21 ตุลาคม 2552

หยุดจัดสรรคลื่น 3 จี เพื่อนักธุรกิจบางราย


นับจากวันเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างสรุปข้อสนเทศการจัดสรรคลื่นความถี่ไอเอ็มที (IMT) หรือทรีจี แอนด์ บียอนด์ (3G and beyond) โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เมื่อปลายเดือนกันยายนทำให้ความชัดเจนเรื่องการออกใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3 จีในประเทศไทยที่กำลังจะกลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานธรรมดาไปแล้ว     ไทยเรามีบทเรียนในอดีตจากการวางกฎเกณฑ์ที่ทำให้เกิดการผูกขาดทั้งจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เราน่าจะต้องเรียนรู้ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยจนกระทั่งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยต้องย่ำอยู่กับที่เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน    ปัญหาพวกนี้ก็เช่นข้อจำกัดและข้อเสียเปรียบของผู้ประกอบการในประเทศ การกำหนดวิธีการประมูลที่มุ่งเน้นค่าตอบแทนสูง   บทบาทของรัฐวิสาหกิจ   เอกชนผู้เคยรับสัมปทานเดิม    การแข่งขันของตลาด การพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูล   เมืองไทยมีโอเปอเรเตอร์สักกี่รายกันเชียว

ทั้งนี้บจก.กุหลาบแก้วมีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล 68% นายพงส์ สารสิน 1.27% นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ 0.82% และผู้ถือหุ้นรายย่อย 0.01% ทั้งหมดเป็นผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก (หุ้นบุริมสิทธิ) และบจก.ไซเพรส โฮลดิ้งส์ 29.9% ทำให้เข้าใจได้ว่า ทั้ง 2 บริษัททั้งซีดาร์ โฮลดิ้งส์ และกุหลาบแก้ว ต่างเป็นนิติบุคคลไทย แต่การถือหุ้นของกุหลาบแก้วมีการแบ่งการถือหุ้นออกเป็นกลุ่ม คือ ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก (หุ้นบุริมสิทธิ) และผู้ถือหุ้นกลุ่ม ข (หุ้นสามัญ) ซึ่งข้อบังคับของบริษัทกำหนดผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก ไว้แตกต่างจากหุ้นกลุ่ม ข โดยเฉพาะการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก แต่ละรายมีสิทธิออกเสียง 1 เสียงสำหรับ 10 หุ้น ส่วนผู้ถือหุ้นกลุ่ม ข แต่ละรายมีสิทธิออกเสียง 1 เสียงสำหรับ 1 หุ้นกลุ่มผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจึงมีอำนาจออกเสียงน้อยกว่าผู้ถือหุ้น ข (หุ้นสามัญ) ตามจำนวนหุ้น ไซเพรส ถือหุ้นโดยซิคดามอร์ อินเวสเม้นท์ โฮลดิ้งส์ พีทีดี แอลทีดี (สิงคโปร์) 99.99% จึงมีอำนาจอย่างเต็มที่จึงทำให้เข้าใจได้ว่าการถือหุ้นชินคอร์ปโดยนิติบุคคลไทยต่างเป็นการตั้งนอมินีของกลุ่มเทมาเส็ก

ศุภชัย เจียรวนนท์แห่งบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นแสดงจุดยืนและเรียกร้องต่อกทช.ให้ตั้งราคาประมูลที่ไม่สูงเกินไปเพราะจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นแล้วภาระจะตกอยู่กับผู้ใช้บริการรวมทั้งตั้งคำถามว่าทำอย่างไรไม่ให้อุตสาหกรรมนี้ถูกควบคุมและครอบงำโดยต่างประเทศ  โดยเกรงว่าการประมูลไลเซนส์ 3 จีครั้งนี้จะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทต่างชาติและจะกระทบกับรัฐวิสาหกิจไทยที่ต้องสูญเสียรายได้ในอนาคต  

ด้านสภาทนายความก็ออกแถลงการณ์ถึงบทบาทอำนาจหน้าที่และความไม่ชอบธรรมของ กทช.ชุดปัจจุบันซึ่งกำลังพยายามทำตัวเป็นองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว   ทั้งนี้เพราะกทช.มีหน้าที่ปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลแต่ไม่มีอำนาจหน้าที่จัดทำและประกาศแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมและแผนความถี่วิทยุฉบับที่ 2 ซึ่งหมายถึงการเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จีด้วย  

