การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่น่ากลัวมากสามารถก่อให้เกิดการตั้งคำถามกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีสินทรัพย์กว่า 3000,000 ล้านบาทแต่กลับเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีการขาดทุนมหาศาลจะต้องมีการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงระบบรถไฟไทยครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น ตลอดจนมีการใช้ทรัพยากรและจุดแข็งของการรถไฟให้เกิดประโยชน์สูงสุด แนวทางที่แยกการบริหารระบบขนส่งรถไฟไทยโดยให้มีองค์กรแม่ดูแลการลงทุน และบำรุงรักษา โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบราง ฯลฯ ซึ่งรัฐจะเป็นผู้ลงทุน กำกับดูแลและจะให้มีองค์กรเข้ามาดูแลเรื่องการเดินรถ การให้บริการการเดินรถ ขบวนรถเป็นอีกองค์กรหนึ่งต่างหากเป็นแนวคิดที่น่าสนับสนุน มีการนำเสนอกันมานานแล้ว ยิ่งถ้ามีการทำให้เกิดการแข่งขันในระบบประชาชนก็น่าจะได้ประโยชน์มากขึ้นเหมือนกับว่ารัฐเป็นเจ้าของถนนแล้วให้เอกชนเข้ามาประกอบกิจการเดินรถโดยที่รัฐกำกับดูแลให้ผู้ประกอบกิจการแข่งขันกันเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของส่วนรวม การรถไฟมีทรัพย์สินมากมายที่ยังบริหารจัดการไม่ได้ผลประโยชน์มากเท่าที่ควร
ส่วนใหญ่ที่ดินของร.ฟ.ท.จะเป็นที่ดินตั้งแต่เหนือจรดใต้รวมแล้วกว่า 2.5 แสนไร่ แยกเป็นที่ดินในทำเลทอง ย่านในเมืองไม่น้อยกว่า 5 หมื่นไร่ที่เห็นเป็นตัวอย่างได้ชัดเจนก็คือที่ดินในโครงการ เซ็นทรัลลาดพร้าว ตลาดนัดสวนจตุจักร ย่านรัชดาภิเษก รวมไปถึงตามสถานีรถไฟในเมืองทั่วประเทศก็มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์มหาศาลซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าถ้าบริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพก็สามารถทำรายได้มูลค่ามหาศาลในทำเลทองดังกล่าวไม่น้อยกว่า 4-5 หมื่นล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว หากพิจารณาให้เห็นภาพก็ถือว่าร.ฟ.ท.มีศักยภาพโดยตัวของมันเองอยู่แล้วในการจัดการหารายได้แต่ที่ผ่านมาผลออกมาในทางกลับกัน ร.ฟ.ท.จึงกลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองร่วมมือกับผู้บริหารการรถไฟร่วมมือกันสูบเลือดสูบเนื้อมาตลอดจนเวลานี้ขาดทุนสะสมบักโกรกร่วมแสนล้านบาทจนดูเหมือนว่าวันนี้ไม่ได้พัฒนารุดหน้าแตกต่างไปจากการก่อตั้งในยุคพระพุทธเจ้าหลวงที่ก่อตั้งเมื่อร่วม 100 ปีก่อนแต่อย่างใด ในวันนี้ร.ฟ.ท.ให้บริการที่ ขบวนรถไม่ตรงเวลา อาหารที่จำหน่ายบนรถราคาแพง ห้องน้ำก็ไม่สะอาด องค์กรร.ฟ.ท.เองมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะส่วนงานด้านปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการที่ติดเงื่อนไขมติครม.ที่ให้รับพนักงานเพิ่มในแต่ละปีไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานที่เกษียณทำให้โครงสร้างพนักงานไม่เหมาะสมกับความต้องการจริงมีระดับบริหารหรือฝ่ายสนับสนุนมากเกินความจำเป็นไม่เหมาะกับเนื้องานที่มีน้อย บางคนได้รับการแต่งตั้งในคราวเดียวขึ้น 2 ระดับจาก ระดับ 8 เป็น ระดับ 10 ภายในเวลาชั่วข้ามวัน
