09 ธันวาคม 2552

คนกับโรงงานจะอยู่ด้วยกันได้โดย...


พูดกันมากและพูดมาหลายเดือนแล้วด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มาบตาพุด   คนกับโรงงานจะอยู่ด้วยกันได้โดยจะต้องบริหาร-จัดการ  จัดความสมดุลในสิ่งร่วมให้ลงตัวโดยไม่ให้สิ่งหนึ่งไปทำลายอีกสิ่งหนึ่งได้  เมื่อเริ่มตั้งโรงงานห่างไกลมนุษย์มนาอยู่ในป่า-ในดงคนก็ตามไปอยู่กับโรงงานที่อยู่ห่างไกลชุมชนไปอยู่กันมากๆเข้า  มันก็เกิดสังคมหย่อม กลายเป็น สังคมขยายและชุมชนเมืองในเขตโรงงานอุตสาหกรรมในที่สุด  กฎหมายเกิดไล่หลังตามมาออกมาเหมาะกับกาลหนึ่ง-เวลาหนึ่ง-สภาพหนึ่งเท่านั้น  แต่พอนานไประบบโรงงาน  ระบบเครื่องจักรก็เก่าแก่เสื่อมสภาพไป  ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  ความไม่พร้อมรับมือกับการบังคับใช้กฎหมาย นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่กับภาคอุตสาหกรรม  ครั้นเมื่อเกิดภาวะไม่สมดุลทำให้การขยายตัวทางอุตสาหกรรมเป็นการการทำลายสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านก็เริ่มต่อต้านการขยายตัว  ชาวบ้านและคณะกรรมการต่างๆเพื่อสังคมยึดรัฐธรรมนูญมาตรา  67  วรรค  2  จึงได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางและร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับ 76 โครงการเจ้าปัญหาไว้ก่อนที่จะมีคำพิพากษา

ด้วยเหตุผลทั้งทางกฎหมาย  ทั้งทางสังคม  ทั้งทางปฏิบัติที่เป็นจริงและทั้งทางข้อเท็จจริง  ที่ทั้งฝ่ายศาล  ฝ่ายผู้ร้อง  และฝ่ายผู้ถูกร้องได้นำมาแสดงและพิจารณาบนผลประโยชน์ร่วมกันเป็นมาตรฐานการยกระดับคุณภาพสังคม   ภายหลังการยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลางคำสั่งต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อลดแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจและข้อกังวลของนักลงทุน   นักลงทุนต่างชาติทั้งหลายชอบบอกว่าการระงับ 76 โครงการทำให้เสียโอกาสการลงทุน  สังคมโลกเรียกร้องเรื่องลดมลพิษ  เรื่องลดภาวะโลกร้อน คำสั่งศาลปกครองกลางถือได้ว่าเป็นการจุดประการเพื่อตั้งหลักที่จะเริ่มต้นพัฒนาสู่ความเติบโตทางธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยเราอย่างมีแบบแผนสู่มาตรฐานสังคมในอนาคต     เมื่อมีปัญหาใดเกิดขึ้น  ภาครัฐก็ดี  ภาคอุตสาหกรรมก็ดี  ภาคสังคมก็ดี  ทั้งหมดนั้นต้องมีสัมพันธ์ซึ่งกันและกันควรถือว่าจะต้องช่วยกันหาทางออกและอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล    เมื่อมีการอนุญาต 76 โครงการนี้ไปแล้ว  มีการลงทุนไปแล้วและเมื่อมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกรอบปฏิบัติตามมา  นั่นก็คือมีทั้งส่วนสังคม  ส่วนอุตสาหกรรม  ส่วนกฎหมาย  ที่ต้องคำนึงและยึดถือเป็นกรอบในการดำเนินไป  ช่วยกันหาทางออกของปัญหาที่พอใจ-รับได้กันทุกฝ่ายไปเสนอต่อศาล เพื่อประโยชน์ที่เป็นธรรมสูงสุดกับทุกฝ่าย

กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมนำข้อมูลการแก้ไขปัญหามาบตาพุดในช่วงที่ผ่านมาเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองที่มีนายอานันท์ ปันยารชุนอันเป็นยาสามัญประจำบ้านมาเป็นประธาน (กรรมการ 4 ฝ่ายทั้งภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาคธุรกิจ-ภาควิชาการเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ได้รับการยอมรับจากสังคมเป็นอย่างดี) นัดประชุมนัดแรกไปเมื่อกลางเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา  หลังการยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวนั้นไม่นานนางสุรินทร์ ขมหงส์หรือป้าเตี้ยซึ่งเป็นหนึ่งในพยายคดีฟ้องศาลปกครองเสียชีวิตลงโดยมีการระบุสาเหตุการตายเนื่องจากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันนั้น ขณะนี้เครือข่ายประชาชนฯนำเส้นผมจากเซลล์ประสาทของป้าเตี้ยส่งสถาบันมิยามาตะ ประเทศญี่ปุ่นให้ตรวจสอบโดยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทเพื่อที่จะทราบผลการตรวจวิเคราะห์สาเหตุการตายของป้าเตี้ยภายใน 2 เดือนว่าสาเหตุการตายมาจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรื่องฝนกรดหรือไม่    

ส่วนภาครัฐเองก็ดูตั้งอก-ตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมที่มาบตาพุดมากขึ้น  ส่งรองนายกฯ  กอร์ปศักดิ์  สภาวสุ  ลงไปรับฟังปัญหาในพื้นที่ในนามคณะทำงานการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนมาบตาพุดและการติดตามผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด  คณะทำงานได้เปิดเสรีและมีชาวบ้านตัวแทนจากหมู่บ้านต่างๆที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากเข้าร่วมรับฟัง  ในการประชุมได้รับฟังการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนพื้นที่มาบตาพุด  เรื่องขยะ เรื่องการรักษาการเจ็บป่วย  และโดยเฉพาะเรื่องการขยายเขตน้ำประปาครอบคลุมพื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง อย่างไรก็ดีชาวบ้านต้องจริงจังต่อการตรวจสอบในการใช้งบประมาณ    อย่างเช่นโครงการไทยเข้มแข็งที่นำมาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบมาบตาพุด อ.เมืองระยองจะต้องติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างถึงที่สุดโดยคณะกรรมการภาคประชาชนเพราะที่ผ่านมามีการคอร์รัปชัน

2  ธันวาคมที่มาบตาพุดก็มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ศาลปกครองสูงสุดสั่ง  11  โครงการมาบตาพุดเดินหน้าต่อได้  อีก 65 โครงการเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรงทั้งโครงการประเภทปิโตรเคมี  ท่อส่ง  เหล็ก  โรงไฟฟ้า  ท่าเทียบเรือ   และโรงบำบัดของเสียให้ระงับไว้ก่อนตามคำสั่งเดิม    เปิดช่องทำตามมาตรา 67 วรรค 2 เมื่อใดก็ยื่นเรื่องขอออกจากคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในภายหลังได้  คณะกรรมการ  4  ฝ่ายจะดูตามโครงสร้างเพื่อให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ  2550  มาตรา  67  วรรค  2  เป็นหลักเช่นเดิม  "ภายใน  2  สัปดาห์จะประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติหลักเกณฑ์ประเมินอีไอเอและเอชไอเอก่อนเสนอให้รัฐบาลพิจารณาอนุมัติ   รวมถึงโครงสร้างเรื่ององค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมด้วย   แต่การดำเนินการต่างๆคงต้องใช้เวลาโดยเฉพาะการสรรหาบุคคลมาเป็นองค์กรอิสระที่ต้องโปร่งใสและไม่เป็นที่กังขาของทุกภาคส่วน"  นายอานันท์ระบุ

