เพื่อบรรลุถึงการปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้วยการเผยแพร่ให้ความรู้ที่แท้จริงแก่ส่วนรวม
20 ตุลาคม 2552
การเตะหมูเข้าปากหมาของสร.ร.ฟ.ท.
ในรัชสมัยพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมืองสืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสมาครอบคลุมบริเวณเหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟเพราะลำพังแค่การใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้นไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียงจึงทรงเห็นควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่นทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน ถือเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศและจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสำรวจเส้นทางเพื่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่โดยมีเส้นทางแยกสระบุรีไปนครราชสีมาและในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพฯ - อยุธยาระยะทาง 71 กิโลเมตรและเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ซึ่งการรถไฟก็ได้มีการนับให้ "วันที่ 26 มีนาคม" เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟสืบมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกสำเร็จลงตามพระราชประสงค์แล้วก็ทรงพิจารณาสร้างทางรถไฟสายอื่นๆ ต่อไป จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของพระองค์พระผู้พระราชทานกำเนิดกิจการรถไฟในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 กรมรถไฟหลวงจึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปการภายใต้ชื่อว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมาโดยการดำเนินงานอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ.2494 นับเป็นหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยมาช้านานในประวัติศาสตร์อันยาวนานของรถไฟไทย
ร้อยกว่าปีมานี้องค์กรนี้เหมือนคนอ้วนพัฒนาไปอย่างคืบคลานและหยุดนิ่ง หากพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงกลับมาประทับบนรถไฟไทยอีกครั้งท่านคงทรงคุ้นเคยกับรถไฟนั้นเป็นอย่างดีและพระองค์ท่านคงโทมนัสใจอย่างใหญ่หลวงต่อความก้าวหน้าของระบบการรถไฟที่พระองค์ท่านทรงส่งเสริม ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมากับพระหัตถ์ของพระองค์ ปัญหาใหญ่คือการคอรัปชั่นภายในองค์กรรวมไปถึงแนวคิดการบริหารองค์กรที่ค่อนข้างไปทางอนุรักษนิยม แม้ว่าสิ่งที่ส่งผลมาถึงปัจจุบันคือนอกจากปัญหาเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือแล้ว เรื่องบุคลากรในการรถไฟฯ เองก็เป็นปัญหาใหญ่เพราะไม่มีการพัฒนาตัวเองหรือแทบจะไม่มี ห้ามรับอัตรากำลังพลภาครัฐเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 5 ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือล้วนเป็นของเก่า คนใช้บริการรถไฟต่างรู้ดีและเบื่อหน่ายจนไม่อยากจะพูดถึง เคยเกิดเรื่องถึงขนาดรถไฟออกจากหัวลำโพงเกือบถึงสถานีสามเสนแล้วต้องถอยหลังกลับไปเอาผ้าห่ม ไม่นับรวมมารยาทที่ยอดแย่ของการให้บริการอีกนับไม่ถ้วน กิจการจะประสบกับภาวะขาดทุนจำนวนมหาศาลแต่ก็มิได้มีเสียงตำหนิติเตียนจากประชาชนเจ้าของประเทศด้วยเข้าใจได้ว่ากิจการรถไฟเป็นสาธารณูปโภคที่รัฐพึงให้บริการเป็นสวัสดิการแก่สาธารณชน กระนั้นกลับเป็นการสวนทางกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามที่วันนี้จะมีขบวนรถไฟที่เร็วที่สุดในย่านนี้แล้ว ประเทศอื่นเค้าเน้นระบบรางหมดแล้ว ส่วนเรายังคงสร้างถนนเพื่อกินหินกินทรายกินจุกกินจิกกันต่อไป
พนักงานขับรถและช่างเครื่องซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟฯหรือสร.ร.ฟ.ท.พากันทยอยสไตรค์เงียบด้วยการพร้อมใจกันลากิจหลายคนทำให้การบริการรถไฟขบวนสายใต้ แทบจะกลายเป็นอัมพาตมาหลายวัน ความรู้สึกของประชาชนในวันนี้คือพนักงานร.ฟ.ท.พากันผละงานโดยปราศจากเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ใช้ประชาชนเป็นตัวประกันต่อรองผลประโยชน์กับฝ่ายบริหารของตน ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเห็นความขัดแย้งภายในร.ฟ.ท.ในทันทีที่ขบวนรถไฟที่ 167 สายกรุงเทพฯ-กันตังจอดทิ้งผู้โดยสารจำนวนกว่า 2,000 คนให้ลงกลางทางที่สถานีรถไฟละแมที่ชุมพร จนกระทั่งขณะนี้ยังไม่มีผู้ออกมารับผิดชอบว่าเป็นผู้สั่งการให้รถไฟหยุดทั้งฝ่ายผู้บริหารและฝ่ายสร.ร.ฟ.ท.ต่างก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งการ แว่วมาว่ามีการวางยาให้คนด่าสร.ร.ฟ.ท.ใครก็ไม่รู้ไปสั่งให้คนขับหยุด
ทางพนักงานขับรถไฟไม่ยอมขับรถไฟเนื่องจากการอ้างว่าอุปกรณ์ป้องกันการหลับในไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานได้ ทางร.ฟ.ท.ก็ควรจะซ่อมเสียให้เรียบร้อยอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสียก่อนเพื่อคำนึงในความปลอดภัยของผู้โดยสาร เท่าที่ทราบอุปกรณ์ป้องกันการหลับในในทุกหัวรถจักรเสียทุกเครื่องแสดงว่าทางร.ฟ.ท.เองได้ละเลยและไม่ใสใจในความปลอดภัยของผู้โดยสารและไม่มีมาตรฐานในการดำเนินการ จึงไม่ควรที่จะกล่าวโทษพนักงานขับรถไฟที่ทำการหยุดเดินรถเพื่อให้ซ่อมบำรุงเสียให้เป็นที่เรียบร้อยเสียก่อน ก่อนจะทำการเดินหัวรถจักร ไม่อยากไม่มีกรณีใดๆเกิดขึ้นอีก
ขณะนี้สังคมต้องรับรู้ว่าร.ฟ.ท.จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาภายในโดยด่วนเพราะหากไม่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน โอกาสในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะประสบปัญหาเพราะปัญหาดังกล่าวไม่ใช่แค่การเติบโตทางเศรษฐกิจหรือต้นทุนของผู้ประกอบการ แต่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนเสี่ยงต่อทรัพย์สินรวมถึงความสะดวกต่อการพึ่งพารถไฟด้วย คงปฏิเสธใดๆ ไม่ได้หากจะมีเสียงก่นด่าซ้ำเติมจากทุกฝ่ายว่าความเน่าเฟะทั้งหลายขององค์กรล้วนเกิดจากคนที่เรียกตัวเองว่าพนักงานร.