GOLD หรือทองคำเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักแต่สำหรับ BLACK GOLD หลายคนคงไม่เข้าใจหรือน้อยคนเท่านั้นที่จะรู้ความหมายของมันว่าคืออะไร น้ำมันที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าทั้งในด้านเงินเฟ้อและการบริโภคในชีวิตประจำวัน ทั้งทองคำและน้ำมันนับเป็นสินค้าในกลุ่มเดียวกันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่นักลงทุนมักลำดับความสำคัญของสินค้าทั้งสองชนิดนี้อยู่ในอันดับต้นๆ ในปี 2551 ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้เคยทำสถิติปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 140 ดอลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและผันผวนสูงขึ้น ลดลงไปๆมาๆ ในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกและการบริโภคที่ลดน้อยลงเป็นเงาตามตัวคาดกันว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2552 นี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคน้ำมันกลับมาอีกครั้งถึงอาจจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลน อีกสาเหตุปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือคนบริโภคน้ำมันจนเสพติดไปแล้วถึงอย่างไรก็ต้องใช้อยู่ดีถึงแม้ของจะขาดปัจจัยแบบนี้เองจะส่งผลให้เป็นตัวกำหนดราคาและมูลค่าของน้ำมัน นักลงทุนทั่วโลกเพิ่มน้ำหนักการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงและลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นทั่วโลกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบที่นิวยอร์กเริ่มมีสัญญาณการเก็งกำไรจากนักลงทุน
ก่อนหน้านี้จนถึงปี 2534 เรายังไม่มีโรงกลั่นน้ำมันของตนเองมีแต่ของต่างชาติ เราจึงต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากนอกประเทศมาโดยตลอดและสิงคโปร์ก็คือโบรกเกอร์ของเราซึ่งก็เป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตลอดจนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่ ต่อมาในสมัยรัฐบาลอานันท์เรามีโรงกลั่นของตัวเองแล้วและกลั่นได้เอง รัฐบาลได้มีนโยบายให้ราคาน้ำมันขายปลีกไม่ขึ้นกับรัฐบาลอีกต่อไปแต่ให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันกำหนดราคากันเองตามภาวะตลาดโดยรัฐบาลเชื่อว่าการกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นที่เป็นธรรม และการมี ปตท.เป็นส่วนหนึ่งของปั๊มรัฐบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวถ่วงดุลผู้ค้าปลีกน้ำมันต่างชาติได้ โดยใช้ราคาอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์มาจนทุกวันนี้ ปตท.จึงเป็นหน่วยงานที่เคยเป็นความหวังของคนไทยด้านพลังงาน ปตท.เป็นองค์กรที่เกิดมาจากความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการนำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศมากระจายสู่มือประชาชนแบบเป็นธรรมและให้ประชาชนไทยได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ อย่างคุ้มค่าและมีราคาไม่แพง ก่อนการแปรรูปปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท.เป็นกลไกในการตรึงราคาน้ำมันในประเทศเมื่อราคาน้ำมันของตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมาโดยตลาดโดยปตท.จะนำกำไรส่วนเกินจากธุรกิจฝั่งก๊าซธรรมชาติมาชดเชยราคาน้ำมันให้ผู้บริโภคเนื่องจากราคาน้ำมันจะสูงขึ้นจริงตามราคาตลาดโลกเพราะประเทศไทยต้องซื้อน้ำมันจากต่างประเทศในขณะที่ก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพยากรด้านเชื้อเพลิงที่สามารถจัดหาได้ภายในประเทศแต่ต้องอิงตามราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติก็จะสูงขึ้นด้วย ฉะนั้นเมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นปตท.ก็สามารถนำกำไรจากก๊าซธรรมชาติมาเกลี่ยภาระรายจ่ายที่เกิดจากราคาน้ำมันให้สังคมและผู้บริโภคได้ตลอดมา
ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะแรก (2523 – 2532) นักลงทุนประสบสำเร็จอันงดงามทำให้เกิดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 2 (2532 – 2547) ตามมาอย่างรวดเร็ว การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 เกิดขึ้นต่อมารัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้ผูกขาดพลังงานของชาติได้ถูกนักการเมือง นักธุรกิจที่ฉาบด้วยภาพลักษณ์ธรรมาภิบาล นักวิชาการ แทคโนแครต(ผู้สนับสนุนการปกครองโดยผู้ชำนาญวิชาการ)จากหอคอยงาช้างและกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ได้วางแผนแผนลงทุนปิโตรเคมีผนวกแผนพัฒนาพลังงาน นักธุรกิจระดับชาติ(ชั่ว)อย่างทักษิณจึงย่อมรู้ดีว่าธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ทำรายได้ให้มหาศาลหาใช่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือซึ่งอยู่ในช่วงขาลงไม่ได้รุ่งเรืองเหมือนในอดีตหรือแม้แต่การซื้อธุรกิจสโมสรทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ก็เพื่อสร้างโปรไฟล์ให้ดูดี ไม่ใช่ธุรกิจที่ทำรายได้งดงามเหมือนกับธุรกิจพลังงาน ในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลทักษิณ 2 เขาจึงยกแม่น้ำทั้งห้ารองรับปฏิบัติการไล่รื้อโครงสร้างระบบราชการครั้งใหญ่ ก่อเกิดกระทรวง ทบวง กรมขึ้นมาใหม่ แต่ละกระทรวงตั้งใหม่มีเบื้องหลังแอบแฝงอยู่อย่างสำคัญ หนึ่งในนั้นก็คือกระทรวงพลังงาน การจัดทำแผนพลังงานและปิโตรเคมีแบบบูรณาการข้างต้นจะมีประโยชน์อะไรกับทักษิณและพวก หากผู้ลงทุนหลักและผูกขาดในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี น้ำมัน และก๊าซฯ คือปตท.ยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ ดังนั้นการเร่งแปรรูปปตท.เพื่อเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดช่องให้นอมินีผู้นำและพวกพ้องเข้าถือหุ้นจึงเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องทำให้สำเร็จควบคู่กันไปกับการเร่งทำคลอดแผนลงทุนปิโตรเคมีเฟส 3 มูลค่า 4 แสนล้าน
บริษัท ปตท. จำกัดมหาชนแปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ
แล้วปตท.ก็แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัดมหาชนในปลายปี 2544 อนาคตด้านพลังงานของคนไทยทั้งชาติจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของปตท.เป็นหลัก กระทรวงพลังงานได้รวบเอามาจัดการเองแผนลงทุนปิโตรเคมีระยะที่ 3 นี้โดยหน่วยงานเดิมที่เคยรับผิดชอบได้ยุติบทบาทลงโดยมีมีอดีตผู้บริหารจากปตท.เข้ามาเป็นรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงมีเป้าหมายในการขยายการผลิตปิโตรเคมีในเขตมาบตาพุด ให้เกิดเป็นคลัสเตอร์ที่เข้มแข็งและพัฒนาอุตสาหกรรมบางส่วนที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช การเลือกใช้วัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีด้วยก๊าซธรรมชาติซึ่งมีปตท.ผูกขาดธุรกิจนี้อยู่เป็นโอกาสสร้างรายได้และสร้างกำไรอันงดงามให้กับปตท.ที่บริษัททั่วๆไปต้องมุ่งสร้างผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นเป็นหลักไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็นเครือข่ายนักการเมืองทั้งนั้น
แต่เมื่อปี 2544 เมื่อปตท.ถูกรัฐบาลทักษิณนำออกไปขายมีราคาหุ้นเพียง 35 บาทบรรดาญาติและพรรคพวกนักการเมืองได้รับแบ่งสรรถ้วนหน้าสูงสุดถึงครอบครัวละ 5 ล้านหุ้นขณะที่ประชาชนทั่วไปแทบหมดโอกาสจองหุ้นที่ขายเกลี้ยงในเวลาเพียง 1 นาที 17 วินาที กระทรวงการคลังถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งปัจจุบันถืออยู่ร้อยละ 51.69 ทำให้ปตท.มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามคำนิยามของกฎหมายหลายฉบับ การขายหุ้นทั้งหมด 25 % ของปตท.เมื่อปี 2544 จำนวน 800 ล้านหุ้น ซึ่งควรจะทำเงินได้ประมาณ 28,000 ล้านบาท แต่การขายครั้งนั้นกลับขาดทุนเพราะการแก้ไขบัญชีย้อนหลังของปตท.ทำให้ทรัพย์สินหายไปประมาณ 36,000 ล้านบาท ทำให้มีการขาดทุนเบื้องต้น 8,000 ล้านบาท
- มีการใช้เงินจำนวน 800 ล้านบาท เพื่อจ้างบริษัทขายหุ้น
- ปตท.ขายหุ้นให้พนักงานในราคาพาร์ 10 จำนวน 48 ล้านหุ้น
- ปตท.จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นหลังการขายเพียง 3 เดือน ในจำนวน 2 บาทต่อหุ้น รวมทั้งหมด 1,600 ล้านบาทแล้วหุ้นปตท.อีกร้อยละ 23.31 หายไปไหนหลังจากที่ถูกแปรรูปไปไม่กี่ปี
ความเสียหายจากการขายปตท.ขายแล้วขาดทุน ขายทำไม ในการตีมูลค่าทรัพย์สินทำให้การขายหุ้นในราคาต่ำมากได้สร้างความเสียหายต่อประเทศไม่น้อยกว่า 190,000 ล้านบาท ทุนและกำไรสะสมของปตท.จำนวน 50,121 ล้านบาทถูกลดเหลือเพียง 14,441 ล้านบาทเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินของปตท.เมื่อเป็นรัฐวิสาหกิจหายไปถึง 36,000 ล้านบาทสินทรัพย์ที่หายไปมีมูลค่ามากกว่าเงินที่ได้จากการขายหุ้น เงินที่ได้จากการขายหุ้นปตท.ต้องจ่ายให้บริษัทผู้ขายหุ้น 800 ล้านบาท ปตท.ประกาศจ่ายเงินปันผลก่อนขายหุ้นว่าภายใน 3 เดือนจะปันผลหุ้นละ 2 บาท แม้จะยังไม่ได้คำนวณผลประกอบการเป็นเงิน 1,600 ล้านบาท ปตท.ขายหุ้นให้พนักงานและผู้บริหารในราคาพาร์ 10 บาท จำนวน 48 ล้านหุ้นถือเป็นกติกาขององค์กรแต่นี่คือการนำสมบัติชายมาแบ่งปันกันนั่นเอง การประเมินมูลค่าบริษัทในเครือปตท. ซึ่งรัฐวิสาหกิจ ปตท.เคยลงทุนบริษัทในเครือจำนวน 63,672 ล้านบาทกลับถูกตีมูลค่าติดลบ 5,190 ล้านบาทเท่ากับยกบริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจ ปตท.ให้ฟรีแล้วยังแถมเงินให้อีก 5,190 ล้านบาทเป็นการขายรัฐวิสาหกิจปตท.แบบขาดทุน
ผลศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มของปิโตรเคมีและมูลค่าการลงทุนของโครงการทั้งหมดชี้ว่าการนำก๊าซอีเทนและโพรเพนมาผลิตปิโตรเคมีตามแผนแม่บทนี้จะเพิ่มมูลค่าเฉลี่ยให้กับก๊าซธรรมชาติได้ประมาณ 4.61 เท่าในสายเอทีลีน และ 4.88 เท่าในสายโพรพิลีน บนพื้นฐานของการคาดการณ์ราคาที่ใช้ในการศึกษาที่ราคาก๊าซธรรมชาติ 159 เหรียญสหรัฐต่อตัน มูลค่าเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ในสายเอทีลีน 733 เหรียญสหรัฐต่อตัน มูลค่าเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ในสายโพรพิลีน 776 เหรีญสหรัฐต่อตัน เมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 อย่างสมบูรณ์แบบตามแผน พ.ศ. 2547 – 2561 หากหักต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าแล้วจะมีรายได้สุทธิประมาณ 180,000 ล้านบาทต่อปีหรือคิดเป็นกำไรราว 70,000 ล้านบาทต่อปีประมาณ 22% ซึ่งเป็นตัวเลขผลตอบแทนที่นับได้ว่าสูงมากๆ