หลังศาลปกครองสูงสุดยังไม่อนุญาตให้อีก 65 โครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดดำเนินการต่อนั้นคาดสร้างความเสียหายในด้านการลงทุนประมาณ 90,000-100,000 ล้านบาท หรือประมาณ 40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เพราะบางโครงการได้ดำเนินการถึงขั้นใกล้เปิดโครงการรวมถึงจ้างแรงงานไว้แล้ว   หอการค้าไทย นักลงทุน และภาคเอกชนต่างก็อยากให้ภาครัฐและส่วนที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งสร้างความชัดเจนโดยเร็ว   อยากให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเร่งพิจารณาหลักเกณฑ์การลงทุนที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนออกมาโดยเร็ว    การนิคมอุตสาหกรรมเพิ่งจะมาหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและจะทำหนังสือถึงผู้ประกอบการดังกล่าวให้ระงับการก่อสร้างโครงการและการเดินเครื่องเชิงพานิชย์ตามคำสั่งศาล ที่ผ่านมา กนอ.ไม่มีอำนาจสั่งการ หากเอกชนจะฟ้องศาลสามารถทำได้ว่ายืนยันการทำตามกฎหมายมาตรา 67 วรรค 2 มาตลอดโดยเฉพาะการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เมื่อมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ 50 ออกมาโดยที่ยังไม่มีกฎหมายลูก  กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) รวมทั้งการตั้งองค์กรอิสระตรวจสอบการลงทุน ขณะนี้ผู้ประกอบการก็ยังต้องรอกฎหมายลูกที่ยังไม่ออกมาต่อไปผู้ประกอบการจึงไม่สามารถดำเนินการต่อได้

คณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ จะลงพื้นที่เทศบาลมาบตาพุดรวมถึงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและชุมชนใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบโดยจะมีประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง ต.ตะพง ต.เชิงเนิน ต.บ้านแลงและต.นาขวัญ นำโดย นายสุทธิ อัชฌาศัยแกนนำเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการ 4 ฝ่ายฯร่วมชี้แจงปัญหา   นายกรัฐมนตรีประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกรณีปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ข้อสรุปว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่ายกำหนดการออกระเบียบที่จะมารองรับมาตรา 67 วรรค 2 ให้เป็นช่องทางให้ทุกโครงการที่ยังเป็นปัญหาทำตามขั้นตอนช่องทางนี้จนเสร็จสิ้นจะได้ไปยื่นขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งระงับโครงการ  รัฐบาลควรเร่งกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว   รัฐมีหน้าที่แจ้งให้ภาคเอกชนทราบถึงคำสั่งศาลและให้เอกชนเคารพคำสั่งศาล    รัฐมีหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการบริหารจัดการหรือจำกัดความเสียหาย  ยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)บ้าง   กระนั้นนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปบ้างแล้วจากความชัดเจนที่เกิดขึ้น  

ปัญหาสารพิษรั่ว ตั้งแต่กรณีท่าเรือแหลมฉบังเมื่อสัปดาห์ก่อนยังเป็นเรื่องเป็นราวไม่จบ   ต่อมาชาวบ้านร่วมกันทำกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติที่บริเวณศาลากลุ่มประมงเรือเล็กตากวน-อ่าวประดู่ขณะนั้นมีลมพัดเอากลิ่นเหม็นคล้ายก๊าซ ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและอาเจียน หลายคน จนต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล  จากการเกิดก๊าซรั่วของเรือขนส่งสินค้า  บริเวณท่าเรือบริษัทมาบตาพุดแท็งค์เทอร์มินอล จำกัดเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา วันนี้ชาวบ้านรวม10 คนได้เข้าแจ้งความขอให้ดำเนินคดีเอาผิดกับบริษัทเจ้าของเรือในข้อหาประมาททำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บแล้ว

ภาคเอกชนยังแจ้งกนอ.ที่จะจัดส่งคำสั่งศาลให้ผู้ประกอบการทุกโครงการด้วยว่าจะทำหนังสือยื่นต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้พิจารณาทบทวนโครงการที่ถูกระงับไปนั้นใหม่ เนื่องจากมีโครงการที่ผ่านอีไอเอแล้วตามกฎหมายเก่า 20-30 โครงการ ซึ่งโครงการเหล่านี้น่าจะดำเนินโครงการต่อไปได้เหมือน 11 โครงการที่ศาลอนุญาตโดยผู้ประกอบการจะทำตามเอชไอเอและอีไอเออย่างเข้มข้น



ไม่มีความคิดเห็น: