28 พฤศจิกายน 2551

รัฐบาลข่มขู่คุกคามสื่อมวลชนโดย



ยิ่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับอำนาจรัฐเถื่อนๆเข้มข้นมากเท่าใด อันธพาลในฝ่ายรัฐบาลก็ยิ่งก่อกวนหนัก ออกฤทธิ์โดยไม่เลือกวิธีใช้
เหตุการณ์ยิงกระหน่ำเอเอสทีวีกลางดึกเมื่อคืนเป็นตัวอย่าง!
ตีหนึ่งจวนตีสอง ขณะที่ ‘บาส’รัฐวัฒิ มิตรมาก ผู้ประกาศข่าวของASTVกำลังทำหน้าที่ของตัวเองอยู่ในสตูดิโอ พลันนั้นก็มีเสียงปืนดังสนั่นหวั่นไหวราวกับหนังสงครามบู๊ล้างผลาญ ห่ากระสุนทะลุกระจกเข้ามาในห้องส่ง บาสต้องรีบหลบเอาตัวรอดออกไปอย่างหวุดหวิด นาทีตายนาทีเป็นของผู้ประกาศข่าวASTV นี้ ผู้จัดการออนไลน์ได้นำภาพนี้ให้ดูแล้ว ใครเห็นภาพก็คงตั้งคำถาม ว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับบ้านนี้เมืองนี้? นี่มันประเทศอิรัก หรือ อัฟกานิสสถาน ที่มีสงครามกลางเมือง? (ดูได้จากข่าว... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000140767 )

ในอดีตรัฐบาลข่มขู่คุกคามสื่อมวลชนโดยใช้วิธีการแทรกแซงด้วยการเข้าไปขอร้องให้ปิดคอลัมน์ที่โจมตีรัฐบาลได้หรือไม่และถ้าขอร้องไม่ได้ เขาจะส่งป.ป.ง.เข้าไปตรวจสอบรายการบัญชีของหนังสือพิมพ์ แทรกแซงรายการวิทยุโดยเฉพาะนายบุญยอด สุขถิ่นไทยทำให้พี่น้องประชาชนเห็นใจจึงลงคะแนนเสียงให้นายบุญยอดชนะการเลือกตั้งมาแล้ว 2 รอบ คนทำสื่อมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ 1.เจ้าของหนังสือหรือนายทุนหนังสือพิมพ์ 2.บรรณาธิการอาวุโส ซึ่งคอยกรองข่าวที่นักข่าวส่งเข้าไปโดยเฉพาะข่าวกรองจากเหตุการณ์ 7 ต.ค. ว่า นายตี๋ที่มือขวาขาดแต่มือซ้ายที่ถือกุญแจกลับบอกว่าเป็นลูกระเบิดนี่คือบทบาทการกรองข่าวของบรรณาธิการอาวุโส ส่วนกลุ่มที่ 3.คือ ผู้สื่อข่าวซึ่งเชื่อถือได้มากที่สุด เพราะเวลาที่เราแถลงข่าวผู้สื่อข่าวเหล่านั้นก็จะส่งข่าวเข้าไปในสำนักพิมพ์แต่บรรณาธิการที่รัยข่าวกลับพลิกข่าวและบิดเบือน ฉะนั้นนายทุนกับนักการเมืองจึงต้องซื้อบรรณาธิการเอาไว้แล้วคบไว้เป็นเพื่อน เมื่อสื่อมวลชนถูกแยกออกจากกัน เวลาเขาซื้อเขาจะซื้อเจ้าของหนังสือพิมพ์เป็นอันดับแรกฉะนั้นจะมีเจ้าของหนังสืออยู่ 3 สำนักพิมพ์ ปรากฏว่าเป็นหนังสือพิมพ์หัวสี 2 สำนักพิมพ์โดยจะมีหนังสือพิมพ์ที่อ้างว่ามีคุณภาพอยู่ 1 สำนักพิมพ์ ซึ่งคนเหล่านี้ชอบเข้าไปพบผู้มีอำนาจหรือเชิญผู้มีอำนาจไปกินข้าวที่กองบรรณาธิการเพื่อสร้างภาพ ดังนั้นสื่อพวกนี้จึงสร้างภาพว่า คนรวยแล้วไม่โกง แต่วันนี้เรารู้กันแล้วว่า คนรวยโกงหรือไม่ สื่อเหล่านี้จึงเป็นสื่อเทียม บรรณาธิการของหนังสือบางฉบับเชียร์นักการเมืองคนที่ให้เงินจนคล้ายๆ ว่านักการเมืองคนที่ถูกเชียร์กลายเป็นเทพเจ้ารวมทั้งโชว์คำขวัญว่ารวยแล้วไม่โกง บรรณาธิการของหนังสือบางฉบับที่สนิทสนมกับคนเดือนตุลาฯ และสนิทกับคนของระบอบทักษิณซึ่งไปเอาภาพของกษัตริย์เนปาลมาออกวารสารรายสัปดาห์ แล้วบอกว่าเป็นกรณีศึกษาซึ่งคล้ายๆ กับจะเตือนประเทศไทย