ฟ.ท. ที่พนักงานร.ฟ.ท.ไม่เคยสนใจผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน องค์กรจึงขาดทุนไม่สามารถพัฒนาสู่ความนิยมหรือเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจะโทษใครได้อีกหากพรุ่งนี้หรืออนาคตข้างหน้าองค์กรนี้จะถูกแปรรูป โละคนไร้ประสิทธิภาพออกไป
คนที่ชี้แจงได้ดี่ที่สุดคือสร.ร.ฟ.ท.โดยนายสาวิทย์ แก้วหวานประธานสร.ร.ฟ.ท.เพราะเป็นคนหนึ่งที่รู้ความเคลื่อนไหวในร.ฟ.ท.ดีที่สุด จุดเริ่มต้นจากรถไฟขบวนที่ 84 ตรัง-กทม.ตกรางที่อำเภอเขาเต่า ประจวบคีรีขันธ์มีผู้เสียชีวิตเกือบ 10 รายและบาดเจ็บอีกเกือบ 100 ราย ฝ่ายบริหารของร.ฟ.ท.ออกมาสรุปว่าเป็นความผิดของคนขับซึ่งได้หายตัวไปหลังเกิดเหตุ นี่เองที่เป็นเชื้อปะทุสร้างความไม่พอใจต่อสร.ร.ฟ.ท. ส่งผลให้ทำการหยุดเดินรถโดยให้เหตุผลว่าระบบรักษาความปลอดภัยของหัวลากเสียหายไม่พร้อมให้บริการจนลุกลามบานปลาย พนักงานขับรถต้องรับผิดชอบในการทำหน้าที่ขับรถโดยความพร้อมที่จะสามารถควบคุมรถได้ตลอด ก็ในเมื่อเครื่องมือไม่พร้อมพวกเขาก็ไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารได้ก็เป็นเรื่องความชอบธรรมที่พวกเขาจะสามารถบอกกับสังคมได้ แต่ประชาชนก็จะรู้สึกแค่ว่าคนร.ฟ.ท.เพิ่งมาบอกประชาชนว่าการโดยสารโดยรถไฟมีความเสี่ยงที่จะตายสูงและที่ทำให้เกิดความรู้สึกแย่ไปกว่านั้นคือสร.ร.ฟ.ท.บอกว่าระบบรักษาความปลอดภัยเสียหายมานานแล้ว ย้อนกลับไปถามสร.ร.ฟ.ท.ว่า ทำไมไม่ขึงขังบอกประชาชนแล้วหยุดการเดินรถเพื่อความปลอดภัยประชาชนก่อนหน้านี้ รถจักรเก่าล้าสมัยใช่ว่าเกิดขึ้นหลังจากรถไฟตกรางที่เขาเต่ามันเกิดมานานแล้ว หากคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนจริงต้องบอกประชาชนก่อน
สร.รฟท.ถึงได้ประกาศหยุดเดินรถไฟสายใต้ รถไฟสายท้องถิ่นโดยอ้างว่าหัวรถจักรไม่อยู่ในสภาพร้อมใช้งานต้องนำไปตรวจซ่อมก่อนเพื่อความปลอดภัยส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และมีผู้โดยสารตกค้างตามสถานีต่างๆ จำนวนมาก ทำให้เกิดกระแสวิพากวิจารณ์ถึงวิธีการหยุดเดินรถไฟประท้วงโดยมุ่งประเด็นไปที่ความขัดแย้งระหว่างพนักงงานรถไฟกับฝ่ายบริหารนั้น ทางสร.ร.ฟ.ท.เรียกร้องว่า จะขอเจรจากับฝ่ายบริหารและกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนออกมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ก่อนหน้านี้สร.รฟท.ร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องโกงกินมาโดยตลอด แต่ประชาชนพึ่งมาได้ยินเรื่องคุณภาพของร.ฟ.ท.เอาก็ช่วงนี้นี่เอง