ผู้ยื่นคำขอเข้าให้บริการจะต้องเป็นบริษัทเอกชนที่ถือครองหุ้นซึ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายไทยโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ในเชิงของการเป็นเจ้าของและอำนาจในการบริหารรวมถึงต้องเปิดเผยการถือครองหุ้น การมีอำนาจควบคุม  การเข้ามาซื้อหุ้นในกิจการสื่อสารโดยรัฐบาลของต่างประเทศ   ที่ผ่านมาจึงเป็นการถือหุ้นผ่านบริการถือหุ้นแทนหรือนอมินีที่ตั้งขึ้น   ทั้งกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เทมาเส็ก ผ่านชินคอร์ป ผ่านบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (ต่างด้าว) ถือสัดส่วน 41.68% และบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (นิติบุคคลไทย) ถือสัดส่วน 54.43%แต่การถือหุ้นในชินคอร์ปได้โยงใยกันหลายทอด บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด นิติบุคคลไทย ผู้ถือหุ้นประกอบด้วย บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด 49% (ต่างด้าว) ส่วนนิติบุคคลไทย 51% ประกอบด้วย บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด 45.22% และบริษัท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 5.78%

และบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือดีแทคมีเทเลนอร์โดยรัฐบาลนอร์เวย์ที่แม้จะถือหุ้นตรงผ่านดีแทคในสัดส่วน 34.98% เป็นบจก.ไทย เทสโค โฮลดิ้งส์ถือในสัดส่วน 29.89% ที่เหลือเป็นหน่วยงานอื่นๆแต่การถือหุ้นในดีแทคก็โยงใยกันอีกหลายทอด ในบจก.ไทย เทสโค โฮลดิ้งส์นั้นถือหุ้นโดยเทเลนอร์ 49% และอีก 51% ประกอบด้วยนิติบุคคลไทย ได้แก่บจก.โบเลโร 26.2% บจก.เพทรูส 1.5% บจก.อมาโรนี่ 1.5% บจก.แซนดาลวูด โฮลดิ้งส์ 2% บจก.ฟินันซ่า 9.9% และนายบุญชัย เบญจรงคกุล 9.9% ขณะที่บจก.โบเลโร นั้นการถือหุ้นประกอบด้วยกลุ่มเทเลนอร์ 49% อีก 51% ถือโดย 4 กลุ่ม ได้แก่บจก.อาลิบี้ เคาน์ตี้ บจก.กี เคาน์ตี้ บจก.ไกอา เคาน์ตี้ และบจก.เบย์วิว เคาน์ตี้ ในสัดส่วนเท่ากัน 12.75%  แต่พบว่านิติบุคคลไทยที่ถือหุ้นใหญ่ในบจก.โบเลโร รวมถึงอีก 3 รายคือบจก.เพทรูส บริษัท อมาโรนี่ และบจก.แซนดาลวูด โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นในไทย เทสโค โฮลดิ้งส์ นั้นถือหุ้นใหญ่โดยตั๊กวู โฮลดิ้งส์ ถึง 99% ในทุกบริษัท      ตั๊กวู โฮลดิ้งส์ นั้นมีผู้ถือครองหุ้นประกอบด้วยบจก.ตั๊กวู โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด  ต่างด้าว 49% และถือครองรวมกันในชื่อ น.ส.สุนิภา ธนาเตชะพัฒน์ และนางสุกัญญา รังสิคุต สัดส่วน 51% ตามข้อบังคับของบริษัทนั้นผู้ถือหุ้นไทยเป็นหุ้นกลุ่ม ข (บุริมสิทธิ) มีสิทธิออกเสียง 10 หุ้นต่อ 1 เสียงจากจำนวนหุ้น 5,095 หุ้น จำนวนเสียง 509.50 เสียง หรือ 9.42% และจำนวน 5 หุ้น จำนวนเสียง 0.05 หรือ 0.01% ตามลำดับ      ส่วนจำนวนหุ้นตั๊กวู โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด 4,900 หุ้นออกเสียงได้ 4,900 เสียง คิดเป็น 90.57% จึงเข้าใจได้ว่านิติบุคคลไทยที่ถือหุ้นดีแทคก็น่าจะเป็นนอมินีที่ตั้งขึ้นโดยกลุ่มเทเลนอร์