เรื่องกระแสข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการ์ดพันธมิตรฯ ตนมองว่าการพูดไปในตอนนี้ ไม่ว่าอย่างไรก็อาจมีอีกฝ่ายมองว่าเป็นการพูดเพื่อแก้ตัว ดังนั้นตนจึงอยากให้ใช้เวลาเป็นเครื่องตัดสิน เพราะเชื่อว่าอย่างไรเสียวันหนึ่งความจริงก็ต้องปรากฏออกมาอยู่ดี แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น อยากบอกสังคมว่า ในเรื่องกระแสข่าวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับการ์ดพันธมิตรฯ นั้น อยากให้ทุกคนอย่ามองประเด็นข่าวเพียงด้านเดียว ต้องมองให้รอบด้าน เมื่อได้รับข่าวจากสื่อใดๆ ก็ตาม จะต้องใช้สติปัญญาพิจารณาประกอบกับเหตุผลให้รอบด้านก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ เพราะก็ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันก็ยังมีสื่อบางสื่อที่อาจเต้าข่าวหรือเสนอข่าวที่บิดเบือนได้เช่นกัน
“พี่สัน” ชายร่างใหญ่ ท่าทางใจดีผู้นี้ คือเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ที่เดินทางจากสุพรรณบุรี มาทำหน้าที่การ์ดอาสาในการชุมนุมพันธมิตรฯ เดินทางไปกลับทุกวัน มากว่า 6 เดือนแล้ว

ช่วงแรกก็พูดกันมากนะคะ ว่าอย่าไปเลย มันอันตราย ไม่กลัวหรือยังไง เรื่องอย่างนี้ปล่อยเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ดีกว่า หนูก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า การมาชุมนุมไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายสื่อนำเสนอไป แล้วก็อย่างที่บอกนะคะ หนูคิดว่าเรื่องบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาแบ่งว่าเป็นหน้าที่ของใครของเด็กหรือของผู้ใหญ่ เราทุกคนสามารถช่วยประเทศชาติได้
“น้องอาย” สาวน้อยหน้าใสผู้นี้ คือลูกสาวของ “พี่อ้อย” การ์ดอาสาที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยด้านหลังเวที เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์

ผมอยากให้ทุกคน ฟังข่าวอย่างใจเป็นธรรม เพราะข่าวหลายอย่างของการ์ดพันธมิตรฯ ที่บางสื่อเสนอออกไปนั้น ไม่ใช่ความจริงเสมอไป อยากให้สังคมเปิดใจรับฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย อย่ามองแค่ภาพลักษณ์บางอย่างภายนอก อย่าเชื่อแค่การฟังข่าวด้านเดียว หรือเพียงค่ำที่คนเล่าลือกันเท่านั้น
“หนึ่ง” ชายวัย 33 ปี อาชีพขายเปิดร้านขายอะไหล่รถยนต์ เป็นการ์ดอาสาที่ร่วมรักษาความปลอดภัยในการชุมนุมตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา มีเพียง 4 วันที่เขาลาไปทำภารกิจส่วนตัว