โสภณ ซารัมย์ระดมความคิดเห็นผู้บริหารส่วนต่างๆ ประชุมคณะกรรมการร.ฟ.ท.เพื่อแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบ ให้ฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.ไปรวบรวมรายละเอียดโครงสร้างของร.ฟ.ท.ใหม่ทั้งหมดทั้งฐานะการเงิน หนี้สิน ทรัพย์สินที่ดินและระบบโครงสร้างพื้นฐาน จำนวนพนักงานองค์กรที่ปฏิบัติงานจริง ค่าล่วงเวลาทั้งหมดใหม่ แล้วให้เสนอกลับมายังกระทรวงคมนาคมก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ และระบุว่ากระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท.จะไม่เจรจากับสร.ร.ฟ.ท.จนกว่าพนักงานเหล่านี้จะกลับเข้าไปปฏิบัติหน้าที่และเปิดเดินรถได้ตามปกติ
นายกรณ์ จาติกวณิชรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าชี้แจงนายกรัฐมนตรีถึงปัญหาของร.ฟ.ท. ในส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงการคลังว่าการจัดสรรงบประมาณให้กับ ร.ฟ.ท.ไม่ได้เป็นปัญหาต่อการพัฒนาทั้งในส่วนของงบประมาณประจำปีรวมถึงงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แต่ปัญหาอยู่ที่การเบิกจ่ายงบประมาณโดยจะเห็นจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 ที่ร.ฟ.ท.เบิกจ่ายเงินต่ำมาก ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงในส่วนของงบลงทุนแต่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของผู้เบิกจ่ายมากกว่า
การเดินทางมาเพื่อดูสภาพหัวรถจักรที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ของทั้งโสภณ ซารัมย์ ยุทธนา ทัพเจริญและคณะ ในบรรดาหัวรถจักรที่สถานีชุมทางหาดใหญ่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 10-20 ปีหลายคัน รถพวกนี้ได้ผ่านการตรวจสอบระบบพร้อมทั้งติดป้ายแจ้งว่ามีปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นได้ไปดูที่สุราษฎร์ธานี เพื่อดูว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ส่วนไหนที่สามารถซ่อมได้ก็จะรีบทำการซ่อมให้เร็วที่สุด ส่วนไหนที่เก่าและมีอายุการใช้งานนานเกินไปก็ปลดระวางซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการซื้อหัวรถจักรเพื่อมาใช้งานทดแทนอันเก่า ในขณะที่สร.ร.ฟ.ท.ส่วนหนึ่งได้ออกมาเดินขบวนถือป้ายประท้วงพร้อมกับตะโกนไล่ โสภณได้ย้ำว่าจะไม่มีการเจรจากับทางสร.ร.ฟ.ท.แต่อย่างใดแต่จะคุยกับผู้บริหารรถไฟเท่านั้นจากนั้นคณะนั้นรีบขึ้นรถกลับกรุงเทพทันที เป็นถึงรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยทำไมไม่โดยสารรถไฟไทย ไปไหนมาไหน หรือต้องรีบกลับมาดูแลการเขมือบรถเมล์ NGV 4000 คันไว้เป็นหมื่นล้าน โสภณกำลังเลือกปฏิบัติหรือไม่ซึ่งแตกต่างจากกรณีทั้งที่ขสมก.หรือกฟน.ที่มีการเจรจาหรือว่าจัดตั้งกันมาเอง
หากช่างบอกบินได้ แต่ถ้าำักัปตันเครื่องบินไม่มั่นใจเขาก็ไม่บินได้ เพราะเขาต้องรับผิดชอบต่อชีวิตผู้โดยสารแล้วมันจะต่างอะไรกับคนขับรถไฟที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตผู้โดยสารเป็นพัน เวลาตกราง มีใครยืดอกรับผิดชอบไหม ลองให้พนักงานสร.ร.ฟ.ท.ออกขบวนรถไฟโดยให้บรรดารัฐมนตรีทุกคนขึ้นไปกับขบวนรถเป็นปฐมฤกษ์ให้มั่นใจว่าขบวนที่ซ่อมแล้วนั้นมันสามารถเดินได้อยู่และจะได้พิสูจน์ไปด้วยว่าความปลอดภัยของประชาชนมีค่าเท่ากับชีวิตของพวกนักการเมืองและนายทุนหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าทั้ง 2 ฝ่ายควรส่งตัวแทนมาเจรจากัน รัฐบาลควรเร่งดำเนินการหรือส่งตัวแทนเข้ามาไกล่เกลี่ยโดยเร็วที่สุด แล้วเปิดให้บริการเดินรถไฟแก่ประชาชนทุกเส้นทางตามปกติ ส่วนผู้ว่าฯ การรถไฟฯ ควรออกมาชี้แจงถึงประเด็นข้อสงสัยต่อสาธารณชน ควรปรับปรุงการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งใหม่อย่างจริงจัง บ้างก็ว่าควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแล
หัวหน้ากองสอบสวนร.ฟ.ท.ร้องกองปราบให้สอบสวนดำเนินคดีพนักงานร.ฟ.ท.ที่ประท้วงหยุดเดินรถโดยแนบซีดีเป็นหลักฐานมัดเอาผิด ขณะที่ตำรวจรับเรื่องไว้พร้อมตรวจสอบข้อเท็จจริง ขอให้เพื่อนๆ ที่ก่อเหตุหยุดเดินรถเข้ามาทำงานปกติเถิดเพราะขณะนี้ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนักและภาพลักษณ์ของรถไฟเสีย เราพลอยเสียหายไปด้วย ที่ผ่านมาเราถูกตำหนิจากทั้งสื่อมวลชนและประชาชนว่านิ่งเฉยไม่ออกมาดำเนินการอะไรเลย
ทั้งสร.ร.ฟ.ท.และผู้บริหารต่างก็ใช้ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันทั้งคู่และยิ่งผู้ที่เป็นรัฐมนตรี ผู้บริหารร.ฟ.ท.เอง แทนที่จะแก้ปัญหาแต่กลับเป็นตัวซ้ำเติมความเดือดร้อนให้กับประชาชนให้หนักขึ้นไปอีก การไม่ยอมเจรจากับสร.ร.ฟ.ท.เพื่อที่จะแก้ปัญหาร่วมกันทั้งที่เป็นปัญหาภายในองค์กรเองแต่กลับใช้อำนาจยื้อเวลาทำให้ประชาชนเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น การที่จะแก็ปัญหาถ้าไม่เจรจากันก็ไม่ทราบว่าคุณจะใช้วิธีใดเพราะในเมื่อเป็นมนุษย์ก็ต้องพูดจากันแต่คุณกลับจะใช้อำนาจเข้าจัดการกับพนักงานเหล่านั้น พนักงานเขาก็เดือดร้อนกับการบริหารจัดการของผู้บริหารเหมือนกันไม่ใช่หรือ ในเมื่อจะแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่เดือดร้อน แล้วกับพนักงานรถไฟที่เดือดร้อนเพราะผู้บริหารพณฯท่านจะแก้ปัญหาให้เขาอย่างไรหรือว่าพณฯท่านจะทำเพื่ออวดอำนาจบารมีที่มีอยู่หรือจะทำเพื่อเป็นการหาเสียงกับประชาชนผู้เดือดร้อนจากการใช้บริการรถไฟ แต่พณฯท่านก็อย่าลืมว่าครอบครัวคนรถไฟที่มีอยู่ทุกภาคของประเทศก็เป็นประชาชนเหมือนกัน
ผ่านมา 3 วันแล้ว นายกรัฐมนตรีเรียกโสภณ ซารัมย์มาสรุปปัญหาร.ฟ.ท. ในระยะเฉพาะหน้าจะต้องเปิดให้บริการครบถ้วนโดยเร็วที่สุด ในระยะยาวต้องมีการปฏิรูป การเสนอแผนการปฏิรูปร.ฟ.ท.มีมาอยู่แล้วเพราะจะต้องมีการลงทุนระบบรางค่อนข้างมากที่จะต้องมาดูในเรื่องของการลงทุนในระยะยาวว่าจะมีวิธีการไม่ให้ในอนาคตบริการที่ต้องขยายไปเจอปัญหาอย่างนี้อีกได้อย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ถ้ารถมีปัญหาจริงๆ ก็ไม่เป็นปัญหาก็ไม่เป็นความผิดในแง่นั้น จริงๆ แล้วระบบการบริการต้องมีการแจ้งล่วงหน้าและที่จะไปให้ผู้โดยสารลงกลางทางมันต้องมีเหตุผล ถ้ามีข้อเรียกร้องอะไร ก็ควรที่จะมาพูดคุยกัน ไม่ใช่มาทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนแบบนี้และคำอธิบายก็ไม่เคยตรงกันตกลงว่าเป็นปัญหาที่ตัวระบบ เป็นปัญหาที่ตัวรถจักรหรือว่าพนักงานลา หรืออะไรควรที่จะมาพูดจากันอย่างตรงไปตรงมา เราพยายามดูว่าจะมีวิธีการระดมคนมาช่วยได้อย่างไร อยากจะย้ำสร.ร.ฟ.ท.อีกครั้งถ้ามีประเด็นข้อเรียกร้องอะไรไม่ได้รับความเป็นธรรมตรงไหนก็สามารถยืนมาถึงรัฐบาลได้