ตอนนั้นกทช.ประมาณการว่าราวต้นเดือนพ.ย.นี้คงจะมีประเด็นการประมูลทั้งคุณสมบัติของผู้เข้าร่วม ทั้งราคาเริ่มต้นการประมูล ทั้งแผนรองรับกรณีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าใบอนุญาต และโครงสร้างตลาด 3 จีให้ถกเถียงกันในการเปิดรับฟังเพิ่มจะทำให้ร่างฯ 3 จีสมบูรณ์ขึ้นแต่ในทางกลับกัน ถ้าการเปิดประมูล 3 จีในไทยไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือต้องล่าช้าออกไปอีกคงไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน

เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมากสทฯ ขู่ยกเลิกสัมปทานทรูมูฟเซ็งปัญหาเบี้ยวจ่ายส่วนแบ่งรายได้  ไม่โอนเสาสัญญาณ  สั่งทบทวนต่อสัญญา  5  ปี  เบรกแผนทดลอง  3จี <คลื่นความถี่  850  เมกะเฮิรตซ์จำนวน  5  เมกะเฮิรตซ์>  เชื่อมต่อเกตเวย์  กสทฯ ฟ้องร้องทรูมูฟไว้ถึง  6  คดี,เรื่องการโอนเสาสัญญาณ จ่ายเงินภาษีสรรพสามิตคืนหลังจากที่ครม.ยกเลิกเมื่อปี 50  ลดค่าเอซีเหลือ  178  บาทจาก  200  บาทโดยไม่ผ่านการเจรจากับทีโอที   และไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายอีกทั้งยังไม่จ่ายค่าเลขหมายพิเศษ  1331  ขณะเดียวกัน  ทรูมูฟฟ้องศาลแพ่งกรณีกสทฯไม่คืนหนังสือประกันรายได้ขั้นต่ำเพราะทรูมูฟไม่จ่ายส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญา

สหภาพแรงงานกสทฯและทีโอทีเข้ายื่นจดหมายให้ชะลอการเปิดประมูลคลื่นความถี่  3จีต่อนายกฯไว้ด้วยและกรณีกระทรวงการคลังเตรียมตั้งบริษัทลูกเพื่อรับส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานโดยตรงจะเป็นการทำร้ายทั้งทีโอทีและกสทที่โดนบอนไซมาก่อนหน้านี้จวบจนกระทั่งวันนี้

ไอ้ที่เรียกกันว่า 3 จีที่พูดๆ กันอยู่ในขณะนี้คือมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 เป็นได้มากกว่าโทรศัพท์มือถือถัดจากแบบที่ไทยเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน   คลื่นความถี่ระบบ 3 จีมีผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลเช่น ที่อังกฤษสามารถทำเงินได้เป็นจำนวนถึง 1.6 ล้านล้านบาทหรือที่เยอรมนีทำเงินได้ถึง 1.9 ล้านล้านบาทจากการเปิดประมูลให้ใบอนุญาต   บ้านเราในวันนี้กทช.กำลังเตรียมจะเปิดประมูลใบอนุญาตให้ใบอนุญาตได้ทั้งหมด 4 ใบ สำหรับผู้ประกอบการ 4 เจ้าเดิมๆแล้วเราจะทำอย่างไรให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด   แต่ถ้ามีเงื่อนไขค่าใบอนุญาตที่ต้องจ่ายให้รัฐในอัตราส่วนแบ่งรายได้ต่ำกว่าที่ผูกพันอยู่ในสัญญาเดิม เช่น สามารถจ่ายผลตอบแทนให้รัฐในอัตราเพียง 6.5% ของรายได้เท่านั้นย่อมจะเกิดแรงจูงใจให้เอกชนพวกนี้หาหนทางยักย้ายถ่ายเท หรือผ่องถ่ายลูกค้าของตนไปสู่ระบบ 3 จีอันใหม่ เพื่อหลบเลี่ยง หลีกหนี ลดรายจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้    จะดีมากๆถ้ารัฐเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการมือถือระบบ 3 จีในอัตราร้อยละ 20-30 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับที่ผู้ประกอบการในระบบ 2 จี ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กับรัฐ ทั้งนี้เพื่อดึงรายได้กลับเข้ารัฐชดเชยส่วนที่หายไปจากค่าส่วนแบ่งรายได้เดิม

เอไอเอส มีอายุสัมปทานจนถึงปี 2558 จ่ายค่าสัมปทานปีละ 25% ของรายได้    ส่วนดีแทคและทรูมูฟจะต้องจ่ายให้รัฐเช่นกันในอัตรา 25-30% ของรายได้ไปจนสิ้นสุดสัญญาเช่นกัน    ในสัญญาพวกนี้บริษัทเหล่านี้เป็นผู้ลงทุนโครงข่ายแล้วพัฒนาระบบ สร้างฐานลูกค้า ฯลฯ แล้วโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้รัฐเป็นเจ้าของเมื่อจบสัญญา   ส่วนแบ่งรายได้ก็แบ่งกันกับรัฐปีแรกๆจ่ายให้รัฐน้อยๆ ก่อนแล้วจึงจะไปจ่ายให้รัฐในสัดส่วนสูงๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปในช่วงปีท้ายๆ ของสัญญา มูลค่ารวมๆกันไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทเข้ารัฐ  