ในวันนี้เมื่อตนเห็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองมาถึงสภาวะที่สุกงอม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดื้อดึงไม่ยอมลาออกจำตำแหน่งเสียทีทั้งที่นายสมชาย ในวันนี้เป็นเพียงนายกรัฐมนตรีซากศพ ที่ตายไปแล้ว แต่มีผู้อยู่เบื่องหลังอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คอยจับศพให้เคลื่อนไหวไปมาตามความต้องการของตัวเองเท่านั้น วันนี้ตนจึงต้องออกมาเปิดหน้าชก เพื่อให้การต่อสู้ครั้งนี้จบลงเสียที เพียงแค่ตนขึ้นเวทีปราศรัยพันธมิตรฯ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพียง 2 ครั้ง สื่อมวลชน โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ก็นำภาพของตนที่ปราศรัย ไปออกอากาศซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งสาเหตุที่ทำเช่นนั้น ไม่ใช่เพราะอยากจะประชาสัมพันธ์ให้ตน แต่เป็นเพราะสถานีแห่งนั้นคงต้องการให้บรรดา นปช.ได้จำหน้าตนได้มากกว่า ก่อนหน้านี้ ขณะที่ตนได้ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งผู้สื่อข่าว ตนแสดงตัวอย่างชัดเจนที่จะเรียกร้องความถูกต้องให้แก่ประชาชน เช่นการสัมภาษณ์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ว่า "ระหว่างชีวิตเลือดเนื้อของประชาชน กับนายกเฮงซวย จะเลือกฝ่ายไหน" หรือแม้แต่ซักถามอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ว่าถ้าคุณมีกรมประชาสัมพันธ์ ถ้าคุณมีจานดาวเทียม แต่คุณยังไม่สามารถสร้างความสามัคคีปรองดองให้กับคนในชาติได้ คุณยังปล่อยให้พวกเสื้อแดงมาใช้เวทีของกรมประชาสัมพันธ์มาสร้างความแตกแยกให้กับคนในบ้านในเมืองตลอดเวลานั้น คุณไม่เอาจานดาวเทียมไปตากปลาเค็มเสียเลยล่ะ" ซึ่งตนคิดว่านี่เองคือสาเหตุที่ทำให้ตนได้รับการจับตามองเป็นพิเศษจากสื่ออย่างเอ็นบีที และคนในกลุ่ม นปช. ตนไม่เคยหายไปไหน ยังอยู่ร่วมต่อสู้กับพันธมิตรฯ มาโดยตลอดเหมือนเมื่อครั้งการต่อสู้ขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2547 แม้ครั้งนั้นคนในฟากของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเคยมาติดต่อให้ตนไปเป็นดำเนินรายการในส่วนของเขาให้ โดยให้ค่าจ้างสูงถึงเดือนละ 1.5 ล้านบาท แต่ตนก็ไม่ไป เพราะตนคิดว่าตนรวยแล้ว หากเงินของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีตราครุฑอยู่ เงินของตนก็มีเหมือนกัน ตนพอใจแล้วในสิ่งที่ตนมีอยู่ จึงไม่มีความคิดอยากได้เงินของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีก และจนถึงวันนี้ความคิดของตนก็ยังเป็นเหมือนเดิม ไม่เคยเปลี่ยนไป
นายสุทิน วรรณบวร อดีตผู้สื่อข่าวอาวุโส สำนักข่าวเอพี ได้กล่าวไว้

สื่อมวลชนวันนี้จึงมีทั้งเป็นผู้เสนอข่าวความจริง และเสนอข่าวเท็จเราต้องแยกให้ออกโดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ซึ่งสื่อโทรทัศน์เทียมที่ชัดเจนที่สุดก็คือรายการความจริงวันนี้ ฉะนั้นสื่อที่ดีที่สุดคือสื่อที่เสนอความจริงแล้วร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม สื่อที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ นายเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์ บรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์ข่าวสด และคอลัมนิสต์ที่เขียนในหน้า 3 ของหนังสือพิมพ์มติชนรายวันทำหน้าที่เสมือนการโฆษณาชวนเชื่อให้กับระบอบทักษิณ ขณะเดียวกันจะโจมตีฝ่ายที่ที่คิดเห็นตรงข้ามอยู่ตลอดเวลาและที่ผ่านมาเคยนำจดหมายที่จาบจ้วงสมเด็จพระสังฆราชจนเกิดความไม่พอใจให้สังคมทำให้หนังสือพิมพ์มติชนต้องลงโทษตัวเองปิดตัว 3 วัน แล้วตั้งกรรมการสอบสวน นายเสถียร แต่ปรากฏว่า ไม่มีความผิด มติชนสุดสัปดาห์ที่นายเสถียรดูแล เช่น ฉบับวันที่ 15 มิ.ย.50 ที่ลงเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในประเทศเนปาลโดยยกเอากรณีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศนั้นมาเป็นกรณีศึกษาซึ่งมีเจตนาชี้นำสังคมและโฆษณาชวนเชื่อหรือก่อนหน้านั้นมติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 1 มิ.ย.2549 ที่แก้ต่างเรื่องของปฏิญญาฟินแลนด์ว่าแค่ไปเที่ยวไม่มีเรื่องการเมืองใดๆ นายเสถียรยังเขียนบทความโดยใช้นามปากกาอีกหลายชื่อเพื่อให้ดูว่ามีคนหลายคนแต่มีความเห็นไปในทำนองเดียวกัน บทบาทของนายเสถียรคือพวกซ้ายเก่าที่อกหักและยังเชื่อในอุดมการณ์สังคมนิยมในเรื่องของความเท่าเทียมกันในสังคม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการที่ออกแบบมาล่วงหน้าเพื่อสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น: