22 กรกฎาคม 2554

‘ขี้เปี้ย’จะลุกขึ้นฟ้อนละเน้อ!

โสภณ องค์การณ์
       ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์
       
       ถ้าจะเปรียบภารกิจของ “น้องปู” คงเหมือน “ขี้เปี้ยลุกขึ้นฟ้อน” ตามคำเปรียบเปรยของคนเมืองเหนือ เป็นการตอบสนองความอยากโดยไม่มองขีดจำกัดของตัวเอง! “ขี้เปี้ย” คือคนมีแข้งขาง่อยเปลี้ย อยากลุกขึ้นฟ้อนรำ
       
        แผนของเหลี่ยมร้ายมุ่งล้างแค้นแผ่นดินเกิดผ่านตัวแทนหุ่นเชิดรุ่น 3 ใกล้เริ่มฉากใหม่ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดไฟเขียวให้ “น้องปู” เดินหน้าสร้างประวัติศาสตร์ให้ตระกูลชินวัตรว่าพี่น้องท้องเดียวกันได้เป็นนายกรัฐมนตรี
       
        ตัวแทนนอมินีรุ่นแรกคือ “เสี่ยหมัก” ผู้วายชนม์ ตามมาด้วย “ชาย ตู้เย็น” ทั้งคู่ประสบเคราะห์กรรมการเมืองลงจากเก้าอี้แบบไม่สวย แต่ประเทศไทยต้องจารึกในประวัติศาสตร์ว่า ใครก็มีโอกาสเป็นนายกฯ ถ้าเหลี่ยมดันหลัง
       
        “น้องปู” เป็นนอมินีรุ่น 3 มีประสบการณ์ในชีวิตด้อยกว่าทั้งคู่ เมื่อ 4-5 เดือนก่อนเธอเป็นเพียงตัวชูในกลุ่มบริษัทครอบครัว อีกไม่นานจะเดินกระทบไหล่ผู้นำโลก เจรจาความเมือง บริหารประเทศมีงบ 2 ล้านล้านบาทต่อปี
       
       ตอกย้ำให้คนทั้งโลกได้รับรู้อีกครั้งว่าการเป็นนายกฯ ประเทศไทยนั้นง่ายกว่าโอกาสถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 แน่นอน! “เหลี่ยม” คือตัวกำหนดชะตากรรม วางเส้นทางอนาคตของคนบนแผ่นดินไทย ตราบที่ยังมีลมหายใจ
       
       เหลี่ยมสะใจ และสาแก่ใจซ้ำซาก เมื่อตัวแทนนอมินีได้เป็นผู้นำรัฐบาลไทย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนล้างแค้น ตราบใดที่นอมินีเหลี่ยมกุมอำนาจ บ้านเมืองไม่มีโอกาสได้สงบสุข มีแต่เรื่องวุ่นวายผสมกับทุจริต งาบคำโต
       
       มีทรัพย์สินเงินทองกี่แสนล้านบาท เหลี่ยมยังมองแผ่นดินไทยเป็นขุมทรัพย์ขุดไม่มีวันจบสิ้น เลือดคนจนหอมหวาน สูบเท่าไหร่ไม่มีวันหมด เจ้าตัวเต็มใจให้สูบ ผ่านมือเครือข่ายขบวนการเหลี่ยม จ่าย 1 พันบาทต่อหัว
       
       จ่ายครั้งเดียว ได้สิทธิ์กุมอำนาจแปลงทรัพย์สินแผ่นดินเข้ากระเป๋า!
       
       การให้ “น้องปู” เป็นตัวแทนนอมินีรุ่น 3 ถือว่าเป็นเดิมพันสุดท้าย ก่อนจะลงไปสู่นอมินีรุ่นลูก หลาน หรือทายาทผ่านสาแหรกชินวัตรและเครือญาติ
       
       การให้คนไม่ประสีประสาทางการเมืองมาเป็นผู้นำประเทศมีพลเมืองกว่า 65 ล้านคนได้สำเร็จ ถือเป็นผลสุดยอดของการล้างแค้น และเหลี่ยมจะบรรลุถึงจุดนั้นผ่านกระบวนการรัฐสภา โดยนักซื้อเสียงพร้อมใจยกมือให้
       
       จากนั้น บ้านเมืองจะจมปลักในวิบากกรรม ชาวบ้านเผชิญทุกข์เข็ญอย่างไร เหลี่ยมและเครือข่ายไม่รับรู้ เมื่อจ่ายเงินซื้อสิทธิ์ หัวจะ 1 พันบาทแล้ว
       
       กระบวนการล้างแค้นของเหลี่ยมร้าย ผ่านศึกเลือกตั้ง ป่วนเมือง เป็น “เกมบีบหัวใจ” วิญญูชนอย่างแท้จริง! ไม่ใช่กกต. ยื้อเปิดไฟเขียวให้พวกเดนคุก นักเผาบ้านเผาเมือง ก่อการร้ายให้เป็น ส.ส. ยกระดับจากไพร่ให้เป็นอำมาตย์
       
       แผนของเหลี่ยมร้ายได้นำการก้าวย่างตามจังหวะของ “น้องปู” สู่เก้าอี้นายกฯ! มาถึงขั้นนี้ ต้องยอมรับว่าไม่น่าจะเหลืออุปสรรค ขวากหนามปิดกั้น
       
       ต่อให้เธอประกาศว่า “ดิฉันตัดสินใจไม่ขอรับตำแหน่งนายกฯ ไม่สามารถจริงๆ” คงไม่ได้ พี่เหลี่ยมร้ายไม่ยอมแน่! หลังจากลงทุนมาถึงขั้นนี้
       
       เพียงแต่ว่า “น้องปู” ถูกมองว่าไม่ประมาณตน ประเมินศักยภาพตัวเองสูงเกินไป! ภารกิจของผู้นำชาติ ไม่ใช่งานบริหารงานประชาสัมพันธ์ เจ๊าะแจ๊ะ แนะนำโครงการบ้านจัดสรร โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ เอาใจลูกค้า ผู้บริโภค
       
       ถ้าจะเปรียบภารกิจของ “น้องปู” คงเหมือน “ขี้เปี้ยลุกขึ้นฟ้อน” ตามคำเปรียบเปรยของคนเมืองเหนือ เป็นการตอบสนองความอยากโดยไม่มองขีดจำกัดของตัวเอง! “ขี้เปี้ย” คือคนมีแข้งขาง่อยเปลี้ย อยากลุกขึ้นฟ้อนรำ
       
       ต่อให้พยายามอย่างไร ร่างกาย สังขาร คงฟ้อนรำตามจังหวะให้ดูสวยงามไม่ได้! “น้องปู” คงอยู่ในสภาพนั้น ประเทศไทยไม่ใช่ชาติกระจอก! กองทัพมีศักยภาพอันดับที่ 19 ของโลก ไม่ใช่ตัวโจ๊กปลายแถวนะโว้ย!
       
       แต่ผู้นำรัฐบาลไทยมีความอดทนเป็นเลิศ ยอมให้ฮุนเซนเขมรต่ำหยามน้ำหน้าซ้ำซาก! ยอมให้ไอ้กุ๊ยกัมพูชาคนเดียว คนอื่นอย่าแหยม! ฮุนเซนเจ๋งแค่ไหน ดูได้จากการจ้างเหลี่ยมร้ายเป็นที่ปรึกษา สั่งให้ทรยศต่อชาติก็ยังได้
       
       การเมืองน้ำเน่าต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ ต้องหน้าด้าน! “เสี่ยหมัก” จอมเก๋าลายคราม ยังเอาตัวไม่รอด! “เสี่ยชาย ตู้เย็น” ลวดลายสับหลีกเวลาซื้อตู้เย็นเข็นขึ้นคอนโด ยังหมดท่า ทั้งๆ ที่ได้เหลี่ยมติวหนัก เมียคุมเข้ม
       
       “น้องปู” มีสามีก็เหมือนไม่มี จะปรับทุกข์ ปรึกษาหารือ ยามร่วมเรียงเคียงหมอนค่ำคืนกับใครได้ มองทางไหนมีแต่คนจ้องเอาผลประโยชน์! หรือจะทำตัวเป็นหุ่นยนต์ไขลาน พี่เหลี่ยมร้ายบงการให้ทำอะไรก็ตามใจ
       
        การเป็น “ขี้เปี้ยลุกฟ้อน” จะเป็นไตรภาคของแผนใช้นอมินีตอบสนองความสะใจ “น้องปู” จะทำได้ดีเพียงใด อย่าหวังมาก! เหลี่ยมร้ายไม่เห็นคนอื่นมีค่าถ้าไร้ประโยชน์ เมียรักคู่ทุกข์คู่ยาก ยังเลิกราเพราะตัณหาการเมือง
       
        “ขี้เปี้ย” จะก้าวย่างสวยงาม หรือทุลักทุเล น่าเวทนาอย่างไร เหลี่ยมร้าย และเครือข่ายไม่สนใจ แต่คนไทยทั้งแผ่นดินนอกสังกัดเหลี่ยมร้ายต้องทนอดสู
       
        ไม่ใช่เฉพาะคนไทยที่ต้องชมการแสดงของ “ขี้เปี้ย” นานาชาติจะเฝ้าดูว่าการเมืองสไตล์นอมินีแบบสุดโต่งจะทำเมืองไทยให้อยู่ในสภาพเช่นใด
       
        ถ้าฟ้อนรำมีจังหวะก้าวสวยงาม ถูกใจผู้ชม รักษาคำมั่นสัญญาช่วงหาเสียง คงไปได้สวย! ถ้า “น้องปู” ฟ้อนสลับกับล้มลุกคลุกคลานมีแต่คำแก้ตัว น่ากลัวว่าจะเผ่นลงเวทีหนีเสียงโห่ไล่ ท่อนไม้ ก้อนอิฐ ไม่ทันนะดิ! อิอิอิ!!! 

19 กรกฎาคม 2554

เมื่อคนที่มีอำนาจเกือบทั้งหมดไม่สนใจใยดี แล้วจะให้ประชาชนกลุ่มเล็กๆสองมือเปล่าไปแบกรับแทน


10 เหตุผลที่ราชอาณาไทยจะเสียดินแดนในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ !?
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 19 กรกฎาคม 2554 10:59 น.
สถิติที่น่าสนใจในศาลโลกคือมี 17 คดีที่ศาลโลกรับเอาไว้พิจารณาในเรื่องมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งมี 10 คดีที่ศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่ง 10 คดีนั้น “ไม่มีแม้แต่คดีเดียว” ที่มีประเทศต่างๆได้ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลโลก

ดังนั้นถ้าหากประเทศไทยพร้อมและเดินหน้าในการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลโลกได้กำหนดมาครั้งนี้จะถือได้ว่า...