ถ้าบริษัทพวกนี้ประมูลได้ใบอนุญาตระบบ 3จีก็เสมือนว่าได้สัมปทานต่อออกไปอีกยาวนานกว่าเดิม   เอกชนมีอยู่แค่ 3-4 รายจะเปิดประมูลใบอนุญาตตั้ง 4 ใบใครมันจะไปโง่แข่งกันเสนอราคา

ประธานกทช.วันนี้ดันออกมาประกาศไลเซ่นส์3 จีไม่น่าเกินใบละหมื่นล้านบาท ราคากลางอาจประมาณ 6-7 พันล้านบาทหรือไม่เกินหมื่นล้านบาท  หากราคาใบอนุญาตแพงระดับเป็นแสนล้านบาทก็คงไม่มีคนสนใจประมูล   การประมูล 3Gต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ สังคมและอุตสาหกรรมในภาพรวม   แต่กทช.ก็ไม่ควรคิดเพียงในมิติของรายได้เข้ารัฐ   เอ้อ ท่านกำลังทำงานให้กับรัฐมิใช่หรือ

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 47 กำหนดให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่องค์กรเดียวคือ กสทช. (แตกต่างจากเดิม ที่จะมี กทช. และ กสช.)   โดยแต่เดิมนั้น วางระบบให้ กทช. จัดสรรและดูแลคลื่นโทรคมนาคม ส่วน กสช.ก็จัดสรรและดูแลคลื่นโทรทัศน์และวิทยุ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  โทรศัพท์ก็สามารถดำเนินการในลักษณะโทรทัศน์และวิทยุก็ได้ รัฐธรรมนูญนี้จึงกำหนดให้มีองค์กรเดียวดูแลทั้งคลื่นความถี่โทรทัศน์วิทยุและโทรคมนาคมทั้งหมดโดยตั้งขึ้นมาใหม่ คือ “กสทช.” เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ส่วนรวม องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่จึงเป็นกสทช.ไม่ใช่กทช.และปัจจุบัน กสทช.ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการสรรหา

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคของวุฒิสภาได้มีการหารือและมีมติรับเรื่องการคัดค้านการประมูลใบอนุญาต3 จีจากสหภาพแรงงานฯทีโอทีและกสท.แล้วจะทำการเชิญประธานและเลขาธิการกทช.เข้าชี้แจง เรื่องบทบาทหน้าที่ของกทช.ที่กำลังมีตัวจริงเพียง3 คนส่วนอีก 3คนจับฉลากออกไปแล้วตามกฎกทช.เองแต่ปัจจุบันยังทำหน้าที่รักษาการ   เรื่องความรัดกุมในการรับฟังคิดเห็น   และสุดท้ายประเด็นเรื่องการถือครองหุ้นของต่างชาติ   กทช.ควรจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบกรรมาธิการฯมีหน้าที่เป็นเพียงหน่วยงานตรวจสอบจึงไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระอย่างกทช.ได้

ถ้าช่วยให้เอกชนประมูลคลื่นได้ถูกๆ จ่ายค่าสัมปทานต่ำๆ ประชาชนผู้บริโภคก็จะได้ใช้โทรศัพท์ราคาถูกด้วย    ไม่ว่าจะมาจากไหน จะเป็นใคร บรรดานักธุรกิจทั้งไทยและเทศต่างก็ฟันลูกค้าหัวแบะกันทั้งสิ้น   ไม่เห็นจะมีไอ้หน้าไหนบอกได้ทุนมาถูกๆแล้วมาคิดค่าบริการถูกๆกับลูกค้าสักที

ประธานบอร์ดทีโอทียันเสียหายหนักหากรีบประมูล3 จี และกสทชี้รัฐน่าส่งเสริม3 จี ในขณะที่ทั้ง 2 แห่งยังทำงานแบบกึ่งข้าราชการการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อแข่งขันกับเอกชนเป็นไปอย่างยากลำบาก      ผู้รับสัมปทานซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าจะทำการโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปบนโครงข่ายใหม่ทันที    รายได้ที่ทีโอทีได้รับจากสัมปทานจะหายไปทันที    ต่างชาติเหล่านั้นนำเงินที่ได้จากทรัพยากรประเทศไทยกลับไปพัฒนาประเทศตัวเองได้มากขึ้น    ผลกระทบที่กสทจะได้รับคือรายได้จากสัญญาสัมปทานที่จะหายไปทันทีที่กทช.ให้ใบอนุญาตแก่เอกชนเช่นเดียวกัน  หากรัฐหันมาส่งเสริมให้มีการลงทุน3 จีบนความถี่ 850 MHz ของกสทซึ่งปัจจุบันดีแทคและทรูมูฟทดสอบให้บริการโดยสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีก็จะทำให้รัฐยังมีเงินในการพัฒนาประเทศในปริมาณเท่าเดิม    ใครก็รับผิดชอบรายได้ที่ได้รับจากใบอนุญาต3 จีของกทช.ก็เพียงเล็กน้อย ส่วนต่างที่หายไป ความเสียหายที่เกิดกับรัฐ

ประธาน กทช.จะประชุมบอร์ดวันนี้เพื่อพิจารณาราคากลางรวมทั้งจะหารือทุกประเด็นที่เป็นคำถามจากทุกฝ่ายนำขึ้นเว็บในวันที่ 22และประชาพิจารณ์อีกรอบในวันที่ 5 พ.ย.แล้วค่อยมาเก็บตกรายละเอียดและทำความเข้าใจให้ตรงกันอีกครั้งหนึ่งทีหลัง

ประธานกทช.เห็นว่าผลกระทบกับรัฐวิสาหกิจไม่น่ารุนแรงถึงขนาดว่าจะเสียหายเป็นแสนล้านบาท  ดีไม่ดีสัมปทานอาจหมดอายุก่อนก็เป็นได้กว่าจะถ่ายโอนลูกค้าเสร็จ  กรอบเวลาการประมูลยังเป็นไปตามกำหนดเดิมภายในปลายปีนี้และเชื่อว่าในปี 2553 จะสามารถเริ่มให้บริการ3 จีได้

การประมูลครั้งนี้มีผลประโยชน์หลายล้านล้านบาทอาจมีกลุ่มธุรกิจการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ทั้งเม็ดเงินการประมูลและการเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจมือถือปัจจุบันโดยเฉพาะบริษัทมือถือรายใหญ่ที่หากชนะการประมูลจะโอนย้ายลูกค้าไปใช้โครงข่ายใหม่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ต้องนำส่งรัฐ การประมูลจึงเป็นการดูดซับกำไรส่วนเกินกลับคืนมาให้แผ่นดิน   พรรคการเมืองใหม่ชี้ควรชะลอประมูล3 จีเพราะการประมูลครั้งนี้เป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่านั้น  การประมูลใบอนุญาตครั้งนี้มูลค่ากว่า 1.6 ล้านล้านบาท    แต่การประมูลที่เกิดขึ้นกลับมีรูปแบบลุกลี้ลุกลนเหมือนการพยายามอำนวยประโยชน์กันเนื่องจากมีการกีดกันกสทและทีโอทีประกอบกับมีการให้ใบอนุญาตเพียง 4 ใบ เมื่อหลับตาดูแล้วก็จะรู้ว่ามีผู้ให้บริการรายใดบ้างที่จะได้ใบอนุญาตไป   การประมูลจึงเป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่านั้น

มูลค่าผลประโยชน์ของคลื่นความถี่3 จีย่านความถี่ 1920 -1980/210-2170 MHzมันหลายแสนล้านบาทหรือนับล้านล้านบาท ดังนั้นแม้ในที่สุดเราต้องก้าวสู่ระบบ3 จีแต่ก็ต้องก้าวสู่แบบโปร่งใส ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ได้รับความเป็นธรรม

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรแกล้งลืมคือที่ผ่านมาในอดีตธุรกิจที่ได้สัมปทานมือถือรายใหญ่ของประเทศไทยก็คือนายทุนไทยอย่างทักษิณ (โกงจน)ชิน(กินเป็นกิจ)วัตรหรือเอไอเอสมิใช่หรือที่กอบโกยทำกำไรสูงสุดกับผู้บริโภคคนไทยอย่างยาวนานจนสามารถสั่งสมทุนจากสัมปทานผูกขาดเข้าไปสร้างระบบผูกขาดในการเมืองเอื้อประโยชน์แก่กิจการสัมปทานจนเกิดปัญหาตามมาให้กับประเทศถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: