เพื่อบรรลุถึงการปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้วยการเผยแพร่ให้ความรู้ที่แท้จริงแก่ส่วนรวม
06 สิงหาคม 2552
แหล่งน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย
บริษัทเชฟรอน (ประเทศไทย) เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคลที่คนไทยรู้จักมาก่อน จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการพบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 66% และ 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับนี่ยังไม่นับรวมการผลิตก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า (ที่มีประมาณ 27% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งหมด) ดังนั้นบริษัทนี้จึงเป็นบริษัทที่น่าจับตาเป็นพิเศษจากเอกสารของบริษัทรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2505 ถึง 2550 (45 ปี) บริษัทนี้ได้จ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วจำนวน 157,153 ล้านบาท โดยได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 515,235 ล้านบาทเอกสารนี้เล่นเล่ห์เหลี่ยมมาก คือไม่ยอมบอกว่าตนเองมีรายได้เท่าใดและมีกำไรเท่าใดแต่ถ้าเราถือว่า บริษัทต้องเสียค่าภาคหลวงร้อยละ 12.6 ของรายได้เราสามารถคำนวณได้ว่าบริษัทนี้มีรายได้ทั้งหมดประมาณ 1.247 ล้านล้านบาทหลังจากเสียค่าภาคหลวงและค่าภาษีทั้งสองชนิดแล้วบริษัทเชฟรอนจะมีกำไรประมาณ 3.9 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 77 ของเงินลงทุนทั้งหมด กำไรงามขนาดนี้สามารถเป็นคำตอบได้ส่วนหนึ่งแล้วว่าทำไมคนไทยต้องซื้อพลังงานในราคาที่แพงมาก ทั้งๆ ที่เรามีแหล่งพลังงานในบ้านของเราเอง กำไรงามขนาดนี้ก็สามารถเป็นคำตอบได้ว่าทำไมนักการเมืองจึงให้สัมปทานล่วงหน้ากันนานๆ
เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ขุดเจาะน้ำมันของไทยจะพบว่ามหาเศรษฐีห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ (Harrods) โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด (Mohamed Al Fayed) เข้ามาได้ประโยชน์จากธุรกิจน้ำมันในไทยมานานผ่านปตท.สผ.ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท. ก่อนที่ปตท.จะเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2544 โดย Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกันในช่วงธันวาคม 2542 ว่าหลังจากโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดตั้งบริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32. ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50% ในการลงทุนสำรวจขณะที่ปตท.สผ.ถือหุ้น 50%ที่เหลือ จากการสืบค้นข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ จดทะเบียนในเมืองไทยเมื่อ 22 พฤษภาคม 2541 ใช้ชื่อเป็นทางการว่า แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) ต่อมาเปลี่ยนชื่อจนไม่เหลือคราบเดิม เป็นเพิร์ล ออย (Pearl Oil) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรายชื่อผู้ถือหุ้น) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 เพราะถูกขายให้กับบริษัท Pearl Energy Pte. Ltd. ที่มีฐานอยู่ในสิงคโปร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือเมื่อสืบสาวต้นทางจะพบกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek) แห่งสิงคโปร์ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวผ่านทาง Mubadala Development (ข้อมูลจาก Business Week และ RGE Monitor) ซึ่ง “เทมาเส็ก” มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ “ทักษิณ” และคือบริษัทที่ซื้อหุ้นในชินคอร์ป จากครอบครัว ”ทักษิณ” ด้วยมูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท
บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น เพิร์ลออย (ประเทศไทย) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า เวสท์ ชั้น 10 ณ วันที่ 30 เมษายน 2550 ปรากฏชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.99% คือบริษัทเพิร์ลออยล์ (สยาม) คิดเป็น มูลค่า99,994 ล้านบาท หรือเฉลี่ยราคาหุ้นละ 1,000 บาท ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า”เพิร์ลออยล์ (สยาม) จดทะเบียนที่หมู่เกาะเวอร์จิน อังกฤษ ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น สิ่งที่น่าสังเกตุเป็นอย่างยิ่งก็คือ บริษัทเพิร์ลออยล์ (สยาม) จดทะเบียนที่หมู่เกาะเวอร์จิน อังกฤษ ซึ่งเป็นแห่งเดียวกับ บริษัทแอบเปิลลิส ของ " ทักษิณ" อีกด้วย สำหรับบริษัท Pearl Oil ยังคงได้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันอย่างต่อเนื่องเช่นแปลง B 5/27 ที่แหล่งจัสมิน และ B12/32 ณ แหล่งบุษบงในอ่าวไทยเป็นต้น ส่งต่อน้ำมันดิบให้กับ ปตท.สผ.ภายใต้สัญญาซื้อ-ขาย 20 ปี เช่นเดียวกับเมื่อ 8 ธันวาคม 2549 Pearl Oil ก็ได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มในแปลง G10/48 บริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย เมื่อสมัยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จากข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบว่ากรรมการของเพิร์ลออย ยังเป็นกรรมการในบริษัทที่เกี่ยวข้องรวม 8 บริษัท แต่ละบริษัทต่างระบุว่าทำธุรกิจรับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน และมีทุนจดทะเบียนบริษัทละ 100 ล้านบาท บางบริษัทมีรายได้ แต่บางบริษัทยังไม่ได้บันทึกรายได้ โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือเพิร์ลออย ประเทศไทย มีรายได้ปี 2549 รวม 7,071 ล้านบาท กำไร 1,654 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 16.54 บาท
เครือข่าย”เพิร์ลออย (ประเทศไทย)”
-เพิร์ลออย บางกอก
-เพิร์ลออย ออฟชอร์
-เพิร์ลออย (ปิโตรเลียม)
-เพิร์ลออย (รีซอสเซส)
-เพิร์ลออย (อมตะ)
-เพิร์ลออย ออนชอร์
-เพิร์ลออย (อ่าวไทย)
การสำรวจพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล ตามเขตรอยต่อน่านน้ำของกัมพูชาและไทยในขณะที่เขตแดนทางทะเลระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ชัดเจน การกำหนดเขตแดนทางทะเลกระทำยากกว่าปักปันเขตแดนทางบกหลายเท่าโชคร้ายมากอ่าวไทยร่ำรวยด้วยน้ำมันและก๊าซ ในกัมพูชาได้มีการยืนยันการพบน้ำมันดิบและก๊าซเมื่อปี 2547 โดยบริษัทเชฟรอน (Chevron Corp) จากสหรัฐฯ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าสำรวจขุดเจาะ แต่จะยังไม่มีการผลิตในปริมาณมากแต่อย่างไร จนกว่าจะถึงปี 2552 หรือ อีก 2-3 ปีข้างหน้า และ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่โตกว่าก็อาจจะตึงเครียดขึ้นในช่วงนั้น กัมพูชาเองอาจจะตระหนักดีว่า คงไม่มีทางที่จะนำเอาน้ำมันดิบในแหล่งนอกชายฝั่งขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้โดยลำพัง เมื่อปี 2543 จึงได้เสนอต่อประเทศไทยให้ยกเลิกประเด็นเกี่ยวกับอธิปไตยออกไปก่อน และ สองประเทศร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซในเขตน่านน้ำที่เหลื่อมล้ำกัน แต่ประเทศไทยได้ปฏิเสธข้อเสนอของกัมพูชา ซึ่งหลายฝ่ายเข้าใจว่าอาจจะมีสาเหตุจากความไม่ลงรอยกันในประวัติศาสตร์ ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับชาตินิยมและพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล จึงต้องขีดเส้นพรมแดนประเทศเสียใหม่ โดยใช้เส้น Lat-Long ที่ลากจากจุดดินแดน "เขาพระวิหาร" คำตัดสินของศาลโลก เป็นคำสั่ง แต่ไม่มีบทลงโทษ ต่อผู้ไม่ปฏิบัติตามยกตัวอย่างเช่นกรณี UN และศาลโลกให้อิสลาเอลคืนดินแดนแก่ปาเลสไตน์ อิสลาเอลนอกจากจะไม่ปฏิบัติตามแล้วยังไปตั้งบ้านเรือนเอาทหารไปฆ่าเจ้าของดินแดนก็ไม่เห็นว่า UN จะลงโทษอะไรนอกจากปล่อยให้ชาวปาเลสไตน์ตายไปทุกวันปรากฏชัดตามข่าวดังนั้น ... การที่ใครก็แล้วแต่อ้างว่าต้องฟังคำสั่งศาลโลกเพราะเราไม่ได้อยู่ในโลกคนเดียวแม้กระทั่งการตัดสินของศาลโลกที่ให้เขมรเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหารนั้นก็ไม่ชอบด้วยหลักฐานทั้งปวง มันมีที่ไหนในโลกเมื่อตัดสินว่าเขมรเป็นเจ้าของเขาพระวิหารแต่เจ้าของบ้านต้องปีนเข้าทางหน้าต่าง แล้วมาบอกว่าไทยไม่ใช่เจ้าของเดินขึ้นบ้านทางบันไดเปิดประตูเข้าบ้านมาเป็นพันปี ทรัพย์อันได้โดยมิชอบ ก็เป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นตามหลักสากลทั้งโลกเขาก็ใช้กฏหมายนี้ ผู้ที่คิดว่าเขาพระวิหารเป็นของเขมรคิดผิดคิดใหม่ได้ กรณีที่มีความพยายามให้ไทยต้องยอมรับว่าเขาพระวิหารและพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของเขมรนั้น ก็เพราะว่าเมื่อลากเส้น Lat - Long ลงไปแล้ว ก็จะครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนทางทะลที่เป็นปัญหาว่าเป็นของไทยหรือของเขมรนั้นกลายเป็นของเขมรโดยสมบูรณ์ซึ่งจะไม่เป็นปัญหาในอนาคต "ยิงปืนนัดเดียว ได้นกทั้งฝูง" หัวใจส่วนหนึ่งอยู่ที่เกาะกูดซึ่งเป็นอธิปไตยของไทยแต่ปัจจุบันเกิดเหตุการณ์แบบที่เขาพระวิหารเพราะมีเขมรอพยพเข้าไปอยู่ส่วนปลายเกาะเต็มไปหมดและเริ่มมีการอ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรเพื่อเอื้อประโยชน์ในการณ์ลากเส้นแผนที่ทะเล ซึ่งเป็นชั้นเชิงในการอ้างแผนที่ฝรั่งเศสเขียนฉบับเดียวกับเขาพระวิหาร แต่ทั้งหมดยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการสำรวจและผลิตได้ เนื่องจากมีพื้นที่เส้นแบ่งเขตที่ต่างล้ำเข้ามาในพื้นที่ของกันและกันหรือที่เรียกว่า Over Lapping Area ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้จนถึงวันนี้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งกัมพูชาเองก็ได้ให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะและผลิตเช่นเดียวกับประเทศไทยโดยมีข้อสงสัยกันว่าบริษัทเชฟรอนฯจะเป็นผู้ได้รับสัมปทาน รายใหญ่ที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าเชฟรอนฯเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนทั้งจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา
จากการบรรยายของ TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 18 มกราคม 2006 ระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียมของอาเซียนครั้งที่ 4 ระบุว่าอ่าวไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน มีการผลิตจำนวนมากนอกชายฝั่ง โดยปัจจุบันมีเชฟรอนได้รับสัมปทานจากกัมพูชาอนุญาตขุดเจาะและยังมีบริษัทจากไทยคือบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ในเครือ ปตท.ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd. ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ.ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชาและกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตทางทะเลหรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีกพื้นที่หนึ่งที่สำคัญกว่านั้น ทางการกัมพูชายังมีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อสำรวจและวิจัยแหล่งพลังงานทั้งทางใต้ดิน และดาวเทียม บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และเบื้องต้นว่าในบริเวณทะเลสาบหรือโตนเลสาบใจกลางประเทศ ยังมีแนวโน้มของแหล่งน้ำมันดิบที่เรียกว่า Permian Carbonates ซึ่งพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากแถบชายฝั่งที่มีแหล่งก๊าซอีกหลายแห่งโดยเฉพาะแถบจังหวัดเกาะกงของกัมพูชาและจังหวัดทะเลชายฝั่งทางตอนใต้ซึ่งพบแหล่งน้ำมันนั่นหมายความว่า เกาะกง กัมพูชาเป็นแหล่งน้ำมันแหล่งใหญ่ของโลกที่ยังคงเหลืออยู่และยังไม่ได้ถูกขุดเจาะ ย่อมเป็นที่หมายปองของนานาประเทศทั่วโลก
กัมพูชากลายเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุดที่มีการประเมินว่ากัมพูชาจะเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน-ก๊าซรายใหญ่รายใหม่ของโลก หลังจากที่เชฟรอน (Chevron Corporation) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาประกาศเมื่อปี 2548 ว่าได้ค้นพบบ่อน้ำมัน-ก๊าซขนาดใหญ่ ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตรทางใต้ของประเทศกัมพูชา โดยรายงานว่าบ่อขุดเพื่อการสำรวจ 5 จุด พบน้ำมันถึง 4 จุด ในพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตรของเชฟรอน จากเดิมที่เคยคาดว่าจะมีน้ำมันราว 400 ล้านบาเรล แต่อาจจะมีมีน้ำมันสำรองมาก 2 เท่าถึง 700 ล้านบาเรล รวมถึงก๊าซธรรมชาติอีกระหว่าง 3 ล้านล้าน ถึง 5 ล้านล้าน ลูกบาศก์เมตร มีการเข้ามาสัมปทานโดยตรงคือมีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ในโลก มาเข้าคิวกันขอใบอนุญาตเพื่อขุดน้ำมันขึ้นมาใช้ยาวเหยียด ปัจจุบันแปลงสัมปทานของรัฐบาลมี 5 แปลง ขณะนี้กำลังแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ระหว่างบริษัท Total SA ของฝรั่งเศส กับชีนุ๊ก (China National Offshore Oil Corp - CNOOC) ของจีน เพื่อขอสัมปทานในแปลง B เนื้อที่ 6,557 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ บริษัทจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส คูเวต ไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียและสิงคโปร์ กำลังเข้ามาขอประมูลกันอย่างเข้มข้น แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดว่า รัฐบาลกัมพูชาจะเอาแปลงขุดในทะเล ทั้ง 6 แปลง ออกมาเปิดให้ประมูลจริงมากน้อยแค่ไหน
ประเด็นสำคัญตอนนี้มี 3 ประเด็นที่น่าสังเกตุเกี่ยวกับอนาคตพลังงานของกัมพูชาคือ
1.) กัมพูชายังอุบไต๋ปริมาณน้ำมันในบล็อก A ซึ่งไม่แน่
2.) สัญญาการผลิตน้ำมัน-ก๊าซที่ทำกับรัฐบาลที่มีพรรค CPP นำใด ๆ ในกัมพูชาจะต้องทำผ่านบริษัทโซกีเม็กซ์ (Sokimex) ของคนเชื้อสายเวียดนาม ที่ใกล้ชิดกับฮุนเซน ปัญหาในอนาคตคือการครอบงำและการคอรัปชั่น
3.) กัมพูชายังตกลงในการแบ่งสรรผลประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจทางทะเลที่ทับซ้อนกับไทยไม่ได้นี่คือชนวนสำคัญที่อนาคตหากเคลียร์ประเด็นเรื่องทับซ้อนไม่ได้ก็อาจจะเกิดสงครามแย่งน้ำมันก็ได้ ประกอบกับฐานะภาพทางการเมืองของไทยยังไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์กับกัมพูชาได้เมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจที่แห่ให้การสนับสนุนประเทศกัมพูชาอย่างไม่ลืมหูลืมตา คนวงในอุตสาหกรรมการสำรวจขุดเจาะในกัมพูชากล่าวว่าความจริงแล้วแหล่งที่คาดว่าจะมีก๊าซและน้ำมันดิบมากที่สุดก็คือเขตเหลื่อมล้ำทางทะเลในอ่าวไทยที่กัมพูชายังมีข้อพิพาทกับไทย กระทั่งล่าสุด Dr Abdullah Al Madani นักวิจัยและอาจารย์สอนวิชาเอเชียศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งคูเวตได้กล่าวถึงประเด็นนี้ในบทความชิ้นหนึ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์กัลฟ์นิวส์ ได้ออกเตือนว่ากรณีพิพาทดินแดนระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดนี้อาจจะปะทุรุนแรงขึ้นได้เมื่อมีอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชาพัฒนาไปอย่างจริงจังและ กัมพูชา ควรจะพยายามให้มากขึ้นในการเจรจาแบ่งปันเขตแดนทางทะเลกับไทยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นักวิชาการในตะวันออกกลางได้แสดงความวิตกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ไทย - กัมพูชา อาจจะมีความขัดแย้งจนถึงขั้นเปิดสงครามย่อยๆ ขึ้นได้ ในยุคที่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชา และเส้นแบ่งพรมแดนในเขตอ่าวไทยยังไม่ชัดเจนพร้อมทั้งแนะนำให้ทั้งสองประเทศรีบเจรจาหาทางปักปันเขตแดนทางทะเลให้แล้วเสร็จโดยเร็วทั้งนี้ ในภาพรวมประเด็นเรื่องความซับซ้อนของเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยบริเวณนี้มี 4 ประเทศที่เกี่ยวข้องกัน คือ ไทย เขมร มาเลเซีย และเวียดนาม ทับกันไปทับกันมา แต่สำหรับ พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ Joint Development Area : JDA อันเป็นปมปัญหาให้ต้องเจรจากันดังกล่าวนี้มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร อันเป็นแหล่งที่คาดว่าจะมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแหล่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ในอนาคตสำหรับความเป็นมาก่อนหน้านี้
ทักษิณได้เตรียมการในเรื่องนี้มานานแล้วด้วยการร่วมมือกับโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดเจ้าของห้างแฮร์รอดส์อันโด่งดังในอังกฤษ อัล ฟาเยดไม่ได้เป็นแค่เจ้าของห้างหรูแต่ยังมีธุรกิจพลังงานที่เข้ามาทำร่วมกับ ปตท.สผ. และนี่คือสาเหตุว่าทำไมทักษิณจึงต้องพาอัล ฟาเยดเดินทางไปดูงานถึงเขมร ไม่ใช่การร่วมลงทุนในธุรกิจกาสิโนอย่างที่เป็นข่าวเพราะระบบสาธารณูปโภคในเกาะกงก็ยังไม่พร้อม เกาะกงจึงเป็นเพียงแค่ข่าวบังหน้าเพราะเบื้องหลังก็คือความร่วมมือในการรุกเข้าทำธุรกิจพลังงานในกัมพูชาและทักษิณจึงต้องเป็นเจ้าของปตท.ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องทั้งขุดเจาะและจัดจำหน่าย ดังนั้นปตท.จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจพลังงานในเขมรเป็นจริงโดยมีเครือข่ายธุรกิจพลังงานของ อัล ฟาเยด ร่วมเป็นกองหนุนถ้าเลือกได้เป้าหมายทำสัญญาให้เช่าเกาะกงของทักษิณกับเขมรที่มีรัฐบาลฮุนเซนเป็นคู่สัญญา หาใช่ทำในนามรัฐต่อรัฐแต่เป็นการทำในนามนิติบุคคลโดยที่เกาะกงจะได้รับเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีทำให้รายได้ไม่ต้องเข้ารัฐบาลกัมพูชาและเป็นเขตปกครองพิเศษนอกเหนืออธิปไตย ความหอมหวนของแหล่งพลังงานในกัมพูชาจึงเป็นขุมทองขนาดใหญ่ที่ทักษิณยอมเดิมพันได้ทุกอย่างไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเขาพระวิหารมรดกโลกอันมีค่า ทั้งๆ ที่ทักษิณเองก็รู้ดีว่าจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดน และอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ
ในอดีตรัฐบาลทักษิณได้บรรลุข้อตกลงในการเจรจาปัญหาเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการแอบอ้างว่าไทยนั้นยอมรับแผนที่ที่เขมรใช้โดยฝรั่งเศสได้จัดทำไว้โดยขีดสันพาดผ่านกลางเกาะกูดซึ่งผิดวิสัยในเรื่องของการปักปันเขตแดนเพราะแต่ละเกาะจะต้องมีพื้นที่โดยรอบเสมอ ด้วยการมีบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภายังผลให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชาประชุมกันครั้งแรกเมื่อ เดือนธันวาคม 2544 และมีการกันพื้นที่ในการเจรจาออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. พื้นที่ทับซ้อนเหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป ให้แบ่งเขตทางทะเลอย่างชัดเจนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้
2. พื้นที่ทับซ้อนใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือลงมา ให้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกันกระทั่งการเดินทางไปราชอาณาจักรกัมพูชาของอดีตนายกฯ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ได้มีกระบวนการเร่งรัดให้การเจรจาปักปันเขตแดนทางทะเลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพียงเพื่อหวังให้มีการเจรจาเปิดสัมปทานขุดเจาะก๊าซและน้ำมันในพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA เป็นหลัก ปรากฎว่าการเจราจาเรื่องประโยชน์ในการสำรวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (JDA)ระหว่าง 2 ประเทศ ไม่สามารถตกลงกันได้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นแถลงว่า "ตามข้อเสนอเดิมจะแบ่งพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาเป็น 3 เขต โดยพื้นที่ในส่วนที่อยู่ตรงกลางจะแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากขุดเจาะปิโตรเลียม 50:50 ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร ส่วนพื้นที่อีกสองเขตทางด้านซ้ายและด้านขวาจะให้มีสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์ที่ต่างออกไป คือ ทางกัมพูชาเสนอให้แบ่งผลประโยชน์ 90:10 ขณะที่ไทยเสนอว่าควรแบ่งผลประโยชน์ 60:40 โดยแถลงต่อว่าอดีตนายกฯ ระบุในที่ประชุมว่าจะพยายามเจรจากับนายกฯ ฮุนเซนเพื่อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวให้เร็วที่สุดเพื่อให้เพียงพอกับการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศ ขณะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากทั้งสองบรรลุข้อตกลงแล้ว ทางฝ่ายไทยจะให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เข้าไปสำรวจและขุดเจาะหาก๊าซธรรมชาติทันที อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยเตรียมเสนอปล่อยเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผูกพันวงเงิน 1.3 พันล้านบาท ให้กับกัมพูชาสำหรับสร้างถนนในกัมพูชาสายสะงำ-อลองเวง-เสียมราฐ ซึ่งรักษาการนายกฯ ระบุว่าการปล่อยกู้ดังกล่าวจะช่วยสร้างประโยชน์ให้ไทยในด้านการท่องเที่ยว เพราะเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางไปสู่ "นครวัด"แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชา และยังสนับสนุนสนามบินสุวรรณภูมิทางอ้อมด้วย "การที่ไทยจะให้ความช่วยเหลือโดยเสนอปล่อยเงินกู้ สร้างถนนหมายเลข 67 วงเงิน 1.3 พันล้านบาท การขายกระแสไฟฟ้าให้กับกัมพูชารวมทั้งการปักเสาไฟฟ้าไปยังเขตกัมพูชาน่าจะเป็นข้อแลกเปลี่ยนที่จะช่วยโน้มน้าวกัมพูชาที่จะทำให้การเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของสองประเทศสำเร็จได้" นั่นคือข้อสรุปการเจรจาล่าสุดในรัฐบาลที่แล้ว แต่ปัญหานี้กำลังรอประทุขึ้นมาหากมีการประกาศเรื่องผลประโยชน์ที่จะมีขึ้นของประเทศกัมพูชาในอนาคตอันใกล้โดยเฉพาะยังมีขุมทรัพย์ในแปลง B ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งกัมพูชา 250 กม.ไปทางตะวันออก ติดกับเขตน่านน้ำไทยในอ่าวไทยโดยแปลงสำรวจขุดเจาะที่ว่านี้ ทอดไปทางตะวันออกเฉียงใต้ทางแนวน่านน้ำของกัมพูชาซึ่งเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสูง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,551 ตารางกิโลเมตรคาดว่ามีน้ำมันและก๊าซอยู่หลายร้อยล้านบาร์เรลขณะเดียวกันก็เป็นห่วงกัมพูชาที่มีคนปรามาสไว้เช่นกันว่า ประเทศนี้จะมีทางรอดพ้นจาก "คำสาปน้ำมัน" (Oil Curse) ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยบางประเทศ เช่น ไนจีเรีย ที่เข้าสู่ความยุ่งยากหลังการพบน้ำมันดิบมหาศาล แต่มีเงินเข้าคลังเพียงน้อยนิด มิหนำซ้ำยังเป็นหนี้หลายแสนล้านดอลลาร์ และจะมีการเปลี่ยนประเทศกัมพูชาที่ยากจนมานานหลายทศวรรษกลายเป็นประเทศที่เรียกว่า "เคลปโตเครซี่" (Cleptocracy) หรือประเทศที่ "ปกครองโดยพวกหัวขโมย" ตามความหมายที่ไม่เป็นทางการนั้น คำๆ นี้หมายถึงระบอบที่มีรัฐบาลทุจริตคอร์รับชั่นในการบริหารจัดการเงินงบประมาณแทนที่จะมุ่งนำไปพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้พ้นจากความยากจนแต่เงินงบประมาณถูกถ่ายเทเข้ากระเป๋าหรือบัญชีเงินฝาก เพื่อความร่ำรวยส่วนตัวของผู้นำนักการเมืองและกลุ่มที่มีพลังทางการเมืองทั้งหลาย
ไทยกับกัมพูชาก็ได้ตกลงในหลักการร่วมกันนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2006 เป็นต้นมาแล้วว่าให้มีการจัดแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างเกือบถึง 27,000 ตารางกิโลเมตรในอ่าวไทยนี้ออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน โดยส่วนที่อยู่กึ่งกลางของเขตทับซ้อนนั้นก็ให้แบ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการขุดค้นน้ำมันและแก๊สธรรมชาตินั้นเป็นสัดส่วน 50 ต่อ 50 ส่วนเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของไทยนั้นก็ให้แบ่งเป็นผลประโยชน์ให้กับฝ่ายไทยมากกว่าฝ่ายกัมพูชา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของกัมพูชานั้นก็ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้กับฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย แต่สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วม กันไม่ได้ในการเจรจาครั้งนั้น ก็คือฝ่ายไทยเสนอให้แบ่งผลประโยชน์เป็น 60 ต่อ 40 ฝ่ายกัมพูชานั้นกลับไม่เห็นด้วย เพราะต้องการให้มีการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกันในสัดส่วน 90 ต่อ 10 โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากทางฝ่ายกัมพูชานั้นมี ความเชื่อมั่นว่าในเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของกัมพูชานั้นมีปริมาณสำรองของน้ำมันและแก๊สธรรมชาติมากกว่าในเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของไทยนั่นเองซึ่งถ้าหากทางการไทยยอมตกลงตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นนี้ก็จะทำให้รัฐบาลกัมพูชามีรายได้จากการขายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนี้คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีและยังจะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังจะถือว่าเป็นรายได้หลักที่มากกว่าผลผลิตมวลรวมภายใน (GDP) ของกัมพูชาในปัจจุบันนี้ด้วย นับตั้งแต่บริษัทเชฟรอน (Chevron Corp) ได้ประกาศการค้นพบน้ำมันดิบหลายฝ่ายได้แสดงความห่วงใยต่อกัมพูชา ประเทศที่มีประชากรเพียง 14 ล้านคนกว่าครึ่งหนึ่งยังมีฐานะยากจนรายได้เฉลี่ยเพียงวันละ 50 เซ็นต์ ด้วยเกรงว่ารัฐบาลของฮุนเซน ที่อยู่ในอำนาจมานานกว่า 20 ปี และ มีข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง จะไม่สามารถรับสถานการณ์ใหม่ได้ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทน้ำมันจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมทั้งจากประเทศไทยก็กำลังเข้าสำรวจขุดเจาะในแปลงใกล้เคียงกัน บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่จากจีนคือ CNOOC กำลังเจรจากับรัฐบาลฮุนเซนเพื่อเข้าสำรวจขุดเจาะในแปลงอื่นๆ และ ก็ยังมีบางอาณาบริเวณที่ยังไม่มีการสำรวจ เนื่องจากเป็นเขตทับซ้อนน่านน้ำกับไทยเชื่อกันว่าจะมีการพบน้ำมันดิบอีกจำนวนมากในเขตน่านน้ำกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาณาบริเวณแนวเขตแดนทางทะเลติดกับประเทศไทยที่เชื่อว่าจะมีมากที่สุด และ ยังไม่มีการเข้าไปเจาะทดสอบ
สำหรับแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยที่เป็นผลประโยชน์ทับช้อนไทย-มาเลเซีย บริเวณใกล้ชายฝั่งหน่อยของจังหวัดปัตตานีมีบ่อน้ำมันมากเลย ไกลออกไปอีกหน่อยเป็นบ่อแก๊สจะเห็นแนวท่อแก๊สทับช้อนขึ้นที่ปัตตานีเมื่อก่อนเขาแบ่งเค็กแล้วแต่ทำไม่สำเร็จซึ่งสามารถสูบน้ำมันแก๊สมาใช้ได้อีกนับร้อยๆ ปี ก็ลองนึกถึงปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็แล้วกัน ทำไมถึงไม่สงบ ขณะเดียวกันไทยเราก็พบแหล่งน้ำมันที่เพชรบูรณ์นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเปิดเผยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้รับแจ้งจากบริษัท แพน โอเรียนท์ นักลงทุนจากแคนาดา ผู้ได้สัมปทานปิโตรเลียมแหล่งวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ ว่า ผลจากการสำรวจในพื้นที่แหล่งนาสนุ่น พบปริมาณน้ำมันเพิ่มเติมประมาณ 5,000 บาร์เรล/วันเป็นปริมาณที่เพิ่มเติมจากการที่ปัจจุบันมีการผลิตจากแหล่งวิเชียรบุรีแล้ว 600-700 บาร์เรล/วัน ซึ่งนับเป็นข่าวดีว่าไทยจะสามารถผลิตน้ำมันในประเทศได้เพิ่มเติมจะช่วยลดภาระการนำเข้าในช่วงน้ำมันแพง โดยปัจจุบันแหล่งน้ำมันบนบกของไทยแหล่งใหญ่ที่สุดคือ แหล่งสิริกิติ์ ในขณะที่แหล่งก๊าซฯ อยู่ที่น้ำพอง ขอนแก่น และ ภูฮ่อม จังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ได้เร่งรัดการสำรวจและผลิตในแหล่งอื่นๆ โดยในการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 20 ที่เปิดทั้งหมด 65 แปลง คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในการสำรวจเพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาทใน 3-4 ปีนี้ ปตท.และกลุ่มทุนอดีตนายกฯทักษิณกลายเป็นเรื่องเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อเพราะ พลังงานเป็นสิ่งมีค่า เป็นขุมทองที่ทักษิณยอมแลกได้ทุกอย่างแม้ว่าจะทำให้ไทยต้องสูญเสียเขาพระวิหารให้กับเขมรและอาจต้องสูญเสียดินแดนและอธิปไตย ก็เพื่อแลกกับแหล่งพลังงานในอ่าวเขมรแหล่งพลังงานที่เหลืออยู่แห่งเดียวในโลกปริศนานี้กำลังถูกเฉลยออกมาว่า ทำไมทักษิณถึงต้องมีเอี่ยวในปตท.
04 สิงหาคม 2552
แผนลงทุนปิโตรเคมี
แผนลงทุนปิโตรเคมี
การเร่งทำคลอดแผนลงทุนปิโตรเคมีเฟส 3 ในแบบพิกลพิการปั่นกระแสสร้างรายได้มหาศาลให้กลุ่มปตท.รับหลายต่อเป็นการเพิ่มมูลค่าก๊าซฯที่ปตท.ผูกขาดธุรกิจกินยาวตั้งกระทรวงพลังงานรวบแผนลงทุนปิโตรเคมีผนวกแผนพัฒนาพลังงานบวกเร่งแปรรูปปตท.อย่างยอกย้อนซ่อนกลทำให้รัฐวิสาหกิจผูกขาดด้านพลังงานของชาติกลายสภาพเป็นแหล่งขุมทรัพย์สูบกินไม่มีวันหมด การปั้นแผนลงทุนปิโตรเคมีระยะที่ 3 เพื่อกระตุ้นการลงทุนสร้างเม็ดเงินมหาศาลให้ประเทศชาติแต่แฝงเร้นไปด้วยผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่ม การบิดข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการลงทุนเท่านั้นเพราะข้อมูลที่ปรากฎในรายงานผลการศึกษาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 กลับสวนทางกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่อย่างสิ้นเชิง พื้นที่บริเวณมาบตาพุดและใกล้เคียงยังมีศักยภาพเพียงพอในการรองรับการปล่อยของเสียได้ตามผลศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมประกอบการจัดทำแผนแม่บทปิโตรเคมี ระยะที่ 3 เป็นผลศึกษาที่เกิดขึ้นจากฝีมือของกระทรวงพลังงานเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้ลงทุนหลักในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปตท.อยากจะฟังและอยากให้เป็น
แม้ว่าช่วงที่โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ทำงานอยู่สภาพัฒน์มาค่อนชีวิตจะได้ชื่อว่าเป็นนักพัฒนาเพื่อคนจน อดีตแทคโนแครตจากสภาพัฒน์คนนี้เมื่อได้มานั่งในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในคณะรัฐบาลทหารกลับผลักดันการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีให้เดินหน้าไม่หยุดยั้งและยังอาศัยตำแหน่งประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซื้อเวลาเพื่อเดินหน้าขยายการลงทุนในมรดกบาปจากสมัยรัฐบาลทักษิณที่ได้รับการสานต่อจากรัฐบาลสมัยพลเอกสุรยุทธ์ กระทรวงพลังงานและกลุ่มผู้ลงทุนหลักก็ใช้วิธีลักไก่ขยายการลงทุนด้วยการสมยอมทั้งฝ่ายรัฐในขณะนั้นและเอกชนโดยไม่รอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบด้วยและยังมีการแปลงแผนแม่บทเพื่อนำไปสู่แผนปฏิบัติ หลังจากกระทรวงพลังงานตรวจรับแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 เมื่อเดือนมกราคม 2548 จนกระทั่งถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีการนำแผนดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบแต่อย่างใด ทางสำนักงานนโยบายแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเองก็อ้างเสมอว่าไม่สามารถระงับการพิจารณาอีไอเอได้เพราะตามกฎหมายเมื่อเอกชนเสนอเข้ามาก็ต้องตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญขึ้นมาพิจารณา และเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนั้นแผนการลงทุนปิโตรเคมีระยะที่ 3 นี้ที่กำลังเดินหน้าต่อไปโดยไม่มีปัญหาทั้งการอนุมัติอีไอเอ อนุมัติส่งเสริมการลงทุน แถมยังมีการจัดตั้งมวลชนเพื่อสร้างความชอบธรรม
นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบและความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติ ชายฝั่งทะเล เกิดมลพิษที่ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนโดยไม่ได้ตระหนักว่าประชาชนเป็นเจ้าของพื้นที่ เจ้าของทรัพยากรธรรมชาติและเป็นเจ้าของประเทศ การดำเนินนโยบายดังกล่าวขัดต่อมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ 2550 และขัดต่อหลักการข้อ 10 ของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ระบุว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกระดับซึ่งเป็นรากฐานของธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ห้วงเวลานั้นมีการสำรวจพบว่าการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ. 2550-2554 นั้นมีประชาชนทราบข่าวสารและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนน้อยมาก ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นก็ไม่น่าเชื่อถือ
ปัญหามลพิษท่วมมาบตาพุดฟ้องต่อสาธารณะอย่างชัดเจน หน่วยงานที่ควบคุมดูแลด้านมลพิษโดยตรงรายงานผลการศึกษาและผลการศึกษาของนักวิชาการ องค์กรอิสระอื่นๆ ต่างชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและใกล้เคียงมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของประชาชน ส่งผลให้เกิดการสร้างเครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีความเข้มแข็งขึ้น ประชาชนลุกฮือคัดค้านยืดเยื้อและคงสภาพอยู่ได้ยาวนาน พึ่งพิงกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินไปท่ามกลางเสียงร่ำร้องคร่ำครวญจากผู้สูญเสียญาติสนิทมิตรสหายที่เจ็บป่วยและตายไปด้วยโรคจากมลพิษ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากชุมชนในพื้นที่ดังกรณีของนิคมฯเอเชียแต่ก็ไม่เป็นผลเพราะท้องถิ่นไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ แต่เป็นคณะกรรมการผังเมืองซึ่งถูกตั้งคำถามเรื่องที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการ
สภาทนายความแห่งประเทศไทยได้รับมอบอำนาจจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกให้ยื่นฟ้องเลขาธิการสผ., คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, รัฐมนนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกระทำการไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 กำหนดไว้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน เสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ พวกเขาสามารถอนุมัติอีไอเอสัปดาห์ละโครงการโดยสะดวกไม่ติดขัดปัญหาอะไรทั้งๆที่มีรายละเอียดโครงการละกว่า 1,000 หน้ากระดาษ โครงการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ด้วยปรากฏว่ามีข้อมูลการศึกษาวิจัยจากหลายหน่วยงาน หลายองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระ ยืนยันสอดคล้องกันว่า โครงการที่เป็นปัจจัยหลักในการแพร่กระจายมลพิษส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการในพื้นที่ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, นิคมฯ บ้านฉาง, นิคมฯเอเชีย, นิคมฯเหมราชตะวันออก, นิคมฯผาแดง และนิคมฯอาร์ไอแอล สภาทนายความฯได้ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนอีไอเอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3, 4, 5 เพิกถอนใบอนุญาตรวมทั้งระงับการดำเนินกิจกรรมใดๆ เฉพาะเครือปตท.เจ้าเดียวนำโด่งถึง 8 โครงการ
การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกเพื่อให้หยุดการขยายการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และขอให้ระงับการพิจารณาอีไอเอไว้ก่อนเพื่อแก้ไขปัญหามีมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เพราะปัญหามลพิษที่รุนแรงขึ้นในทุกด้าน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง แต่ข้อเรียกร้องของภาคประชาชนกลับไม่ได้รับการตอบสนอง แต่ในที่สุดก็ต้องมาหยุดชะงักเมื่อกระบวนการพิจารณาคดีในศาลปกครองระยอง เปิดเผยให้เห็นความจริงว่าหน่วยงานรัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และมีผลประโยชน์ทับซ้อน เมื่อมือข้างหนึ่งเป็นผู้จัดทำแผนแต่มืออีกข้างหนึ่งก็รับแผนมาผลิตให้ได้ตามแผนโดยที่สองมือนี้เป็นของคนคนเดียวกันปัญหาก็เกิดขึ้นกับแผนพลังงานของประเทศโดยไม่ต้องสงสัย
ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นสะท้อนพฤติกรรมหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ว่าชอบทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดีกำหนด ตัดสินใจ และผลักดันทุกอย่างให้เดินหน้าไป จากนั้นก็ทำทีเรียกประชาชนมารับฟังสิ่งที่ตนกำหนดไปแล้วเพื่อที่จะสรุปว่าทุกฝ่ายเห็นดีเห็นงามด้วยแค่เป็นพิธี เป็นพื้นฐานของผู้คนในหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะคนจากหน่วยงานวางแผนการพัฒนาของประเทศอย่างเช่นสภาพัฒน์ บทเรียนความผิดพลาดที่ผ่านมาถึงเวลาต้องทบทวนแก้ไขไม่ใช่ปล่อยให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสวรรค์ของนักลงทุนแต่เป็นขุมนรกสำหรับประชาชน
จากประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษส่งผลกระทบทำให้ปตท.ต้องประสบปัญหา ต่อการลงทุนทันทีกว่า 2.8 แสนล้านบาทจากเม็ดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นกว่า 4 แสนล้านบาทเป็นผลพวงมาจากความย่ามใจในอำนาจและอิทธิพลของฝ่ายรัฐและเอกชนที่มักพากันอาศัยช่องโหว่และละเมิดกฎหมายกันเสียเองจนเคยชิน โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ต้องหารือกับประเสริฐ บุญสัมพันธ์กรรมการผู้จัดการใหญ่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เพื่อย้ายโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 จากที่มาบตาพุดแค่ต่อยอดก็มีอันต้องย้ายไปยังพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้แทน
นอกจากนี้จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่าในปี 2551 ปตท.ต้องจ่ายค่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย” ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณจนถึงปัจจุบัน) และจากโครงการท่อก๊าซไทย-พม่า (ที่คาราคาซังกันกันมาตั้งแต่ปี 2541) เงินจำนวนนี้ก็ค่อยๆ ลดลงเมื่อมีการใช้มากกว่าจำนวนที่ได้ระบุไว้ในสัญญาก็ยังเรียกคืนได้ไม่หมด อาการแบบนี้เกิดจากการทำสัญญาการซื้อขายก๊าซระหว่างผู้ผลิต (ผู้ขุดในทะเล) กับผู้ซื้อมาขายต่อบังคับไว้ล่วงหน้าว่าในแต่ละปีผู้ซื้อจะต้องซื้อก๊าซจำนวนเท่าใด ถ้าหากผู้ซื้อมีความจำเป็นที่ไม่สามารถรับซื้อได้ครบตามสัญญาผู้ซื้อก็ต้องจ่ายเงินให้ครบตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ เมื่อใดก็ตามที่ผู้ซื้อมีความจำเป็นมากขึ้น (เกินกว่าที่ระบุในสัญญา) ส่วนที่เกินก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพราะถือว่าได้จ่ายไปแล้ว เรียกเงินค่าใช้จ่ายนี้ให้ฟังดูดีว่า “เงินจ่ายล่วงหน้าซื้อก๊าซ” ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสเป็นสิ่งที่เราต้องเสียไปไม่ใช่น้อยเลยเมื่อเทียบกับกำไรหลังการแปรรูปปีละ 1 แสนล้านบาทของปตท.ทั้งหมด
โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียได้รับการคัดค้านทั้งจากชาวบ้านในพื้นที่ กรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา นักวิชาการกว่า 1,300 คนทั่วประเทศ ขณะเดียวกันผู้คัดค้านบางส่วนก็ได้รับการประณามจากสื่อมวลชนบางส่วนและสังคมว่า “ผู้คัดค้านเป็นพวกขัดขวางการพัฒนา พวกรับเงินต่างชาติ” สิ่งที่นักวิชาการฝ่ายคัดค้านได้เตือนไว้สำหรับโครงการท่อส่งก๊าซไทย-พม่าและไทย-มาเลเซียก็เป็นจริงตามที่กล่าวแล้ว ตลอดเวลาสังคมไทยถูกทำให้เชื่อโดยเจ้าของโครงการและหน่วยงานของรัฐว่าโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียเป็นการนำก๊าซในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างสองประเทศมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและพัฒนาภาคใต้โดยมีการลงทุนกันฝ่ายละครึ่งและใช้ประโยชน์กันฝ่ายละครึ่งแต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ความจริงเอาก๊าซในทะเลที่เป็นส่วนของไทยให้นำไปใช้ที่มาบตาพุด ส่วนก๊าซของมาเลเซียให้นำมาแยกที่ประเทศไทยแล้วนำไปใช้ที่มาเลเซียผ่านแผ่นดินประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีการมีการอ้างกันว่าก๊าซของไทยส่วนหนึ่งถูกนำมาใช้ที่โรงไฟฟ้าสงขลา แผนสร้างโรงไฟฟ้าที่ร่างมาทีหลังนั้นมีผลกระทบตามมาอีก ทั้งๆที่ในแผนเดิมในขณะที่มีการดำเนินการสร้างท่อก๊าซนั้นไม่ได้พูดถึงโรงงานแต่ประการใด ก๊าซที่นำมาใช้กับโรงไฟฟ้าเป็นก๊าซของไทยที่ไม่ได้ผ่านโรงแยกก๊าซแต่ต่อท่อตรงมาจากแหล่งในทะเลไม่ใช่ท่อที่ผ่านไปมาเลเซียอีกด้วย
ราคาพลังงานที่แพงขึ้น
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้ค้าน้ำมันว่าสนพ.ได้กำชับให้ผู้ค้าน้ำมันทุกรายปรับลดราคาให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเพราะขณะนี้ค่าการตลาดอยู่ในเกณฑ์สูงซึ่งจากการหารือผู้ค้าน้ำมันยืนยันว่าที่ผ่านมาได้ดูแลผู้บริโภคและสถานีบริการให้อยู่ได้ในระยะยาวควบคู่กันไปในสถานการณ์ราคาที่ผันผวน ในกรณีที่ราคาน้ำมันโลกลดลงผู้ค้าน้ำมันก็ไม่สามารถปรับลดทุกวันได้เพราะจะกระทบกับผู้ประกอบการได้เนื่องจากสถานีบริการขาดทุนและในสถานีบริการพื้นที่ห่างไกลจะไม่กล้าซื้อน้ำมันไปขายหากสะสมไว้เพื่อขายในปริมาณมาก แต่สามารถจะขึ้นทุกวันเว้นวันได้ตราบเท่าที่ตนต้องการ ทุกวันนี้สถานีบริการหลายแห่งได้ชะลอการขายลงหรือปิดตัวไปมากต่อมาก ปตท.เตรียมทบทวนนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกโดยเฉพาะน้ำมันแก๊สโซฮอล์เนื่องจากมีภาระต้นทุนสูงไม่คุ้มค่าการลงทุนขณะที่ปัจจุบันยังมีความต้องการใช้เบนซินอยู่มากเพราะมีราคาต่ำ และแนวโน้มราคายังคงลดลงต่อเนื่อง หากรัฐบาลต้องการส่งเสริมพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนก็ต้องประกาศยกเลิกขายเบนซิน 91 หรือเบนซิน 95 ออกมาให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันสามารถวางแผนการตลาดได้ง่ายขึ้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องพลังงานนี้ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ค้าน้ำมันในเรื่องทิศทางการค้าน้ำมันเพราะในขณะนี้มีน้ำมันหลากหลายชนิดในขณะที่มีข้อจำกัดเรื่องหัวจ่ายโดยจะขอให้มีการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ 91 อี 20 และอี 85 แต่เมื่อดูแนวโน้มแล้วคาดว่าในที่สุดเบนซิน 91 และ 95 คงจะหายไปจากตลาดตามกลไกด้านราคาและค่าการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ค้าน้ำมันข้ามชาติหลายรายได้ลดการจำหน่ายเบนซิน 91 และหันมาจำหน่ายเบนซิน 95 แทนเพราะได้ค่าการตลาดที่สูง แต่เชื่อได้ว่าในล่าสุดคงจะมีการประกาศยกเลิกการจำหน่ายทั้งเบนซิน 91 และเบนซิน 95 ทุกวันนี้ทั้งปตท.-บางจากฯ ผลัดกันนำร่องประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเป็นว่าเล่น แต่ราคาขายปลีกน้ำมันไม่ค่อยจะได้ถูกประกาศปรับลงสักเท่าไรนัก
ณ วันนี้เค้าลางที่คนไทยจะต้องลำบากต่อไปกับราคาพลังงานที่แพงขึ้นกำลังชัดขึ้นเพราะไม่ว่าจะเป็นก๊าซ แอลพีจี เอ็นจีวีและแม้แต่อี 85 ก็กำลังถูกครอบงำด้วยกลุ่มทุนที่มีรากฐานมาจากธุรกิจที่ต้องการกำไรเป็นที่ตั้งทั้งสิ้นและที่สำคัญคือการผูกขาดโดยปตท. กลุ่มทุนฮุบ E85-แอลพีจี-NGV ไม่ว่าจะเป็น E20 หรือ E85 คือหนทางทำให้คนไทยได้ใช้น้ำมันถูกลงเพราะมันเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซินซึ่งเอทานอลมาจากพืชและมันสำปะหลัง แต่กระนั้นโรงงานเอทานอลขนาดใหญ่ล้วนมาจากทุนระดับบิ๊กไม่ว่าจะเป็นของค่ายเบียร์ช้างที่เปิดเผยตัวชัดเจนและยังมีเครือข่ายที่ไม่เปิดเผยตัวชัดเจนทั้งกลุ่มเบียร์สิงห์ กลุ่มคอมลิงค์ ตัวแทนและกลุ่มของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุลอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยจนมาถึงกลุ่มเทมาเส็กที่ยอมจ่ายเงินให้ทักษิณ 73,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นชินคอร์ป
เช่นเดียวกับธุรกิจก๊าซที่ต้องยกให้ว่าเป็นลับ-ลวง-พรางฉบับปตท.และเครือข่ายทักษิณที่แนบเนียน เพราะผู้เล่นในตลาดก๊าซแอลพีจีที่รับช่วงจากปตท.ไม่ว่าจะเป็นสยามแก๊สหรือเวิลด์แก๊สล้วนก๊วนเดียวกัน สยามแก๊สหรือสยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์ที่กำลังเข้าตลาดหุ้นในเร็ววันก็พบชื่อพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตรอดีตผู้บัญชาการทหารบกลูกพี่ลูกน้องของอดีตนายกฯทักษิณเป็นประธานกรรมการ ส่วนเวิลด์แก๊สนั้นถือหุ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดยปิคนิคคอร์ปอเรชั่นที่รุ่งเรืองจากธุรกิจก๊าซและถังก๊าซจนเข้าตลาดหุ้นได้ในช่วงรัฐบาลทักษิณมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือคนในตระกูลลาภวิสุทธิสินอดีตนายทุนของพรรคไทยรักไทย
นี่คือเครือข่ายที่น่าสะพรึงกลัวเพราะก่อนแปรรูปปตท.รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มขายถังละ 160 บาทหลังเข้าตลาดฯ ราคาเพิ่มมาเป็นถังละ 290-300 บาทจึงไม่แปลกหากปตท.จะเดินหน้าแยกแอลพีจีเป็น 2 ราคาเพราะบรรดาโบรกเกอร์ทั้งหลายต่างวิเคราะห์หุ้นปตท.ว่า ราคาต่ำของแอลพีจีเป็นปัจจัยกดดันปตท.ในเชิงสร้างกำไร เนื่องจากปัจจุบันรัฐมีการควบคุมราคาขายแอลพีจีในประเทศ 315 เหรียญต่อตันขณะที่ราคาส่งออกในตลาดโลกสูงถึง 800 - 900 เหรียญต่อตันซึ่งเมื่อปีที่แล้ว 2550ปตท.มียอดส่งออกแอลพีจี8.9 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2549 ถึง -51.8 เปอร์เซ็นต์เพราะมีการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น
นี่จึงเป็นนัยสำคัญว่าทำไมจึงต้องดันราคาแอลพีจีในประเทศให้สูงโดยตั้งราคา 2 มาตรฐานเพื่อตรึงราคาภาคครัวเรือนเพื่อรักษาความนิยมของรัฐบาลต่อไปขณะที่ลอยตัวราคาภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะช่วยลด Demand ของแอลพีจีในตลาดรถเพื่อให้ปริมาณแอลพีจีเหลือมากพอให้ปตท.ส่งออกทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นกว่าเงินที่ได้รับจากการชดเชยกองทุนน้ำมันและยังเป็นเครื่องมือช่วยปตท.ครองตลาดก๊าซเพื่อยานยนต์ด้วย NGV แต่เพียงผู้เดียวไม่ต่างจากการ“ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว” ตราบเท่าที่ปตท.ยังสามารถซื้อสื่อและสร้างภาพด้วยงบโฆษณาพีอาร์และซีเอสอาร์ปีหนึ่งหลักพันล้านบาทผนวกเข้ากับเชื้อทักษิณและการผูกขาดของปตท.และกลุ่มทุนที่เหนียวแน่น คนไทยคงต้องลำบากกับน้ำมันและก๊าซที่ถูกปั่นราคาไปอีกนาน
ไทยสามารถผลิตก๊าซแอลพีจีได้ถึงปีละ 4.05 ล้านตันซึ่งแบ่งได้เป็นการใช้ของภาคครัวเรือนและยานยนต์ประมาณปีละ 2.66 ล้านตันและลดการใช้ลงทุกปีแปลว่ามีแอลพีจีเหลือเฟือสำหรับการใช้ในครัวเรือนของไทย ในขณะที่ในครัวเรือนลดการใช้ก๊าซแอลพีจีลงทุกปีแต่ในอุตสาหกรรมปิโตรฯกลับมียอดการใช้พุ่งสูงขึ้นมหาศาลมีอัตราส่วนในการใช้แอลพีจีในประเทศสูงถึง 40.3 % สูงเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่มีแปลว่าที่แอลพีจีขาดแคลนในปีที่แล้วส่วนหนึ่งก็มาจากกลุ่มอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทลูกของเครือปตท.เอง เมื่อปตท.รู้ว่าก๊าซธรรมชาติมีเพียงพอแต่ไม่ยอมสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มนั่นเป็นสาเหตุให้ก๊าซขาดแคลน ปตท.กลับจะโยนภาระให้ประชาชนต้องรับในส่วนต่างด้านราคาพร้อมอ้างว่านำเข้า 10% ปีก่อนๆด้วยยอดที่สูงถึง 8,020 ล้าน เหตุผลทุกครั้งที่ปตท.อ้างในการขอขึ้นคือไทยต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศและราคาในตลาดโลกก็สูงขึ้นแต่คนไทยยังใช้ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ปตท.แอบอ้างเสมอๆว่าเป็นผู้แบกรับสำรองเงินจ่ายไปก่อน เวลานี้ปตท.พยายามกระทุ้งรัฐขอขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีแต่รัฐเกรงกระทบกับประชาชนดังนั้นรัฐจึงต้องใช้กองทุนฯ เข้ามาอุ้มราคาก๊าซแทนหรือออกนโยบายให้ชะลอการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มเพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพประชาชน รัฐบาลเองก็ยอมรับโครงสร้างราคาถูกบิดเบือนโดยปตท.มาตลอดหลังถูกรัฐบาลทักษิณจับแปรรูปเข้าตลาดหุ้นเพราะถูกมองว่าเป็นธุรกิจผูกขาดสามารถสร้างผลกำไรที่งดงาม แต่ถ้ารัฐบาลใช้วิธีให้กองทุนน้ำมันฯเข้าไปอุดหนุนต่อก็สามารถทำได้เหมือนในอดีตจนเป็นหนี้ 8-9 หมื่นล้านบาทสุดท้ายก็ไม่ไหวจึงควรพิจารณาโครงสร้างราคาให้เหมาะสมมากกว่า ปตท.สมอ้างว่าถ้าราคาก๊าซหุงต้มต่ำเกินไปคนจะใช้มากขึ้นโดยปตท.จะอุดหนุนภาระส่วนต่างการนำเข้าก๊าซหุงต้มแค่ 10,000 ล้านบาท มากกว่านี้ให้เป็นภาระของรัฐปตท.จะต้องดูแลผู้ถือหุ้นในโครงสร้างราคาที่ผ่านมาผิดเพี้ยนไปมาก แม้ว่าในความเป็นจริงก๊าซหุงต้มที่ต้องนำเข้าจริงๆเอาจากในประเทศส่งออกทางเรือไปวนในทะเล 1 รอบแล้ววนกลับมาขายในประเทศในราคาตลาดโลก
แอลพีจี หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวมาจาก 2 แหล่งคือการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติจึงถือเป็นผลพลอยได้สุดๆโดยมีต้นทางมาจากปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) บริษัทในกลุ่มปตท. นอกจากนี้ยังให้สัมปทานขุดเจาะ 30 ปีในอ่าวไทยและบางแปลงมีพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชาแก่บริษัทเชฟรอนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรวมทั้งร่วมทุน 16 เปอร์เซ็นต์ในโครงการอาทิตย์ของ ปตท.สผ.อีกด้วยโดยเชฟรอนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 47,147 บาร์เรลต่อวัน นอกเหนือจากผลิตก๊าซธรรมชาติ 1,668 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ 85, 387 บาร์เรลต่อวัน โดยส่งต่อก๊าซธรรมชาติทั้งหมดให้ปตท.ที่เชฟรอนแจ้งว่า 75 เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า 25 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี ดังนั้นเมื่อแยกก๊าซเรียบร้อยแล้วส่วนหนึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระแสไฟฟ้าขณะที่ปตท.ครองตลาดก๊าซธรรมชาติ NGV แต่เพียงผู้เดียวและใช้กับตลาดยานยนต์เท่านั้น โดยปตท.ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 60,000 ล้านบาทแต่ยังอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมกว่า 6,000 ล้านบาท ส่วนที่เป็นก๊าซเหลวแอลพีจีนั้นนอกจากปตท.จะขายปลีกมีส่วนแบ่งตลาดรวม 45 เปอร์เซ็นต์ยังขายส่งให้บริษัทก๊าซโดยมีสยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์และเวิลด์แก๊สเป็นยักษ์ใหญ่รองจากปตท.ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์และ 21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
"ผมเป็นกัปตันเรือบรรทุกน้ำมันแต่ไม่ขอบอกชื่อนะครับ ขณะนี้เรือผมได้ทอดสมออยู่ที่หาดแหลมเจริญเพื่อรอรับน้ำมันดีเซลจากIRPCหรือTPIเก่าละครับ แต่เมื่อปตทได้ซื้อไปก็เปลี่ยนชื่อเป็นIRPC ผมรับน้ำมันเพื่อส่งไปที่เขมรและเวียดนาม เรื่อผมบรรทุกก๊าสแอลพีจีไม่ได้เพราะไม่ใช่เรือบรรทุกก๊าซแต่ผมมีเพื่อนที่เป็นกัปตันเรือบรรทุกแก๊สแอลพีจีอยู่หลายคนพวกจะมารับแก๊สแอลพีจีจากIRPCเพื่อไปส่งเขมรและเวียดนาม เหมือนผมเดือนละหลายเที่ยวเรือ ขณะที่ผมกำลังโพสอยู่นี่ก็มีเรือแก๊สรอรับอยู่ 3 ลำตั้งแต่ผมเดินเรือมายังไม่เคยเห็นเรือแก๊สที่นำเข้าเลยแม้แต่ลำเดียวมีแต่เรือส่งออก ปตทบอกได้นำเข้าแก๊สมาจากต่างประเทศปีละเป็นล้านตันแล้วเขาเอาเข้ามาทางไหนละครับถ้าทางเรือผมไม่เคยเห็น-เคยเห็นแต่เรือส่งออก ลองมาดูที่แหลมเจริญที่ระยองซิครับมีเรือมาคอยรับทุกวันละครับ เพื่อส่งไปเขมร เวียดนาม แล้วไอ้นักวิชาการด้านน้ำมันที่มาออกรายการตาสว่างนะครับเขาเป็นอดีตคนที่ทำงานปตท สิ่งที่เขาพูดนะเป็นการแก้ต่างให้ปตททั้งนั้น ปตทได้ไปลงทุนในการวางท่อแก๊สNGVจากมาเลเซียและพม่าตั้งหลายแสนล้านบาท ปตทจึงต้องการให้คนไทยใช้ NGV เพราะก๊าซNGVเขามีกันทุกประเทศละครับ เขมรตอนนี้ก็เจอก๊าซNGVอยู่หลายหลุม เวียดนามก็เจอ พม่าเขาก็มีเยอะ ทั่วโลกเขามีกันหมด ถ้าคนไทยไม่ใช่NGVแล้วปตทจะเอาไปขายใครละครับ ต้องบังคับให้คนไทยใช้ให้ได้ โอยอ้างว่าก๊าซNGVปลอดภัยกว่าจริงๆแล้วไม่ใช่หรอกครับ อันตรายพอๆกันละครับ เพราะNGVเป็นก๊าซที่มีแรงดันสูง โอกาสจะระเิบิดก็ยอมมีสูงตามไปด้วย ถ้ามันอยู่ในกระโปรงหลังรถมันจะออกไปไหนละครับมันก็จะระเบิดอยู่ที่ท้ายรถละครับ ตอนนี้ยังไม่มีเรือลำไหนสามารถบรรทุกก๊าซNGVได้เลย เรือที่บรรทุกแอลพีจีไม่สามารถบรรทุก NGVได้เพราะNGV มีแรงดันสูงกว่าแอลพีจีหลายเท่า ปตทเลยไม่สามารถส่งออกได้นอกจากมาหลอกขายคนไทย ตอนนี้โรงกลั่นเป็นของปตทเกือบหมดแล้ว ปั้มน้ำมันที่ไม่มีโรงกลั้นก็ต้องไปซื้อน้ำมันจากปตทมาขายอีกทีเลยต้องขายแพงกว่าปตท ปตทไม่ได้ช่วยอะไรคนไทยเลยนะครับ"