“เป็นชาติแรกในโลกที่(แกล้ง)โง่ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก”

เพราะหากไทยยอมบ้าจี้(แกล้ง)โง่ปฏิบัติตามมติของศาลโลกด้วยการถอนทหารออกจากพื้นที่ซึ่งกำหนดโดยศาลโลกเมื่อใด ผลที่ตามมาจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสียดินแดนโดยนิตินัย(จากเดิมซึ่งเสียดินแดนในทางพฤตินัยไปแล้ว) ดังต่อไปนี้

1. เท่ากับว่าฝ่ายไทยและกัมพูชายอมถอยทหารออกจาก “แผ่นดินไทย” โดยฝ่ายไทยยอมถอยไป “มากกว่า” แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว
อันเป็นการถอยเกินไปมากกกว่าที่รัฐบาลเรียกว่า ”พื้นที่พิพาท” ซึ่งรวมถึง สระตราว, สถูปคู่, ผามออีแดง, และภูมะเขือ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่อยู่ในแผ่นดินไทยทั้งสิ้น

2. หากทหารไทยและทหารกัมพูชายอมถอยออกจากแผ่นดินไทย ก็จะเท่ากับว่าชุมชน สิ่งปลูกสร้าง ของกัมพูชา สามารถยังคงรุกรานและยึดครองแผ่นดินไทยได้ต่อไป
โดยที่ฝ่ายไทยไม่สามารถใช้กำลังทหารผลักดันใดๆได้อีก

ซึ่งบังเอิญอย่างร้ายการที่ตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวครั้งนี้ มีความเลวร้ายยิ่งกว่า“ร่างข้อตกลงชั่วคราว” ซึ่งแนบอยู่ในบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ซึ่งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพยายามมาหลายครั้งที่จะขอความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ตั้งแต่ปี 2552 แต่บังเอิญว่าประชาชนรู้เท่าทันเสียก่อน โดยในร่างข้อตกลงชั่วคราวในข้อที่ 1 ระบุว่า

“คู่ภาคีจะไม่คงกำลังทหารของแต่ละฝ่ายในวัด “แก้วสิขาคีรีสะวารา” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “วัด”) พื้นที่รอบวัดและพื้นที่ (ไทย-ปราสาท) (กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวิเฮียร์) (พระวิหารในภาษาไทย) แม่ทัพภาคที่สองของกองทัพบกไทยและผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 4 ของกองทัพกัมพูชาจะกำหนดมาตรการที่เหมาะสมรร่วมกันเพื่อปฏิบัติให้ข้อบทนี้มีผล โดยฝ่ายชุดทหารติดตามสถานการณ์ชั่วคราวของแต่ละฝ่าย”

3. ฝ่ายไทยจะถูกห้ามไม่ให้ขัดขวางการเข้าไปยังปราสาทพระวิหาร หรือขัดขวางการส่งบำรุงให้แก่บุคคลกรที่ไม่ใช่ทหาร นั่นหมายถึงต้องปล่อยถนนที่สร้างรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยให้เป็นเส้นทางลำเลียงของกัมพูชาต่อไป ชุมชนกัมพูชาย่อมสามารถขยายชุมชนต่อไปได้เรื่อยๆ
อีกทั้งจะมีทหารอีกจำนวนมากสามารถเปลี่ยนชุดเป็นพลเรือน เป็นพระสงฆ์ โดยที่ฝ่ายไทยทำอะไรไม่ได้ตรวจสอบก็ไม่ได้ และจะทำให้เปิดเป็นพื้นที่ให้กับนักท่องเที่ยวเข้าปราสาทพระวิหารเข้ามาจากฝั่งกัมพูชาและใช้ถนนซึ่งรุกล้ำเข้ามาในเขตไทยได้อีกด้วย

จึงย่อมเท่ากับศาลโลกใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวสนับสนุนการที่กัมพูชาละเมิด บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 MOU 2543 โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างเต็มรูปแบบ

4. หากไทยยอมให้อาเซียนส่งผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซีย
เข้ามาในพื้นที่ย่อมเท่ากับมีชาติที่สามเข้ามาแทรกแซงอธิปไตยของชาติ ด้วยการเข้ามาเป็นสักขีพยานในการห้ามมีการปะทะต่อกัน จึงย่อมเท่ากับมีชนชาติอื่นเข้ามาเป็น “กันชน”ห้ามทหารไทยผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นการเรียกร้องโดยฝั่งกัมพูชามาโดยตลอด

5. หากไทยยอมถอนทหารออกจาก “แผ่นดินไทย” ตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวจะทำให้กัมพูชาสามารถเดินหน้าต่อไปในเวทีมรดกโลกได้ โดยปราศจากการขัดขวางจากทหารไทยอีกต่อไป
อันรวมถึงการที่ยูเนสโกจะส่งคนเข้าไปยังปราสาทพระวิหารโดยอาศัยถนนที่สร้างจากบ้านโกมุยรุกเข้ามาในดินแดนไทยเพื่อดำเนินการ ป้องกัน อนุรักษ์ บูรณะ และปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร อันอาจรวมถึงการพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพื่อการรองรับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารต่อไปในอนาคตได้ และทำให้พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารซึ่งเป็น “มรดกโลกอันตราย” ซึ่งเดิมไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการได้ จะกลายเป็นพื้นที่สันติภาพโดยมีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกและผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่จะเป็นหลักประกันให้กัมพูชาเดินหน้าต่อไปในมรดกโลกได้

