้ค้านมาตลอด  มติครั้งที่ 33 นี่ร้ายสุดเพราะเป็นการที่อ้างว่าไทยเป็นผู้รุกรานในดินแดนของเราเอง เราต้องไปร่วมมือ ICC เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและอนุรักษ์ตัวปราสาท   จึงแนะให้"ดร.โสมสุดา"รีบถอนตัวจากภาคีสมาชิกฯและค้านมติครั้งที่ 34 แต่หวั่นอาจสายไปแล้วเพราะศูนย์กลางมรดกโลกแถลงว่าไทยยอมรับแล้ว, ฮุนเซนกำลังเร่งรัดพัฒนาพื้นที่รอบนครวัดให้กลายเป็นบ่อนกาสิโนใหญ่ แบบเดียวกับสารพัดบ่อนที่ตั้งเกลื่อนตามแนวตะเข็บชายแดนเขมร-ไทยเห็นได้จากการอนุญาตให้บริษัทอินเตอร์ซิตี้ กรุ๊ป บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของโสมขาวเกาหลีใต้ก่อสร้างศูนย์รวมความบันเทิง อังกอร์ พาร์ค รีสอร์ท มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ (ราว 13,200 ล้านบาท) ขึ้นใกล้ๆ กับมรดกโลกที่จังหวัดเสียมราฐแห่งนี้   ภายในรีสอร์ทประกอบด้วยโรงแรม สนามกอล์ฟ สวนน้ำและที่สำคัญเหนืออื่นใดก็คือบ่อนกาสิโนโดยคาดว่าเฟสแรกของกาสิโนนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2555  นายเจมส์ โชรองประธานอินเตอร์ซิตี้ให้ความเห็นด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่า อังกอร์ พาร์ค รีสอร์ท จะสามารถดึงดูดนักพนันทั้งผิวเหลืองและผิวขาวที่สอดส่ายสายตามองหาแหล่งตื่นเต้นเร้าใจใหม่ๆ เชื่อว่ากาสิโนที่นครวัดจะสามารถสู้กับกาสิโนที่สิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นรีสอร์ท เวิลด์ เซนโตซาที่เปิดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ หรือมารีนา เบย์ แซนด์ที่เพิ่งเปิดเมื่อเดือนเมษายน หรือที่เวียดนามที่เพิ่งอนุมัติโครงการก่อสร้างกาสิโนมูลค่า 4,200 ล้านดอลลาร์ กำหนดเปิดให้บริการในปี 2556 ถ้าแผนพัฒนาระยะยาวพื้นที่ใกล้ๆ กับปราสาทพระวิหารของฮุนเซนเป็นจริงตามนี้ ปัญหาตามมาก็คงอีกยาว
-      4 ส.ค. 53  นายอัษฎา ชัยนามผู้แทนพิเศษไทยในกรณีปราสาทพระวิหารกล่าวในรายการ"ที่นี่ทีวีไทย"ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยยืนยันว่าไทยได้ประโยชน์จากเอกสารประนีประนอมระหว่างไทยกับเขมรกรณีการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกซึ่งบราซิลในฐานะประธานเป็นผู้ประสานให้และที่ประชุมอีก 18 ประเทศยอมรับจะได้ไม่ต้องเสียเวลาโต้เถียงโดยเอกสารนี้เพียงแต่

บอกว่าในการประชุมคราวนี้มีเอกสารอะไรบ้างที่เขมรเสนอ เอกสารใดที่ประชุมได้รับ เอกสารใดที่ประชุมไม่ได้รับ แล้วก็ต่อไปจะทำอะไรกับเอกสารนี้ เมื่อถึงเวลา
อย่างน้อยไทยคงคัดค้านเต็มที่หากเอกสารนี้มีแนวทางละเมิดอธิปไตยของไทย
จะไม่สำเร็จง่ายๆ ทางคณะกรรมการมรดกโลกยังไม่ได้รับ ถึงใช้คำว่า "จะพิจารณา", รมว.ทรัพยากรฯ แจงยิบแค่เซ็นรับทราบไม่ถือเป็นเอ็มโอยู-ไม่มีผลผูกพัน บ่นอุบสู้ขนาดนี้ยังถูกหาทำเสียค่าโง่อีก "ยืนยันผมจะไม่ทำให้ไทยเสียค่าโง่ ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากรัฐบาลนี้ แต่เกิดจากรัฐบาลชุดก่อน ที่เราต้องมาตามแก้ไข" สุวิทย์กล่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าสุวิทย์ได้รายงานข้อเท็จจริงให้รับทราบแล้ว โดยระบุว่ามติที่ออกมา 5 ข้อเป็นมติที่เปลี่ยนแปลงไปจากร่างที่เขมรเตรียมไว้ ยืนยันได้ว่าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ผ่านมาไม่ได้มีอะไรที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้คณะกรรมการชุดสุวิทย์เดินสายชี้แจงประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกในช่วง 1 ปีหลังจากนี้ กต.ยันสุวิทย์เซ็นไม่ผูกพันกฎหมาย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยันไม่มีการรับรองใดๆ พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ แม่ทัพภาค 2 เผยว่าทุกอย่างยังปกติ ทางทหารยังไม่มีเพิ่มหรือลดกำลังแต่อย่างใด และยังมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ความสัมพันธ์ของประชาชนตามแนวชายแดน 2 ประเทศยังเป็นปกติ  แต่ครม.อนุมัติงบ 240 ล้านให้กองทัพใช้รับมือ, สุขุมพันธ์ยันMOUมีประโยชน์,  ชาวพระวิหารหวั่นไร้ที่ทำกิน  ตัวแทนเครือข่ายคนรักบ้านเกิด ต.โดนอาว อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษกล่าวว่าที่ตนเข้าร่วมเครือข่ายในครั้งนี้เนื่องจากชาวบ้านบริเวณเขาพระวิหารประสบปัญหาไม่มีเขตแดนทำกิน เนื่องจากที่ดินกว่า 100ไร่ของชาวบ้านถูกทหารเขมรเข้าควบคุมดูแล ทั้งที่ที่ดินเป็นของฝ่ายไทย แต่ประชาชนที่มีสิทธิ์ทำกินกลับเป็นชาวเขมรซึ่งเคยมีตัวแทนของคนไทยเข้าไปปลูกยางพาราบริเวณนั้นแต่ถูกทหารเขมรควบคุมตัวและถูกขับไล่ออกมาโดยอ้างว่าสิทธิการทำกินเป็นของชาวเขมรเท่านั้น หากคนไทยเข้าไปถือว่าเป็นการบุกรุกเขตแดนของเขมร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากรัฐบาลไทยไม่ประกาศเขตแดนการทำกินอย่างชัดเจน,  ภาคีคณาจารย์-นศ. ม.ราชภัฎโคราชแถลงเรียกร้อง นายกฯมาร์คแจงข้อเท็จจริงไทยเสียดินแดนเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม.ให้เขมร และพลาดท่าเขมรกรณีขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก รวมทั้ง MOU 2543 เจ้าปัญหา ชี้ไทยเสียเปรียบให้ยกเลิกทันที พร้อมจี้กองทัพผลักดันเขมรพ้นเขาวิหารแผ่นดินไทยโดยเร็ว ซัดรัฐบาลไม่มีสิทธิปิดหูปิดตาปชช. เจ้าของประเทศโดยเฉพาะเรื่องดินแดนและอธิปไตย, ชัด UNESCO จ่ายเงินพัฒนาพื้นที่ ปราสาทพระวิหารมรดกโลกเขมรต่อเนื่อง เขมรดึงญี่ปุ่นสร้างพิพิธภัณฑ์ เมื่อตรวจสอบไปถึง เอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3 หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของฝ่ายเขมรซึ่งนายสุวิทย์ได้ลงนามรับเอกสาร ตามมติข้อ 1    เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เขมรยื่นเสนอต่อศูนย์มรดกโลก แต่ไม่ได้ถูกนำเข้าที่ประชุมในวันที่ 27 กรกฎาคม 2553 ตามที่ระบุไว้ในเอกสารหน้าที่ 1 เนื่องจากมีการประท้วงจากประเทศไทย จนในที่สุดนำมาสู่การลงนามในมติการประนีประนอมฯ ในวันที่ 29 ก.