ผู้รู้ด้านพลังงานได้สรุปไว้ว่าทางออกของปัญหาพลังงานมีเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ (1) ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่รั่วไหล ไม่ฟุ่มเฟือย และ (2) หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งใช้แล้วไม่มีวันหมด ได้แก่ พลังงานลม แสงแดด ชีวมวล ของเสียจากเทศบาล เป็นต้น การเมืองใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้เลยถ้าไม่ให้ความสนใจกับ “นโยบายพลังงานใหม่” เพราะรายจ่ายด้านพลังงานของประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 18% ของรายได้ประชาชาติ
ราคาน้ำมันในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผันผวนมาก กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ค้าน้ำมันเริ่มกังวลต่อค่าการตลาดน้ำมันที่ลดลงทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันสูงขึ้น ค่าการตลาดน้ำมันที่ผู้ค้าแต่ละรายชอบอ้างว่ายังอยู่ในระดับต่ำ ค่าการตลาดน้ำมันเป็นรายได้ที่แบ่งกันระหว่างบริษัทผู้ค้าน้ำมันกับเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน ค่าการตลาดน้ำมันที่เหมาะสมในการทำธุรกิจน้ำมันในปัจจุบันควรอยู่ในระดับประมาณ 1.50 - 2.00 บาทต่อลิตร ประชาชนต้องคอยระวังระไวว่าวันใดราคาน้ำมันจะเปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมาปตท.-บางจากฯนำร่องประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันแทบทุกครั้ง บางครั้งก็แจ้งล่วงหน้า บางครั้งก็ไม่แจ้ง จนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหรือสนพ.ต้องขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันทุกรายประกาศขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดก่อนก่อนเวลา 16.00 น.ของวันที่จะปรับราคา หลังๆมานี้ผู้ค้าแต่ละรายแจ้งตอนเย็นซึ่งกว่าทางการจะประกาศได้ก็สายไปเสียแล้ว ยรรยง พวงราชอธิบดีกรมการค้าภายในถึงกับออกมาปรามออกมาให้สัมภาษณ์ตำหนิบริษัทค้าน้ำมันในประเทศไทยที่ฉวยจังหวะขึ้นราคาน้ำมันโดยไม่แจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้าถึง 2 ครั้ง 2 คราไม่ต่างอะไรกับถูกโจรล้วงกระเป๋าภายในอาทิตย์เดียวทำให้รู้สึกใจชื้นขึ้นมาบ้างที่เห็นหน่วยงานราชการไทยยังเป็นห่วงเป็นใยประชาชนผู้บริโภคมากกว่าบริษัทเอกชนเพราะถ้าไม่ออกมาปรามเสียบ้าง ข้อตกลงระหว่างสนพ.กับบริษัทค้าน้ำมันที่จะต้องแจ้งการปรับขึ้นราคาน้ำมันให้ทราบล่วงหน้า 1 วันเพื่อประกาศให้ผู้บริโภคทราบก็เหมือนเป็นแค่ลมปาก แม้การประกาศขึ้นราคาน้ำมันล่วงหน้า 1 วันจะทำให้ประชาชนผู้บริโภคประหยัดกันได้เพียงเล็กน้อยเต็มที่ก็แค่เต็มถัง
ถึงเวลาคนไทยซื้อคืนปตท.แล้วหรือยัง
03 สิงหาคม 2552
ผม ทหารของชาติและทหารของพระเจ้าอยู่หัว ก๊าบ
02 สิงหาคม 2552
การต่อสู้ภาคประชาชนกรณีทองคำดำและผลกระทบที่ได้รับ
การต่อสู้ภาคประชาชน
ประชาธิปไตย ไม่ใช่การไปหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้นแต่ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ติดตาม ตั้งคำถามต่อความไม่ถูกต้อง และหาผู้รับผิดชอบที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตลอดจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ เศรษฐกิจ สังคม การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆที่ผ่านมาเป็นเพียงการแปรทรัพย์สมบัติสาธารณะให้กลายเป็นทรัพย์สินเอกชนที่ยังคงอำนาจผูกขาด หากเป็นประเทศอื่นๆ คงได้เห็นความรับผิดชอบด้วยการลาออกของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยไม่ต้องให้ทหารมาทำการรัฐประหารรวมถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและครอบครัวในหลายรัฐวิสาหกิจรวมทั้งการปรับโครงสร้างถาวรในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายที่ควรมีตัวแทนของนักวิชาการและตัวแทนผู้บริโภคเข้าร่วมด้วยเสมอ
ที่ผ่านมาในฐานะรัฐวิสาหกิจเงินภาษีจึงถูกผันเข้าสู่การบริหารทรัพยากรธรรมชาติของปตท.ไม่ว่าจะเป็นการสร้างท่อส่งก๊าซ การสร้างโรงแยกก๊าซ (ก่อนเข้าตลาดมี 5 โรงแยกก๊าซ) งบประมาณขุดเจาะ สำรวจ ฯลฯ อีกมากมายซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศไทย ที่น่าสังเกตคือในช่วงที่ปตท.กำลังจะแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท.และบริษัทลูกซึ่งถือเป็นสมบัติของประชาชน แต่ปตท.ก็มีการกระทำที่ตรงข้ามและไม่ได้พิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนเห็นได้ชัดจากกรณีการตีราคาบริษัทลูกต่างๆ ของ ปตท. ปตท.ได้ทำการจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินให้ตีราคาบริษัทลูกต่ำๆ โดยใช้วิธีส่วนได้ส่วนเสีย แทนที่จะใช้วิธีราคาทุน เช่นโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด หรือ RRC มีราคาทุนอยู่ที่ 12,591.24 ล้านบาทจากการลงทุนของโรงกลั่นน้ำมันระยอง ช่วงนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจาก 25 บาท เปลี่ยนเป็น 50 บาท เขาไปตีว่า RRC ขาดทุน จึงมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาท แต่ที่จริงแล้ว RRC ไม่ได้อยู่ในฐานะที่เจ๊งจนมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาทเพราะทุกวันนี้ก็ยังกลั่นน้ำมันได้ ดังนั้นวิธีคิดตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียที่ถูกต้องถ้า RRC มีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาทก็ต้องตีราคาให้ RRC ที่ 2 หมื่นล้านบาทถึงจะถูกต้องเพราะอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เพิ่มไปจาก 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 50 บาทต่อเหรียญสหรัฐก็ต้องคิดราคาทุนของบริษัทลูกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่กลับไปคิดให้มูลค่าเป็น 0 เท่ากับ RRC เจ๊งเช่นเดียวกับบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรื อ THAPPLINE บางแห่งมีการคิดราคาวิธีส่วนได้ส่วนเสียให้แต่ก็น้อยมากถ้าเทียบกับวิธีราคาทุน เช่น บริษัท ไทยออยล์ จำกัด มีวิธีราคาทุน 9,480.74 ล้านบาทมีการคิดวิธีส่วนได้ส่วนเสียเพียง 395.51 ล้านบาทหรือบริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด หรือ SPRC มีวิธีราคาทุนอยู่ที่ 14,378.41 ล้านบาทแต่มีการคิดวิธีส่วนได้ส่วนเสียเพียง 1,325.58 ล้านบาท
ภายหลังการแปรรูปปตท.ผู้บริโภคได้เห็นชัดเจนแล้วว่าเป็นการเปิดทางการคอร์รัปชั่นให้ขยายรูปแบบและทวีความรุนแรงมากขึ้นและยังได้กลายเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวยให้กับนักการเมือง บมจ.ปตท.จึงกลายเป็นบริษัทที่ทำให้รูปแบบการกระจายผลประโยชน์ของบริษัทธุรกิจพลังานไปสู่นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงอย่างกว้างขวางและมูลค่ามหาศาลเพื่อหวังผลตอบแทนจากราคาหุ้นมากกว่าการรักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ สาธารณะ และประชาชน ทั้งนี้กรณีการแปรรูปปตท.ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริโภคทั้งระบบสาธารณูปโภคของประเทศ ระบบเศรษฐกิจ สายพานการผลิต ราคาสินค้า ฯลฯ เมื่อพบว่ามีข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง การใช้สิทธิในกระบวนการศาลเพื่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเป็นสิ่งที่องค์กรและพลเมืองประชาชนคนเล็กคนน้อยพึงมีสำนึกเข้าร่วมกระทำอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางกฎหมายซึ่งเป็นความมั่นคงที่แท้จริงต่อสังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