6. หากไทยยอมปฏิบัติตามมติศาลโลก อาจถูกตีความได้ว่า “ไทยรับอำนาจศาลโลก” และจะยินยอมให้มีการตัดสินตามที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นการตีความคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ. 2505 ให้ขยายขอบเขตไปมากกว่าการตัดสินว่า “ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา”


หมายความว่าประเทศไทย “เปลี่ยนจุดยืน” สำคัญจากเดิมที่ฝ่ายไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2505 ว่าไม่เห็นด้วย คัดค้าน ประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลโลกที่ยกปราสาทพระวิหารให้อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา และขอสงวนสิทธิ์ในการทวงคืนปราสาทพระวิหารในอนาคต และประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการยอมรับอำนาจศาลโลกโดยบังคับมา 50 ปีแล้ว กลายมาเป็นว่าฝ่ายไทย “ยอมรับ”คำตัดสินเมื่อปี พ.ศ. 2505 จึงพร้อมที่จะน้อมรับและยอมรับในการตีความให้ขยายขอบเขตไปมากกว่าเดิมด้วย โดยมีจุดเริ่มต้นด้วยการแสดงออกว่า “ยอมรับและปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก”

เมื่อฝ่ายไทยไม่ยืนหยัดต่อการ คัดค้าน ประท้วง และสงวนสิทธิ์ ต่อคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ที่ได้ยื่นเอาไว้ต่อองค์การสหประชาชาติแล้ว ก็ย่อมต้องถูกตีความว่าไทยไม่ยืนหยัดต่อการปฏิเสธในเนื้อหาที่ว่า “กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ได้ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งเป็นมูลฐานสำคัญในการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505” ด้วยเช่นกัน ทั้งๆ ที่ไทยได้คัดค้าน ประท้วง สงวนสิทธิ์ เอาไว้เพราะศาลโลกไม่ยอมกล่าวถึงและพิพากษาประเด็นที่ไทยหยิบขึ้นมาต่อสู้อย่างอยุติธรรมในการใช้กฎหมายปิดปากโดยไม่สนใจเรื่องอื่น เช่น ศาลโลกไม่พิจารณากรณีแผนที่ทำผิด ศาลโลกไม่กล่าวถึงผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันเส้นสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา ศาลโลกไม่ยอมวินิจฉัยบันทึกของฝรั่งเศสที่ระบุว่าขอบหน้าผาคือสันปันน้ำและเส้นเขตแดนในบริเวณทิวเขาดงรัก ฯลฯ

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็แปลว่าหากปล่อยให้ ศาลโลกวินิจฉัยตีความคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ. 2505 ย่อมเกิดความเสี่ยงที่จะใช้การอ้างอิงกฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งเป็นมูลฐานในการตัดสินคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ พ.ศ. 2505 อีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็ยังอาจถูกอ้างอิงจากพฤติกรรมของรัฐบาลในการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของฝ่ายไทยอีกด้วย เช่น จากเอกสาร บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 หรือ MOU 2543 ข้อ 1 (ค.), จากการไม่ทักท้วงในเวทีคณะกรรมการมรดกโลก, และบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ฯลฯ

การยอมรับอำนาจศาลโลกให้ตีความเช่นนี้ จึงย่อมมี “ความเสี่ยงสูงมาก” เพราะศาลโลกมีแนวโน้มที่จะตีความและพิพากษาให้เป็นคุณต่อกัมพูชาและเป็นโทษกับฝ่ายไทย

7. หากไทยแพ้ที่ศาลโลกก็จะแพ้ต่อที่มรดกโลก โดยดูจากสัญญาณการลุแก่อำนาจออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในการตีกรอบให้ถอนทหารทั้งสองฝ่ายออกจาก “แผ่นดินไทย” หากศาลโลกมีคำตัดสินให้ “เป็นคุณ”กับฝ่ายกัมพูชาเมื่อใด มรดกโลกปราสาทพระวิหารก็จะสามารถเดินหน้าผ่านฉลุยต่อไปโดยไม่ต้องสนใจประเทศไทยว่าจะถอนตัวหรือไม่ เพราะถือว่าอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา

8. ความผิดพลาดในการวางกลยุทธ์ความสัมพันธ์ไทยกับนานาชาติ โดยเฉพาะกับประเทศสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ไทยเสื่อมถอยความสัมพันธ์กับจีน และรัสเซีย ฝรั่งเศสยืนอยู่ข้างกัมพูชาเต็มตัว ส่วน สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ อยู่บนผลประโยชน์ทางพลังงานเป็นหลักสำคัญ ไทยจึงอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบกัมพูชาในเวทีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจากนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นจุดที่มีความน่าเป็นห่วงที่สุดในขณะนี้ ทำให้กัมพูชากลายเป็นชาติที่มีพวกมากกว่าฝ่ายไทยในเวทีนานาชาติ