ค.โดยเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 7 หน้า โดยเป็นรายละเอียดจำนวน 6 หน้า พร้อมกับแผนผัง (Plan) อีก 1 หน้า ในเอกสารหน้าที่ 3 ได้ระบุชัดว่า ปราสาทพระวิหารที่ยื่นโดยเขมร หรือ Temple of Preah Vihear (Cambodia) ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมาตั้งแต่ปี 2551 อ้างอิงถึงมติการประชุม ครั้งที่ 31-33 ในส่วนของการช่วยเหลือในระดับนานาชาติ (International Assistance) ในปี 2552 (ค.ศ.2009) ได้มีการสนับสนุนเงินจำนวน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อการอนุรักษ์และบริหารปราสาทพระวิหาร นอกจากนี้ ยังมีเงินช่วยเหลือฉุกเฉินจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อการสร้างตลาดที่ตั้งอยู่ ณ ตีนเขา บริเวณบันไดฝั่งเหนือและฝั่งใต้ที่ขึ้นไปสู่ตัวปราสาทขึ้นมาใหม่ โดยนอกจากเงินจำนวนดังกล่าวแล้วยังมีเงินกองทุนพิเศษเพื่อสนับสนุนจากยูเนสโก (UNESCO Extra-budgetary Funds) อีกด้วย ในหน้าที่ 5 ข้อ e) แผนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ eco-global (Development of an eco-global Museum) ระบุว่า ทางเขมรได้แสดงความขอบคุณญี่ปุ่นและเงินบริจาคจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ, ผบ.ทบ.กำชับกำลังพลเตรียมความพร้อม สั่งมทภ.1-2 ดูแลความมั่นคงเหนือเขาพระวิหาร, โฆษกรัฐบาลได้รับหนังสือจากที่ปรึกษากษัตริย์เขมร ที่ขอให้ปราสาทพระวิหารเป็นสัญลักษณ์ของความปรองดองของ 2 ประเทศ เผยเนื้อความจดหมายที่ปรึกษากษัตริย์สมเด็จสีหมุนีที่มีถึงมือนายกฯ ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ส่วนตัว เพื่อยืนยันความสัมพันธ์อันดีของไทย-เขมร แต่ได้แสดงความกังวลและเห็นถึงประโยชน์ในการที่จะร่วมมือกันระหว่างไทย-เขมรและมองเห็นถึงปัญหาที่มีตั้งแต่รัฐอาณานิคมที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่มาจากการปักปันเขตแดนที่ไม่ชัดเจน, รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างประเทศและความร่วมมือกับต่างประเทศฮอร์นัมฮองพร้อมแล้วที่จะพบหารือปัญหาชายแดนกับสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีของไทยหากเดินทางไปเขมรขณะนี้สืบเนื่องมาจากรองนายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่ามีแผนจะเดินทางไปพบหารือกับนายกฯ เขมรอีกครั้งหนึ่งและนายกรัฐมนตรีไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็จะแสดงความปรารถนาในเรื่องเดียวกันนี้, ฮุนเซนยิ้มร่าบอกชาวเขมรยห.แผนจัดการพระวิหารเสร็จแน่ๆ, รัฐบาลเขมรพูดชัดเจนครม.แถลงเอง ไทยคัดค้านแผนบริหารจัดการมรดกโลกพระวิหารไม่สำเร็จ จดทะเบียนร่วมก็ไม่ได้ แถมเยาะเย้ยสำทับสุวิทย์ใช้เงินถึง 10 ล้านบาท หอบเจ้าหน้าที่ไปคณะใหญ่ 50 ชีวิต แต่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง  คำแถลงระบุว่าแท้จริงแล้วในเอกสารเกี่ยวกับการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีข้อใดที่พูดถึงเกี่ยวกับการ เลื่อนใดๆ ทั้งสิ้นแต่ได้เลือกใช้ถ้อยคำที่แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการมรดกโลก ได้รับอย่างเป็นทางการแล้วเอกสารที่เขมรยื่นไปทั้งสองชิ้นคือรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาพระวิหารกับแผนบริหารฯ, ที่พรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) ถนนพระสุเมรุ ย่านสะพานวันชาติ มีการสัมมนาเวทีประชาชนเรื่อง "ผ่าทางตันข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร...ทำไมต้องยกเลิก MOU 2543" โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุลคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มล.วัลวิภา จรูญโรจน์ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.เทพมนตรี ลิมปพยอมนักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยมีนายสำราญ รอดเพชร โฆษกพรรคการเมืองใหม่เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ยัน MOU 43 ทำไทยเสียประโยชน์ รัฐบาลประชาธิปัตย์ชุดปัจจุบันบริหาร 2 ปี เขมรได้ถนน 2 เส้นกล่าวคือไทยได้ใช้วิธีการประท้วง 11 ครั้งเราได้ถนนมา 1 เส้น ผ่านมาอีกเกือบ 2 ปีกว่าเราได้ถนนมาอีกหนึ่งเส้น  ให้ภาคประชาชนนำทางรัฐบาล - ต้องเลิก MOU-ส่งทหารผลักดันเขมร - ใช้กม.ระหว่างประเทศไม่ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วม, ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยร่วมรายการ ตรงไปตรงมาช่อง 11 โต้นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำเลิก MOU43 ลบปมเสียดินแดน-ยึด สันปันน้ำสู้