ที่ผ่านมาทางภาครัฐมีการศึกษาเรื่องการปรับปรุงร.ฟ.ท.มาระดับหนึ่งแล้วเพราะฉะนั้นขณะนี้ต้องมองลึกลงไปว่าในอนาคตจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1.จะต้องมีการปรับปรุงเรื่องกฎระเบียบให้สอดคล้องกับการพัฒนา 2.เปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการ และ 3.ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์แบบ อาจจะต้องมีการปรับรูปแบบการบริหารร.ฟ.ท.เป็นกรมรถไฟเพื่อจะสามารถใช้งบประมาณรัฐได้อย่างเต็มที่โดยนำงบประมาณนั้นมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั้งหมด ส่วนในเรื่องของการเดินรถนั้นควรมีระบบการแข่งขันโดยอาจจะเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
จู่ๆพนักงานร.ฟ.ท.กับสร.ร.ฟ.ท.กลายเป็นพนักงานสติไม่ดีแกล้งประชาชนไปเสีย คนร.ฟ.ท.ทำงานดักดานกับสภาพแย่ๆ ของการบริหารร.ฟ.ท.มาไม่รู้กี่ชุดรัฐบาลจนมาถึงมือนายกฯ คนนี้กับรัฐมนตรีคนนี้ ใครต้องรับผิดชอบ ในระดับบริหารอย่างโสภณ ซารัมย์รัฐมนตรีคมนาคมหรือยุทธนา ทัพเจริญผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ที่ไร้สปิริตและไร้ประสิทธิภาพ พณฯท่านเล่นบริหารแบบลอยตัว นอกจากจะไม่แสดงความรับผิดชอบแล้วยังดื้อตาใสและที่น่าเกลียดก็คือมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุของโศกนาฏกรรมแล้วในที่สุดก็สรุปผลการสอบสวนให้ลงโทษไล่ออกพนักงานขับรถที่ถูกระบุว่าหลับในขณะเกิดเหตุเพียงคนเดียว รัฐมนตรีและผู้ว่าฯที่จะต้องต้องพิจารณาตัวเองเพราะมีอำนาจหน้าที่แล้วแก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย ปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยิ้อบานปลายและขาดวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้ายังด้านไม่ลาออกนายกฯ อภิสิทธิ์ก็ต้องใช้อำนาจในฐานะผู้บริหารประเทศสูงสุดสะสางปัญหา-อุปสรรค-ความขัดแย้งแล้วจัดการให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดทันที ประกาศแล้วต้องทำจริงไม่ใช่พูดหาเสียงฉาบฉวยแล้วปล่อยให้กลายเป็นคลื่นกระทบฝั่ง ถ้านายกฯ แก้ไม่ได้ ปลดนายโสภณไม่ได้ ปลดยุทธนาไม่ได้ก็ต้องปลดตัวเองออกอย่ามัวแต่เกรงใจเนวินเจ้าของพรรคภูมิใจไทยแต่ไม่เกรงใจประชาชน-เจ้าของประเทศ ผู้บริหารของชาวเมืองอื่นๆแค่รถตกรางคนก็ตกเก้าอี้แล้ว...แต่ที่นี่เมืองไทย ทีกับพวกนายพล นักการเมืองที่โกงชาติทำไมไม่ขึงขังบ้าง เรื่องย้ายสมานบิน เรื่องตั้งผบ.ตร. เรื่องรถเมล์ เรื่องเขาพระวิหาร เรื่องที่ดินรถไฟบุรีรัมย์ เรื่องข่าวลือ เรื่อง7ตุลา แค่ปลดออก ฯลฯ เรื่องพวกนี้กล้ารึเปล่า....วันนี้มอดกับปลวกกำลังจะขึ้นหนังสือร้อยฝัน (ร้าย) วันฟ้าใหม่ของนายกฯอภิสิทธิ์ที่เคยเขียนไว้เมื่อครั้งเป็นฝ่ายค้านแล้ว