9. การที่ฝ่ายไทยยืนยันที่จะเลือกใช้เครื่องมือ MOU 2543
เพื่อใช้ในการอ้างว่า ไทย-กัมพูชากำลังตกลงกันเรื่องเขตแดนกันเอง เป็นผลทำให้ไม่สามารถยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองให้ชัดเจนได้, ทำให้ไม่สามารถอ้างข้อสงวนสิทธิ์ของไทยต่อคดีปราสาทพระวิหารได้, ในขณะที่กัมพูชาอาศัย MOU 2543 ในการอธิบายว่าไทยและกัมพูชาต้อง “ทำหลักเขตแดน” ในการปักปันซึ่งเสร็จสิ้นแล้วตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 โดยการอ้างอิงคำพิพากษาศาลโลก การต่อสู้เช่นนี้ได้พิสูจน์แล้วว่า MOU 2543 ช่วยอะไรไม่ได้ในเวทีมรดกโลก(ไทยจึงต้องประกาศลาออกจากภาคีมรดกโลก) และ MOU 2543 ก็ช่วยอะไรไม่ได้ในศาลโลกจนศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้เป็นคุณต่อฝ่ายกัมพูชาอยู่ในขณะนี้ หากปล่อยให้มีคำตัดสินตีความคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ไทยจึงมีแนวโน้มสูงที่จะพ่ายแพ้ต่อกัมพูชาในท้ายที่สุด


10. ทหารและตุลาการไม่ทำหน้าที่
ทหารซึ่งมีจอมทัพไทยเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และศาลก็กระทำการในพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับอ่อนแอไม่ใช้อำนาจและทำหน้าที่ของตัวเองในการปกป้องแผ่นดิน ทหารบางคนกลับยอมจำนนต่อฝ่ายการเมืองพร้อมทำตามนโยบายนักการเมืองอย่างไม่ลืมหูลืมตา บ้างก็ได้ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ จนปล่อยให้แผ่นดินไทยถูกรุกรานและยึดครองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในขณะที่คดีความขึ้นสู่องค์กรอิสระและศาลหลายคดีเกี่ยวกับเขตแดนหลายคนกลับขาดความกล้าหาญ เพิกเฉยปัดความรับผิดชอบ ไม่อยากข้องเกี่ยว อย่างน่าหดหู่ยิ่งนัก

หนทางที่ประเทศไทยจะรอดจากสถานการณ์นี้มีเพียง 3 ประการเท่านั้นคือ

ประการแรก ประกาศไม่รับอำนาจศาลโลก ยืนยันว่า ไทยได้คัดค้าน ประท้วง และตั้งข้อสงวน ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 เมื่อคดีนี้ถูกระบุในใบแจกข่าวของศาลโลกว่าเป็นคดีใหม่ ไทยจึงมีสิทธิ์ไม่ยอมรับ อีกทั้งประเทศไทยก็ไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการยอมรับการบังคับอำนาจศาลโลกมานาน 50 ปีมาแล้ว

ประการที่สอง ไม่ถอนทหารออกจากแผ่นดินไทยโดยเด็ดขาด และเร่งผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย

ประการที่สาม ปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างเร่งด่วน

สามประการนี้ดูจะเป็นความหวังลมๆแล้งๆ เพราะรักษาการนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกษิต ภิรมย์ ต่างออกมาแสดงความเห็น “พอใจ”กับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก อีกทั้งว่าที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ดูจะเห็นดีเห็นงามกับเรื่องความสัมพันธ์กับกัมพูชามากกว่าการที่แผ่นดินไทยถูกรุกรานและยึดครอง

เมื่อประชาชนตาดำๆ สองมือเปล่า ไม่มีปืน ไม่มีอำนาจรัฐ ไม่มีอำนาจตุลาการ ไม่สามารถหวังได้กับนักการเมือง และพึ่งไม่ได้กับทหารภายใต้จอมทัพไทย และพึ่งไม่ได้กับศาลซึ่งกระทำในพระปรมาภิไธย แม้แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่สนใจเรื่องแผ่นดิน

ก็อดสงสัยไม่ได้ เมื่อ “คนที่มีอำนาจเกือบทั้งหมด” ไม่สนใจใยดี แล้วจะให้ประชาชนกลุ่มเล็กๆสองมือเปล่า ไปแบกรับห้ามมิให้ราชอาณาจักรไทยเสียดินแดน หรือจะรักษาอธิปไตยและดินแดนไทยเอาไว้ได้อย่างไร !!?

18 กรกฎาคม 2554

คอยดูอัปรีสิทธิ์จะทำให้ไทยเสียดินแดนได้คามือหรือไม่


ชี้ถอนทหาร “เขาวิหาร” ตามศาลโลกไทยสูญพื้นที่อื้อ - ตะลึง! ลึกถึง “ผามออีแดง” เขตอุทยานฯ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์18 กรกฎาคม 2554 20:09 น.

จุดตรวจการณ์ทหารพรานไทย บริเวณผามออีแดง ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และที่มองเห็นอยู่ด้านหน้าบนยอดเขาพระวิหาร เป็นตัวปราสาทพระวิหาร (แฟ้มภาพ)
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ผามออีแดง จุดชมวิวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว บนอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ของไทย

พล.ต.ต.เสริมสุข วีรวงศ์ ผบก.ภ.จว. ศรีสะเกษ ตรวจติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เขาพระวิหาร ที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ล่าสุดวันนี้ ( 18 ก.ค.)