-              5 ส.ค. 53  ชาวบ้านภูมิซรอลผวาภัยสงคราม วอนหน่วยงานรัฐเร่งซ่อมแซมหลุมหลบภัยขณะเดียวกันพบความเคลื่อนไหวทหารเขมรเสริมกำลังเพิ่มและเคลื่อนย้ายชาวเขมรลงจากเขาวิหารพร้อมรับมือการสู้รบส่วนทหารไทยยังคงตรึงกำลังเข้ม, ก็ต้องยอมรับว่าในฐานะคนไทยคนหนึ่งเวลานี้ไม่รู้ว่าจะอยู่ในอารมณ์ไหนดีสุขใจ เศร้า เหงา เคล้าน้ำตากับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบ หลังจากเมื่อวานนี้รู้สึกดีใจหลังจากทราบข่าวว่าตัวแทนของไทยสามารถผลักดันให้ต้องเลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปเป็นปีหน้าเราก็ดีใจ เออ อย่างน้อยได้มีเวลาหายใจหายคอกลับมาเตรียมการกันใหม่ คนที่เป็นตัวแทนก็กลายเป็นวีรบุรุษแต่ไม่ทันข้ามคืนทุกอย่างทำท่าตรงกันข้ามกลายเป็นว่าตัวแทนฝ่ายไทยดันไปยอมรับการตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองปราสาทพระวิหาร(ไอซีซี) ที่เสนอโดยฝ่ายเขมรเรียบร้อยแล้วซึ่งเหมือนกับว่าการที่เลื่อนการประชุมในปีหน้าก็เป็นแค่เลื่อนการรับรองอย่างสมบูรณ์เท่านั้นเองและล่าสุดหัวหน้าสำนักงานยูเนสโกในไทยก็ออกเป็นเอกสารมีความหมายเหมือนที่เขมรได้ออกแถลงการณ์อย่างเดียวกัน  ในเมื่ออยู่ในบรรยากาศที่กำลังสุ่มเสี่ยงแบบนี้แล้วไปลงนามทำไมให้เกิดเป็นข้อสงสัยอีกทั้งตัวบุคคลอย่างสุวิทย์นี่ถ้าให้พูดตรงก็ต้องบอกว่า ไม่น่าไว้ใจได้เต็มร้อย ส่วนนายกฯอภิสิทธิ์ก็ยืนยันว่าต้องคงเอ็มโอยูปี 43 ต่อไปเพราะจะทำให้เขมรไม่อาจอ้างเขตแดนแต่เพียงฝ่ายเดียวได้แต่ฝ่ายที่โต้แย้งก็มั่นใจว่าเพราะเอ็มโอยูดังกล่าวนั่นแหละเหมือนกับการยอมรับแผนที่ในมาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนไปโดยปริยายและนำไปสู่การขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและใช้พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่บริหารจัดการ อีกทั้งที่ผ่านมาไทยไม่เคยประท้วงอย่างเอาจริงเอาจังกับการรุกล้ำเข้ามาตั้งถิ่นฐานของฝ่ายเขมร มีการก่อสร้างมากมาย ซึ่งถ้าฟังจากปากของนายกฯอภิสิทธิ์ก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า เพิ่งตื่นตัวเพราะสั่งให้มีการตรวจสอบการรุกล้ำเขตแดนและรวบรวมปัญหาทั้งหมดไม่นานนี่เองถ้าจำได้ก็เพียงแค่ประมาณสองสัปดาห์นี่เอง งานนี้ถึงบอกว่าทำให้คนไทยปวดหัวเพราะเริ่มสร้างความสับสน ทำให้เกิดกังวลว่าจะต้องสูญเสียดินแดนโดยเฉพาะพื้นที่อื่นๆที่จะตามมา ที่ไล่ลงมาตั้งแต่สุรินทร์ ไปจนถึง จันทร์บุรี และตราดรวมไปถึงเกาะกูดก็อาจรักษาเอาไว้ไม่ได้, ชาวศรีสะเกษลั่นต้องใช้ไม้แข็งไล่เขมรพ้นไทย กลุ่มองค์กรเอกชนและภาคประชาชนในศรีสะเกษ ประกอบด้วย
คณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ (คปศ.), ชมรมครูระถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ, เครือข่ายประชาชนชาวศรีสะเกษปกป้องแผ่นดินไทย, กลุ่มสมัชชาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ, กลุ่มคนศรีสะเกษรักถิ่นและชมรมศรีสะเกษรักในหลวงหวงแผ่นดินได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เรื่องความขัดแย้งระหว่างไทยกับเขมร, นายกฯ อ้างสุวิทย์ลงนามไม่มีผลผูกพันเหน็บภาคีอย่ารักชาติฝ่ายเดียว รับ 2 ชาติประนีประนอมพระวิหารยากวอนภาคประชาชนร่วมแก้อย่ามาทะเลาะกันอ้างเปิดเวทีให้พูดแล้ว อย่าผูกขาดรักชาติฝ่ายเดียว, พล.ต.จำลอง ศรีเมืองแหวก พ.ร.ก.ฉุกเฉินนัดภาคีเครือข่ายภาคประชาชน 45 เครือข่ายค้านขึ้นทะเบียนพระวิหารหน้าทำเนียบทวงถามรัฐงานถึงไหน, เพื่อไทยมาแปลก เสนอแผนยุติศึกฮุนเซนนำพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหารแลกเกาะกง ประกาศที่จะเร่งผลักดันในเรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติในอนาคตด้วย นับเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยแสดงจุดยืนหันมาโหนกระแสรักชาติ, สุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกฯวอนภาคีพระวิหารอย่าบุกทำเนียบ, อรวรรณ หอยจันทร์ได้ออกบทความ "เขาพระวิหาร" ...โต้แย้งเพื่อชาติหรือการเมืองด้วยมุมมองส่วนตัวที่ว่า ประเด็น "เขาพระวิหาร" เป็นเรื่องถกเถียงที่ไม่มีทางออก ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน และทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ จะเห็นแต่มุมของเกมการเมือง ชัดเจนกว่าเรื่องผลประโยชน์ประเทศด้วยซ้ำ ไม่ต่างจากวีระศักดิ์ พงศ์อักษรในค่ายเดียวกันอย่าง nationgroup
-      6 ส.ค. 53  พันธมิตรฯนัดสรุปวันเคลื่อนไหว 7สิงหาฯ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนัดหมายประชุมแกนนำเพื่อวางแนวทางการชุมนุมร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในกลุ่มประชาชนไทยรักชาติเรียกร้องรัฐบาลประกาศเตรียมชุมนุมใหญ่ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันเสาร์ที่ 7 ส.ค.นี้ที่ประชุมมีมติสนับสนุนเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ,  เครือข่ายประชาชนคนไทยหัวใจรักชาติ ได้ส่งร.ต.แซมดิน เลิศบุตรเป็นตัวแทนหารือกับนายกรัฐมนตรีโดยเดินเท้าเปล่าเข้าทำเนียบ หารือนายกฯ ในประเด็นปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหารและMOU 2543 มีนายกษิต ภิรมย์รมว.ต่างประเทศ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษาและนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์โฆษกพันธมิตรฯได้เดินทางตามมาร่วมหารือด้วย หลังจากใช้เวลาหารือกว่า 2 ชั่วโมงทั้งสองฝ่ายได้ออกมาแถลงร่วมกัน โดยระบุว่าเครือข่ายฯมีความเข้าใจและจะทำตามข้อเสนอที่จะไปชุมนุมกันที่อาคารกีฬาเวสน์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดงแทนทำเนียบรัฐบาล, สื่อเขมรขอไทยหยุดค้านพระวิหารฟื้นมิตรภาพ ในขณะที่ปัญหาพรมแดนระหว่างไทย-เขมร เป็นปัญหาที่ดู ๆ แล้วยังหาทางออกไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ แต่มีเสียงยืนยันมาจากนักธุรกิจญี่ปุ่นที่เข้าไปลงทุนในเขมรระบุว่าฝ่ายเขมรเดินหน้าเต็มสูบเพื่อพัฒนาเส้นทางคมนาคมเข้าสู่ปราสาทพระวิหารโดยไม่เป็นต้องผ่านเข้ามาในเขตจังหวัดศรีสะเกษของไทยพร้อม ๆ กับเดินสายล็อบบี้ให้นานาชาติเห็นใจฝ่ายตนให้มากขึ้น แต่สำหรับฝ่ายไทยกลับฟัดกันเองจนเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ยิ่งไทยทะเลาะกันเองมากเท่าไรก็เหมือนสาวไส้ให้กากินเรื่องนี้ทำให้ ม.