ก่อนหน้านี้ร.ฟ.ท.มีการตกลงกับสหภาพแรงงานชุดก่อนแล้วมีกระบวนการที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรอย่างชัดเจนจะต้องตกลงกับสหภาพแรงงานก่อน ที่ผ่านมาในกระบวนการนั้นมุ่งแต่จะผลักดันให้ผ่านโดยไม่ได้บอกถึงข้อตกลงว่าไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เพราะแผนนี้จะไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวันเวลา เงื่อนไข สภาพการจ้างทั้งหมด ก่อนหน้านี้มีการพูดคุยกันมาบ้าง พอรู้เรื่องกันเป็นการภายใน แต่ไม่มีการพูดคุยเจาะลึกถึงเรื่องรายละเอียด กระทรวงคมนาคมเองก็ไม่เคยสนใจมาพูดคุยกับทางสหภาพตามที่ตกลงกันไว้เลย และที่สำคัญแผนฟื้นฟูนั้นนายสาวิทย์ แก้วหวานประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยและเลขาธิการสมาพันแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ได้รับรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างชัดเจนวันที่ 31 มิถุนายนซึ่งไม่ได้มีการตกลงกับสหภาพแรงงาน แต่ได้มีการนำเข้าครม.ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายนก่อนที่ประธานสร.ร.ฟ.ท.จะได้รับแผนฟื้นฟูเสียอีก สหภาพพนักงานร.ฟ.ท. ได้เคลื่อนไหวมาหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ทั้งก่อนและหลังการนำวาระแผนฟื้นฟูการรถไฟฯหรือแผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าพิจารณาใน ครม. แต่บังเอิญถูกกระแสการฟื้นฟูขสมก.ด้วยการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันกลบไปหมดสิ้น
ภายใต้ความผุพังของราง หัวจักร และตู้โบกี้ ร.ฟ.ท. ซึ่งประชาชนใช้บริการอยู่ทุกวันนี้มีขุมทรัพย์อันมหึมาซุกซ่อนอยู่และบรรดานักการเมืองทุกยุคทุกสมัยต่างดูดเอาขุมทรัพย์นี้ไปหารับประทาน บางคนที่หน้าด้านหน่อยก็ฮุบเอาไปเป็นของตัวเสียเลย ข้อเรียกร้องของสหภาพที่ยืนยันมาโดยตลอดคือการให้รัฐบาลเข้ามาลงทุนในระบบรางสร้างทางคู่โดยไม่ต้องเวนคืนที่ดิน ปรับปรุง รถจักร รถพ่วง (ล้อเลื่อน) และแยกบัญชีโครงสร้างพื้นฐานกับการเดินรถเชิงสังคมพร้อมปรับปรุงค่าเช่าจัดการผลประโยชน์ที่ดินเชิงพาณิชย์ที่มีอยู่กว่า 36,000 ไร่ โดยเฉพาะการบุกรุกยึดครองที่ดินเขากระโดงของนักการเมืองที่ จ.บุรีรัมย์ นั้นต้องเอากลับมาเป็นของร.ฟ.ท. และนำมาบริหารจัดการเอง เช่น บ่อหินต้องนำมาใช้ในกิจการของร.ฟ.ท. แต่กลับไม่ทำ รวมถึงรัฐบาลต้องเข้ามาดูแลเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนให้กับร.ฟ.ท. ในการบริการสังคม เช่น รถไฟฟรี, ตั๋วชั้น 3 ที่ทางร.ฟ.ท. เก็บต่ำกว่าที่กำหนด แต่รัฐบาลกลับโยนหนี้มาให้ร.ฟ.ท. แทนเป็นต้น
ระหว่างที่ประธานสร.ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการร่วมประชุมประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 3 มิถุนายน 2552 เห็นชอบแผนปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ร.ฟ.ท.อย่างเงียบๆ โดยจะมีการตั้ง2 บริษัทลูกคือบริษัทเดินรถหนึ่งและบริษัทบริหารทรัพย์สินอีกหนึ่งและปรับโครงสร้างทางการเงินโดยภาครัฐ
1) รับภาระจากปัญหาหนี้และขาดทุนสะสมในอดีต 72,850 ล้านบาท