สถูปคู่ และเสาธงชาติไทย ด้านหน้าจุดตรวจการณ์ “ผามออีแดง”

ตัวปราสาทพระวิหาร บนยอดเขาพระวิหาร





ศรีสะเกษ - ทหารไทย “ผามออีแดง” จับตาเขมรเข้ม หลังศาลโลกสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ถอนทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหาร ขณะทหารเขมรซุ่มเงียบ มีเพียงเสียงโห่ฮาดังขึ้นที่บริเวณชุมชนทางขึ้นปราสาท ขณะ ผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ รุดตรวจพื้นที่เชื่อเขมรไม่กล้าก่อสงครามขัดคำสั่งศาลโลก ส่วนผู้นำท้องถิ่น“กันทรลักษ์”ไม่ต้องการให้ไทยถอนกำลังพ้นเขาวิหาร ระบุไทยเสียเปรียบหนักสูญพื้นที่มหาศาลลึกเข้ามาถึง “ผามออีแดง” เขตอุทยาน ชี้ ศาลโลกวินิจฉัยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงตามภูมิประเทศที่ต้องยึดสันปันน้ำ ระบุ ควรให้เขมรถอนทหารพร้อมพลเรือนและรื้อชุมชนสิ่งปลูกสร้างออกจากเขาวิหารด้วย
      
       วันนี้ (18 ก.ค.) เมื่อเวลา 16.15 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณผามออีแดง เขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ภายหลังศาลโลกมีคำวินิจฉัยออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปราสาทพระวิหาร โดยให้ทหารไทยและทหารกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหาร
      
       ล่าสุด พล.ต.ต.เสริมสุข วีรวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด (ผบก.ภ.จว.) ศรีสะเกษ พร้อมด้วย พ.ต.อ.สมพจน์ ขอมปรางค์ ผู้กำกับการ (ผกก.) สภ.กันทรลักษ์ และคณะ ได้ขึ้นไปตรวจติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เขาพระวิหารที่บริเวณผามออีแดงดังกล่าว ซึ่งเป็นจุดตรวจการณ์ที่สามารถมองเห็นบริเวณตัวปราสาทพระวิหารได้อย่างชัดจน
      
       โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารพรานจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 มาคอยอำนวยความสะดวกและให้การต้อนรับ ซึ่งบรรยากาศโดยทั่วไป พบว่า สถานการณ์บริเวณเขาพระวิหารยังคงปกติ โดยทหารไทยและทหารกัมพูชายังตรึงกำลังอยู่ที่บริเวณเขาพระวิหารตลอดแนวเช่นเดิม และไม่มีความเคลื่อนไหวทางทหารแต่อย่างใด มีเพียงเสียงโห่ฮาของทหารกัมพูชาอยู่ที่ชุมชนชาวกัมพูชาบริเวณเชิงบันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหารด้านทิศตะวันตก ซึ่งทหารไทยได้เฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชาอย่างใกล้ชิด
      
       พล.ต.ต.เสริมสุข วีรวงศ์ ผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์บริเวณชายแดนเขาพระวิหารโดยภาพรวมยังคงปกติ ไม่มีการเคลื่อนย้ายกำลังทหารของฝ่ายกัมพูชาแต่อย่างใด ซึ่งมั่นใจว่า ในห้วงระยะเวลานี้ทางฝ่ายกัมพูชาคงไม่กล้าที่จะก่อสงครามกับฝ่ายไทย เนื่องจากจะขัดต่อคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกที่ให้ฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหาร
      
       “ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ จะได้ร่วมกับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำการซักซ้อมแผนการอพยพชาวบ้านตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหารไปอยู่ในที่ปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา” พล.ต.ต.เสริมสุข กล่าว
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะเดียวกัน ที่บริเวณสามแยกบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้มีชาวบ้านภูมิซรอลพากันมาจับกลุ่มพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานการณ์เขาพระวิหาร ซึ่งชาวบ้านส่วนมากมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่าการที่ทหารไทยและทหารกัมพูชาต่างต้องถอนกำลังออกมาจากบริเวณเขาพระวิหารตามคำสั่งของศาลโลก อย่างน้อยจะทำให้ไม่มีการปะทะกันขึ้นในห้วงระยะเวลานี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่จากหลายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้มาสังเกตการณ์ดูความเคลื่อนไหวบริเวณบ้านภูมิซรอล ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณปราสาทพระวิหาร แต่สถานการณ์ยังคงปกติ
      
       นายวีระยุทธ ดวงแก้ว กำนันตำบลเสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้ฝ่ายไทยถอนกำลังทหารออกมาจากบริเวณเขาพระวิหาร แม้ว่าจะมีคำสั่งของศาลโลก ทั้งนี้เนื่องจากขณะนี้ฝ่ายกัมพูชารุกคืบเข้ามาในเขตแดนไทยมาก ตนอยากให้ศาลโลกพิพากษาโดยยึดความเป็นจริงของสภาพภูมิประเทศที่ขณะนี้ทหารกัมพูชาและชาวกัมพูชาขึ้นมาอยู่บนเขาพระวิหาร โดยที่ตามความเป็นจริงของการปักปันเขตแดนต้องยึดสันปันน้ำเป็นหลัก ฉะนั้นกัมพูชาจะต้องลงไปอยู่ด้านล่างของเขาพระวิหารหลังเขตสันปันน้ำเขาพระวิหารจึงจะถูกต้องตามความเป็นจริง
      
       นายโชคชัย สายแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ในทางปฏิบัติหากยึดตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ดูตามความเป็นจริงแล้ว พบว่า ตามพื้นที่ที่ให้มีการถอนกำลังทหารออกมานั้น ฝ่ายไทยค่อนข้างเสียเปรียบมาก เนื่องจากต้องสูญเสียพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
      
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผามออีแดง ออกไปมากกว่าครึ่ง รวมทั้งบริเวณสถูปคู่ด้วย ซึ่งตามแผนที่ของกัมพูชาจะลากยาวไปถึงช่องตาเฒ่าและถึงภูมะเขือ ซึ่งทำให้ไทยเสียดินแดนไปจำนวนมาก จึงน่าจะมีการคำนึงถึงข้อเท็จจริงและอยากให้รัฐบาลไทยแย้งในส่วนของแผนที่กัมพูชาที่ให้ถอนกำลังทหารออกไป เนื่องจากไทยเสียเปรียบและเสียดินแดนหรือพื้นที่เป็นจำนวนมาก
      
       ทางด้าน นายทิวา รุ้งแก้ว ประธานคณะกรรมการเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า การที่ศาลโลกให้ทหารไทย และทหารกัมพูชา ถอนกำลังออกจากบริเวณเขาพระวิหารนั้น ทหารกัมพูชาควรถอนเอาพลเรือนที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ออกไปด้วย เนื่องจากบรรดาพลเรือนชาวกัมพูชาเข้ามาสร้างชุมชน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ยึดครองในพื้นที่ที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดน
      
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ถือว่าเป็นการสร้างวัดของกัมพูชา ดังนั้น จึงควรรื้อถอนออกไป พร้อมกับกำลังทหารของกัมพูชาด้วย ไม่เช่นนั้นถือว่ากัมพูชาเล่นเล่ห์ในการใช้โล่มนุษย์เข้ายึดครองเขตแดนที่บริเวณเขาพระวิหารอยู่ต่อไป
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า แม้ว่าศาลโลกจะมีคำวินิจฉัยออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ทหารไทยและทหารกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหาร แต่ปรากฏว่า ฝ่ายกัมพูชาได้มีการเสริมรถถังเข้ามาไว้ที่ตลอดแนวเขาพระวิหาร เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาเกรงว่าอาจเกิดการปะทะกันระหว่างทหารกัมพูชาและทหารไทยได้ตลอดเวลา

17 กรกฎาคม 2554

กกต.สร้างเงื่อนไขความตึงเครียด-วุ่นวาย

       
       กลายเป็นเรื่องเกิดความตึงเครียดขึ้นมาจนได้หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แขวนผู้สมัคร ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งจำนวนเพียงแค่ 358 คนทำให้ไม่ครบจำนวน 95 เปอร์เซ็นต์จึงเปิดสภาเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ไม่ได้ อีกทั้งว่าที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมไปถึงนักการเมืองคนสำคัญอื่นๆอีกหลายคน หรือแม้แต่แกนนำคนเสื้อแดงถึง 11 คนก็ยังถูกแขวนรวมกันไปด้วย
       
       แม้ว่าเป็นเรื่องปกติของการเลือกตั้งที่ต้องมีการทุจริต ซื้อเสียง ทำผิดกฎหมายสารพัด มีทั้งการร้องเรียนการจับได้คาหนังคาเขา ก็ต้องดำเนินการกันไป แต่กรณีที่เกิดขึ้นกับ กกต.เที่ยวนี้มันคนละเรื่องและต้องบอกว่า กกต.นี่แหละที่เป็นต้นเหตุของการสร้างปัญหาทำให้เกิดความวุ่นวายตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ทำหน้าที่รักษากฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดนั่นเอง
       
       หากพิจารณาเริ่มตั้งแต่วันที่รับสมัคร ส.ส. กกต.ก็ได้รับรองคุณสมบัติของผู้สมัครที่มีปัญหาไปก่อน แม้ว่าจะอ้างว่าเป็นช่วงฉุกละหุกมีงานอื่นที่ต้องทำ ยุ่งจน “มือเป็นระวิง” ต้องปล่อยไปก่อนเพื่อให้ทันเปิดประชุมสภาภายใน 30 วัน แต่ระหว่างการหาเสียงที่มีเวลาเป็นเดือนก็ไม่ทำอะไรจนกระทั่งมีการประกาศผลคะแนนจึงค่อยมีการประกาศ “แขวน”
       
       นี่ไม่ได้พูดถึงกรณีสำคัญทั้งที่เป็นกรณีของว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ และว่าที่ผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ รวมไปถึงพวกแกนนำคนเสื้อแดงอีก 11 คนที่ถูกแขวนพร้อมกันอันเป็นผลมาจากเรื่องการถูกร้องเรียน ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งสารพัด ซึ่งมาประกาศเอาในช่วงเข้าได้เข้าเข็ม เป็นอีกอารมณ์หนึ่งไปแล้ว กลายเป็นว่า กกต.กำลังตกเป็นเครื่องมือของ “อำนาจภายนอก” เพื่อขัดขวางไม่ให้พรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล ทั้งที่ได้รับเลือกจากชาวบ้านอย่างท่วมท้น ซึ่งจริงหรือไม่จริงไม่รู้ แต่เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความตึงเครียดโดยไม่จำเป็น
       