ร.ว.ยงยุพลักษณ์ เกษมสันต์อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกมาท้วงติงว่าทำไมเรื่องสำคัญต่ออธิปไตยของบ้านเมืองเช่นนี้ คนไทยกลับไม่หันหน้าหารือกัน ไม่เคยสำเหนียกบ้างหรือว่ายิ่งกัดกันเองก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยของเราพังพินาศมากยิ่งขึ้น, นายกฯหนุนยกปัญหาเขาพระวิหารเป็นวาระแห่งชาติตามที่คณะกรรมาธิการการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรเสนอให้ยกระดับปัญหาความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นวาระแห่งชาติและนำเรื่องนี้เข้าสู่สภาเพื่อระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ, นายชวน หลีกภัยประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์บี้กระทรวงการต่างประเทศต้องประท้วงเขมรมีสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ทับซ้อนขัด MOU,นายองอาจ คล้ามไพบูลย์รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรียัน ASTV วิพากษ์พระวิหารไม่ผิด ปัดมีปลุกระดม,เขมรซัดไทย อย่าฝันเป็นเจ้าของ เขาพระวิหาร
-      7 ส.ค. 53  เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติทยอยชุมนุมสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น   พล.ต.จำลอง ศรีเมืองวอนพี่น้องร่วม บอกรอถกนายกฯ รอบบ่ายพร้อมยืนยันเคลื่อนไหวไม่เกี่ยวหาเสียงพรรคการเมือง ลั่นเป็นเรื่องของประเทศ, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีมาถึงอาคารการกีฬาเวสน์ 2 ขึ้นเวทีเพื่อตอบข้อซักถามขอพี่น้องที่มาร่วมชุมนุม ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้ลุกขึ้นถาม, โฆษกพรรคประชาธิปัตย์เฉ่งพรรคเพื่อไทยฉวยโอกาสการชุมนุมของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติในการปกป้องอธิปไตยเหนือพื้นที่รอบประสาทพระวิหาร กลบเกลื่อนความผิดตัวเองที่ออกแถลงการณ์ร่วมไทย-เขมรยุคนพดล ปัสสาวะ, เขาพระวิหารตึงเครียด!! ทหารไทย-เขมรอาวุธครบมือ, กรณีพิพาทเขาพระวิหารแทนที่จะเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับเขมร หรือระหว่างนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับฮุนเซนกลับบานปลายกลายเป็นการทะเลาะกันในหมู่คนไทยด้วยกันเองเพราะมีความเห็นต่างกัน ฝ่ายหนึ่งกล่าวหาว่ารัฐบาลทำให้ไทยสูญเสียดินแดน อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะยอมรับว่าเขาพระ-วิหารเป็นของเขมร รัฐบาลอยู่ตรงกลางโดนอัดจากทั้งสองฝ่าย ไทยก็เป็นฝ่ายเสียเปรียบเขมรเพราะเราเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยและเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกรณีเขาพระวิหาร อีกทั้งสังคมไทยยังขาดเอกภาพ ขาดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทะเลาะกัน มองประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของชาติ ส่วนเขมรมีรัฐบาลและคณะผู้รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจที่ยากจะมีผู้โต้แย้ง
-      8 ส.ค. 53  นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษา พรรคประชาธิปัตย์แจง MOU43 วัตถุประสงค์ปักปันเขตแดนไม่ใช่เพื่อใคร, รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ทางช่อง 11 น.ส.อัญชะลี ไพรีรักเป็นพิธีกรสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีกรณีปัญหาเขาพระวิหารซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้กล่าวถึงการไปพบกับเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดงเมื่อวานนี้ว่าเป้าหมายของตนกับประชาชนไม่ได้แตกต่างกัน,  ได้มีการจัดรายการพิเศษเพื่อชี้แจงกรณีปัญหาเขาพระวิหารและเขตแดนไทย-เขมรระหว่างตัวแทนเครือข่ายจากภาคประชาชนไทยหัวใจรักชาติกับตัวแทนรัฐบาล การเปิดโอกาสและมีการถ่ายสดในวันนี้เพื่อทำให้การแก้ปัญหาปราสาทพระวิหารเดินทางไปจุดเดียวโดยตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาลประกอบด้วยสุวิทย์ คุณกิตติรัฐมนตรีว่ากากระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายศิริโชค โสภาส่วนตัวแทนจากภาครัฐ ภาคีฯที่ประกอบด้วยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายสมปอง สุจริตกุลอดีตทนายประสานงานประสาทพระวิหาร นายเทพมนตรี ลิมปพยอมนักวิชาการอิสระและนายวีระ สมความคิด ดีเบต 2 ฝ่ายเริ่มถกเข้มขัน เบื้องต้นไทยเสียพื้นที่ไปแล้ว 50 ไร่ยุคนพดลตามตะเข็บรั้วลวดหนามตามมติครม.เมื่อปี 2505  นายกฯการันตี 5 ข้อเป็นแค่ร่างไม่ควบคุม นายวีระ สมความคิดแกนนำผู้ชุมนุมเครือข่ายภาคประชาชนหัวใจรักชาติพอใจระดับหนึ่งแต่ก็ยังไม่ชัดเจนและยังไม่มีความมั่นใจพอ ชี้รบ.ไม่ชัดเจนไล่เขมรเมื่อไหร่, ชาวศรีสะเกษเฝ้าติดตามชมดีเบตผ่านทีวี, พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ มทภ.2 ยันทหารพร้อมปฏิบัติตามรบ.สั่งผลักดันเขมรพ้นเขาวิหาร” – ชี้ใช้กำลังเป็นหนทางสุดท้ายหลังเจรจาเหลว,  หน.พรรค ก.ม.ม.ลงกระบี่ - จี้รัฐบาลจริงใจทวงคืน "เขาวิหาร", นายกฯ เชื่อถกร่วมภาคประชาชนจะเข้าใจกันมากขึ้น ชี้จะเห็นพ้อง 100% เป็นไปไม่ได้ หวังการกล่าวหากันจะลดลง, ภาครัฐและภาคีฯถกปัญหาปราสาทพระวิหารยอมรับข้อพิพาทหนักข้อขึ้นสมัยนพดลออกแถลงการณ์ร่วมเขมรโดยไทยต้องไม่ยอมรับมติคณะกรรมการมรดโลก ขณะนี้ทำได้เพียงทักท้วง ชี้การเสียอธิปไตยเหนือดินแดนไม่ใช่เพียงรับฟังมติแต่ต้องระวังการครอบครองปรปักษ์ซึ่งเขมรได้รุกล้ำตามแนวชายแดนโดยที่ไทยนิ่งเฉย, ที่บริเวณฝั่งตรงข้ามกองทัพภาคที่ 1 ถนนราชดำเนิน นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติได้ขึ้นเวทีปราศรัยประกาศสลายการชุมนุมที่ปักหลักมา 1 คืน โดยอ้างเหตุผลว่าผู้ชุมนุมไม่ได้เข้ามาเสริมสนับสนุนการชุมนุมในวันที่ 2 ทำให้จำนวนไม่เพียงพอสำหรับการต่อสู้ทางการเมือง แต่ยืนยันเป็นเพียงการพักรบ โดยจะนัดชุมนุมเพื่อทวงคืนปราสาทพระวิหารใหม่อีกครั้งหากมีความพร้อม นายวีระ สมความคิดแกนนำเครือข่ายฯกล่าวว่าสัปดาห์หน้าจะหารือภายในระหว่างเครือข่ายฯและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์นำไปสู่แนวทางปฏิบัติให้การต่อสู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมยอมรับความเห็นที่แตกต่างกันมีผลต่อการต่อรอง อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่พอใจแนวทางที่ชัดเจนของรัฐบาลแต่เห็นว่ารัฐบาลทำงานได้ผลในระดับหนึ่ง, รมว.ทส.เผยเตรียมขอนายกฯตั้งกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชนให้ข้อมูลพระวิหาร เล็งเอาคนหนุนและค้านเข้าทำงานคู่ขนานกก.ชุดรัฐ ยอมรับมีกำลังใจมากขึ้น หลังภาคีเข้าใจลงนาม 5 ข้อไม่มีผลผูกพัน หนุนประชาชนแสดงออกให้ต่างชาติเห็น, สวนดุสิตโพลเปิดเผยผลสำรวจประชาชนไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงเขาพระวิหารหวั่นขัดแย้งบานปลาย, โฆษกพันธมิตรฯ ยอมรับยังตืดใจในหลายประเด็น นายกฯแจงปัญหาพระวิหาร ยันไม่เห็นด้วยทั้งหมด ย้ำเอ็มโอยู 43 ยอมรับแผนที่ 1:200,000 แนะดูชาติอื่นรู้ผลกระทบเหมือนไทยหรือไม่ จี้ยกเลิกแล้วใช้สันปันน้ำ ยกสนธิสัญญาฝรั่งเศสปี 1904 ประท้วงเขมรแทน, เลขาธิการการเมืองใหม่หนุนเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติที่เคลื่อนไหวจี้รัฐเร่งแก้พระวิหาร ชมตั้งใจปกป้องอธิปไตยชาติ จี้พรรคอื่นสนับสนุน แนะเพื่อไทยสำนึกบาป ปัดหวังผลเลือกตั้ง ส.ก. ยันสู้มาตั้งแต่ก่อนมีพรรค ชี้เป็นชัยชนะคนไทยหลังรัฐถูกเปิดข้อเท็จจริงเพิ่ม หวังนายกฯตาสว่าง กำหนดแนวทางชัดเจน ย้ำรัฐประท้วงไปเรื่อยๆไม่ได้อะไร แนะนายกฯสอบขรก.กต. วอนร่วมมือภาคประชาชน, “เด็จพี่โฆษกพรรคเพื่อไทยได้ที สับรัฐ 2 มาตรฐานปล่อยม็อบชุมนุม ซัดนายอภิสิทธิ์คุ้ยพระวิหารปลุกคนคลั่งชาติ, รั้วของชาติลอยตัว เขมรย่ามใจฮุบแผ่นดิน การชุมนุมของพี่น้องคนไทยหัวใจรักชาติกรณีปราสาทพระวิหารเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมาได้สร้างความกดดันต่อรัฐบาลจนต้องมีความกระตือรือร้นเอาการเอางานมากขึ้น   นายอภิสิทธิ์ส่งสัญญาณที่ดีในการรับฟังความเห็นของภาคประชาชน ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลละเลยในเรื่องนี้แถมในยุครัฐบาลสมัคร สุนทรราชมีนพดล ปัสสาวะเป็นรมว.ต่างประเทศกลับไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมยอมให้เขาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียวเสียอีกซึ่งความหมายก็คือยอมยกพื้นที่โดยรอบ 4.6 ตารางกิโลเมตรให้เขาไปด้วย  การที่นายอภิสิทธิ์ยอมให้มีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยูปี 43) มากขึ้น สิ่งที่คนไทยรักชาติอยากเห็นก็ไม่มีอะไรมากไปว่าการที่อยากให้รัฐบาลเปิดใจให้กว้างและยึดเอาผลประโยชน์ของชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ทางการเมือง หากนักการเมือง และรัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯอภิสิทธิ์มีความโปร่งใสไม่มีนอกมีในมันก็เชื่อว่าปัญหามันแก้ไขง่าย ดังนั้นกองทัพบก - รมว.กลาโหมประวิตร วงษ์สุวรรณ - พล.อ.อนุพงษ์ ในฐานะผบ.ทบ. - ผู้นำกองทัพบกคนใหม่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาต้องทำหน้าที่ในบทบาทสำคัญในภารกิจปกป้องชาติทั้งจากศัตรูภายในและนอกประเทศกำลังรุกคืบเข้ามา, นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศออกมาชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนแนะมาร์คเดินสายแจง ด้านนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์นำภาคีฯหน้าทัพภาค 1 ขีด 7 วันเลิก MOU สลายตัวแล้ว ขณะที่พรรคการเมืองใหม่พอใจที่นายกฯรับข้อมูลภาคประชาชนมากขึ้น
-      9 ส.ค.53  ในการประชุมวุฒิสภาตามปกติ  นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหากล่าวว่าจากการเคลื่อนไหวของภาคีเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติจนได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายกฯ นั้นถือเป็นเรื่องที่ควรชื่นชม,  นายคำนูณ สิทธิสมานหารือผ่านท่านประธานวุฒิสภาไปยังรัฐบาลมีดังนี้รัฐบาลจะเร่งนำบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมร (JBC) ซึ่งแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเขมรกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหารที่รัฐสภาอนุมติไปเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 51 เข้าขออนุมติต่อรัฐสภาโดยเร็วซึ่งจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งภายในประเทศบานปลายออกไป ควรจะชะลอไว้ก่อน สรุปแล้วมีข้อเสนอ 3 ข้อเท่านั้นคือ  หนึ่ง - เลิกเอ็มโอยู 2543   สอง - ขอคืนพื้นที่และสาม - ขอกรอบเจรจาจัดทำเอ็มโอยูฉบับใหม่ยึดหลักสันปันน้ำตามอนุสัญญา 1904 และสนธิสัญญา/พิธีสาร 1907 เท่านั้น, ฮุนเซนไม่หยุดร้องเลขาฯ UN เข้าแทรกเจรจาพระวิหาร ส่งสาสน์ถึงทั้งสองแขนงงานขององค์การสประชาชาติ กล่าวหาว่า ไทยมีเจตนาใช้กำลังทหารกับเขมรเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ นายบันจะเดินทางเยือนเขมรระหว่างวันที่ 27-28 ต.ค., นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีชี้ฮุนเซนทำจดหมายถึงองค์การสหประชาชาติว่าแค่หนังสือเวียน กระทรวงการต่างประเทศเขมรโวไม่มีปัญหา โยนกระทรวงการต่างประเทศทำความเข้าใจ ยันถ้าเลิกเอ็มโอยู 43 เขมรก็จะเอาคนนอกจุ้น คาดไม่สำเร็จถ้ายังใช้บันทึกอยู่ ย้ำมีประโยชน์ เป็นหลักประกันเรายึดมั่นเจตนารมณ์ ชี้เขมรสร้างภาพผู้ร้ายให้ไทย ยันแจงได้ ย้ำต้องทำอย่างรอบคอบ วอนอย่าทำให้เหมือนทะเลาะกันเอง ซัดเขมรสร้างปัญหาละเมิดไทย ด้าน นายกษิต ภิรมย์ปฏิเสธให้ความเห็นเรื่องดังกล่าวไม่มีความจำเป็นต้องคุยกับ UN ระบุหารือเขมรโดยตลอด, นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุตเลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุการทำจดหมายถึงสหประชาชาติของเขมรเป็นเรื่องปกติ ไทยเตรียมทำหนังสือชี้แจงยืนยันเจตนารมย์จะยึดการเจรจาโดยสันติ, ยูเนสโกเร่งผลักดันและร้องขอให้ประเทศไทยร่วมลงนามสัตยาบันว่าด้วยอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใต้น้ำ กรมศิลปากรในฐานะเป็นหน่วยงานหลักได้ดำเนินการพิจารณาและวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียรวมทั้งผลกระทบของการลงสัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับดังกล่าวพบว่ามีประเด็นสำคัญที่ต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ เนื่องจากบทบัญญัติในอนุสัญญาฉบับดังกล่าวบางส่วนมีลักษณะอันเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทยหรืออำนาจรัฐรวมทั้งพิจารณาว่าต้องร่างพรบ.เพื่อรองรับอนุสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าหลายๆ ประเทศไม่เข้าร่วมอนุสัญญา อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาและ เขมรซึ่งต้องศึกษาว่าทำไมประเทศเหล่านั้นกลับไม่ได้ลงนามสัตยาบันดังกล่าวแต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีประมาณ 60 ประเทศที่ลงนามสัตยาบัน,ต่อจิ๊กซอว์พลังงาน เขมร เดินหน้าเซ็นความร่วมมือด้านพลังงานอิหร่าน 10-11 ส.ค.นี้ จะได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์กับอิหร่านรวมถึงการสนับสนุนด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมน้ำมันจากอิหร่านเพื่อเตรียมการผลิตเองในปี 2012
-      10 ส.ค.53   นายกรัฐมนตรีส่งถึงนายอาลี อับดุสซาลาม เตรกี (Ali Abdussalam Treki) ประธาน UNGA และ UNSC เพื่อปฏิเสธเนื้อหาในสาสน์ของฮุนเซน และชี้แจงรายละเอียดสถานการณ์ความสัมพันธ์ไทย-เขมรทั้งยังกล่าวด้วยว่ารัฐบาลเขมรได้ละเมิดบันทึกช่วยความจำเกี่ยวกับชายแดนที่สองฝ่ายร่วมกันลงนามในปี 2543, ตามคาดฮุนเซนหักนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไร้เยื่อใย ไม่เจรจากันายสุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกรัฐมนตรีของไทยก็ต้องพบกับรองนายกรัฐมนตรีเขมร ไม่ใช่นายกฯฮุนเซนระบุท้าเหยงๆเชิญไทยขับไล่เขมรจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม.,
-      13 ส.ค.53   ดร.สมปอง สุจริตกุลคณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิตและอดีตทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ.2502-2505 ระบุพื้นที่ทับซ้อนมีที่เดียวคือตัวปราสาทรัฐบาลต้องยืนยันอธิปไตย ยูเนสโกต้องถอนมรดกโลก, ฮุนเซนเจ้าเล่ห์! สั่งถอนกำลังทหารพื้นที่บันเตียเมียนเจย, พระตะบองและโพธิสัตว์ออกอย่างน้อย 50% อ้างไม่ต้องการสู้รบกับไทย  ขณะที่ฝ่ายข่าวทหารไทยชี้เป็นแผนลวงโลก เหตุบัน คีมูนจะเดินทางเยือนโดยหวังให้ยูเอ็นเห็นใจว่ามีทหารน้อยอาวุธขาดแคลน ประชาชนชาวเขมรในตลาดปอยเปตต่างจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของฮุนเซนว่าทำไม่ถูกต้องที่มีคำสั่งถอนทหารจากบริเวณชายแดนด้านติดกับ จ.สระแก้วของไทยรวมทั้งกำชับให้ทหารที่อยู่ชายแดน หากพบจนท.ยูเอ็นหรือจนท.ต่างชาติมาสอบถามให้บอกว่าเขมรมีทหารน้อยและอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ขาดแคลนไม่สามารถสู้รบกับทหารไทยได้
-      15 ส.ค.53   นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชี้การดึงประเทศที่ 3 ยื่นหนังสือถึงประเทศเวียดนามและอินโดนีเซียโยงปัญหาเป็นแนวทางเขมร เชื่อยูเอ็นไม่แทรกแซงกิจการภายในระดับทวิภาคี, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมินเขมรฟ้องยูเอ็น ขู่ปิดช่องเจรจาหากยังละเมิด MOU 43 ก่อนหน้านี้ไทยได้มีหนังสือชี้แจงไปยังอาเซียนแล้ว ได้ทำหนังสือถึงยูเอ็นเพื่ออธิบายข้อเท็จจริง จุดอ่อนของประเทศไทยแล้วด้วย, ก.ม.ม.จี้ รบ.เลิก MOU43 ชี้เขมรได้ประโยชน์ เปิดเกมรุกก่อสงคราม หวังไทยหมดอำนาจต่อรอง, ตามที่ประธานรัฐสภาเรียกประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2553 แล้วมีระเบียบวาระที่ 3.1 และ 3.3 ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าจะเป็นการรับรองการเสียดินแดนให้เขมรนั้นยังไม่ใช่ เพราะนี่จะเป็นการรายงานผลการพิจารณารายงานการประชุมลับในกรอบของ jbc ตามมติครม.เมื่อ 28 ต.ค. 51 อันเป็นเรื่องของ JBC ที่เกิดขึ้นตามเอ็มโอยู 2543 ที่ในข้อ 1 (ค) ไปยอมรับแผนที่ฝรั่งเศสอัตราส่วน 1 : 200,000 ทั้ง 11 ระวางรวมถึงระวางดงรัก กับกรอบการเจรจาในกลไกของการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) อันเป็นเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยทั่วไปเนื่องจากการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อ 27 เม.ย. 52 ไม่ใช่การพิจารณาเรื่องใหม่หรือทำซ้ำรับรองเรื่องเก่าแต่ประการใด ส่วนเรื่องที่ได้พูดจากันทางหน้าจอนั้นได้แก่เรื่องใหม่ของ JBC ที่จะต้องเป็นห่วงและต้องให้ท่านนายกฯปฏิบัติตามที่รับปากไว้ถ้ามีบรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้รัฐสภาลงมติรับรองบันทึกการประชุม 3 ฉบับคือ บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมรสมัยวิสามัญ ณ เมืองเสียมราฐ วันที่ 10 - 12 พ.ย. 51, บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมร ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพมหานคร วันที่ 3 - 4 ก.พ. 52 และ บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมร สมัยวิสามัญ ณ กรุงพนมเปญ วันที่ 6 - 7 เม.ย. 53 ที่จะแนบร่างข้อตกลงร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเขมรกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร มาฉบับหนึ่งอยู่ด้วย ร่างนี้ตกลงกันยังไม่ได้ว่าพระวิหารหรือเปรียะวีเฮียร์หรือ“...ในพื้นที่ระหว่าง Phnom Trap / ภูมะเขือ กับ Ta Thav / ช่องตาเฒ่า เพื่อขออนุมัติในหลักการไว้ก่อน จากการต่อสู้ของสว.กลุ่มหนึ่งทำให้รัฐบาลตกปากรับคำจากรัฐบาลว่าจะให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาก่อนลงมติและจากการต่อสู้ของภาคประชาชนในช่วงนี้ทำให้รัฐบาลตกปากรับคำว่าก่อนนำเข้าสู่รัฐสภาจะเปิดให้ภาคประชาชนแสดงความคิดเห็นก่อน, การตั้งวงถกหมู่ของรัฐบาลและภาคประชาชนครั้งนี้ทำให้คนไทยได้รับรู้ข้อเท็จจริงมากขึ้น รู้วิธีขายแผ่นดินชาติแลกผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องของรัฐบาลทรราชที่ผ่านๆมาและเครือข่ายแบบล่อนจ้อน อีกทั้งยังรู้ว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์มีวิธีคิดและวิธีทำงานกันแบบไหน-อย่างไร  การยกทิ้งเอ็มโอยู 2543 ก็เท่ากับไม่มีแผนที่ฝรั่งเศสมาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนทำให้ไม่มีพื้นที่ขัดแย้งที่เขมรจะนำไปแอบอ้างทันที ฮุนเซนจะเอาเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยลำพังไม่ได้น่นอนการปล่อยให้ดินแดนไทยคลุมเครือมีจุดอ่อนเช่นนี้ หากนักการเมืองชั่วสายพันธ์ไหนก็ตามได้ครองอำนาจอีกครั้ง เอ็มโอยู 2543 ก็มีโอกาสจะถูกนำไปต่อยอดอีกแผ่นดินไทยก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอีกโดยไม่จำเป็น  คนไทยใจเขมรมีทั้งในถนน ในกองทัพและในสภารวมทั้งคนไทยขายชาติอีกกลุ่มหนึ่งร่วมมือกับเขมรฮุนเซนเป็นผู้นำอันธพาลที่เอาแต่ได้-เห็นแก่ตัวแถมยังเอาพวกผู้ก่อการร้ายเผาบ้านเผาเมืองของไทยไปซ่องสุมกำลังอยู่ที่ประเทศเขมรเพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นสำหรับกลับมาจู่โจมทำลายล้างรัฐบาลไทยและ ล้มเจ้า รัฐบาลและข้าราชการไทยต้องพูดชัดเจน-หนักแน่นว่าไทยไม่เคยยึดถือ-ไม่เคยเอาแผนที่ฝรั่งเศส มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนมาเป็นเส้นแบ่งเขตแดนโดยเด็ดขาดแล้วยกเลิกทั้งเอ็มโอยู ทีโออาร์ และข้อตกลงอื่นใดกับเขมรที่ไม่ใช้การแบ่งเขตแดนไทย-เขมรด้วยสันปันน้ำ ไม่มีใครหน้าไหนชอบสงคราม-อยากให้เกิดสงครามที่สำคัญไม่มีใครหน้าไหนบ้าเลือดอยากฆ่าคนหรอกแต่วิธีกดดันให้คนเขมรออกจากพื้นดินไทย มีหลายวิธีเช่นขอคืนพื้นที่และกระชับพื้นที่เป็นต้น
-      16 ส.ค. 53  ฮุนเซ็นมีอาการเหมือนคนเสื้อแดงออกทีวี.ข่มขู่ไทย  แสบสุดๆ รายวันรองนายกฯเขมร ทำหนังสือถึงเวียดนามขอให้มาช่วยไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทปราสาทพระวิหารกับไทย รัฐบาลอย่ามัวแต่ทำตัวเป็นสุภาพบุรุษกับเด็กเกเรอยู่เลย,  นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุตเลขานุการรมว.ต่างประเทศและกระทรวงต่างประเทศยืนยันจะนำบันทึกการประชุมเจบีซีที่เมืองเสียมราฐปี 2551 บันทึกการประชุมเจบีซีครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯและบันทึกการประชุมเจบีซีสมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญปี 2552 เข้าที่ประชุมในการประชุมร่วมรัฐสภาทั้งที่ยังไม่มีบรรจุเข้าระเบียบวาระและยังไม่มีเอกสารใดๆมาถึงมือสมาชิก, น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริซีไอเอเมืองไทยแนะรัฐบาลไทยให้เขกกบาลปท.เล็กแต่ขี้รังแกบ้าง
-             17 ส.ค. 53  เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาตินำโดยนายวีระ  สมความคิดเข้ายื่นหนังสือต่อชัย ชิดชอบประธานรัฐสภาเรียกร้องให้ยกเลิกเพิกถอนมติรัฐสภาวันที่ 28 ต.ค. 51 เรื่องกรอบเจรจาสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกไทย-เขมรตลอดแนวในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-เขมรทั้งนี้ขอให้ถอนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วตามระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาวันที่ 17 ส.ค.ออกจากวาระการประชุมร่วมรัฐสภาและให้ระงับขบวนการพิจารณาอันมีผลในการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทย  หากไม่มีการบรรจุเรื่องจะเดินทางกลับ แต่ถ้ามีการบรรจุเข้าวาระตนจะขอมติผู้ชุมนุมว่าจะค้างคืนหน้ารัฐสภาต่อไป "เรื่องไม่เห็นมีอะไร จะมาโวยวายอะไรกันหน้าสภา ไม่รู้เรื่องรู้ราว ไร้สาระ" ประธานรัฐสภากล่าว ตัวแทนกลุ่ม 40 ส.ว.นำโดยนายคำนูณได้มาพูดคุยทำความเข้าใจกับนายวีระและตัวแทนเครือข่ายฯ โดยระบุว่า อาจไม่มีเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาก็ได้แต่จากการสอบถามเลขานุการรมว.ต่างประเทศระบุว่าอาจเป็นวาระเพิ่มเติม นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์แกนนำเครือข่ายฯอ่านแถลงการณ์ยืนยันว่าทางกลุ่มมีมติพักค้างคืนที่หน้ารัฐสภาโดยในวันที่ 18 จะประกาศเจตนารมณ์  กำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวอีกครั้ง  ต้องการเร่งรัดให้รัฐบาลดำเนินการ 2 ข้อคือ 1.ให้รัฐบาลเร่งผลักดันทหารและชาวเขมรออกจากพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 70 ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และ2.ให้รัฐบาลประกาศยกเลิกเอ็มโอยูปี 2543 และทีโออาร์ปี 2546 ทันที  ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอ้างกรอบข้อตกลงยังไม่เสร็จ เตรียมเปิดเวทีฟังความเห็น  ไม่ขัดตั้งกมธ.ร่วมก่อนยันถกสภาร่วมต้องประชุมลับ นายถวิล เปลี่ยนสีเลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ สมช.ชี้รบกันไม่ใช่เรื่องสนุก, ฮอร์นัมฮงพบนายสุรินทร์ พิศสุวรรณเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาเซียนพูดคุยปัญหาพิพาทบริเวณชายแดนไทย-เขมรและขอให้อาเซียนเข้ามาร่วมแก้ปัญหา แบะท่าถกทวิภาคีถ้าสภาไทยรับเจบีซี ฮุนเซนหันซบจีนของบสร้างถนนต่อบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม –โอรเสม็ดที่เคยขอรับความช่วยเหลืองบประมาณจากรัฐบาลไทย 1,400 ล้านบาทที่ฮุนเซ็นเคยปฏิเสธไม่รับการช่วยเหลือหลังเกิดความขัดแย้ง, เขมรกำลังติดตามจับกุม 2 ผู้แจกใบปลิววิจารณ์ผู้นำและกล่าวหาว่าปล่อยให้เวียดนามฮุบดินแดนเขมรที่ชายแดนด้านตะวันออกหลังจากล่อไปแล้ว 1, ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร และคณะได้เดินทางมายังพื้นที่ชายแดนด้านเขาพระวิหารและเข้ามารับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์ชายแดน
-      18 ส.ค. 53  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรียอมรับฮุนเซนเจรจาสุรินทร์หวังดึงอาเซียนเข้ามาร่วมไกล่เกลี่ยแต่ยังมั่นใจจะใช้ระบบทวิภาคีเจรจาโดยสันติวิธี, นายบัน คี มูน (Ban Ki-Moon) เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติพร้อมจะไกล่เกลี่ยปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับเขมรตามเสียงเรียกร้องของฮุนเซนหากทั้งสองฝ่ายต่างร้องขอแต่ผู้นำขององค์การสหประชาชาติยังไม่ได้รับข้อเรียกร้องดังกล่าว, อ.เทพมนตรี ลิมปพยอมนักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์เปิดเอกสารชี้ชัดมรว.สุขุมพันธ์ บริพัตรรู้เห็นใช้แผนที่  1:2 แสน
-      19 ส.ค. 53  รัฐบาลเวียดนามในฐานะประธานอาเซียนรับลูกเขมร หารือพระวิหารในอาเซียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรียืนกรานคุย2ชาติได้ กลุ่มรักชาติสลายตัวเล็งฟ้องศาล, ขุนทหารใหญ่กองทัพเวียดนาม นำคณะเยือนเขมร} นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีเข้าใจว่าปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ในกรอบของทวิภาคี ยึดเจรจาข้อพิพาทพระวิหาร ยันไม่ใช้ความรุนแรง, สุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงสอนเขมรต้องเคารพระบบรัฐสภาไทยที่ยังไม่รับรองเจบีซีไทย-เขมรฉบับล่าสุด ไม่ควรมาโกรธเคืองกันยันยกระดับปัญหาปราสาทพระวิหารเป็นพหุภาคีฝ่ายเดียวไม่ได้ทั้ง 2 ประเทศต้องเห็นพ้อง, สำนักงานโฆษกประจำสำนักนายกเขมรออกคำแถลงหากทหารไทยตั้งอยู่ในดินแดนไทยทางฝั่งหนึ่งของชายแดนก็จะไม่มีความรุนแรง ที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตอย่างหนัก ทหารไทยได้รับบทเรียนอันขมขื่น การรุกล้ำดินแดนเขมรของพวกเขาได้รับการตอบโต้อย่างรุนแอรง และเด็ดขาด..
-      20 ส.ค. 53   นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเผยกำลังร่างหนังสือไปยังเวียดนามเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงความสัมพันธ์ไทย-เขมรพร้อมระบุการเจรจาแก้ปัญหาไทย-เขมร ต้องเป็นระดับทวีภาคี เขมรที่มีบรรพบุรุษมาจากสัตว์ลิ้นสองแฉกใช้ความเป็นประเทศฟื้นใหม่ ไม่รู้กติกาโลก แล้วเที่ยวร้องสะเปะสะปะไปหมดกรณีพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ชาวโลกที่มีพื้นฐานเป็นความเข้าใจเรื่องนี้อยู่บ้างเขาคงเบื่อหน่ายและเอือมระอาในลักษณะที่ว่าสันดานเขมร ที่เที่ยวพล่านไปดึงขากางเกงเลขาฯยูเอ็นให้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายในระหว่างประเทศบ้าง ไปร้องแรกแหกกระเชอให้นายกฯ เวียดนามนฐานะประธานอาเซียนให้นำเรื่องนี้หารือในกลุ่มอาเซียนบ้าง น่าสังเกตว่าทำไมเขมรจึงไม่เชิญให้ประเทศจีนมาเป็นตัวกลางทั้งนี้เพราะเขมรไม่วางใจจีน  ไม่น่าเชื่อเลยว่าเขมรที่คุยว่ามีรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างฮอร์ นัมฮงที่เก๋าที่สุดในอาเซียนแต่กลับทำเรื่องที่ไร้เดียงสาที่สุดได้ ลึกๆตัวก็รู้ว่าเป็นดินแดนไทยเขาแต่สันดานเขมร-กูอยากได้ กูจะเอาใครจะทำไม? ตีกินหน้าด้านๆ ใช้มวลชนยึดพื้นที่ในเขตไทย คนที่ไม่ขี้ลืมก็ต้องจำได้ว่าในช่วงที่เกิดเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองในบ้านเรานั้น ฮุนเซ็นได้ขอให้กษัตริย์สีหมุนีซึ่งแม้ไม่ค่อยลงรอยกันให้ช่วยเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเวียดนาม ทั้งๆที่บารมีกษัตริย์หนุ่มยังน้อยสีหนุผู้พ่อจึงต้องลากสังขารไปด้วย  แผนชั่วขั้นต่อไปคือเมื่อเลี่ยงเจรจากับไทยก็หวังดึงนานาชาติมาสานต่อเพื่อสร้างกรรมการ 7 ชาติ แต่ถ้าไทยรวมใจ-สามัคคีกันได้เราจะสามารถรื้อฟื้นเรื่องปราสาทพระวิหารมาเจรจาได้ครบวงจรแน่นอน ถ้าจะเอากันอย่างนั้นเราก็จะได้ร้องมั่ง ร้องยูเอ็น ร้องอาเซียนแต่ไม่ร้องเอาแค่ปราสาทพระวิหารคืนหรอก แต่จะร้องเอาประเทศเขมรคืนมาทั้งประเทศเพราะเป็นของไทยเรามาก่อนมิใช่หรือ