2) แก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานร.ฟ.ท.จำนวน 25,749 คน 156,000 ล้านบาท มีการคาดการณ์กันว่าจะช่วยปลดล็อคปัญหาการขาดทุนสะสมและบริษัทลูกจะทำให้การบริหารงานมีความคล่องตัวและทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอีกทั้งผู้บริหารจะต้องพัฒนาองค์กรให้มีการคุณภาพมากขึ้น รัฐบาลมีมติให้ ร.ฟ.ท.ปรับโครงสร้างโดยจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 2 บริษัท คือบริษัทเดินรถและบริษัทบริหารทรัพย์สินแยกจาก ร.ฟ.ท. โดยให้ ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% และให้จัดตั้งบริษัทลูกทั้ง 2 แห่ง ภายใน 30 วันนับแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ และให้เริ่มดำเนินการได้ภายใน 180 วัน ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นเพียงผู้จัดหาเอกชนเข้าพัฒนาที่ดินและบริหารสัญญาเท่านั้น ขณะที่ให้ภาครัฐรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และพิจารณาในการแก้ไขภาระหนี้สิน โดยใช้รายได้ของ ร.ฟ.ท. และบริษัทลูกที่จะหาได้ในอนาคตจ่ายคืนและดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังช่วยเหลือ รวมถึงการเพิ่มบทบาทให้กับเอกชนในกิจการของ ร.ฟ.ท. พร้อมอ้างว่า ผลที่จะได้จากการลงทุนในครั้งนี้จะทำให้ภายใน 6 ปี จำนวนขบวนรถที่วิ่งบนรางจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ปริมาณในการขนส่งโดยสารเพิ่มร้อยละ 25 และการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 พร้อมทั้งจะมีรายได้จากการบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 11,000 ล้านบาท ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า ตามมติครม.นั่นเป็นมติให้สลายร.ฟ.ท. ออกเป็น 3 ส่วน
แต่ในความจริงแล้วเป็นเพียงกลอุบายเลื่อนลอยไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริงและเป็นแผนการทำลายรถไฟเพื่อนำสมบัติของสาธารณะไปให้บริษัทเอกชนเข้ามารับผลประโยชน์ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าบริษัทเอกชนเหล่านั้นก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองโฉดชั่ว โกงชาติ โกงแผ่นดินตามแผนขายสัมปทานรถไฟให้เอกชนนั่นเอง แผนฟื้นฟูฯนี้เป็นแผนการในฝัน (ร้าย) คล้ายๆ ขสมก.เพียงแต่รถไฟยังไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างเข้ามาเอี่ยวในเบื้องต้นเท่านั้นมองดูเผินๆเหมือนกับว่าร.ฟ.ท.ยังเป็นเจ้าของแต่ในความจริงกลายเป็นว่ามีการเปิดช่องให้เอกชนเข้ามาบริหารเข้ามาชุบมือเปิบโดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรและคาดเดาเอาไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะมีกลุ่มทุนการเมืองเข้ามาหาประโยชน์ รัฐบาลเองก็ไม่มีหลักประกันความมั่นใจว่าจะไม่ทำให้พนักงานร.ฟ.ท. ตกงานแค่ไหน ประชาชนจะได้รับบริการที่ดีขึ้นอย่างไรและในอนาคตจะนำไปสู่การที่มีเอกชนเข้ามาถือหุ้นเพื่อให้บริการในกิจการเดินรถแทน รฟท.ซึ่งไม่มีการจัดแบ่งสัมปทานได้ให้เกิดการแข่งขันได้อย่างแน่นอน เรายังใช้ระบบรางเดียวกันอยู่เลยจึงถือว่าเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาผูกขาดเส้นทางเดินรถนั่นเอง
- แผนฟื้นฟูฯนี้เป็นการเริ่มต้นของการนำไปสู่การแปรรูปกลายๆ