ภายหลังการแปรรูปปตท.มีกำไรสุทธิประมาณ 100,000 ล้านบาท ไม่ผิดหากปตท.จะกำไรและมีเป้าหมายอย่างที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ซีอีโอของปตท.ตั้งเป้าหมายให้ ปตท.เป็นบริษัทข้ามชาติภายในปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปีและตั้งแต่ปี 2555 รายได้เพิ่มอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์จนในปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับความเป็นบริษัทชั้นนำติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ปตท.อยู่ในอันดับ 207 บิ๊กปตท.รวยล้นเมื่อบริษัทร่ำรวยย่อมทำให้ผู้บริหารที่มาทำงานที่นี่ร่ำรวยไปตามกันรายงานประจำปีของ ปตท.ระบุชัดเจนถึงผลตอบแทนทั้งโบนัส เงินเดือนที่บอร์ดปตท.ได้รับและผู้บริหารที่ร่ำรวยจากหุ้น เฉพาะบอร์ดกว่า 10 คนได้เบี้ยประชุมโบนัสเฉพาะที่ทำงานให้ปตท.เท่านั้นรวมกันถึง 42 ล้านบาทโดยมี โอฬาร ไชยประวัติซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตรและประธานกรรมการตรวจสอบบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด และ สุชาติ ธาดาธำรงเวชอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงอดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของทักษิณ ได้รับสูงสุดคนละกว่า 3 ล้านบาท
สำหรับผู้บริหารระดับสูงของปตท.ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้เงินเดือนโบนัสรวมประมาณ 74 ล้านบาทซึ่งผู้บริหารที่มีหุ้นมากสุดคือจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ณ 31 ธันวาคม 2550 มีหุ้นเหลืออยู่ 175,830 หุ้นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,408,760 บาทเฉพาะประเสริฐที่วันนี้เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีหุ้นแล้วแต่หากย้อนหลังไปเมื่อปี 2548 เขาได้หุ้น ESOP เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 จำนวน 243,000 หุ้น (บันทึกราคาที่ 0.00 บาท) และ 1 ปีให้หลังได้โอนออก 60,700 หุ้น และ 29 กันยายน 2549 ได้อีก119,000 หุ้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้ขายออกครั้งละ 5,000 หุ้นบ้าง 60,000 หุ้นบ้าง ในราคาเฉลี่ย 330-370 บาท จนล่าสุดเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ ESOP อีก 87,000 หุ้นนี่คือความร่ำรวยของปตท.ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่รายได้มากมายมาจากความลำบากของประชาชนคนไทยเพราะการผูกขาดและการคิดราคาน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม ปัจจัยบวกที่ดันราคาหุ้นปตท.พุ่งกระฉูดทะยานขึ้นไปไม่หยุดยั้งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 400 กว่าบาทต่อหุ้น จากราคา 35 บาท/หุ้น กำไรส่วนต่างถูกผ่องถ่ายไปยังผู้ถือหุ้นอิ่มเอมกันถ้วนหน้า บรรดาญาติและพรรคพวกนักการเมืองผู้มีอำนาจได้รับการจัดสรรหุ้นสูงสุดถึงครอบครัวละ 5,106,000 หุ้นอันเป็นการจัดสรรหุ้นที่ไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรงโดยเฉพาะตระกูลจุฬางกูล และ มหากิจศิริ
mms://tv.manager.co.th/videoclip/11News1/Footage/Ratased_280608.wmv
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น