การออกนโยบายกฎหมายแต่ละอย่างมีเป้าประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบมจ.ปตท.เป็นที่ตั้ง ทำให้มูลค่ากิจการและผลประโยชน์อื่นๆของปตท.เพิ่มขึ้นท่ามกลางความทุกข์ยากของประชาชนและผลกระทบของภาคธุรกิจมีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 45 – 55% หรือค้าขายโดยคืนทุนในเวลาเพียง 2 ปี มีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์มีบทบาทเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการผลักดันการแปรรูปปตท. ในช่วงรัฐบาลทักษิณ และสานต่อปกป้องผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่มในช่วงรัฐบาลคมช.และภรรยาถือหุ้นอยู่ในกิจการพลังงานถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนของรัฐมนตรีที่ดูแลนโยบายพลังงานที่ได้หุ้นมาในราคาต่ำกว่าจองหลายตัว ขณะเดียวกันก็มีเรื่องส่วนต่างราคาหุ้นในกระดานโดยการให้ข่าวด้านนโยบายที่ส่งผลต่อราคาหุ้นในกระดานโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มปตท.ซึ่งราคาได้ปรับสูงหลายร้อยเปอร์เซนต์จากการให้ข่าวของรัฐมนตรี รวมไปถึงมีตัวแทนถือหุ้นอยู่ด้วย ซึ่งตามข้อเท็จจริงหลังคำพิพากษาของศาลทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมายใช่หรือไม่หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นอีกคดีที่ถึงมือศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
รัฐบาลทักษิณได้ใช้วิธีแยบยลในการฮุบสมบัติชาติคือจัดการให้ท่อส่งก๊าซกลายเป็นสมบัติของปตท.ด้วยการเปลี่ยนนโยบายด้านการจัดการพลังงานเป็นระบบผูกขาดเจ้าเดียว ทำให้ท่อส่งก๊าซซึ่งเป็นสมบัติของชาติกลายเป็นทรัพย์สินของบริษัทปตท. การแปลงสภาพและแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีกระบวนการทำให้หุ้นของปตท.มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลซึ่งเป็นประจักษ์พยานถึงการคอร์รัปชั่นทางนโยบายในยุครัฐบาลทักษิณดังนั้นจึงต้องมีการแก้ไขในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ยิ่งมีเหตุผลความถูกต้องตามกฎหมายและความชอบธรรมที่ทรัพย์สิน สิทธิ และประโยชน์ของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจะต้องกลับคืนสู่รัฐโดยผู้ถือหุ้นไม่สามารถโต้แย้งใดๆ ได้ ก่อนหน้านี้อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อสาธารณะว่าได้ออกพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงานเพื่อมาแก้ไขคดีความของปตท.แล้วยิ่งเป็นการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการออกนโยบายกฎหมายดังกล่าวมีขึ้นเพื่อล้มล้างความผิดเพิมที่ไม่ถูกต้องและตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคและผู้ฟ้องคดี 4 รายในนามภาคประชาชนจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้เพิกถอนการแปรสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2549 ในขณะที่ผลคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ออกมาในวันที่ 14 ธ.ค. 2550 คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้ปตท.ต้องดำเนินการคืนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งบมจ. ปตท.ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐและเงินลงทุนของรัฐที่มาจากภาษีของประชาชนคืนให้กับกระทรวงการคลังทั้งหมดทั้งนี้รวมถึงระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมด การฟ้องครั้งนี้ไม่ใช่เจตนาดีที่บ้าคลั่งของผู้ฟ้องและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคไม่เช่นนั้นแล้วคนมีอำนาจทางเศรษฐกิจโดยผู้กระทำการทั้งหลายที่สร้างความเสียหายต่อประเทศไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดๆ วันที่ 31 ส.ค.2549 ซึ่งเป็นวันที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวก 4 คนฟ้องคดี หุ้นปตท.มีราคา 236 บาทต่อหุ้น วันที่ 16 ก.ค. 2551 มีราคาปิดตลาดอยู่ที่ 250 บาทต่อหุ้น ส่วนเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2550 ซึ่งเป็นวันฟังผลคำพิพากษาของตุลาการ หุ้นปตท.มีราคาปิดตลาดที่ 380 บาทต่อหุ้น
การเพิ่มขึ้นของทรัพย์สิน 500,000 ล้านบาทของปตท.เป็นทรัพย์สินของประเทศที่สูญหายไป หลังจากการแปรรูปบริษัทปตท.ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 นั้นปตท.ไม่เคยมีการโอนคืนทรัพย์สินที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการแปรรูปแก่รัฐแต่อย่างใด ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 157,102 ล้านบาทซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดนี้ทั้งได้มาด้วยการใช้อำนาจมหาชนซึ่งบริษัท ปตท.จะต้องคืนให้แก่รัฐตามคำพิพากษาของศาลให้แบ่งแยกทรัพย์สินของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมและอำนาจมหาชนของรัฐจากปตท. คืนให้แก่รัฐ ทั้งนี้ปตท.ได้แบ่งแยกทรัพย์สินคืนให้แก่รัฐในช่วงเดือนธ.ค.51ที่ผ่านมารวมทั้งสิ้นเพียง 16,176.22 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ที่ดินเวนคืน1.42 ล้านบาท สิทธิในการใช้ที่ดิน 1,124.11 ล้านบาท และระบบท่อก๊าซธรรมชาติในที่ดินเวนคืนและที่ดินรอนสิทธิ 3 โครงการอีก 15,050.69 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นทรัพย์ก่อนการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ของปตท.เมื่อวันที่ 1 ต.ค.44 จากข้อมูลของการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นั้น พบว่าปตท.ยังต้องคืนทรัพย์สินอีกว่า 32,613 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่ปตท.จะต้องคืนให้แก่รัฐภายหลังการแปรรูป ณ วันที่ 1 ต.ค.44 อีกกว่า 157,102 ล้านบาทเนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้สิทธิของรัฐและประชาชนจึงจำเป็นต้องคืนให้แก่รัฐตามคำวินิจฉัยของศาลด้วย
แม้ว่ารัฐบาลชุดนั้นได้ใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่ออ้างต่อศาลว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีตามคำฟ้อง ได้ระงับสิ้นไปและทำให้การฟ้องคดีไม่มีมูลไม่ว่าจะเป็น หนึ่ง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 โดยการตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 สอง การแสดงเจตจำนงคืนที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนที่ปตท.ได้รับโอนมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้กับกระทรวงการคลัง สามการออกกฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน แต่การกระทำดังกล่าวไม่สามารถทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายได้
ที่ดินที่ได้มากจาการเวนคืนที่ดินของประชาชนรวมทั้งท่อส่งก๊าซธรรมชาติอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ติดอยู่กับที่ดิน สิทธิที่ไปรอนสิทธิที่ดินของประชาชน รวมทั้งท่อส่งก๊าซธรรมชาติอันเป็นทรัพยสิทธิติดอยู่กับที่ดิน ทรัพย์สินและทรัพยสิทธิเหล่านี้จะต้องกลับคืนสู่รัฐทั้งสิ้น แม้ว่าในวันนี้การส่งมอบทรัพย์สินจากบมจ. ปตท.คืนให้รัฐตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดยังไม่ครบถ้วนโดยพิจารณาจากมูลค่าทางบัญชีสุทธิของระบบท่อก๊าซก่อนการแปรรูปปตท. (30 ก.ย. 2544 ) มูลค่า 42,664 ล้านบาทและบมจ.ปตท.ส่งคืนตามคำพิพากษาเพียง 15,050.69 ล้านบาท ยังขาดอีก 32,613.45 ล้านบาทและจนถึงบัดนี้กระทรวงการคลังยังไม่ดำเนินการใดๆเพิ่มเติม ภายหลังที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในกรณีไต่สวนกรณีที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แบ่งแยกทรัพย์สินคืนแก่แผ่นดินไม่ครบถ้วนจึงไปยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวน ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีเนื่องจากมิใช่เจ้าหนี้ที่แท้จริง เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะอย่างน้อยข้อมูลตรวจพบและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบ พบว่าทรัพย์สินของปตท.ก่อนการแปรรูป มีจำนวน 32,000 ล้านส่วนทรัพย์สินหลังการแปรรูปไม่ถูกพิจารณาเลย ดังนั้นภาคประชาชนจึงจะต้องมีความพยายามผลักดันให้กระทรวงการคลังเข้ามาทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติโดยเร็วที่สุด