14 กุมภาพันธ์ 2555

- 3 G - เทียม 3 G - แท้ และการพังพินาศของรัฐวิสาหกิจไทย

“คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะอื่นรวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมรวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ การกำกับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันการควบรวมหรือการครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใดซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย”

ธุรกิจโทรคมนาคมทั้งที่มีสายและไร้สายเป็นธุรกิจที่นำคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติของแผ่นดิน ผลประโยชน์เข้ารัฐจึงต้องเป็นธรรม ทั้งทีโอทีและกสท.จะต้องตรวจสอบสัญญาสัมปทานเดิมที่ทำไว้กับคู่สัญญาเพื่อกำหนดแนวทางการแปรสัญญาสัมปทานก่อนการออกใบอนุญาติในระบบ 3จีต่อไป แต่รัฐบาลต่างๆค่อยๆละลายองค์กรแห่งชาติทั้งสองแห่งลงทีละน้อยๆ รายได้ค่าสัมปทานผลประโยชน์ที่รัฐพึงได้รับลดลงต่อเนื่อง ธุรกิจสื่อสารในไทยมีเอกชนเป็นผู้ดำเนินการเกือบทั้งหมดโดยได้รับสัญญาสัมปทานกับรัฐผ่านไม่ทีโอทีก็กสท. ผู้ได้รับสัญญาสัมปทานเมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องโอนทุกอย่างให้กับรัฐ บริษัทเอกชนเป็นเพียงผู้ดำเนินการ เมื่อมีรายได้ก็ต้องนำรายได้นั้นมาแบ่งให้กับภาครัฐ สิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ทั้งหมดเป็นสมบัติของหลวงทั้งสิ้น สัญญาสัมปทานเหล่านี้ได้ลงนามข้อตกลงกันมานาน
แล้ว แก้ไขสัญญาก็หลายครั้งตั้งแต่การแก้ไขในทางเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการแก้ไขสัญญาที่รัฐเสียเปรียบ ไม่ต้องส่งมอบสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ทั้งหมดให้เป็นสมบัติของหลวง เหมือนที่เคยเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาตั้งมากตั้งมาย กระทั่งระหว่างทีโอทีและกสท.ก็อุตส่าห์ยังมีคดีฟ้องร้องกันเองด้วย การแก้ไขสัญญาหลายครั้งหลายหนเป็นการแก้ไขที่ผิดกฎหมายแต่หน่วยงานทั้งทีโอทีและกสท.กลับละเลยปล่อยให้เวลาล่วงเลยมา ตั้งแต่ปี 2543 มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานของทั้งสามราย ประมาณ 10 ครั้ง ที่ทำให้ ทีโอที และ กสท คู่สัมปทานได้รับความเสียหายราว 2.2 แสนล้านบาท คณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่า การแก้ไขสัญญาไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ผ่านกฎหมายร่วมทุนรัฐและเอกชน แต่ทั้งหมดก็ไม่มีการดำเนินการตามกฎหมาย เพราะทั้งสามรายต่างมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองที่แน่นปึ้ก จึงไม่มีใครกล้าทำอะไร

การให้บริการโทรศัพท์มือถือของประเทศไทย ซึ่งจากการที่ประเทศไทยมีผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมอยู่เพียงไม่กี่ราย และผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 3 ราย ครองส่วนแบ่งทางการตลาดรวมกว่า 98% ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกใช้บริการไม่มาก ถูกบีบรัดจากระบบการตลาดที่เกือบจะผูกขาด ทั้งๆ ที่โทรคมนาคมมีความสำคัญกับชีวิตคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เป็นสาธารณูปโภคประเภทหนึ่ง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนของทีโอทีและกสทในยุครัฐบาลทักษิณภายใต้ข้ออ้างว่าทำให้สององค์กรนี้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่เอาเข้าจริงๆ มันคือการบอนไซไม่ให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองเข้มแข็งในขณะที่บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของระบอบทักษิณกลับเข้มแข็งขึ้น ทีโอทีและกสท กลายเป็นเสือลำบาก รายได้หดออกอาการบักโกรก แถมยังกลายเป็นแหล่งทำมาหาเงินของกลุ่มธุรกิจการเมือง.. สหภาพแรงงานฯ ก็ไม่แข็งแกร่งพอที่จะยืนต้านพายุแห่งผลประโยชน์ได้

ทุกวันนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างให้บริการโดยมีลักษณะที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคอย่างชัดเจน" สารี อ๋องสมหวัง กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (กบท.) กล่าว สิทธิที่ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ อาทิการกำหนดวันหมดอายุระบบเติมเงิน การตั้งสถานีส่งสัญญาณโดยไม่ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ การไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายทั้งที่ระยะเวลาล่วงเลยมากว่าที่กฎหมายกำหนด หรือการไม่มีระบบรับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีการละเมิดกฎหมายที่ทำกันจนกลายเป็นเรื่องปรกติมากมาย ซึ่งกทช.น่าจะใช้โอกาสของการให้ใบไลเซนส์ 3G กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลต้องไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมายรวมทั้งการผลักดันให้เกิดการแข่งขันทางด้านบริการมือถือ ไม่ว่าจะเป็น 2G หรือ 3G ก็ตาม สิทธิของผู้บริโภคจะต้องไม่ถูกละเมิดอีกต่อไป เช่น ต้องมีการจัดระบบรับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์เลขหมาย 4 ตัวโดยไม่คิดค่าบริการ ต้องมีการจัดระบบแจ้งบอกรับและระบบยกเลิก SMS รบกวน การกำกับดูแลอัตราค่าบริการประเภทเสียงขั้นสูง ไม่เกิน 50 สตางค์ต่อนาที การกำกับดูแลค่าบริการตามระยะเวลาการใช้งานไม่ใช้ตามปริมาณข้อมูล หรือการป้องกันเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมไปสู่กลุ่มเยาวชน ผู้เกี่ยวข้องจะต้องไม่ลืมที่จะดูแลผู้บริโภค ไม่ใช่เพียงเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากกว่าประชาชนผู้บริโภคทั่วประเทศ

การประมูลงาน 3จีจะส่งผลกับแผนธุรกิจเดิมๆของทั้งสององค์กร หากมีการย้ายฐานลูกค้าแบ่งรายได้ให้กับรัฐตามสัญญาเก่าไปอยู่ภายใต้บริษัท 3จี คู่สัญญากลุ่มนี้ก็ไม่ต้องแบ่งรายได้ให้รัฐอีกต่อไปหรือถ้าต้องแบ่งคู่สัญญาก็คงแบ่งในอัตราที่ต่ำกว่าเดิมมากเนื่องจากการโอนย้ายลูกค้า 2จี ของบริษัทที่จ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐเดิมเคยจ่ายร้อยละ 20-25 ไปใช้บริการ 3จี ของบริษัทที่แบ่งรายได้ให้กทช.ที่ออกแบบไว้แค่ร้อยละ 6.5 แม้ว่าคู่สัญญาที่ไปทำ 3จีจะต้องจ่ายค่าใบอนุญาตก็ยังสุดคุ้ม แถมยังมีกระบวนการเตะสกัดแผนธุรกิจของทีโอทีให้ล่าช้า ยิ่งทีโอทีวางโครงข่าย 3จีล่าช้าจะเป็นประโยชน์กับบริษัทที่ยังไม่มีใบอนุญาตฯ ในการประมูลใบอนุญาต 4 ใบที่กทช.จะแจกต่อไปมีจะเสียงคัดค้านและความเห็นจากกลุ่มต่าง ๆ มากมายทั้งจากนักวิชาการ องค์กรผู้บริโภค หน่วยงานของรัฐ นักการเมือง เพราะมันอาจจะเอื้อผลประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการในปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับรัฐและสาธารณะ ขาดการวางกรอบมาตรการในการคุ้มครองผลประโยชน์ของสาธารณะและผู้บริโภค หากกทช.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการประมูล ผู้ให้บริการหลัก 3 รายใหญ่จะได้ประโยชน์โดยตรง การประมูลเพียง 4 ใบอนุญาตคลื่นฯ 3จีไม่เอื้อให้มีการแข่งขันในการประมูลอย่างแท้จริง หากผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถให้บริการได้ตามเงื่อนไขกทช.ก็ควรจะมีมาตรการลงโทษที่เป็นจริงและเป็นมาตรการ มีกำหนดเพดานราคาขั้นสูง ควบคุมให้ผู้ได้รับอนุญาตลงทุนและใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหาทางเทคนิคในอนาคตและยังได้เรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย กทช.ไม่น่าจะตั้งราคาแบบลดแลกแจกแถมราคาตั้งต้นที่ต่ำมากคือ ใบละ 4,600 ล้านบาทสำหรับ 10 MHz และ 5,200 ล้านบาท สำหรับ 15 MHz จ่ายตอนเริ่มต้นเพียงครั้งเดียว มีการประเมินก่อนหน้านี้แล้วว่าหากผู้ประกอบการรายเดิม เข้าชนะการประมูลใบอนุญาต 3จี ของ กทช.แล้วโอนลูกค้า
จากระบบเดิมทั้งหมดไปสู่ระบบ 3จี จะทำให้ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม สูญเสียส่วนแบ่งรายได้เกือบ 36,800 ล้านบาทต่อปี จากปัจจุบันที่ทีโอที และ กสท มีรายได้ จากการให้สัมปทานปีละประมาณ 39,400 ล้านบาท แบ่งเป็น การสูญเสียรายได้ของทีโอที 18,000 ล้านบาทต่อปี และการสูญเสียรายได้ของ กสท โทรคมนาคม อีก 18,800 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตามมีการประเมินกันว่าภายใน 3 ปี คาดกันว่ารายได้ที่คาดว่าจะได้รับ 4.6 แสนล้านบาท จะเหลือเพียง 1.1 แสนล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่าหายไปกว่า 3 แสนล้านบาทเลยทีเดียว ศึกครั้งนี้มีเม็ดเงินเดิมพัน 3 แสนล้านบาทที่ฝ่ายหนึ่งรัฐบาล ไม่อยากสูญเสียและต้องการคุมเกมเรื่อง 3จีให้เป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ ... อีกฝ่ายไม่อยากจ่าย ..แถมยังมี กทช.ที่อ้างอำนาจตามกฎหมาย ที่จะทำเรื่อง 3จี ทั้งหมด

เวลานี้กทช. กำหนดค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเน็คชั่น ชาร์จ) หรือ IC ราคาเกินจริงที่เฉลี่ยนาทีละ 1 บาทส่งผลให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าโทร.แพง ทั้งยังส่งผลให้ค่าโทร.ข้ามเครือข่าย (ออนเน็ต) โทร.ในเครือข่าย (ออฟเน็ต) มีอัตราที่ต่างกันเป็นอย่างมากส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการรายใหม่หรือรายเล็กในตลาดแข่งขันในตลาดได้อย่างยากลำบากและตายไปในที่สุด ที่ผ่านมากทช.สมคบกับเอกชนเอาเปรียบผู้บริโภคเพราะจากข้อมูลที่รวบรวมส่วนตัวพบว่าต้นทุนค่า IC ที่แท้จริงอยู่ที่ 0.20-0.30 บาทซึ่งเป็นตัวเลขที่ตรงกับที่ปรึกษาของกทช.เคยเสนอไว้ก่อนหน้านี้ แม้ปัจจุบันกทช.จะมีความพยามปรับลดค่า IC เหลือ 0.50 บาทแต่ก็ยังเป็นอัตราที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงและยังทำให้ค่าโทร.ออฟเน็ตและออนเน็ตแตกต่างกันเหมือนเดิม สภาทนายความ โดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสมาคมสภาทนายความ ก็ออกแถลงการณ์ถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ และความไม่ชอบธรรมของ กทช.ชุดสุดท้ายนั้น สืบเนื่องจากตามมาตรา 47 วรรค 2 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 กำหนดให้องค์กรจัดสรรคลื่
นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวดังนั้น กทช.มีหน้าที่ปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลจึงไม่มีอำนาจหน้าที่จัดทำและประกาศแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมและแผนความถี่วิทยุ ฉบับที่ 2 ซึ่งหมายถึงการเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จีด้วย ทำไมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ในเวลานั้นที่นำโดย พ.อ.นที ศุกลรัตน์ หนึ่งในกรรมการ กทช. และประธานคณะทำงาน 3.9G จะต้องเร่งรีบให้เกิดการประมูลใบไลเซนส์ 3G ให้ได้ในเดือนกันยายน 53"กทช.ไม่ใช่เจ้าของประเทศไทย การจะมากำหนดว่าคนไทยต้องการ 3G ทั้งประเทศเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น ทั้งที่ในความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศที่มี 3G มานานแล้ว ผู้ใช้มือถือส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้นก็ยังคงใช้ 2G กันอยู่” การเร่งรีบเพื่อให้เกิดการให้บริการ 3G จึงถูกมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลใบไลเซนส์ 3G มากกว่า โดยแนวโน้มของผู้ให้บริการ 3G ในประเทศไทย คงจะไม่หนีไปจากผู้ให้บริการ 2G อย่างเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ซึ่งยังมีสัญญาสัมปทานกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยเอไอเอสมีระยะเวลาสัญญาสัมปทานอีก 5 ปี ดีแทค 8 ปี และทรูมูฟ 3 ปี ซึ่งหากมีการโอนย้ายผู้ใช้บริการที่อยู่ในระบบ 2G ไปสู่การบริการ 3G ก็จะกระทบต่อทีโอที และ กสท อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงกระทบถึงรายได้ที่รัฐวิสาหกิจทั้งสองหน่วยงานนำส่งให้รัฐด้วย “งานนี้เอกชนรวยขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ใช่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน” การจะยกเลิกสัญญาสัมปทาน 2G น่าจะมีเบื้องลึกเบื้องหลัง แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาบอกว่าการยกเลิกสัญญาสัมปทาน 2G เป็นใบไลเซนส์ รัฐจะต้องไม่เสียหายก็ตาม แต่ในความเป็นจริงนั้น ย่อมสร้างผลกระทบต่อทีโอที และ กสทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของโครงข่ายที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายได้ลงทุนเป็นสิบๆ ปีที่ผ่านมานั้นมีมูลค่านับแสนล้านบาท การที่จะต้องยกให้ทีโอที และ กสท เมื่อครบอายุสัญญาสัมปทานนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่เอกชนยอมไม่ได้จากสิ่งที่ตนเองได้ลงทุนลงแรงไป “ผู้ให้บริการมือถือต้องการเป็นเจ้าของโครงข่ายที่ลงทุนเองทั้งนั้น ไม่มีใครอยากให้ยกเป็นของคนอื่น ยิ่งเมื่อมีการให้บริการ 3G ในมือถือด้วย การมีโครงข่ายเดิมย่อมทำให้การพัฒนาโครงข่าย 3G เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ลงทุนน้อยยิ่งขึ้นระดับพันล้าน จากเดิม 2G หลายหมื่นล้านและใครล่ะจะยอมเสียมันไป”


แม้ว่าเดือน ก.ย. 53 กทช.3 รายคือ นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ นายสุธรรม อยู่ในธรรม จะครบวาระ แต่ตามกฎหมาย กทช.ยังสามารถทำงานต่อเหมือนเดิมทุกประการจนกว่าจะมี กทช.คนใหม่ กทช.มีทั้งหมด 7 คนเหลือ 3 คนไม่ถึงครึ่งแต่กทช.ก็พยายามที่จะดิ้นรนให้มีการตีความทางกฎหมายว่าตัวเองมีอำนาจและยังคงดันทุรังเดินหน้าใช้อำนาจต่อไป ข้อกำหนด–เงื่อนไขการประมูลของกทช.ยังไม่รัดกุมเพียงพอที่จะปกป้องคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติชาติมิให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจต่างชาติได้ ขณะเดียวกันยังมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามเปิดทางให้บริษัทเอกชนสามารถพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันไปสู่ระบบใกล้เคียงกับเทคโนโลยี 3G ได้แม้วิธีการจะสุ่มเสี่ยงต่อการผิดสัญญาสัมปทานและผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535 วันก่อนนี้นักการเมืองและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีการคุยกันเรียบร้อยถึงการยกเลิกสัญญาสัมปทาน 2G และเรื่องของใบไลเซนส์ 3G ผ่านทางสายสัมพันธ์ที่แต่ละบริษัทมีกับสายการเมืองของตนเอง โดยมีชื่อของอดีตผู้จัดการรัฐบาล สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโต้โผใหญ่ในการจัดการเรื่องนี้ โดยเอไอเอสใช้สายสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมรุน "มช." ตัวตั้งตัวตีคนสำคัญของท้องเรื่องการยกเลิกสัญญาสัมปทาน 2G สู่ใบไลเซนส์นั้นอดีตรมว.คลังกรณ์ จาติกวณิชเกือบจะได้เขียนตำนานบทใหม่ให้กับวงการโทรศัพท์มือถือเมืองไทยตกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ไว้ให้ศึกษากัน ในฐานะผู้ปลดโซ่ตรวนให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถ้าสำเร็จอาจส่งผลผู้ให้บริการทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ที่คาดว่าจะประมูลใบไลเซนส์ 3G ด้วยนั้น เหมือนพยัคฆ์ติดปีกกินรวบธุรกิจสื่อสารไว้อย่างราบคาบ ในต่างประเทศนั้น ไม่มีผู้ให้บริการ 3G รายใดที่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีการให้บริการ 2G ร่วมด้วย "ที่ผ่านมาการแข่งขันในธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีการแข่งขันภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งกฎเกณฑ์ กติกา และภาระการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ ให้รัฐ อายุสัมปทานที่เหลือก็ไม่เท่ากัน คลื่นความถี่ก็ไม่เท่าเทียมกัน จึงมีแนวคิดให้เปลี่ยนจากสัมปทาน มาเป็นใบอนุญาต และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กทช. นอกจากนี้เนื่องจากอายุสัมปทานเหลือน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการไม่ลงทุนเพิ่ม ขณะที่ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ทำให้คุณภาพการให้บริการลดลง การเปลี่ยนจากสัมปทานเป็นใบอนุญาตดังกล่าวจะทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมเสมอภาคกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ” เป็นสิ่งที่กรณ์ จาติกวณิช กล่าว