       การที่บอกว่าจะมีการประกาศชี้ขาดในรอบต่อไปวันที่ 19 กรกฎาคม หรือรอบที่ 3 ในเดือนสิงหาคม มองอีกมุมหนึ่งมันก็เหมือนกับการแก้เกี้ยวเท่านั้น เพราะหลายคนมองออกว่าพวกที่ถูกแขวนก็จะได้รับการรับรองจนกระทั่งสามารถเปิดสภาได้ตามกฎหมาย กลายเป็นถูกมองว่านี่คือ “การยื้อ” สร้างความรำคาญให้กับชาวบ้านโดยไม่จำเป็น เพราะหากพิจารณาอีกมุมหนึ่งในเมื่อพิจารณาไม่ทัน อ้างว่ามีหลักฐานต้องพิจารณาให้รอบคอบรัดกุม แต่คำถามก็คือทำไมไม่ปล่อยไปก่อนทั้ง 500 คนแล้วค่อยมาสอยกันภายหลัง เพราะไหนๆ ก็ทำอะไรไม่ทันอยู่แล้ว ที่สำคัญเป็นการถูกด่าว่า “ห่วยแตก” พร้อมกันรอบเดียว
       
       นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานของ กกต.เข้าข่ายไร้มาตรฐาน ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นก็เห็นจะได้แก่การ “ตัดสิทธิ” ชาวบ้านกว่า 2 ล้านคนกรณีเคยลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตเมื่อปี 2550 แต่ที่ผ่านคนเหล่านั้นก็ไม่ได้ไปแจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไข ขณะที่ กกต.ก็ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นที่เข้าใจ กลายเป็นว่าเมื่อถึงวันเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พวกเขาก็ใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่ได้ ซึ่งจำนวนกว่า 2 ล้านคนมันก็มีจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้อย่างมีนัยสำคัญ
       
       นี่คือปัญหาที่หากมีการบริหารจัดการที่ดีก็น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที อย่างไรก็ดีเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นปัญหาตามมา อาจส่งผลถึงสถานะของ กกต.รวมไปถึงมีผลต่อการเลือกตั้งที่มีปัญหาตามมาก็เป็นได้
       
       เมื่อกล่าวถึงการจัดการเลือกตั้งก็ต้องบอกว่าในครั้งนี้ถือว่า “ห่วยแตก” ขาดความน่าเชื่อถือเท่าที่ควรจะเป็น แม้ว่าภาพโดยรวมจะออกมาในทางสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่เท่าที่เห็นปรากฎว่าเต็มไปด้วยการทุจริตซื้อเสียงกันอย่างมโหฬาร แต่กลายเป็นว่าไม่มีผู้สมัครที่ซื้อเสียง หรือคนที่ถูกร้องเรียนว่าทุจริตการเลือกตั้งสักคนเดียวที่ถูก กกต.ชูใบเหลืองและใบแดงสักคนเดียว มันเป็นไปได้อย่างไร (เพิ่งมาชูใบเหลืองให้กับผู้สมัคร ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย)
       
       ทั้งที่น่าจะตัดไฟเสียแต่ต้นลม แม้ว่าอาจเป็นการทำลายบรรยากาศไปบ้าง แต่ถ้ามีหลักฐานการทุจริตอยู่ในมืออย่างพร้อมมูลอยู่แล้วมันก็สามารถ “ตัดเกม” ไปก่อนล่วงหน้า เพราะในเวลานั้นยังไม่รู้ผลคะแนนเลือกตั้ง ข้อกล่าวหาทำนองว่าเป็นการ “ขัดขวาง” ของพวก “อำนาจภายนอก” จะมีน้ำหนักน้อยลงไป 
       
       การประกาศแขวนว่าที่ ส.ส.อีก 142 คน ซึ่งในจำนวนมีบุคคลที่สำคัญเป็นที่จับตามอง ที่สำคัญเป็นการสร้างเงื่อนไขจนทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาได้ทุกเมื่อ ทำนองว่า “ถูกกลั่นแกล้ง” แม้ว่าคนพวกนี้จะมีความผิดชัดเจน แต่กลายเป็นผิดเพี้ยนไปอีกอารมณ์หนึ่งกันไปแล้ว ซึ่งมันก็ช่วยไม่ได้ที่คนไม่น้อยต้องมองออกมาแบบนั้นจริงๆ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นแบบนี้มันก็โทษใครไม่ได้นอกจาก กกต.เท่านั้น
       
       เพราะในที่สุดแล้วคนที่ถูกแขวนพวกนี้ในที่สุดก็ต้องปล่อยไป แต่ก็จะถูกมองอีกว่าเป็นเพราะถูกกดดันจากภายนอก เท่าที่เห็นก็เริ่มมีการข่มขู่จากคนเสื้อแดงออกมาแล้วทำนองว่าถ้ายังยื้ออีกก็มีเรื่องแน่ ซึ่งมันก็เป็นไปได้ เพราะเป็นการทำงานที่ไร้มาตรฐานของ กกต.ที่ไม่กล้าตัดสินใจมาตั้งแต่แรก ปล่อยให้เวลาล่วงเลยจนกระทั่งเกิดความตึงเครียดรวมไปถึงอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมาภายหลัง!!