ประธานสร.ร.ฟ.ท.ได้เดินทางกลับถึงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาและประชุมกันภายใน สหภาพพนักงานร.ฟ.ท.จึงได้พากันนัดหยุดเดินรถทั่วประเทศตั้งแต่ 22-23 มิถุนายน 2552 เพื่อประท้วงรัฐบาลเพื่อปกป้องทรัพย์สมบัติของประเทศชาติผลประโยชน์ส่วนรวมและของประชาชนในระยะยาว ทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยได้รับความไม่สะดวกในการเดินทางแล้วตามมาด้วยคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น เป็นความเดือนร้อนเฉพาะหน้าที่ต้องเผชิญเพียงชั่วครั้งชั่วคราวที่เทียบกันไม่ได้กับความเดือดร้อนแบบถาวรหากยังปล่อยให้นักการเมืองและผู้บริหารร.ฟ.ท.บางกลุ่มร่วมมือกันสูบเลือดสูบเนื้อโดยยกเอาเรื่องการปรับโครงสร้างบริหารจัดการมาเป็นฉากบังหน้าทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้วก็คือแผนฮุบร.ฟ.ท. เปิดช่องให้เอกชนเข้ามาหาผลประโยชน์ภายใต้การผลักดันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมโสภณ ซารัมย์เพื่อนของเนวินคนเดิม เจ้าเก่า นายสาวิทย์ได้ยืนยันข้อเรียกร้อง1) ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 2) ขอให้เพิกถอนสิทธิการครอบครองที่ดิน ร.ฟ.ท.บริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ จากนายชัย ชิดชอบ และ นางกรุณา ชิดชอบ ทันที 3) ให้สหภาพมี ส่วนร่วมทุกขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง ร.ฟ.ท. และจะหยุดเดินรถจนกว่าครม.จะทบทวนมติดังกล่าวเพื่อให้ร.ฟ.ท.กับสหภาพกลับมาเริ่มต้นหารือกันใหม่ พรรคการเมืองใหม่ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการประท้วงครั้งนี้แม้ว่าหัวหน้าพรรคคือนายสมศักดิ์ โกศัยสุขจะเป็นที่ปรึกษาของสหภาพก็ตาม
ด้วยเงื่อนเวลาสั้นๆ องค์กรทั้งสองซึ่งเป็นบริการสาธารณะเป็นขนส่งมวลชน เป็นกิจการของรัฐเหมือนๆ กันก็จริง ทว่าประเด็นของ ขสมก.ดูจะเข้าใจได้ง่ายกว่าในกระบวนท่าของการจัดซื้อ-จัดจ้างในรูปแบบถนัดของนักโกงกินทุจริตคอร์รัปชันประเภทเดิมๆ ตามแผนฟื้นฟูมีคำอธิบายจากนักการเมืองและบอร์ดบริหารร.ฟ.ท.เป็นอะไรที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่าเพราะเป็นแผนฟื้นฟูฯที่จะทำให้เกิดการแยกภารกิจของร.ฟ.ท. ออกจากกันอันจะเป็นการทำลายรถไฟทั้งระบบ แยกตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินเพื่อบริหารจัดการที่ดินและทรัพย์สินให้คล่องตัวมากกว่าที่เป็น จัดตั้งบริษัทเดินรถเป็นสองเรื่องหลักๆคือรถโดยสาร รถขนส่งสินค้าแบบเดิมๆที่เราท่านคุ้นชินกันมานานและโครงการระบบขนส่งทางรถไฟที่เรียกว่าแอร์พอร์ตลิงก์ที่กำลังจะเริ่มเปิดเดินรถปลายปีนี้และมีประเด็นต้องพิจารณาสำคัญ 2 ประการ คือ ผู้เข้ามาเดินรถเป็นใคร ดำเนินการอย่างโปร่งใสคุ้มประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่เพียงใด ในโครงการก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ก็ยังมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการทุจริตที่คตส.ได้ตรวจสอบเอาไว้ อาจารย์แก้วสรร อติโพธิ กรรมการคตส.ถึงกับเคยกล่าวถึงโครงการแอร์พอร์ตลิงค์นี้ว่า "โคตรหน้าด้าน" !
แผนนี้ถือว่าปิดลับมาโดยตลอดและเชื่อได้ว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้เพราะมีผู้หวังผลประโยชน์ในที่ดินกว่า 2 แสนไร่เช่นที่ดินจ.บุรีรัมย์ ยิ่งมองไปที่นักการเมืองและผู้บริหารร.ฟ.ท.ที่ร่วมกันผลักดันโครงการนี้ก็ยิ่งไม่น่าไว้ใจส่วนหนึ่งก็เคยผลักดันโครงการอื้อฉาวเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคันมูลค่า 6.9 หมื่นล้านบาท(ล่าสุดยอมลดลงมาเหลือ 6.4 หมื่นล้านบาท) จนถูกสังคมวิจารณ์ด่ากันขรมมาแล้ว แม้ว่านายยุทธนา ทัพเจริญผู้ว่าการ รฟท.เปิดเผยว่าการจัดตั้งบริษัทลูกถือเป็นทรัพย์สินของรฟท.และจะเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ซึ่งหากในอนาคตมีใครนำบริษัททั้ง 2 แห่งไปให้เอกชนถือหุ้น รฟท.ก็พร้อมยุบเลิกทั้ง 2 บริษัททันทีโดยไม่มีข้อแม้ และโสภณ ซารัมย์กับประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ช่วยกันยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้แปรรูปร.ฟ.ท.แต่อย่างใด ข้ออ้างเหล่านี้ที่คนพวกนี้ใช้ได้เผยให้เห็นความจริงมาแล้วในหลายประเทศทั่วโลกว่าเป็นเพียงกลอุบายที่เลื่อนลอยไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริงรัฐบาลยังคงต้องสนับสนุนงบประมาณต่อไป ประเทศอังกฤษแยกเป็นบริษัทแล้วทำให้การเดินรถเกิดอุบัติเหตุบ่อย ประเทศนิวซีแลนด์แยกแล้วมีปัญหาในการประสานงาน การบริการไม่ดีแต่ราคาบริการกลับสูงขึ้นจนรัฐบาลนิวซีแลนด์ต้องซื้อกลับมาคืนเป็นของรัฐดังเดิม การปรับโครงสร้างการรถไฟฯ ของไทยในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอนที่เห็นได้ชัดเจนคือประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นเพราะได้กำหนดไว้ในแผนฯอย่างชัดเจนในการปรับเพิ่มค่าโดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในปีงบฯ 2553 ปรับค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นร้อย 10 และ ปรับขึ้นอีกร้อยละ 10 ทุกๆ 3 ปี
โสภณ ซารัมย์อ้างว่าเรื่องแผนฟื้นฟูได้ผ่านครม.แล้วหากจะให้ตนมาเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การบริหารราชการแผ่นดินต้องยึดกฎหมาย น.ส.รสนา โตสิตระกูลมองว่าทางสหภาพฯ มีบทเรียนจากการแปรรูป กฟผ.มาแล้วซึ่งเขา(รฐบาล)จะไม่ใช้วิธีการออกพระราชกฤษฎีกาแปรรูปตามพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจแต่ใช้วิธีการตั้งเป็นบริษัทก่อนให้รัฐถือหุ้นใหญ่ 100% ซึ่งตนมองว่าเป็นการแต่งตัวพร้อมเปิดประตูเมื่อไหร่ก็ออกไปได้เลยเมื่อนั้นค้านลำบาก ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์รองนายกรัฐมนตรีไปเป็นประธานคณะกรรมการชี้แจงและรับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มสหภาพแรงงานรฟท.โดยเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาหาข้อยุติร่วมกันทุกฝ่ายในวันที่ 23 วานนี้เพื่อให้สามารถบริการเดินรถได้ นายกฯอภิสิทธิ์อธิบายว่าได้ให้พล.ต.สนั่น และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปทำความเข้าใจกับสหภาพว่าเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน มติครม.ที่มีออกไปเป็นเพียงหลักการหากมีข้อท้วงก็สามารถเสนอกลับมา เป็นที่น่ายินดีว่ารัฐบาลยังฟังเหตุฟังผลกันบ้างทำให้การเดินรถไฟกลับเข้าสู่ภาวะปกติตั้งแต่ 18.00 นาฬิกาวานนี้
<สื่อต่างๆทั้งทางหน้าปัดวิทยุ ทั้งหน้าจอโทรทัศน์ เช่น รายการของคลื่น 92.25 ในช่วงสาย, รายการคุยโขมงบ่าย 3 โมงทางช่อง 9, รายการทางคลื่น 101 ของคุณพิสิทธิ์ กีรติการกุล ในช่วงบ่ายแก่ๆ รวมถึงอีกหลายรายการซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์และต่อว่าต่อขาน คุณสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ ร.ฟ.ท. ประกอบกับที่ในช่วงเย็นสื่อต่างๆ ก็ทยอยกันนำเสนอข่าวโจมตีสหภาพฯ ร.ฟ.ท.ทางอ้อม ด้วยการหยิบยกผลการวิจัยของเอแบคโพลล์ที่ได้เผยผลสำรวจระบุว่า กว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75.2 ของประชาชนแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการหยุดเดินรถไฟ ดูเหมือนว่าสื่อมวลชนไทยจะไม่ได้เรียนรู้หรือมีบทบาทในการสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้สังคมเลยโดยในกรณีรถไฟหยุดวิ่งครั้งนี้ สื่อเพียงแค่หยิบเอาเปลือกของปัญหามาประโคมข่าวว่าสหภาพฯ ประท้วงได้สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนและละเลยที่จะขุดค้นถึงรากเหง้าของปัญหากับหาทางออกว่าแท้จริงแล้วเหตุใดสหภาพฯ ร.ฟ.ท.จึงต้องออกมาเรียกร้อง ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มาตรฐานของสื่อไทยส่วนใหญ่หากจะกล่าวไปก็ไม่ได้มีพัฒนาการอะไรพอๆ กันกับรถไฟไทย เพียงทุกวันนี้พิธีกรหยิบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์-อินเทอร์เน็ตมาหากินทางวิทยุและโทรทัศน์ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกความเห็นของตนโดยที่ไม่สนว่าสิ่งที่ตัวเองพูดจะมีส่วนช่วยให้สังคมไทยจะพัฒนาดีขึ้นหรือไม่ --- -- - โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล 24 มิถุนายน 2552 13:08 น.>
การฉ้อฉล ไม่ชอบมาพากลของนักการเมือง พรรคร่วมรัฐบาลที่นำคนของตนเข้ามาเป็นบอร์ดพยายามแปรรูปการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ตัวเอง การเมืองภาคประชาชนที่ร่วมต่อสู้เพื่อต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาโดยตลอดเห็นด้วยกับแถลงการณ์ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยรวมพลังต่อต้านการทำลาย รฟท. แม้ว่าจะต้องใช้ยาแรงก็ต้องทนดีกว่าอับจนหนทางในการกอบกู้เอากลับคืนมา ถึงจะมีตัวอย่างให้เห็นได้ว่ามีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่มีการปรับโครงสร้างองค์กรไปแล้วและสามารถสร้างผลกำไรกับสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองแต่ด้วยความเป็นบริษัทมหาชนที่มุ่งเน้นแต่ผลกำไรแต่จะมีสักกี่องค์กรที่ทำได้เช่นนั้น ที่ปตท.จากที่เคยกำไรไม่กี่หมื่นล้านบาทกลับเพิ่มขึ้นเป็นแสนล้านบาทหลังการแปรรูปแต่กลับส่งเงินเข้ารัฐน้อยลง ราคาเชื้อเพลิงโลกผันผวน เน้นแค่ค่าการตลาด ไม่เห็นหัวผู้บริโภค แอบนำสมบัติชาติออกนอกประเทศแล้วนำกลับเข้ามาขายสวมรอยว่าต้องซื้อ ต้องนำเข้าทั้งๆที่เป็นสมบัติของเรา สะใจคนไทยทั้งชาติแล้วหรือยัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น