เพื่อยกระดับบริการด้วยเทคโนโลยีใหม่และเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่ระบบใบอนุญาตที่กฎกติกาการแข่งขันที่มีความเท่าเทียมกัน ต่างจากสัญญาสัมปทานเดิมที่ลักลั่น ทั้งระยะเวลาคลื่นความถี่ และการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ ที่สูงกว่าไลเซนส์มาก โดยไลเซนส์ 3G คิดค่าธรรมเนียมรายปี 6% ขณะที่สัมปทานสูงถึง 20-25% การโอนถ่ายลูกค้าภายใต้สัมปทาน2G มายัง 3G ในระบบไลเซนส์จึงเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ รายได้จากสัมปทานมือถือปีละหลายหมื่นล้านบาทของ กสท และทีโอทีย่อมหายวับไปกับตา ส่งผลถึงกระเป๋าเงินของกระทรวงการคลังโดยตรงในฐานะผู้ถือหุ้น 100% ใน 2 รัฐวิสาหกิจ จึงสอดคล้องกับแนวคิดในการยกเลิกสัมปทานมือถือเข้าสู่ระบบไลเซนส์เพื่อปรับระบบธุรกิจเข้าสู่การแข่งขันเสรีเป็นธรรมของกระทรวงการคลังและกระทรวงไอซีที เพื่อรักษาขุมทรัพย์ ด้วยการยืดอายุสัญญาเป็น 15 ปี ลดการจ่ายรายปีลงครึ่งหนึ่งเทียบกับสัมปทานเดิม (ไม่รวมค่าเข้าระบบไลเซนส์ที่ต้องคำนวณจากการได้ต่ออายุสัญญา) การผลักดันยกเลิกสัญญาสัมปทาน 2G ยังมีหัวเรือใหญ่รัฐบาลอย่างอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระโดดมาสวมบทกัปตันผลักดันให้เรื่องนี้ดูเข้มข้นขึ้นไปอีกชั้น และเสมือนกาวที่ประสานให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

การประมูลครั้งนี้มีผลประโยชน์หลายล้านล้านบาทอาจมีกลุ่มธุรกิจการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ทั้งเม็ดเงินการประมูลและการเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจมือถือปัจจุบัน โดยเฉพาะบริษัทมือถือรายใหญ่ที่หากชนะการประมูลจะโอนย้ายลูกค้าไปใช้โครงข่ายใหม่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ต้องนำส่งรัฐ การประมูลใบอนุญาตครั้งนี้มูลค่ากว่า 1.6 ล้านล้านบาทแต่การประมูลที่เกิดขึ้นกลับมีรูปแบบลุกลี้ลุกลนเหมือนการพยายามอำนวยประโยชน์กัน เนื่องจากมีการกีดกันกสทและทีโอทีประกอบกับมีการให้ใบอนุญาตเพียง 4 ใบซึ่งเมื่อหลับตาดูแล้วก็จะรู้ว่ามีผู้ให้บริการรายใดบ้างที่จะได้ใบอนุญาตไปการประมูลจึงเป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่านั้น หลายเสียงออกมากระตุกให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ชะลอการประมูลใบไลเซนส์ 3G ออกไปจากเดือนกันยายน 2553 ‘ผลกระทบจากส่วนแบ่งรายได้ที่หายไปของสัมปทานมือถือกสทก็จะส่งผลให้รายได้ที่ส่งให้รัฐหายไปด้วย ในขณะที่รายได้ที่ได้รับจากใบอนุญาต 3G ของ กทช.ก็เพียงเล็กน้อย ส่วนต่างที่หายไป ความเสียหายที่เกิดกับรัฐ ใครก็รับผิดชอบ’ แต่หัวเรือใหญ่อย่าง พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และประธานคณะทำงาน 3G ยังยึดตามกรอบและระยะเวลาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง “การยกเลิกสัมปทาน 2G เดิม และการออกใบอนุญาต 3G ใหม่ไม่ควรนำมาผูกกันหรือรอให้อย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จก่อน เพราะจะทำให้พังกัน ทั้งคู่และหากแนวคิดของคลังครั้งนี้ไม่สำเร็จ มีแต่จะทำให้ประเทศและประชาชนเสียโอกาสเหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา และหากแนวคิดนี้ไม่สำเร็จแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเรื่องการเลิกสัมปทานหรือแปรสัญญาสัมปทานที่ผ่านมา ผมจำได้ว่ามีการพูดถึงและพยายามทำมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทำได้เพราะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน การยกเลิกสัมปทานต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดหลายเรื่อง เช่นส่วนแบ่งที่ลดลงคำนวณจากอะไร ค่าชดเชยเมื่อเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตคิดจากอายุสัมปทานที่เหลือและคลื่นที่มีต่างกัน จะคำนวณอย่างไร”

ที่ผ่านมา พ.อ.นที ถือเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของดาวเทียม จนได้เป็นที่ปรึกษาของดาวเทียมไทยคม ทำให้มีหลายคนตั้งประเด็นถึงความโปร่งใสของการเร่งรีบประมูลใบไลเซนส์ว่าแท้ที่จริงนั้น เป็นเพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศและประชาชน หรือการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนกันแน่ เพราะวันนี้ทุกคนก็คาดการณ์ว่าหากมีการประมูลใบไลเซนส์ 3G เกิดขึ้น ผู้ให้บริการที่น่าจะชนะการประมูลเป็นบริษัท ก็น่าที่จะชื่อ “เอไอเอส” มากกว่า “ดีแทค” และ “ทรูมูฟ” กทช.ลุยแหลกปลดเดดล็อกไม่รอกสทช.เกิด ประกาศปล่อยไลเซนส์3.9G กันยายน 2553 พร้อมไวแมกซ์ในเวลาไล่เลี่ยกันเปิดโอกาศไอเอสพีรายย่อยแข่งขันในตลาดบรอดแบนด์ได้ยันไม่หวั่นถูกฟ้อง เชื่อประชาชนได้ประโยชน์ ส่วนออนเน็ต ออฟเน็ตผู้ประกอบการไม่ทำตาม ไม่ต้องประมูล 3G ระหว่างกระบวนการสรรหา ซึ่งถูกกล่าวหาว่าไม่ชอบมาพากล คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถูกทหารยึดไปแล้ว บุคคลที่ผ่านการสรรหา '5 ทหาร' '2 นักวิชการ' '1 ตำรวจ' '1 แพทย์' '1 ผู้พิพากษา' และ '1 เอ็นจีโอ' เสียงเพรียกถึง 3G ยังมีอยู่บ้างประปราย วิเคราะห์พิจารณ์กันอีกหลายครั้ง หลังปลุกกระแส 'คนไทยควรมี 3G' มานานแรมปี ในที่สุดคนไทยก็มี 3G พันธุ์ทางใช้แล้ว เมื่อ 3 โอเปอเรเตอร์มือถือทั้งเอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ต่างเปิดตัวให้บริการ 3G กันทั่วหน้าภายใต้ความถี่เดิมทั้ง 900 MHz และ 850 MHz ไม่ใช่ใบอนุญาติใหม่ ความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz อย่างที่โอเปอเรเตอร์ปรารถนา กันยายน 2554 แค่เปิดตัว 3G พันธุ์ทางก็ดุเดือดเสียขนาดนี้แล้ว

ภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช. นัดสุดท้ายของปี 2554 ได้ผ่านความเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT - 2000 หรือ IMT Advanced โดยมีหน้าที่หลักในการเข้ามาดูแลและบริหารจัดการภายหลังเกิด 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz โดยมีคณะอนุกรรมการรวม 16 คน ซึ่งมีบอร์ด กทค. ทั้ง 5 คนอยู้่ในคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวด้วย ขั้นตอนต่อไปจะนำเผยแพร่ขึ้นบนเว็บไซต์กสทช.เพื่อนำไปสู่การเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ภายในต้นปี 55 และจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาสแรกหรือประมาณเดือนมี.ค.ของปี 2555 หากแผนดังกล่าวผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ภารกิจของ กสทช. ทั้งหมดก็จะเดินหน้าตามแผนแม่บทดังกล่าวซึ่งจะนำไปสู่การเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3G การออกใบอนุญาตผู้ประกอบการวิทยุและโทรทัศน์รวมถึงการสนับสนุนให้มีการแข่งขันอย่างเสรี