อย่าไปตำหนิ ติติง ต่อว่าทั้งพนักงานร.ฟ.ท.และสร.ร.ฟ.ท.กันนักเลย ขอประชาชนดูสภาพหัวรถจักรกันเสียก่อน มันย่ำแย่ขนาดไหน พวกเขาเป็นเพียงระดับล่างรับแต่นโยบาย ไม่ได้รับเงินเหมือนพวกระดับบนที่ไม่คิดหรือพัฒนาการรถไฟแบบจริงจัง ระบบการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ก็ไม่ทันสมัย ไม่มีความปลอดภัย พอมีอุบัติเหตุพนักงานระดับล่างได้แต่รับผิดชอบไป แล้วพนังานระดับบนๆกับผู้บริหารนั่นบริสุทธิ์ผุดผ่องกันเสียนี่ ชีวิตประชาชนทั่วไปและชีวิตพนักงานขึ้นอยู่กับหัวรถจักรเก่าๆ การสื่อสารที่ไม่ทันสมัย อย่าเอาการหยุดงานประท้วงของสร.ร.ฟ.ท.และความเดือดร้อนของประชาชนมาบังน่าเพื่อการแก้ปัญหาการรถไฟไทยทั้งระบบและต้องช่วยกันสกัดกั้นนักการเมืองชั่วเข้ามาหากินและบอนไซร.ฟ.ท. การที่สร.ร.ฟ.ท.คิดจะพัฒนาองค์กรนับเป็นเรื่องดี ต้องกระทุ้งให้ฝ่ายบริหารการรถไฟฯ หันมาให้ความสนใจอย่างจริงๆ เพราะที่ผ่านมาผู้บริหารมักติดนิสัยมูมมามคนแล้วคนเล่าที่เข้ามาก็ตั้งหน้าตั้งตาสูบจนร.ฟ.ท.เป็นง่อย ผู้บริหารใช้กลไกสื่อบิดเบือน มติครม.ที่แล้วๆมาให้ลดจำนวนพนักงานจนทำให้ พขร. ต้องทำงานจนไม่มีวันหยุด เพราะต้องการลดค่าใช้จ่าย
เคยมีอยู่หลายๆกรณีที่ร.ฟ.ท.จะทำการพัฒนาการให้บริการแต่ตกลงผลประโยชน์กันไม่ได้โดยผู้บริหารระดับบนและพนักงานระดับล่างไม่รู้เรื่อง สุดท้ายเรื่องก็เงียบ การคิดจะพัฒนาโดยที่ไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องจะไม่เกิดใช่หรือไม่ เรื่องนี้ถ้าหากมีความจริงใจไม่มีเจตนาแอบแฝงบริหารจัดการให้มันโปร่งใส สามารถหากำไรเอาเงินส่งรัฐไปใช้พัฒนาประเทศให้สบายโดยไม่จำเป็นต้องไปแยกจัดการหรือแปรรูปองค์กร ความคิดการแปรรูปเป็นเพียงข้ออ้างในการที่จะฮุบที่ดินของร.ฟ.ท.เท่านั้นโดยไม่รู้ถึงสาเหตุหลักการและพระพุทธเจ้าหลวงท่านเตรียมที่ดินรถไฟไว้เพื่อขยายเป็นคลังขนถ่ายสินค้าและเพื่อการอื่นในการพัฒนากิจการ ไม่ใช่ให้ใครฮุบไปพัฒนาเป็นศูนย์การค้าและอาคารพาณิชย์ ถ้าให้ภูมิใจห้อยได้โอกาสแปรรูปรฟท.ก็คงเป็นการเตะหมูเข้าปากหมาของสร.ร.ฟ.ท.และเราคงจะได้เห็น 2 บริษัท - บริษัท ร.ฟ.ท.เอื้ออาทร จำกัด เพื่อการหาเสียงกับรากหญ้า รากแก้ว รากฝอยและรากต่างๆหรืออาจจะประชาชนชาวรากเลือด(เพราะการโกงกิน) กับ - บริษัท ร.ฟ.ท.แลนด์ จำกัดแบ่งเค้กให้พรรคพวกถือหุ้นแล้วขายที่ดินของพระพุทธเจ้าหลวงที่ได้พระราชทานให้ปวงชนชาวไทยทั้งปวง ทางรถไฟผ่านทางไหนวัดไปซ้าย 40 เมตร ขวา 40 เมตร ที่ผ่านมาภูมิใจห้อยได้เขมือบเขากระโดง บุรีรัมย์ไปต่อยหินขายกันทั้งลูกแล้ว ยังจะให้ภูมิใจห้อยเขมือบที่ดินของพระพุทธเจ้าหลวงแปลงแล้วแปลงเล่ากันอีกได้อย่างไร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น